ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการสตาลินกราด, แนวรบด้านตะวันออก, สงครามโลกครั้งที่สอง

รถถังไทเกอร์ของฝ่ายเยอรมันและรถถังที-34ของฝ่ายโซเวียตที่ถูกทำลายระหว่างสู้รบกันในทางตอนใต้ของสหภาพโซเวียต.
วันที่12–23 ธันวาคม 1942
สถานที่
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ สตาลินกราด
ผล

สหภาพโซเวียตได้รับชัยชนะ

  • ฝ่ายอักษะประสบความล้มเหลวในการช่วยเหลือแก่กองทัพที่ 6 ให้ออกจากวงล้อมสตาลินกราด
คู่สงคราม
 สหภาพโซเวียต  เยอรมนี
โรมาเนีย โรมาเนีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหภาพโซเวียต อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี นาซีเยอรมนี เอริช ฟอน มันชไตน์
นาซีเยอรมนี แฮร์มันน์ โฮท
โรมาเนีย Petre Dumitrescu
กำลัง
(เมื่อ 23 ธันวาคม)
ทหาร 150,000 นาย
รถถัง 630 คัน
ปืนใหญ่ 1,500 กระบอก[1]
est. ทหาร 50,000+ นาย
รถถัง 250 คัน

แม่แบบ:Campaignbox Operation Blue to 3rd Kharkov

แม่แบบ:Romanian military actions in World War II

ปฏิบัติการ"พายุฤดูหนาว" (เยอรมัน: Unternehmen Wintergewitter) เป็นการรุกของกองทัพเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งกองทัพยานเกราะที่ 4 ของเยอรมันได้พยายามในการเปิดวงล้อมของกองทัพแดงแห่งโซเวียตเพื่อช่วยเหลือกองทัพที่ 6 ในเมืองสตาลินกราดที่กำลังถูกล้อมอยู่ในระหว่างยุทธการสตาลินกราด

ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 1942, กองทัพแดงได้ประสบความสำเร็จในแผนปฏิบัติการยูเรนัส (Operation Uranus),ด้วยการล้อมทหารฝ่ายอักษะจำนวนประมาณ 300,000 นายทั้งในและรอบๆตัวเมืองสตาลินกราด,กองกำลังเยอรมันที่อยู่ภายในวงล้อมสตาลินกราดและที่อยู่ภายนอกซึ่งได้รับคำสั่งและจัดระเบียบใหม่ภายใต้ของกองทัพกลุ่มดอน,ภายใต้การบังคับบัญชาของจอมพลเอริช ฟอน มันชไตน์ ในขณะเดียวกัน,ทางฝ่ายกองทัพแดงได้ดำเนินการอย่างต่อเนืองในการจัดสรรทรัพยากรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อเริ่มต้นในตอนท้ายของแผนการปฏิบัติการเสาร์ (Operation Saturn),ซึ่งวัตถุประสงค์แผนนี้คือเพื่อแยกกองทัพกลุ่มเอออกจากส่วนที่เหลือของกองทัพเยอรมัน เพื่อแก้ไขสถานการณ์,ทางลุฟท์วัฟเฟอได้พยายามจัดส่งทรัพยากรสนับสนุนต่างๆ เช่น เสบียง กระสุน เป็นต้นไปให้แก่กองกำลังเยอรมันที่ติดอยู่ในวงล้อมสตาลินกราดจากทางอากาศ เมื่อลุฟท์วัฟเฟอได้พิสูจน์ถึงด้วยไร้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจของตนและมันได้กลายเป็นที่ประจักษ์ว่าการฝ่าวงล้อมที่ประสบความสำเร็จอาจเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้เปิดฉากให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มันชไตน์จึงตัดสินใจอย่างโล่งใจ

