พูดคุย:พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เพิ่มหัวข้อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคยได้รับการเสนอชื่อให้เป็น บทความคุณภาพ แต่ไม่ผ่านเกณฑ์บทความคุณภาพในเวลานั้น เนื่องจากยังไม่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะพัฒนาบทความ อย่างไรก็ตาม หากคุณเชื่อว่ามีความผิดพลาดในการพิจารณา คุณสามารถเสนอบทความคุณภาพได้ใหม่ หากคุณคิดว่านี่เป็นความผิดพลาด (วันที่พิจารณา: 14 มีนาคม 2552) |
|
|
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
รูปแบบหน้า
[แก้]ผมว่า บทความนี้ออกจะรกๆ รูปใหญ่บ้างเล็กบ้าง และกลายเป็นหน้ารวมประวัติส่วนตัวของพันธมิตรสิบกว่าคนไปแล้วนะครับ ที่น่าจะเป็นก็คือแสดงรายชื่อและลิงก์ของสมาชิกแกนนำ ที่มา บทบาท แนวคิด ฯลฯ ประวัติของแต่ละคนไม่ต้องเอามาใส่ที่นี้หรอกครับ แต่ผมคงไม่แก้ให้นะครับ เพราะเดี๋ยวท่านก็แก้กลับเหมือนเดิมอีก 2T 08:57, 28 เมษายน 2006 (UTC) (ไม่ใช่ 172.x.x.x)
หน้านี้ถูกก่อกวนบ่อย
[แก้]เนื่อง จากช่วงนี้กระแสการเมืองกำลังมาแรงจึงมีคนบางคนได้พยายามเข้ามากล่าวหาโจม ตีพันธมิตรทางหน้าต่างนี้บ่อยมากๆ สร้างความรำคาญให้กับผู้ที่ดูแลหน้านี้ ฉะนั้นแล้วผมจึงจำเป็นต้องใส่แม่แบบกึ่งล็อก เอาไว้นะครับ --NBALIVE2551 23:56, 21 มิถุนายน 2551 (ICT)
- ผม เองยังไม่เห็นการโจมตีใด ซึ่งผมได้เอาป้ายออกแล้วนะครับ โปรดทราบว่าการใช้ป้ายนั้น ไม่ได้ล็อกบทความ ผู้ดูแลระบบเท่านั้นถึงมีสิทธิ์ที่จะล็อกบทความได้ --Jutiphan | พูดคุย - 14:41, 23 มิถุนายน 2551 (ICT)
ขอเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลอื่น ครับ
<a href=http://puntamit.com/ target=_blank>เว็บพันธมิตร "ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่" - puntamit.com ASTV + Chat</a>
และ mirror sites
<a href=http://puntamitr.com/ target=_blank>puntamitr.com</a>
<a href=http://puntamit.net/ target=_blank>puntamit.net</a>
เป้าหมาย
[แก้]คำประกาศและเป้าหมายของการชุมนุม ปัจจุบัน น่าจะถูกใส่ไว้ในนี้ด้วย ทำไมล่ะเลยไป โดยเฉพาะประเด็นร้อน ที่เพิ่งลงข่าวไปวันนี้หมาดๆ http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=94556
นายสุริยะใส กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ยังเสนอแนวคิดการเมืองใหม่เพื่อจะขจัดนักการเมืองหน้าเดิม คือ การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 30% และคัดสรรจากภาคส่วนต่างๆ อีก 70% เพราะเห็นว่า การดำเนินการแบบรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ไม่ใช่การสร้างเงื่อนไขให้สังคม ไม่ใช่การสร้างเงื่อนไข แต่ว่า การเมืองใหม่วันนี้ คิดว่า อาจจะไม่ใช่ต้องได้ข้อยุติพรุ่งนี้ มะรืน แต่ว่า เป็นการจุดประกายความคิดและจุดประเด็นให้สังคมได้หันมาถกเถียงกันดู ถ้าสังคมเห็นว่า การเมืองแบบปกติไปได้ ก็ต้องว่า กันไป แต่ว่า พันธมิตรฯ บอกว่า ไปไม่ได้”
- ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรายงานวันต่อวันครับ เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่ที่รวมข่าว --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 07:50, 24 มิถุนายน 2551 (ICT)
เพราะนี่เป็นจุดยืนใหม่ และ นโยบายใหม่ ของพันธมิตรนะครับ ไม่ใช่ข่าวทั่วไปธรรมดา แล้วจะละเลยไม่ใส่เข้าไปในเนื้อหาได้อย่างไร หากเป็นการเคลื่อนไหวทั่วไปผม ผมเห็นด้วยว่า ไม่จำเป็นต้องแก้มันทุกวัน แต่เมื่อมีการประกาศ ข้อเรียกร้อง และจุดยืนใหม่ก็ น่าจะ update ข้อมูลเสียบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ข้อมูลเก่า มาแสดงอย่างเดียว
