ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเมืองยโสธร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27: บรรทัด 27:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
จากพงศาวดารเมืองยโสธรลงจารึกเมื่อจุลศักราช 1259 ร.ศ. 116 ว่า [[เจ้าพระวรราชภักดี]] (เจ้าพระวอ) เสนาบดีเก่าเมือง[[เวียงจันทน์]] [[เจ้าฝ่ายหน้า]] [[เจ้าคำผง]] [[เจ้าทิดพรหม ]] [[เจ้ามุม]] และ[[เจ้าก่ำ]] เดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านคร[[จำปาศักดิ์]] เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นชัยภูมิ จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่ เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ต่อมาใน [[พ.ศ. 2357]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ทรงยกฐานะเป็น "เมืองยศสุนทร" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มีเจ้าผู้ครองเมืองเป็นที่[[พระสุนทรราชวงศา]] จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2443]] ได้รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานี แล้วแบ่งเป็น 2 อำเภอ เรียกอำเภออุทัยยัโสธรและ '''อำเภอปจิมยะโสธร''' ปี [[พ.ศ. 2450]] เมืองยโสธรถูกยุบลงเพื่อรวมกับ[[จังหวัดอุบลราชธานี]]
จากพงศาวดารเมืองยโสธรลงจารึกเมื่อจุลศักราช 1259 ร.ศ. 116 ว่า [[เจ้าพระวรราชภักดี]] (เจ้าพระวอ) เสนาบดีเก่าเมือง[[เวียงจันทน์]] [[เจ้าฝ่ายหน้า]] [[เจ้าคำผง]] [[เจ้าทิดพรหม ]] [[เจ้ามุม]] และ[[เจ้าก่ำ]] เดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านคร[[จำปาศักดิ์]] เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นชัยภูมิ จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่ เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ต่อมาใน [[พ.ศ. 2357]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ทรงยกฐานะเป็น "เมืองยศสุนทร" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มีเจ้าผู้ครองเมืองเป็นที่[[พระสุนทรราชวงศา]] จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2443]] ได้รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานี แล้วแบ่งเป็น 2 อำเภอ เรียกอำเภออุทัยยะโสธร และ '''อำเภอปจิมยะโสธร''' ปี [[พ.ศ. 2450]] เมืองยโสธรถูกยุบลงเพื่อรวมกับ[[จังหวัดอุบลราชธานี]]


ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2453]] ทางการได้ย้ายอำเภออุทัยยะโสธรไปตั้งที่ตำบลลุมพุก และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น[[อำเภอคำเขื่อนแก้ว]] ส่วนอำเภอปจิมยะโสธรซึ่งตั้งอำเภออยู่ในเมืองต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น '''อำเภอยะโสธร''' ในปี [[พ.ศ. 2456]]
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2453]] ทางการได้ย้ายอำเภออุทัยยะโสธรไปตั้งที่ตำบลลุมพุก และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น[[อำเภอคำเขื่อนแก้ว]] ส่วนอำเภอปจิมยะโสธรซึ่งตั้งอำเภออยู่ในเมืองต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น '''อำเภอยะโสธร''' ในปี [[พ.ศ. 2456]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:31, 1 กรกฎาคม 2562

อำเภอเมืองยโสธร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Yasothon
คำขวัญ: 
เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน
หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอเมืองยโสธร
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอเมืองยโสธร
พิกัด: 15°47′41″N 104°8′26″E / 15.79472°N 104.14056°E / 15.79472; 104.14056
ประเทศ ไทย
จังหวัดยโสธร
พื้นที่
 • ทั้งหมด578.20 ตร.กม. (223.24 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด129,513 คน
 • ความหนาแน่น223.99 คน/ตร.กม. (580.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 35000
รหัสภูมิศาสตร์3501
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร ถนนแจ้งสนิท ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 35000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองยโสธร เป็นอำเภอหนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 578.20 ตารางกิโลเมตร หรือ 361,378.5 ไร่

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเมืองยโสธรตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทาง 531 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

จากพงศาวดารเมืองยโสธรลงจารึกเมื่อจุลศักราช 1259 ร.ศ. 116 ว่า เจ้าพระวรราชภักดี (เจ้าพระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าคำผง เจ้าทิดพรหม เจ้ามุม และเจ้าก่ำ เดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นชัยภูมิ จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่ เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกฐานะเป็น "เมืองยศสุนทร" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มีเจ้าผู้ครองเมืองเป็นที่พระสุนทรราชวงศา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2443 ได้รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานี แล้วแบ่งเป็น 2 อำเภอ เรียกอำเภออุทัยยะโสธร และ อำเภอปจิมยะโสธร ปี พ.ศ. 2450 เมืองยโสธรถูกยุบลงเพื่อรวมกับจังหวัดอุบลราชธานี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 ทางการได้ย้ายอำเภออุทัยยะโสธรไปตั้งที่ตำบลลุมพุก และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว ส่วนอำเภอปจิมยะโสธรซึ่งตั้งอำเภออยู่ในเมืองต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอยะโสธร ในปี พ.ศ. 2456

ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดยโสธรโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุมออกจากจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรวมกันเป็นจังหวัดยโสธรตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2515 และเป็นกำเนิด อำเภอเมืองยโสธร ในปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเมืองยโสธรแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 18 ตำบล 190 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ในเมือง (Nai Mueang) 10. สิงห์ (Sing)
2. น้ำคำใหญ่ (Nam Kham Yai) 11. นาสะไมย์ (Na Samai)
3. ตาดทอง (Tat Thong) 12. เขื่องคำ (Khueang Kham)
4. สำราญ (Samran) 13. หนองหิน (Nong Hin)
5. ค้อเหนือ (Kho Nuea) 14. หนองคู (Nong Khu)
6. ดู่ทุ่ง (Du Thung) 15. ขุมเงิน (Khum Ngoen)
7. เดิด (Doet) 16. ทุ่งนางโอก (Thung Nang Ok)
8. ขั้นไดใหญ่ (Khandai Yai) 17. หนองเรือ (Nong Ruea)
9. ทุ่งแต้ (Thung Tae) 18. หนองเป็ด (Nong Pet)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเมืองยโสธรประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองยโสธร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลตาดทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาดทองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเดิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเดิดทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทุ่งแต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งแต้ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลน้ำคำใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำคำใหญ่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสำราญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำราญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลค้อเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค้อเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดู่ทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดู่ทุ่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขั้นไดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขั้นไดใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสิงห์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสะไมย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่องคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขื่องคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองคูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขุมเงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุมเงินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางโอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งนางโอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเรือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเป็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเป็ดทั้งตำบล

อ้างอิง