ในขั้นแรก มันชไตน์ได้เข้านัดพบกับกองพลยานเกราะพันเซอร์ทั้งสี่ เนื่องจากเยอรมันไม่เต็มใจที่จะลดขนาดกองพลลงโดยการโยกย้ายกองกำลังหน่วยทหารเยอรมัน ภารกิจเพื่อเปิดเส้นทางจากกองทัพเยอรมันที่ 6 ไปยังกองทัพพันเซอร์ที่ 4 กองกำลังเยอรมันได้ตกหลุมพรางเข้าปะทะกับกองทัพโซเวียตหลายครั้งที่ได้รับมอบหมายภารกิจในการทำลายล้างกองกำลังเยอรมันที่ถูกโอบล้อมและการรุกของพวกเขาอยู่รอบบริเวณแม่น้ำ Chir ตอนล่าง

การรุกรานของเยอรมันได้ดักจับกองทัพแดงด้วยความประหลาดใจและได้รับผลประโยชน์มหาศาลในวันแรก กองกำลังหัวหอกได้มีความสุขที่ได้รับการสนับสนุนทางอากาศและสามารถเอาชนะการโจมตีตอบโต้กลับโดยทหารโซเวียตได้ โดยวันที่ 13 ธันวาคม โซเวียตได้ต้านทานการรุกรานของเยอรมันให้ชะลอลงเป็นอย่างมาก แม้ว่ากองกำลังเยอรมันจะเข้าสู่พื้นที่โดยรอบของ Verkhne-Kumskiy กองทัพแดงได้เปิดฉากปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์นได้ทำการบดขยี้กองทัพที่ 8 ของอิตาลีบนปีกซ้ายของกองทัพกลุ่มดอน ได้คุกคามความอยู่รอดของกองกำลังกลุ่มทั้งหมดของมันชไตน์ ด้วยการต้านทานและความเสียหายที่เพิ่มมากขึ้น มันชไตน์ได้เรียกร้องให้ฮิตเลอร์และผู้บัญชาการแห่งกองทัพที่ 6 นายพล ฟรีดริช เพาลุส เพื่อยินยอมให้กองทัพที่ 6 ทำการทะลวงฝ่าออกจากสตาลินกราด แต่ทั้งสองกลับปฏิเสธ กองทัพพันเซอร์ที่ 4 ยังคงพยายามที่จะเปิดเส้นทางไปยังกองทัพที่ 6 เมื่อวันที่ 18-19 ธันวาคม แต่ไม่สามารถที่จะทำเช่นนั้นได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากกองกำลังภายในวงล้อมสตาลินกราด มันชไตน์ได้ออกคำสั่งยุติการโจมตีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม และโดยคริสต์มาสอีฟ กองทัพพันเซอร์ที่ 4 ได้เริ่มทำการถอนกำลังไปยังจุดเริ่มต้น เนื่องจากความล้มเหลวของกองทัพที่ 6 ที่จะทะลวงฝ่าออกจากการโอบล้อมของโซเวียต กองทัพแดงสามารถดำเนินการบีบคั้นอย่างต่อเนื่องกับกองกำลังเยอรมันในสตาลินกราด

อ้างอิง

[แก้]
  • Beevor, Antony (1998). Stalingrad: The Fateful Siege: 1942–1943. Harmondsworth, United Kingdom: Penguin Putnam Inc. ISBN 0-670-87095-1.
  • Bell, Kelly (Fall 2006). "Struggle for Stalin's Skies". WWII History: Russian Front. Special. Herndon, Virginia: Sovereign Media. Issue. 1539-5456.
  • Clark, Alan (1965). Barbarossa: The Russian-German Conflict, 1941–1945. New York City, New York: William Morrow. ISBN 0-688-04268-6.
  • Cooper, Matthew (1978). The German Army 1933–1945. Lanham, Maryland: Scarborough House. ISBN 0-8128-8519-8.
  • Erickson, John (1983). The Road to Berlin: Stalin's War with Germany. New Haven, Connecticut: Yale University Press. ISBN 0-300-07813-7.
  • Erickson, John (1975). The Road to Stalingrad: Stalin's War With Germany. New Haven, Connecticut: Yale University Press. ISBN 0-300-07812-9.
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Erickson198323