การบังคับใช้กฎหมายในประเทศกัมพูชา
การบังคับใช้กฎหมายในประเทศกัมพูชา ได้รับการจัดการโดย ตำรวจแห่งชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นหนึ่งในสามหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทย ตำรวจแห่งชาติมีกำลังพลจำนวน 64,000 นาย แบ่งออกเป็นหน่วยงานอิสระ 4 หน่วย และหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน[1] ตำรวจแห่งชาติมีความซ้ำซ้อนในการทำงานกับสารวัตรทหาร (รู้จักอย่างเป็นทางการคือกองราชอาวุธหัตถ์) ซึ่งทำหน้าที่ภายใต้กระทรวงกลาโหม[2]
ตำรวจแห่งชาติ
[แก้]กรมตำรวจแห่งชาติเป็นหนึ่งในสามหน่วยงานทั่วไปในกระทรวงมหาดไทย โดยที่เหลือได้แก่ ผู้ตรวจราชการฝ่ายการเมือง การบริหาร และการตำรวจ และกรมการปกครอง องค์กรนี้มีต้นกำเนิดมาจากการก่อตั้งกองตำรวจเขมรในสมัยอาณาจักรกัมพูชาที่ 1[3]
กระทรวงนี้นำโดยรองนายกรัฐมนตรี ซาร์เค็ง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติซึ่งมียศนายพลสี่ดาว เนตร สะเวือน
ตำรวจแห่งชาติกัมพูชาแบ่งออกเป็น 4 หน่วยงานอิสระ ที่นำโดยรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ 1 และหน่วยงานกลาง 5 กลุ่มงาน (Department) แต่ละหน่วยงานบริหารโดยหัวหน้ากรมและรองผู้บัญชาการ:
- 4 หน่วยงานอิสระ ได้แก่
- หน่วยตำรวจสากล
- หน่วยกองบัญชาการ
- หน่วยแทรกแซง
- หน่วยปราบปรามยาเสพติด
- หน่วยงานกลาง 5 กลุ่มงาน ได้แก่
- กลุมงานควบคุมชายแดน
- กลุ่มงานความสงบเรียบร้อย
- กลุ่มงานตำรวจศาล
- กลุ่มงานความมั่นคง
- กลุ่มงานกลาง (สำนักงานสนับสนุน)
กลุ่มงานควบคุมชายแดน
[แก้]กลุ่มงานตำรวจควบคุมชายแดนแบ่งออกเป็น 3 หน่วยย่อย ได้แก่
- หน่วยชายแดนทางบก
- หน่วยชายแดนทางทะเล
- หน่วยส่งกำลังบำรุงและเทคนิค
กลุ่มงานความสงบเรียบร้อย
[แก้]กลุ่มงานความสงบเรียบร้อยแบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย ได้แก่
- หน่วยความปลอดภัยทางสังคม
- หน่วยป้องกัน
- หน่วยธุรการ
- หน่วยรักษาความสงบเรียบร้อย
กลุ่มงานตำรวจศาล
[แก้]แม้ว่าตำรวจศาล (หน่วยงานที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายอาญาในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่) มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานอัยการสูงสุด แต่ได้รับคำสั่งจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหมายความว่าอัยการไม่สามารถควบคุมกลุ่มงานตำรวจศาล กองกำลังตำรวจศาลแบ่งออกเป็น 3 หน่วยย่อย ได้แก่
- หน่วยตำรวจอาญา
- หน่วยตำรวจเศรษฐกิจ
- หน่วยวิทยาศาสตร์และเทคนิค
กลุ่มงานความมั่นคง
[แก้]กลุ่มงานความมั่นคงแบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย ได้แก่
- หน่วยข้อมูลทั่วไป
- หน่วยตำรวจต่อต้านการก่อการร้าย
- หน่วยอารักขาบุคคลสำคัญ
- หน่วยชาวต่างชาติ
กลุ่มงานกลาง
[แก้]- ฝ่ายบุคคล
- ฝ่ายฝึกสอนและอบรม
- ฝ่ายส่งกำลังบำรุงและพัสดุ
กองราชอาวุธหัตถ์
[แก้]โครงสร้าง
[แก้]สารวัตรทหารหรือฌ็องดาร์เมอรี (กองราชอาวุธหัตถ์) เป็นเหล่าหนึ่งของกองทัพกัมพูชา ฌ็องดาร์เมอรีประกอบด้วยหน่วยขนาดเท่ากองพัน 10 หน่วย แต่ละหน่วยมีกำลังพลที่อยู่ระหว่าง 500-1,000 นาย มีกำลังมากกว่า 7,000 นายประจำการในทุกจังหวัด โดยมีสำนักงานใหญ่ในกรุงพนมเปญ ผู้บัญชาการคนปัจจุบันคือ พลโท เซา สุขา อดีตบอดี้การ์ดและที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ฌ็องดาร์เมอรีดูแลทั้ง 25 จังหวัด หน่วยนี้ประกอบด้วยทีมเคลื่อนที่ซึ่งประกอบด้วยหน่วยแทรกแซง 6 หน่วย กองพันยานพาหนะแทรกแซง 1 หน่วย ทหารม้า 1 หน่วย และทหารราบ 4 หน่วย โดยมีฐานอยู่ในพนมเปญ โรงเรียนฝึกอบรมฌ็องดาร์เมอรีตั้งอยู่ในก็อนดาลสตึง จังหวัดกันดาล
หน้าที่
[แก้]กองราชอาวุธหัตถ์มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสาธารณะและความปลอดภัยภายใน รวมถึง:
- การฟื้นฟูความสงบและเสถียรภาพภายหลังความวุ่นวาย
- การต่อต้านการก่อการร้าย
- การตอบโต้กลุ่มความรุนแรง
- การปราบปรามการจลาจลในเรือนจำ
หน้าที่ทางแพ่ง ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยและสันติภาพสาธารณะ การสืบสวนและป้องกันกลุ่มอาชญากรรม การก่อการร้าย และกลุ่มความรุนแรงอื่นๆ การปกป้องทรัพย์สินของรัฐและส่วนตัว การช่วยเหลือและช่วยเหลือพลเรือนและกองกำลังฉุกเฉินอื่น ๆ ในกรณีฉุกเฉิน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความไม่สงบ และความขัดแย้งทางอาวุธ หน้าที่เหล่านี้ทับซ้อนกันระหว่างฌ็องดาร์เมอรีและตำรวจแห่งชาติ[4]
หน้าที่ทางทหาร ได้แก่ การอนุรักษ์และปกป้องความมั่นคงของชาติ รัฐ ทรัพย์สิน สันติภาพสาธารณะ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน และช่วยเหลือกองกำลังรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ ในกรณีฉุกเฉิน ปราบปรามความไม่สงบ สงคราม การปราบปรามการจลาจล การสนับสนุนการใช้กฎอัยการศึกและการระดมพล ต่อสู้และจับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นอาชญากร ผู้ก่อการร้าย และกลุ่มความรุนแรงอื่นๆ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1] เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Ratana, Uong (25 October 2013). "Many hues of Cambodia's might".
- ↑ History of the Royal Gendarmerie of Cambodia
- ↑ Ratana, Uong (2013-10-25). "Many hues of Cambodia's might". Phnom Penh Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-17.