- ผู้ดูแลได้เพิ่มข้อมูลดังกล่าวลงไปแล้ว ช่วงนี้บทความกำลังถูกล็อกเพราะว่า เมื่อวานนี้เกิดสงครามแก้ไขกันนะครับ (คนหนึ่งพยายามใส่เนื้อหาที่ไม่เป็นกลางลงไป) คุณสามารถปรับปรุงบทความได้หลังจาก
การล็อกหมดอายุแล้วหรือเมื่อผู้ดูแลปลดล็อกแล้ว โดยไม่ต้องรอให้คนอื่นแก้ (กรุณาสมัครสมาชิก) ส่วนประเด็นเรื่องข่าวปลีกย่อยก็ช่วยกันดูหน่อย อันไหนไม่สำคัญจะได้พิจารณาเอาออก --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:12, 24 มิถุนายน 2551 (ICT)
- ผู้ดูแลได้เพิ่มข้อมูลดังกล่าวลงไปแล้ว ช่วงนี้บทความกำลังถูกล็อกเพราะว่า เมื่อวานนี้เกิดสงครามแก้ไขกันนะครับ (คนหนึ่งพยายามใส่เนื้อหาที่ไม่เป็นกลางลงไป) คุณสามารถปรับปรุงบทความได้หลังจาก
การล็อกบทความ
[แก้]สวัสดีครับ ขณะนี้บทความได้ถูกปลดล็อกจากการแก้ไขชั่วคราวแล้ว สำหรับผู้ใช้ Passawuth & Surachart นั้นอาจต้องการอภิปรายการแก้ไขกันก่อนนะครับเพื่อเป็นการดี ไม่งั้นอาจเปลี่ยนมาบล็อกคุณทั้ง 2 แทน ขอบคุณครับสำหรับความร่วมมือ --Jutiphan | พูดคุย - 21:48, 24 มิถุนายน 2551 (ICT)
แก้รายชื่อกลุ่มนักวิชาการที่มาจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
[แก้]ขออนุญาตทุกท่านแก้รายชื่อกลุ่มนักวิชาการที่มาจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นะครับ
แม้ว่าจะมีหลักฐานว่ามีการเรียกคุยกันก็จริง (ตาม ref.) แต่อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ สังกัดอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะครับ (http://www.polsci.tu.ac.th/teacher/t_chaiwat.htm)
อาจารย์ประภาส ปิ่นตบแต่ง โดนตำหนิบนเวทีพันธมิตร เพราะให้สัมภาษณ์ (http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=12371&Key=HilightNews) และโดนอาจารย์ภูวดล ตำหนิ (http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000063993)
นอกนั้น ผมจะยังคงเดิมนะครับ ขอบคุณครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Nrad6949 (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 10:59, 4 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
พันธมิตรไม่ใช่พรรคการเมือง
[แก้]กลุ่มพันธมิตรไม่ใช่พรรคการเมือง ทำไมถึงใช้ แม่แบบ:พรรคการเมือง ล่ะครับ ??? --KungDekZa 17:55, 19 ธันวาคม 2551 (ICT)
- เอาออกไปแล้ว Kuruni 12:16, 20 ธันวาคม 2551 (ICT)
กวาดๆๆ
[แก้]หัวข้อสาเหตุที่มาของการชุมนุมนั้น เป็นการกล่าวอ้างของพันธมิตร ซึ่งก็คงไม่มีปัญหาอะไร ถ้าไม่ใช่ว่ารูปแบบของส่วนนั้นออกมาในรูปแบบของข้อเท็จจริงน่ะครับ ซึ่งในกรณีนี้นั้น แหล่งอ้างอิงซึ่งก็เป็นเครื่อข่ายพันธมิตรเองย่อมไม่อาจนับเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ก็ต้องค่อยๆเก็บกวาดกันไปนะครับ (มีสองทางคือหาแหล่งข้อมูลบุคคลที่สามมาอ้างอิงการเป็นข้อเท็จจริง กับปรับรูปแบบให้ชัดเจนว่าเป็นการอ้างของพธม.) Kuruni 22:33, 23 มีนาคม 2552 (ICT)
รายชื่อกลุ่มธุรกิจสินค้าที่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
[แก้]- บริษัท สหพัฒน์พิบูล (มาม่า) จำกัด
- ผงซักฟอก เปา
- น้ำยาล้างจาน ไลปอนเอฟ และ ไลปอนเลมอน
- ผลิตภัณฑ์ ไฮคลาส
- ผงซักฟอก โปร
- ผลิตภัณฑ์กำจัดยุงและแมลง คินโช
- น้ำยาขจัดคราบ ไคลไฟท์
- เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ DTAC
- น้ำหอมระบายอากาศ ฮาน่า
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ลุค
- ผลิตภัณฑ์ เซนต์แอนดรูว์
- ยาสีฟัน ซอลท์
- โชโกบุสึ โมโนกาตาริ
- ซิสเท็มม่า
- สบู่สมุนไพร ฟลอเร่
- ครีมปกป้องผิวช่วงตั้งครรภ์ ไอนิว
- ไฮ-เฮิร์บ
- น้ำตาลทราย มิตรผล
- ซอสหอยนางรม ราชา
- ผักกาดดอง โชมิ
- ลอตเต้
- ขนมปังอบกรอบ นิสชิน
- ผลิตภัณฑ์ อสร.
