พิมพ์ใจ ใจเย็น
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ศาสตราจารย์ พิมพ์ใจ ใจเย็น (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2513) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาชีวเคมี ประจำปี พ.ศ. 2548 และรางวัล [1] ประจำปี พ.ศ. 2546 จากผลงานการวิจัยศึกษากลไกการทำงานของเอ็นไซม์ เพื่อกำจัดสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์ พิมพ์ใจ ใจเย็น หรือที่รู้จักในนาม ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น เกิดเมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นบุตรสาวคนโตของนายอดุลย์ และนางซุ่ยลู้ ใจเย็น มีน้องสาว 1 คน คือ พญ.นัยเนตร ใจเย็น ศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็น สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย จากโรงเรียนสตรีภูเก็ต และโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โดยได้รับทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงปริญญาเอก จบปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2535 และปริญญาเอก สาขาชีวเคมี จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน แอนน์อาร์เบอร์ (University of Michigan, Ann Arbor) ตลอดเวลาที่เรียน ได้รับรางวัลผลการเรียนดีเด่นต่าง ๆ อยู่เสมอ อาทิ รางวัลพระราชทานนักเรียนเรียนดีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลจากมูลนิธิ ดร. แถบ นีละนิธิ ในระดับปริญญาตรี รางวัล Chrisman Award สำหรับนักศึกษาปริญญาเอกที่มีผลการเรียนผลงานวิจัยดี และรางวัล Murphy Award สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่มีผลงานตีพิมพ์ดีเยี่ยม จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
การทำงาน
[แก้]ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี[2] คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยประจำหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศโครงสร้างและการทำงานของโปรตีน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการบริหารชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทย
งานวิจัย
[แก้]ศ.ดร. พิมพ์ใจ สนใจศึกษาความรู้พื้นฐานในด้านกลไกการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ โดยเฉพาะเอนไซม์ในกลุ่มที่มีสารประกอบประเภทวิตามินบีสอง (Flavin) เป็นตัวช่วยในการเร่งปฏิกิริยา นอกจากใช้วิธีการทดลองทางด้านชีวเคมีทั่วไปในการศึกษาแล้ว มีการใช้ข้อมูลทางจลนศาสตร์และอุณหพลศาสตร์ ซึ่งได้มาจากการทำการทดลองกับเครื่องมือ stopped-flow spectrometer ควบคู่ไปกับการวัดสมบัติทางด้านสเปคโตรสโกปีชนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงกลไกการเกิดปฏิกิริยาด้วย รวมทั้งการศึกษาโครงสร้างทางสามมิติของเอนไซม์ต่าง ๆ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ L'OREAL-UNESCO Fellowhship for Women in Science
- ↑ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๖๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๔๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐๕, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513
- ศาสตราจารย์
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- บุคคลจากจังหวัดภูเก็ต
- บุคคลจากโรงเรียนสตรีภูเก็ต
- บุคคลจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
- บุคคลจากโครงการ พสวท.
- ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งประเทศไทย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.