นาฏยศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระศิวะในฐานะเจ้าแห่งการเต้นระบำ

นาฏยศาสตร์ (อักษรสันสกฤต: नाट्य शास्त्र, Nāṭyaśāstra) เป็นตำราภาษาสันสกฤตเกี่ยวกับศิลปะการแสดง[1][2] ซึ่งเชื่อว่าแต่งโดยฤๅษีพระภรตมุนี โดยฉบับสมบูรณ์เล่มแรกแต่งเสร็จในช่วง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 200[3][4] แต่มีการประมาณการมากที่สุดที่ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 500[5]

ตำรานี้แบ่งออกเป็น 36 ตอนที่มีชุดสะสมบทกวีเกี่ยวกับการแสดงรวม 6,000 อัน เนื้อหาที่อยู่ในนี้มีทั้งการจัดองค์ประกอบละคร โครงสร้างบทละคร และการสร้างเวทีเพื่อเป็นเจ้าภาพ ประเภทการแสดง การเคลื่อนไหวร่างกาย การแต่งหน้าและการแต่งกาย บทบาทและเป้าหมายของผู้กำกับศิลป์ ระดับดนตรี เครื่องดนตรี และการผสมผสานดนตรีด้วยศิลปะ[6][7]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ชื่อเรื่องนี้เป็นคำประสมระหว่างสองคำคือ "นาฏย" กับ "ศาสตร์" รากศัพท์สันสกฤตของคำว่า นาฏย คือ Naṭa (नट) ซึ่งหมายถึง "การแสดง, ตัวแทน"[8] ส่วนคำว่า ศาสตร์ (शास्त्र) หมายถึง "ศีล, กฎ, คู่มือ, บทสรุป, หนังสือหรือตำรา" และโดยทั่วไปใช้เป็นคำต่อท้ายในวรรณกรรมอินเดียสำหรับความรู้ในด้านการปฏิบัติที่กำหนดไว้[9]

วันที่และผู้แต่ง[แก้]

พระอิศวรทรงฟ้อนรำตามศิลปะแบบไทย

ไม่มีใครทราบวันที่แต่ง นาฏยศาสตร์ โดยคาดการณ์ที่ระหว่าง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 500[5][3] ข้อความเหล่านี้อาจเริ่มเขียนตั้งแต่สหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[4] และนักวิชาการส่วนใหญ่แนะนำว่า เมื่อดูการกล่าวถึงเอกสารนี้ในวรรณกรรมอินเดียอื่น ๆ คาดว่าตำราฉบับสมบูรณ์เล่มแรกน่าจะแต่งเสร็จระหว่าง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 200[3][6] มีการกล่าวหาว่า นาฏยศาสตร์ มีส่วนเชื่อมโยงกับโองการจากพระเวท 36,000 อันที่มีชื่อว่า Adibharata แต่ไม่มีหลักฐานใดสนับสนุนข้ออ้างนี้[10]

และเช่นเดียวกัน ไม่มีใครทราบผู้แต่ง นาฏยศาสตร์ และธรรมเนียมฮินดูยกให้ผู้แต่งเป็น ฤๅษีภรตมุนี ตำรานี้อาจเป็นผลงานของผู้แต่งหลายคน แต่นักวิชาการปฏิเสธแนวคิดนี้[11][12] Bharat Gupt กล่าวว่าข้อความในตำราแสดงความเป็นบุคลิกภาพของผู้แต่งคนเดียวในฉบับที่มีอยู่ ซึ่งเป็นมุมมองเดียวกันกับKapila Vatsyayan[13][14] อัคนีปุราณะ (Agni Purana) สารานุกรมทั่วไป มีบทศิลปะและกวีนิพนธ์ที่ตามรูปแบบ นาฏยศาสตร์ แต่มีรูปแบบศิลปะการแสดงมากกว่า ซึ่ง Winternitz กล่าวว่า สารานุกรมนี้อาจสะท้อนถึงการขยายตัวในสาขาศิลปศาสตร์ในช่วงที่มีการแต่ง อัคนีปุราณะ ขึ้น[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Katherine Young; Arvind Sharma (2004). Her Voice, Her Faith: Women Speak on World Religions. Westview Press. pp. 20–21. ISBN 978-0-8133-4666-3.
  2. Guy L. Beck (2012). Sonic Liturgy: Ritual and Music in Hindu Tradition. University of South Carolina Press. pp. 138–139. ISBN 978-1-61117-108-2. Quote: "A summation of the signal importance of the Natyasastra for Hindu religion and culture has been provided by Susan Schwartz, "In short, the Natyasastra is an exhaustive encyclopedic dissertation of the arts, with an emphasis on performing arts as its central feature. It is also full of invocations to deities, acknowledging the divine origins of the arts and the central role of performance arts in achieving divine goals (...)".
  3. 3.0 3.1 3.2 Natalia Lidova 2014.
  4. 4.0 4.1 Tarla Mehta 1995, pp. xxiv, 19–20.
  5. 5.0 5.1 Wallace Dace 1963, p. 249.
  6. 6.0 6.1 Sreenath Nair 2015.
  7. Emmie Te Nijenhuis 1974, pp. 3–4, 7–25.
  8. Chandra Rajan (1999). Loom Of Time, Kalidasa. Penguin Books. p. 29. ISBN 978-0-14-400078-4.
  9. James Lochtefeld (2002), "Shastra" in The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol. 2: N-Z, Rosen Publishing, ISBN 0-8239-2287-1, page 626; See also for help शास्त्र in Monier William's Sanskrit-English Dictionary, 2nd Edition, Oxford University Press, Archived by Koeln University, Germany
  10. Ghosh, Manomohan (2002). Natyasastra. p. 2 note 7–12. ISBN 81-7080-076-5.
  11. Kale Pramod (1974). The Theatric Universe: (a Study of the Natyasastra). Popular Prakashan. pp. 8–9. ISBN 978-81-7154-118-8.
  12. Maurice Winternitz 2008, pp. 9–10.
  13. Kapila Vatsyayan 2001, p. 6.
  14. Manmohan Ghosh, ed. (1950). Natyashastra. Calcutta: Asiatic Society. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help) See introduction p. xxvi for discussion of dates
  15. Maurice Winternitz 2008, p. 11.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]