- บะหมี่ นิสชิน
- กะทิ อร่อยดี
- น้ำแร่ มองต์เฟลอ
- ธนาคารกรุงเทพฯ
- ธนาคารกสิกรไทย
- โรงพยาบาลกรุงเทพฯ
- มหาวิทยาลัยรังสิต
- โทรศัพท์ จี-เน็ต
- เจ เพรส
- อาหารเสริม I Healthi Q-10
- แป้ง มิสทีน
- เบียร์ช้าง
- เปา เอ็มวอช
- เซียงเพียวอิ๊ว
- ผลิตภัณฑ์ยา ซาร่า
เครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
[แก้]บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ภาคเหนือ
[แก้]- กลุ่มพันธมิตรพิษณุโลก มีนายภูริทัต สุธาธรรม เป็นแกนนำ[1]
- ชุมนุมลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยประชาชนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อาทิเช่น ตาก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ฯลฯ[1]
ภาคตะวันออก
[แก้]- กลุ่มพันธมิตรภาคตะวันออก มีนายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นประธานเครือข่าย ประกอบด้วยประชาชนจากอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดชลบุรี อาทิเช่น อ.เมือง อ.พนัสนิคม อ.ศรีราชา อ.บ้านบึง อ.สัตหีบ อ.บางละมุง อ.บ่อทอง อ.หนองใหญ่ อ.พานทอง อ.เกาะสีชัง รวมถึงประชาชนจากจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ตราด[2]
- กลุ่มพันธมิตรฯ พัทยา-นาเกลือ-บ้านบึง-พนัส มีนายยงยุทธ เมธาสมภพ เป็นประธานเครือข่าย[3]
- คณะทำงานพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดเลย มี นายหินชนวน อโศกตระกูล เป็นแกนนำ[4]
ภาคอีสาน
[แก้]- สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่น มีนางเครือมาศ นพรัตน์ เป็นประธานสมัชชาประชาชนฯ และนายเธียรชัย นนยะโส เป็นรองประธานฯ[5]
- สมัชชาประชาชนภาคอีสานจังหวัดบุรีรัมย์ มีนางสำเนียง สุภัณพจน์ เป็นประธาน มีแนวร่วมเป็นองค์กรเครือข่าย 18 องค์กร[6]
ภาคใต้
[แก้]- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสตูล มี นางอุดมศรี จันทร์รัศมี[7]และ อ.ประโมทย์ สังหาร[8] เป็นแกนนำ
- สมัชชาภาคใต้ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (กำลังก่อตั้ง) [8]
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
[แก้]- ประกอบด้วยกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 43 แห่ง กลุ่มหลักอยู่ที่ สหภาพ รสก. การไฟฟ้า, สหภาพ รสก. การรถไฟ[9]
- ดูเพิ่มเติม สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจแรงงานสัมพันธ์ (สรส.) ประกอบด้วย สร.กสท. (การสื่อสารแห่งประเทศไทย) , สร.ท. (ทศท.) , สร.กปน. (การประปานครหลวง) , สร.กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) , สร.กบท. (การบินไทย)
- แกนนำสหภาพฯ
- นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- นาย สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) [10] และอดีตแกนนำสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย (สายของ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข )
- นายสุภิเชษฐ์ สุวรรณชาตรี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่[11]
- นายสาทร สินปรุ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย สาขานครราชสีมา[12]
- นายพงษ์ฐิติ พงษ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) [13]
- นายสนาน บุญงอก ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กำลังคน : สหภาพมีพนักงานขับรถและกระเป๋ารถเมล์รวม 9 พันคน แต่หากรวมกับพนักงานในส่วนอื่น ๆ ด้วยจะมีถึง 1.5 หมื่นคน[14]
- สหภาพการบินไทย[15]
- นายสมชาย ศรีนิเวศ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การประปานครหลวง ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณทำเนียบรัฐบาลว่า ต่อจากนี้ไปทางสหภาพฯ กปน.จะปฏิบัติการเชิงรุกตามแนวคิดของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี[16]
- นายไพโรจน์ กระจ่างโพธิ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในช่วงบ่ายวันที่ 1 ก.ย. นี้ จะมีแถลงชี้แจงภายหลังการประชุมร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารของรัฐ ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธ.ก.ส. เพื่อแสดงจุดยืนหรือแนวทางการเคลื่อนไหว [17]
- นายอำนาจ พละมี คณะกรรมการฝ่ายการเมือง สรส.
