พูดคุย:พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

รูปแบบหน้า[แก้]

ผมว่า บทความนี้ออกจะรกๆ รูปใหญ่บ้างเล็กบ้าง และกลายเป็นหน้ารวมประวัติส่วนตัวของพันธมิตรสิบกว่าคนไปแล้วนะครับ ที่น่าจะเป็นก็คือแสดงรายชื่อและลิงก์ของสมาชิกแกนนำ ที่มา บทบาท แนวคิด ฯลฯ ประวัติของแต่ละคนไม่ต้องเอามาใส่ที่นี้หรอกครับ แต่ผมคงไม่แก้ให้นะครับ เพราะเดี๋ยวท่านก็แก้กลับเหมือนเดิมอีก 2T 08:57, 28 เมษายน 2006 (UTC) (ไม่ใช่ 172.x.x.x)

หน้านี้ถูกก่อกวนบ่อย[แก้]

เนื่อง จากช่วงนี้กระแสการเมืองกำลังมาแรงจึงมีคนบางคนได้พยายามเข้ามากล่าวหาโจม ตีพันธมิตรทางหน้าต่างนี้บ่อยมากๆ สร้างความรำคาญให้กับผู้ที่ดูแลหน้านี้ ฉะนั้นแล้วผมจึงจำเป็นต้องใส่แม่แบบกึ่งล็อก เอาไว้นะครับ --NBALIVE2551 23:56, 21 มิถุนายน 2551 (ICT)

ผม เองยังไม่เห็นการโจมตีใด ซึ่งผมได้เอาป้ายออกแล้วนะครับ โปรดทราบว่าการใช้ป้ายนั้น ไม่ได้ล็อกบทความ ผู้ดูแลระบบเท่านั้นถึงมีสิทธิ์ที่จะล็อกบทความได้ --Jutiphan | พูดคุย - 14:41, 23 มิถุนายน 2551 (ICT)


ขอเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลอื่น ครับ <a href=http://puntamit.com/ target=_blank>เว็บพันธมิตร "ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่" - puntamit.com ASTV + Chat</a> และ mirror sites <a href=http://puntamitr.com/ target=_blank>puntamitr.com</a> <a href=http://puntamit.net/ target=_blank>puntamit.net</a>

เป้าหมาย[แก้]

คำประกาศและเป้าหมายของการชุมนุม ปัจจุบัน น่าจะถูกใส่ไว้ในนี้ด้วย ทำไมล่ะเลยไป โดยเฉพาะประเด็นร้อน ที่เพิ่งลงข่าวไปวันนี้หมาดๆ http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=94556

นายสุริยะใส กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ยังเสนอแนวคิดการเมืองใหม่เพื่อจะขจัดนักการเมืองหน้าเดิม คือ การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 30% และคัดสรรจากภาคส่วนต่างๆ อีก 70% เพราะเห็นว่า การดำเนินการแบบรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ไม่ใช่การสร้างเงื่อนไขให้สังคม ไม่ใช่การสร้างเงื่อนไข แต่ว่า การเมืองใหม่วันนี้ คิดว่า อาจจะไม่ใช่ต้องได้ข้อยุติพรุ่งนี้ มะรืน แต่ว่า เป็นการจุดประกายความคิดและจุดประเด็นให้สังคมได้หันมาถกเถียงกันดู ถ้าสังคมเห็นว่า การเมืองแบบปกติไปได้ ก็ต้องว่า กันไป แต่ว่า พันธมิตรฯ บอกว่า ไปไม่ได้”

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรายงานวันต่อวันครับ เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่ที่รวมข่าว --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 07:50, 24 มิถุนายน 2551 (ICT)

เพราะนี่เป็นจุดยืนใหม่ และ นโยบายใหม่ ของพันธมิตรนะครับ ไม่ใช่ข่าวทั่วไปธรรมดา แล้วจะละเลยไม่ใส่เข้าไปในเนื้อหาได้อย่างไร หากเป็นการเคลื่อนไหวทั่วไปผม ผมเห็นด้วยว่า ไม่จำเป็นต้องแก้มันทุกวัน แต่เมื่อมีการประกาศ ข้อเรียกร้อง และจุดยืนใหม่ก็ น่าจะ update ข้อมูลเสียบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ข้อมูลเก่า มาแสดงอย่างเดียว

ผู้ดูแลได้เพิ่มข้อมูลดังกล่าวลงไปแล้ว ช่วงนี้บทความกำลังถูกล็อกเพราะว่า เมื่อวานนี้เกิดสงครามแก้ไขกันนะครับ (คนหนึ่งพยายามใส่เนื้อหาที่ไม่เป็นกลางลงไป) คุณสามารถปรับปรุงบทความได้หลังจากการล็อกหมดอายุแล้ว หรือเมื่อผู้ดูแลปลดล็อกแล้ว โดยไม่ต้องรอให้คนอื่นแก้ (กรุณาสมัครสมาชิก) ส่วนประเด็นเรื่องข่าวปลีกย่อยก็ช่วยกันดูหน่อย อันไหนไม่สำคัญจะได้พิจารณาเอาออก --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:12, 24 มิถุนายน 2551 (ICT)

การล็อกบทความ[แก้]

สวัสดีครับ ขณะนี้บทความได้ถูกปลดล็อกจากการแก้ไขชั่วคราวแล้ว สำหรับผู้ใช้ Passawuth & Surachart นั้นอาจต้องการอภิปรายการแก้ไขกันก่อนนะครับเพื่อเป็นการดี ไม่งั้นอาจเปลี่ยนมาบล็อกคุณทั้ง 2 แทน ขอบคุณครับสำหรับความร่วมมือ --Jutiphan | พูดคุย - 21:48, 24 มิถุนายน 2551 (ICT)

