ข้ามไปเนื้อหา

พระจุนทีโพธิสัตว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระจุนทีโพธิสัตว์
ภาพวาดจุนที ประเทศจีน ราชวงศ์หมิง (1368-1644). ม้วนแขวน หมึกสีทองและสีบนกระดาษ 126.7 x 81.1 ซม.
สันสกฤตचुन्दी (ไอเอเอสที: Cundī)
चुण्डी (Cuṇḍī)
चुन्दा (Cundā)
चुन्दवज्री (Cundavajrī)
सप्तकोटिबुद्धमत्ड़् (Saptakoṭibuddhamatṛ)
จีน準提菩薩 (ตัวเต็ม)
准提菩萨 (ตัวย่อ)
(พินอิน: Zhǔntí Púsà)
準提佛母 (Zhǔntí Fómǔ)
七俱胝佛母 (Qījùzhī Fómǔ)
ญี่ปุ่น准胝観音
เกาหลี준제보살
(อาร์อาร์: Junje Bosal)
ทิเบตསྐུལ་བྱེད་མ
ไวลี: skul byed ma
เวียดนามChuẩn Đề Bồ tát
Phật Mẫu Chuẩn Đề
ข้อมูล
นับถือในมหายาน, วัชรยาน
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

จุนที (สันสกฤต: चुन्दी, สัทอักษรสากล: [t͜ɕʊndiː]; จีนตัวเต็ม: 準提菩薩; จีนตัวย่อ: 准提菩萨; พินอิน: Zhǔntí Púsà; ทิเบต: ལྷ་མོ་སྐུལ་བྱེད་མ།, ไวลี: lha mo skul byed ma, THL: lha-mo kül-jé-ma) หรือ จุณฑา (चुन्दा, สัทอักษรสากล: [t͜ɕʊndaː]) หรือที่รู้จักในพระนาม สัปตโกฏิพุทธมาตร (सप्तकोटिबुद्धमत्ड़्, "เทวีแห่งเจ็ดสิบล้าน (สัปตโกฏิ) [พระพุทธรูป]";[1] จีน: 七俱胝佛母; พินอิน: Qījùzhī Fómǔ) เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในศาสนาพุทธมหายาน เช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า เชื่อกันว่าพระองค์เป็นพระพุทธมารดาภาคสัมโภคกาย (กายทิพย์) ของพระเจ้าห้าพระองค์ในภัทรกัปปัจจุบัน มักจะเข้าใจกันผิดว่าเป็นพระแม่กวนอิม เพราะเกิดจากความเชื่อในพุทธศาสนาของนิกายฉาน ที่กล่าวว่าพระจุนทีนั้นเป็นภาคหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แล้วนำไปจัดรวมไว้ในรูปเคารพของกวนอิม 6 ปางใหญ่ ซึงในขณะที่นิกายอื่น ๆ ของทางมหายานเนั้นจะถือว่าพระจุนทีกับพระกวนอิม นั้นเป็นคนละองค์กัน หลายที่ก็ยังไปจำสับสนด้วยรูปลักษณะของพระมารีจี ซึ่งเป็นมารดาของเทวดานพเคราะห์ทางลัทธิเต๋า บ้างก็ไปจำสับสนกับพระมหามายูรีที่ทรงนกยูงเป็นพาหนะ โดยพระโพธิสัตว์พระองค์นี้จะมีกล่าวถึง แต่ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไรในพระพุทธศาสนาของจีน แต่จะมีบทบาทในญี่ปุ่นมากกว่า

ลักษณะ

[แก้]

รูปลักษณ์ของท่านอยู่ในท่านั่งหรือยืน จะทรงมีสิบแปดพระกร มีพระเนตร 3 พระเนตร ลักษณะที่สังเกตได้ง่าย คือ หนึ่งในพระกรทั้งสิบแปดพระกรนั้นจะทรงร่มไว้คันหนึ่งเสมอ

ความเชื่อ

[แก้]

พระจุนทีโพธิสัตว์ (准提菩薩) ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า “จุ่นถีผูซา” และในภาษาจีนแต้จิ๋วจะเรียกว่า “จุ้งที้พู้สัก” โดยทรงมีนามอย่างเต็ม ๆ ว่า “พระจุนทีสัปตโกฏิพุทธภควตี” ทางมหายานถือว่าพระองค์เป็นพระพุทธมารดาในรูปสัมโภคกายแห่งพระพุทธเจ้าในตรีกาลของภัทรกัปนี้ (อดีต ปัจจุบัน และอนาคต) ที่ทรงมีบุญญาบารมี และอิทธิฤทธิ์มากมาย สามารถบันดาลให้ผู้ที่เคารพศรัทธาสามารถสมปรารถนาได้ทุกประการ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Buswell, Robert E.; Lopez, Donald S., บ.ก. (24 November 2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. NJ: Princeton University Press. p. 204. ISBN 978-0-691-15786-3.