- นายคมสันต์ ทองศิริ รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง
เครือข่ายสันติอโศก
[แก้]เครือข่ายสันติอโศก มีพุทธสถานสันติอโศกและสาขาอีก 8 สาขา ดังต่อไปนี้[ต้องการอ้างอิง]
- พุทธสถานสันติอโศก ตั้งอยู่ถนนสุขาภิบาล 1 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
- พุทธสถานปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม
- พุทธสถานศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ
- พุทธสถานศาลีอโศก จังหวัดนครสวรรค์
- พุทธสถานสีมาอโศก จังหวัดนครราชสีมา
- พุทธสถานราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
- พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ จังหวัดเชียงใหม่
- สังฆสถานทะเลธรรม จังหวัดตรัง
- สังฆสถานหินผาฟ้าน้ำ จังหวัดชัยภูมิ
เครือข่าย NGO
[แก้]- NGO ภาคใต้ มีแกนนำโดย นายบรรจง นะแส
- NGO ภาคเหนือ มีแกนนำโดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
- คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
กลุ่มนักวิชาการ
[แก้]- กลุ่มรัฐศาสตร์จุฬาฯ: ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา, ดร.สุริชัย หวันแก้ว, ดร.ไชยันต์ ไชยพร, ดร.วีระ สมบูรณ์[ต้องการอ้างอิง]
- กลุ่มนักวิชาการที่ใกล้ชิดกับเครือข่ายผู้จัดการ (อาทิ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวานิช, ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ)
- กลุ่มนักวิชาการอื่นๆ อาทิ ดร.สุวินัย ภรณวลัย, ศ.ระพี สาคริก, นายไพศาล พืชมงคล, ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ
กลุ่มสว.
[แก้]- 20 สว. อาทิ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เข้าให้กำลังใจพันธมิตร ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.30 น. โดยประกาศขอเข้าร่วมกับพันธมิตรเป็นทัพหน้า เพราะหลายคนเกิดจากเวทีพันธมิตร โดยนายสนธิ ได้ขึ้นบนเวทีประกาศแนะนำตัวกลุ่ม ส.ว.แต่ละคน รวมถึง พล.อ.อ.ณพฤกษ์ มัณฑะจิตร อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศที่เข้าให้กำลังใจด้วย[18]
กลุ่มศิลปิน
[แก้]- กลุ่มศิลปินสายบันเทิง อาทิ ศรัณยู วงศ์กระจ่าง, ศิริลักษณ์ ผ่องโชค , จุลจักร จักรพงษ์ , สเกน สุทธิวงศ์ , หรั่ง ร็อกเคสตร้า , สุกัญญา มิเกล
- กลุ่มศิลปินเพื่อชีวิต ไพวรินทร์ ขาวงาม, คมทวน คันธนู, วสันต์ สิทธิเขตต์, ซูซู, เศก ศักดิ์สิทธิ์, คีตาญชลี, คาราวาน, นิด กรรมาชน, วงโฮป, จีวัน, ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ, แสง ธรรมดา, คนด่านเกวียน, สุนทรี เวชานนท์
- กวี อาทิ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, อังคาร กัลยาณพงศ์
กลุ่มสื่อมวลชน
[แก้]- กลุ่มผู้จัดการ : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ (ปัจจุบัน หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ), [1] เว็บไซต์ผู้จัดการ, [2] ASTV, นิตยสาร Positioning, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ (ปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ 360 องศา), [3] วิทยุชุมชนเจ้าฟ้า
- กลุ่มแนวหน้า
- กลุ่มไทยโพสต์
- เครือเนชั่น
กลุ่มแนวร่วมอื่นๆ
[แก้]- แนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเขตเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์, เขตวงเวียน 22 กรกฎา[19]
- เว็บพันธมิตร Puntamit.com พันธมิตรพิทักษ์ชาติและราชบัลลังก์ [20] หรือ นักรบออนไลน์
ทนายความ
[แก้]- เป็นกลุ่มทนายด้านสิทธิมนุษยชน ของสภาทนายความ และเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนพอสมควร เนื่องจากเป็นทีมทนายที่รับว่าความกับชาวบ้านและเอ็นจีโอกลุ่มต่างๆ มานาน ได้แก่ สุวัตร อภัยภักดิ์, นิติธร ล้ำเหลือ[ต้องการอ้างอิง]
สหรัฐอเมริกา
[แก้]Young PAD เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ
