ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แยกบางโพ"

พิกัด: 13°48′23″N 100°31′17″E / 13.806408°N 100.521454°E / 13.806408; 100.521454
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ตัดออก
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
}}
}}


'''แยกบางโพ''' ({{lang-en|Bang Pho Intersection}}) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่าง[[ถนนประชาราษฎร์ สาย 1]] กับ[[ถนนประชาราษฎร์ สาย 2]] ในแขวงบางซื่อ [[เขตบางซื่อ]] [[กรุงเทพมหานคร]]
'''แยกบางโพ''' ({{lang-en|Bang Pho Intersection}}) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ 2 สาย คือ[[ถนนประชาราษฎร์ สาย 1|สาย 1]] และ[[ถนนประชาราษฎร์ สาย 2|สาย 2]] ในแขวงบางซื่อ [[เขตบางซื่อ]] [[กรุงเทพมหานคร]]


==กายภาพ==
==กายภาพ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:23, 10 มีนาคม 2563

สี่แยก บางโพ
แผนที่
ชื่ออักษรไทยบางโพ
ชื่ออักษรโรมันBang Pho
รหัสทางแยกN367 (ESRI), 122 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนประชาราษฎร์ สาย 1
» พระรามที่ 7
ถนนประชาราษฎร์ สาย 2
» เตาปูน
ถนนประชาราษฎร์ สาย 1
» เกียกกาย
ถนนประชาราษฎร์ สาย 2
» ท่าน้ำ

แยกบางโพ (อังกฤษ: Bang Pho Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ 2 สาย คือสาย 1 และสาย 2 ในแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

กายภาพ

วัดบางโพโอมาวาส อันเป็นที่มาของชื่อ

บริเวณแยกบางโพฝั่งถนนประชาราษฎร์สาย 1 ทั้ง 2 ฝั่งนั้นถนนฝั่งนึงเป็นถนน 2 เลน และอีกฝั่งเป็นถนน 3 เลน โดยไม่มีเกาะกลาง และถนนประชาราษฎร์สาย 2 ฝั่งที่มาจากแยกเตาปูนนั้นเป็นถนนทั้ง 2 ฝั่งนั้นเป็นถนน 2 เลน โดยไม่มีเกาะกลาง และบริเวณถนนประชาราษฎร์สาย 2 ตั้งแต่แยกบางโพ - ท่าน้ำนั้นเดิมเป็นถนนทั้ง 2 ฝั่งนั้นเป็นถนน 2 เลน และจอดรถได้ทั้ง 2 ฝั่ง แต่ในปัจจุบันนั้นได้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงเตาปูน - ท่าพระ ทำให้ถนนฝั่งซ้าย (เมื่อมาจากเตาปูน) นั้นเลนซ้าย จะเป็นถนนไป และเลนขวาจะเป็นถนนกลับ เนื่องจากด้านขวาจะเป็นที่ก่อสร้างนั้นเอง

โดยชื่อ "บางโพ" นั้นมาจากวัดบางโพโอมาวาส อันเป็นวัดแห่งหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่ใกล้บริเวณแยก และบางโพยังปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมร่วมสมัย คือ สาวบางโพ เพลงจังหวะสนุกสนานในแนวดิสโกฟังก์ โดย ตู้–ดิเรก อมาตยกุล ในปี พ.ศ. 2525 อันเป็นที่รู้จักกันไปโดยทั่ว[1] และยังเป็นเพลงลูกทุ่งในชื่อเดียวกัน โดย มยุรา ฟ้าสีทอง อีกด้วย

ปัจจุบัน ภายในซอยประชาราษฎร์สาย 1 24 (ซอยประชานฤมิต) บริเวณใกล้กับแยกบางโพเป็นแหล่งรวมของร้านค้าเครื่องเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์เป็นจำนวนมาก ขึ้นชื่ออย่างยิ่งโดยเฉพาะเครื่องไม้ จนได้ชื่อว่าเป็น "ถนนสายไม้"[2]

รูปแบบของทางแยก

  • ถนนระดับดินผ่านตลอดของถนนทุกสายเมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนที่อยู่ติดกัน
  • สัญญาณไฟจราจรของรถในถนนระดับดินที่ต้องการตรงไปและเลี้ยวขวา

สถานที่สำคัญบริเวณแยก

อ้างอิง

  1. "30 ปี "สาวบางโพ" : มหัศจรรย์เพลงเต้นของ "ตู้ ดิเรก"". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-11-21.
  2. "แหล่งเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ทางเลือก สำหรับผู้ที่มีรสนิยมไม่ซ้ำใคร". ESTOPOLIS.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°48′23″N 100°31′17″E / 13.806408°N 100.521454°E / 13.806408; 100.521454