คาร์ล วิลเฮ็ล์ม แฟร์ดีนันท์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์
คาร์ล วิลเฮ็ล์ม แฟร์ดีนันท์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค เจ้าผู้ครองเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล | |||||
ก่อนหน้า | คาร์ลที่ 1 | ||||
ถัดไป | ฟรีดริช วิลเฮล์ม | ||||
ประสูติ | 9 ตุลาคม ค.ศ. 1735 ว็อลเฟินบึทเทิล เบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | ||||
สิ้นพระชนม์ | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1806 โอทเทนเซิน ฮัมบวร์ค จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | (71 ปี)||||
ฝังพระศพ | 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1806 โบสถ์คริสตจักร โอทเทินเซิน ฮัมบวร์ค 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 มหาวิหารเบราน์ชไวค์ | ||||
ชายา | เจ้าหญิงออกัสตาแห่งบริเตนใหญ่ | ||||
| |||||
พระบุตร |
| ||||
ราชวงศ์ | เบราน์ชไวค์-เบเฟิร์น | ||||
พระบิดา | คาร์ลที่ 1 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค | ||||
พระมารดา | ฟิลิพพีเนอ ชาร์ล็อทเทอ แห่งปรัสเซีย | ||||
ลายพระอภิไธย |
คาร์ล วิลเฮ็ล์ม แฟร์ดีนันท์ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล (เยอรมัน: Karl Wilhelm Ferdinand von Braunschweig-Wolfenbüttel) เป็นเจ้าชายเยอรมันจากราชรัฐเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล ในปี 1780 เขาขึ้นสืบตำแหน่งต่อจากบิดาเป็นดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค และเป็นเจ้าผู้ครองเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล แต่ในอังกฤษนิยมเรียกท่านว่า ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ (Duke of Brunswick)
ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์นับถือพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ผู้เป็นเสด็จลุงอย่างมาก และยึดเอาเสด็จลุงเป็นต้นแบบ ทั้งในด้านการเป็นเผด็จการอันมีกุศลธรรม และการเป็นผู้นำทางทหาร จอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ได้รับการยอมรับเป็นนักการสงครามชั้นครูศตวรรษที่ 18 โดยมีความถนัดในการใช้สงครามนอกแบบ (irregular warfare)
ประวัติ
[แก้]คาร์ล วิลเฮ็ล์ม แฟร์ดีนันท์ ประสูติที่เมืองว็อลเฟินบึทเทิล เป็นโอรสองค์ใหญ่ของคาร์ลที่ 1 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล กับเจ้าหญิงฟิลิพพีเนอ ชาร์ล็อทเทอ แห่งปรัสเซีย (ขนิษฐาของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช) บิดาของท่านเป็นผู้ครองเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล ซึ่งเป็นรัฐขนาดเล็กของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาในปี 1753 พระบิดาย้ายเมืองหลวงของราชรัฐกลับไปยังเมืองเบราน์ชไวค์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่สุดในราชรัฐ
การทหาร
[แก้]ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ได้รับการกล่าวถึงในแง่ของเป็นผู้เชี่ยวชาญการยุทธ์ในศตวรรษที่ 18 โดยระหว่างปี 1756-63 ท่านมีส่วนร่วมในสงครามเจ็ดปี ร่วมกองกำลังผสมระหว่างบรรดาราชรัฐเยอรมันตอนเหนือภายใต้บัญชาของเจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งคัมบาร์ลันด์[1] เพื่อพิทักษ์ราชรัฐฮันโนเฟอร์ (ในการปกครองของกษัตริย์อังกฤษ) จากการรุกรานของราชอาณาจักรฝรั่งเศส แม้จะไม่สามารถปกป้องฮันโนเฟอร์ไว้ได้ แต่ท่านก็ยังรับราชการทหารต่อและได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองทัพเหนือแทนดยุกแห่งคัมบาร์ลันด์[2]
ต่อมาในปี 1773 ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นนายพลแห่งกองทัพปรัสเซีย และต่อมาในปี 1787 ได้รับแต่งตั้งเป็นจอมพล และจัดทัพ 20,000 นายไปรุกรานเนเธอร์แลนด์ การรุกรานเนเธอร์แลนด์ของท่านเป็นไปอย่างรวดเร็วและไร้การนองเลือด[2] ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม 1806 ระหว่างสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ ท่านบัญชาทัพเข้าเผชิญหน้ากับทัพฝรั่งเศสที่นำโดยหลุยส์-นีกอลา ดาวู และได้รับความพ่ายแพ้ ท่านสูญเสียดวงตาทั้งสองข้างจากการต้องกระสุนปืนในศึกครั้งนี้และได้รับบาดเจ็บหนัก และอสัญกรรมในวันที่ 10 พฤศจิกายน 1806 [2]
จอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ยังมีความใกล้ชิดกับราชวงศ์อังกฤษ โดยเสกสมรสกับเจ้าหญิงออกัสตาแห่งบริเตนใหญ่ ขนิษฐาในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ หนึ่งในพระธิดาของพระองค์ยังเสกสมรสเข้าสู่ราชวงศ์อังกฤษได้ขึ้นเป็นราชินีแห่งสหราชอาณาจักร ทำให้ทรงมีศักดิ์เป็นพระอัยกา(ตา)ของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "BRUNSWICK-LÜNEBURG, Charles William Ferdinand, Duke of". Napoleon.org. สืบค้นเมื่อ 28 January 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.