[แก้]หลังจากเกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง นปช.กับ พันธมิตรฯที่แยกจปร. ทำให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งนำโดย นายวสันต์ วานิชย์ ตัดสินใจรวมพลังกันจัดตั้งกลุ่ม เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ หรือ Young People"s Alliance For Democracy (Young PAD) โดยในวันเสาร์ที่ 6 กันยายน เวลาประมาณ 20.00 น. ได้เดินขบวนจากที่ชุมนุมที่สะพานมัฆวานฯไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศต่อต้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช และยังประกาศยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองอารยะขัดขืนหยุดเรียนเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันอังคารที่ 9 กันยายนเป็นต้นไป และหยุดติดต่อกันไปจนกว่ารัฐบาลจะลาออก การเคลื่อนไหวครั้งนี้มีนิสิตและนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้าร่วมกว่า 80 สถาบัน ซึ่งก่อตั้งโดยการ์ดอาสาของพันธมิตรฯ คือ[21]
- กุลทิพย์ กาลสัมฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- แสนยากรณ์ สิงห์วีรธรรม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วรเมธ ภู่ภูมิรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ศิริพล เคารพธรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วสันต์ วานิชย์ เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ
หลังจากนี้ทางกลุ่ม Young PAD ก็ได้มีเวทีจัดกิจกรรมของตัวเอง โดยใช้เวทีที่สะพานมัฆวานรังสรรค์เป็นหลัก
เหตุการณ์ วันที่ 7 ตุลาคม 2551 มีคณะทำงานและสมาชิก Young PAD ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมขยายพื้นที่ชุมนุมตั้งแต่คืนวันที่ 6 ไปจนถึงเช้าวันที่ 7 ตุลาคม ตลอดทั้งเหตุการณ์ คณะทำงานได้เปลี่ยนเป็นการ์ดเยาวชน ด้านหน้าถนนอู่ทอง และหน้า บชน. ทำให้มีสมาชิกบาดเจ็บสาหัส 1 คน และบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดอีก 5 คน ที่เหลือโดนแก๊สน้ำตา
ทั้งนี้คณะทำงานทั้งหมดเลื่อนกิจกรรมที่ไม่เร่งด่วนออกไป เช่น กิจกรรมการเปิด Young PAD ภูเก็ต จากเดิมวันที่ 10 ไปเป็นวันที่ 13 แทน และในระยะเวลาช่วงหลังจากวันที่ 7 คณะทำงานทั้งหมดได้ออกไปแจกใบปลิว ในกรณีที่ตำรวจทำร้ายประชาชน ตามสถานที่สำคัญเช่น สีลม สยาม เป็นต้น เนื่องจากเห็นว่าสื่อมวลชนไม่ได้ให้ข้อเท็จจริงเท่าที่ควร
ไม่อยากให้ทั้งสองฝ่ายเอาเครือข่ายมาอวด มันจะยุ่ง --Horus | พูดคุย 20:23, 21 กันยายน 2552 (ICT)
รายชื่อเว็บไซต์
[แก้]รายชื่อเว็บไซต์มีแต่เว็บไซต์ของพันธมิตรฯ ไม่มีสถาบันอื่นที่สนับสนุนหรือต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯ เลยหรือ --Horus 19:32, 24 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ก็มีนี่ครับไม่ใช่ไม่มี ประชาไท มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ก็ไม่ใช่พวกพันธมิตรสักหน่อยครับ รวมถึง Human Right อะไรนั่นด้วย --ผู้ใช้:บรรณกร 13:48, 2 กันยายน 2552 (ICT)
- ตาดีจังเลยนะครับ แต่ผมก็แค่อยากได้ข้อมูลของกลุ่มผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหน่อยเท่านั้น ผมเองก็เห็นแก่ "กลุ่ม" ของคุณเหมือนกันนะครับเนี่ย --Horus | พูดคุย 19:11, 2 กันยายน 2552 (ICT)
นำออกจากบทความ
[แก้]ตอนเช้ามืดของวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีกลุ่มชายฉกรรจ์แต่งกายด้วยชุดและโพกผ้าสีดำอำพรางใบหน้าพร้อมอาวุธ บุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเอ็นบีที ผู้อ้างตัวว่าเป็นนักรบศรีวิชัย ซึ่งเป็นผู้รักษาความปลอดภัยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่ในที่สุดก็ถูกควบคุมตัวไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี และเวลาประมาณ 8.30 น. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้บุกรุกเข้าไปในสถานีเอ็นบีทีอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์ "เพื่อทวงสมบัติชาติคืนจากรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลใช้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการโจมตีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง" และต้องการปรับสัญญาณของเอ็นบีที เข้ากับเอเอสทีวี แต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่สามารถถอดรหัสได้[22] ซึ่งการเข้าบุกรุกครั้งนี้ได้รับการประณามจากสมาคมนักข่าวและหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า "ถือว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างรุนแรงและอุกอาจที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะมีการคุกคาม ข่มขู่และขัดขวางการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน"[23] และยังถูกประณามจากสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ผู้สื่อข่าวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า "การกระทำของผู้ชุมนุมในนามกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด และโจมตีเสรีภาพของสื่ออย่างโจ่งแจ่งที่สุด ขณะนี้สื่อมวลชนถูกคุกคาม ข่มขู่ และไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเอง และการบุก NBT ครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้"[24] --Horus | พูดคุย 21:11, 21 กันยายน 2552 (ICT)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 พันธมิตรฯสองแควพร้อมเคลื่อนพลสมทบชุมนุมใหญ่พรุ่งนี้
- ↑ "พันธมิตรฯต.อ." นับพันพร้อมแล้ว! เดินหน้าเข้ากทม.ร่วมชุมนุม
- ↑ พันธมิตรฯ พัทยา-นาเกลือ-บ้านบึง–พนัส แถลงเชิญชวนร่วมชุมนุม 25 พ.ค.
- ↑ พันธมิตรฯเมืองเลยเดินทางคืนนี้ ลั่นพร้อมต้านหุ่นเชิดแม้วแก้รธน.
- ↑ สมัชชาฯ ขอนแก่นพร้อมร่วมชุมนุม 25 พ.ค. ปลุกสำนึกคนไทยร่วมปกป้องชาติ
- ↑ เครือข่าย 18 องค์กรบุรีรัมย์เคลื่อนพลเข้ากรุงคืนนี้ -ร่วมชุมนุมต้านแก้“รธน.”
- ↑ พันธมิตรฯสตูล รับบริจาคค่ารถหวังสมทบพันธมิตรฯกทม.
- ↑ 8.0 8.1 “หมอศุภผล” ชี้มะเร็งระบอบทรราชย์กำลังลุกลาม หนุนสมัชชาใต้ล่างจับมืออีสานสู้
- ↑ "ชี้ขาดที่ขนาดของ “หัวใจ”"
- ↑ "รัฐวิสากิจ"ร่วมไล่"หุ่นเชิด"กับพันธมิตรฯ นัดหยุดงาน 26-27 ส.ค.
- ↑ รถไฟสายใต้ร่วมอารยะขัดขืนหยุดเดินรถพรุ่งนี้เช้า
- ↑ สหภาพแรงงานรถไฟฯ ลาป่วย! - หยุดเดินรถพร้อมกันทั่วประเทศแล้ว
- ↑ "ทีโอที" ชวนพนักงานลาพักร้อน
- ↑ ปธ.สหภาพแรงงาน ขสมก. เตรียมถกด่วน หลัง "สมัคร" ประณามนัดหยุดงาน
- ↑ "บินไทย"เผยสหภาพฯให้ลางาน15,000คนไม่กระทบนักบิน
- ↑ สหภาพกปน.-กปภ.นัดหยุดงานทั่วประเทศพรุ่งนี้ ขู่ตัดน้ำหากปชช.ถูกรังแก
- ↑ จับตา!แถลงจุดยืนสหภาพฯ 3 แบงก์รัฐ บ่ายนี้
- ↑ 20 ส.ว.เข้าให้กำลังใจม็อบถึงทำเนียบ
- ↑ แนวร่วมพันธมิตรฯ ลุกฮือสู้ ตร.เถื่อนสลายผู้ชุมนุม
- ↑ เปิดตัว www.puntamit.com ณ เวทีพันธมิตรฯ ทำเนียบรัฐบาล
- ↑ Sanook.com, ใครเป็นใครใน Young PAD, เข้าถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551
- ↑ พันธมิตรฯบุกยึด NBT dailynews.co.th
- ↑ ส.นักข่าวฯ ประณามม็อบไอ้โม่งบุกยึดเอ็นบีที dailynews.co.th
- ↑ มุมมองสื่อทั่วโลกกับการประท้วงของพันธมิตร komchadluek.net
กษัตริย์นิยม
[แก้]- พฤติการณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯ สามารถอธิบายด้วยคำว่า "กษัตริย์นิยม" (Royalist) ได้ไหมครับ น่าจะเพิ่มในส่วน อุดมการณ์ ได้ --Horus | พูดคุย 18:01, 21 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เนื่องจากเรื่องสถาบันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนสำหรับคนไทย หากใช้คำว่า "กษัตริย์นิยม" มันดูรุนแรงเกินไป อาจส่งผลให้วิกิถูกโจมตีอย่างรุนแรงได้เช่นกัน เหมือนกรณี ควรเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญเหมือนเดิมครับ --Pitt 18:11, 21 เมษายน 2553 (ICT)
- เป็นเหตุผลที่ไม่เข้ากับแนวคิดดั้งเดิมของผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียเอาเสียเลย จิมโบ เวลส์ ระบุว่า สิ่งที่เขียนในวิกิพีเดียอาจแตกต่างจากสิ่งที่รัฐบาลเผยแพร่แก่คนในประเทศนั้น ๆ หรืออาจไม่ใช่ประวัติศาสตร์กระแสหลัก หรืออาจเป็นความคิดที่ไม่เป็นที่ยอมรับโดยคนส่วนใหญ่ แต่นี่คือสารานุกรมที่เปิดกว้างนะครับ อย่างไรก็ตาม คุณก็ใส่ในนามของ "สื่อต่างประเทศ" หรืออะไรก็ได้ ไม่น่าจะนำไปสู่อะไรที่รุนแรง --Horus | พูดคุย 18:21, 21 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เนื่องจากเรื่องสถาบันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนสำหรับคนไทย หากใช้คำว่า "กษัตริย์นิยม" มันดูรุนแรงเกินไป อาจส่งผลให้วิกิถูกโจมตีอย่างรุนแรงได้เช่นกัน เหมือนกรณี ควรเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญเหมือนเดิมครับ --Pitt 18:11, 21 เมษายน 2553 (ICT)
- มีคนใช้คำว่า "นิยมเจ้า" พอสมควรนะครับ --octahedron80 18:22, 21 เมษายน 2553 (ICT)
- แล้วถ้าใช้คำว่า ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ แทนจะดีมั๊ย --Pitt 18:48, 21 เมษายน 2553 (ICT)
- พฤติกรรมเชิดชูสถาบันจะเข้ากับส่วนนี้ได้หรือครับ เพราะมันไม่ใช่ "การปกป้อง" ควรใช้คำที่อธิบายภาพกว้าง ๆ --Horus | พูดคุย 18:52, 21 เมษายน 2553 (ICT)
- ตัดทิ้งไปเลยดีกว่า Choosing between Truth and safety of Lies... 00:15, 22 เมษายน 2553 (ICT)
อยากให้แก้ไขส่วนนี้ครับ
[แก้]เป็นวรรคที่สี่ของส่วนความนำ "ต่อมาผลการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเคยดำเนินการเคลื่อนไหวก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร กลับมาชุมนุมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวชและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง"
อยากให้แก้ไขเรื่องการไล่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนว่าสาเหตุไม่ใช่เรื่องเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์ของคุณทักษิณอย่างเดียว มีสาเหตุเพื่อต้านการโกงเลือกตั้งและการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้พ้นผิดด้วย อ่านแถลงการณ์พันธมิตรฯได้ครับ http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.2551 --ผู้ใช้:บรรณกร 18:59, 14 กันยายน 2553 (ICT)
เพิ่มเติม จุดยืนและเป้าหมายการขับเคลื่อน
[แก้]- ช่วงแรก พ.ศ.2549 ขับไล่ระบอบทักษิณ
* พันธกิจของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีทั้งหมด 3 ข้อ คือ
- เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ขาดความชอบธรรมโดยพื้นฐาน ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- เปิดโปงวาระที่ซ่อนเร้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และบุคคลใกล้ชิด
- ผลักดันให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 โดยมุ่งลดอำนาจรัฐ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากขึ้น
- ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2551 (193 วัน) ขับไล่นอมินีระบอบทักษิณและสร้างการเมืองใหม่
หลังรัฐบาลขิงแก่ ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สิ้นสุดลงและจัดให้มีการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งได้รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐบาลนอมินีของระบอบทักษิณ และพยายามแก้รัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมระบอบทักษิณและเครือข่าย ทำให้พันธมิตรฯ ตัดสินใจฟื้นพันธมิตรขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยุติบทบาทลงหลังรัฐประหาร คือ วันที่ 22 กันยายน 2549 ในระหว่างขับไล่รัฐบาลสมัคร มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแต่สุดท้ายก็ได้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จากพรรคพลังประชาชน มาเป็นนายกฯ ซึ่งมาจากพรรคพลังประชาชนเช่นกัน และยังดำเนินแนวทางการฟอกผิดระบอบทักษิณ ทำให้พันธมิตรฯ ตัดสินใจชุมนุมต่อ ในระหว่างการชุมนุมที่ยืดเยื้อพันธมิตรฯ ได้เสนอแนวคิด “การเมืองใหม่” เพื่อผ่าทางตันการเมืองไทย และนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยอย่างรอบด้าน แนวคิดการเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ มีสาระจากแถลงการณ์ดังนี้Gifty27 20:05, 4 ตุลาคม 2554 (ICT)
ขอให้แก้เพิ่มเติม การชุมนุมทางการเมืองที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 193 วัน
[แก้]เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการเคลื่อนไหวเพื่อชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องยาวนานโดยการปักหลักพักค้างเป็นระยะเวลานานถึง 193 วัน โดยเริ่มนับจากวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองรอบใหม่หลังจากที่ห่างหายไปตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 โดยการชุมนุมที่เริ่มในกลางปี 2552 นั้นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ภายหลังจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังประชาชน ที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี เป็นผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หัวหน้าพรรคพลังประชาชนและนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ในเวลานั้นพ้นจากตำแหน่งไปโดยปริยาย ส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคร่วมรัฐบาลเดิมมีการเปลี่ยนแปลง หันมาให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้กลับมาเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในเวลาต่อมาตามที่ได้ทราบกันดี
- การเคลื่อนไหวทางการเมืองและการดำเนินการกิจกรรมทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อการแสดงท่าทีทางการเมืองอันไม่สยบยอมหรือยอมรับต่อการบริหารราชการแผ่นดินของพรรคพลังประชาชน โดยเริ่มต้นดังนี้
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เริ่มต้นเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยจัดสัมมนาที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีการเสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจในการเมืองหลายกลุ่ม รวมทั้งมีการแสดงงิ้วธรรมศาสตร์อีกครั้ง และเปิดตัวผู้ทำงานทางด้านติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลชุดต่าง ๆ และจัดประชุมเสวนาอีกครั้งที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน และเริ่มชุมนุมเคลื่อนไหวอย่างจริงจังนับหนึ่ง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กร จากสื่อมวลชน นักวิชาการ ศิลปิน รวมถึงองค์กรอิสระจากภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดระยะเวลาการชุมนุมต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยถึง 193 วัน ในที่สุดผลจากคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช แสดงให้เห็นว่าการได้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินที่ผ่านมานั้นไม่ใช่วิถี ทางของประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการได้มาซึ่งอำนาจด้วยการทุจริตการเลือกตั้ง และเป็นบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นเป็นความถูกต้องชอบธรรมเป็นที่ประจักษ์ ดังนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาเพื่อประชาธิปไตยจึงขอประกาศยุติการชุมนุมทั้ง ที่ทำเนียบรัฐบาล สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 แม้ตลอดระยะเวลาของการชุมนุมที่ยืดเยื้อยาวนาน และพันธมิตรฯ ได้ยึดหลักแนวทางสันติ อหิงสา ชุมนุมกันโดยสงบปราศจากอาวุธ แต่ก็มีฝ่ายต่อต้านใช้ความรุนแรงโจมตีตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งมวลชนฝ่ายต่อต้านมาปิดล้อมการชุมนุมที่ทำเนียบ การล้มเวทีพันธมิตรฯ ในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งการยิงระเบิด M79 เข้าใส่ที่ชุมนุมพันธมิตร หลายครั้งจนมีคนเสียชีวิตกว่า 10 คน และบาดเจ็บรวมตลอดการชุมนุม 193 วัน กว่า 1,000 คน Gifty27 20:19, 4 ตุลาคม 2554 (ICT)
ปลดล็อก
[แก้]กรุณาปลดล็อกบทความนี้เดี๋ยวนี้เพื่อปรับปรุงเนื้อหาที่ล้าสมัย ปรับภาษา ใส่แหล่งอ้างอิง ใส่ลิงก์ภายใน และเพิ่มเติมเนื้อหาให้เป็นบทความคุณภาพด้วยครับ--49.49.148.4 15:28, 20 พฤศจิกายน 2554 (ICT)