แก้รายชื่อกลุ่มนักวิชาการที่มาจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ[แก้]

ขออนุญาตทุกท่านแก้รายชื่อกลุ่มนักวิชาการที่มาจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นะครับ

แม้ว่าจะมีหลักฐานว่ามีการเรียกคุยกันก็จริง (ตาม ref.) แต่อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ สังกัดอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะครับ (http://www.polsci.tu.ac.th/teacher/t_chaiwat.htm)

อาจารย์ประภาส ปิ่นตบแต่ง โดนตำหนิบนเวทีพันธมิตร เพราะให้สัมภาษณ์ (http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=12371&Key=HilightNews) และโดนอาจารย์ภูวดล ตำหนิ (http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000063993)

นอกนั้น ผมจะยังคงเดิมนะครับ ขอบคุณครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Nrad6949 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 10:59, 4 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

พันธมิตรไม่ใช่พรรคการเมือง[แก้]

กลุ่มพันธมิตรไม่ใช่พรรคการเมือง ทำไมถึงใช้ แม่แบบ:พรรคการเมือง ล่ะครับ ??? --KungDekZa 17:55, 19 ธันวาคม 2551 (ICT)

น่าจะเอาออกนะครับ เพราะข้อมูลมันจะเพี้ยนไป --Manop | พูดคุย 21:22, 19 ธันวาคม 2551 (ICT)
  • เอาออกไปแล้ว Kuruni 12:16, 20 ธันวาคม 2551 (ICT)

กวาดๆๆ[แก้]

หัวข้อสาเหตุที่มาของการชุมนุมนั้น เป็นการกล่าวอ้างของพันธมิตร ซึ่งก็คงไม่มีปัญหาอะไร ถ้าไม่ใช่ว่ารูปแบบของส่วนนั้นออกมาในรูปแบบของข้อเท็จจริงน่ะครับ ซึ่งในกรณีนี้นั้น แหล่งอ้างอิงซึ่งก็เป็นเครื่อข่ายพันธมิตรเองย่อมไม่อาจนับเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ก็ต้องค่อยๆเก็บกวาดกันไปนะครับ (มีสองทางคือหาแหล่งข้อมูลบุคคลที่สามมาอ้างอิงการเป็นข้อเท็จจริง กับปรับรูปแบบให้ชัดเจนว่าเป็นการอ้างของพธม.) Kuruni 22:33, 23 มีนาคม 2552 (ICT)

รายชื่อกลุ่มธุรกิจสินค้าที่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[แก้]

  1. บริษัท สหพัฒน์พิบูล (มาม่า) จำกัด
  2. ผงซักฟอก เปา
  3. น้ำยาล้างจาน ไลปอนเอฟ และ ไลปอนเลมอน
  4. ผลิตภัณฑ์ ไฮคลาส
  5. ผงซักฟอก โปร
  6. ผลิตภัณฑ์กำจัดยุงและแมลง คินโช
  7. น้ำยาขจัดคราบ ไคลไฟท์
  8. เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ DTAC
  9. น้ำหอมระบายอากาศ ฮาน่า
  10. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ลุค
  11. ผลิตภัณฑ์ เซนต์แอนดรูว์
  12. ยาสีฟัน ซอลท์
  13. โชโกบุสึ โมโนกาตาริ
  14. ซิสเท็มม่า
  15. สบู่สมุนไพร ฟลอเร่
  16. ครีมปกป้องผิวช่วงตั้งครรภ์ ไอนิว
  17. ไฮ-เฮิร์บ
  18. น้ำตาลทราย มิตรผล
  19. ซอสหอยนางรม ราชา
  20. ผักกาดดอง โชมิ
  21. ลอตเต้
  22. ขนมปังอบกรอบ นิสชิน
  23. ผลิตภัณฑ์ อสร.
  24. บะหมี่ นิสชิน
  25. กะทิ อร่อยดี
  26. น้ำแร่ มองต์เฟลอ
  27. ธนาคารกรุงเทพฯ
  28. ธนาคารกสิกรไทย
  29. โรงพยาบาลกรุงเทพฯ
  30. มหาวิทยาลัยรังสิต
  31. โทรศัพท์ จี-เน็ต
  32. เจ เพรส
  33. อาหารเสริม I Healthi Q-10
  34. แป้ง มิสทีน
  35. เบียร์ช้าง
  36. เปา เอ็มวอช
  37. เซียงเพียวอิ๊ว
  38. ผลิตภัณฑ์ยา ซาร่า

เครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[แก้]

การประกาศเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก เมื่อเย็นวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

ภาคเหนือ[แก้]

  1. กลุ่มพันธมิตรพิษณุโลก มีนายภูริทัต สุธาธรรม เป็นแกนนำ[1]
  2. ชุมนุมลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยประชาชนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อาทิเช่น ตาก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ฯลฯ[1]

ภาคตะวันออก[แก้]

  1. กลุ่มพันธมิตรภาคตะวันออก มีนายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นประธานเครือข่าย ประกอบด้วยประชาชนจากอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดชลบุรี อาทิเช่น อ.เมือง อ.พนัสนิคม อ.ศรีราชา อ.บ้านบึง อ.สัตหีบ อ.บางละมุง อ.บ่อทอง อ.หนองใหญ่ อ.พานทอง อ.เกาะสีชัง รวมถึงประชาชนจากจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ตราด[2]
  2. กลุ่มพันธมิตรฯ พัทยา-นาเกลือ-บ้านบึง-พนัส มีนายยงยุทธ เมธาสมภพ เป็นประธานเครือข่าย[3]
  3. คณะทำงานพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดเลย มี นายหินชนวน อโศกตระกูล เป็นแกนนำ[4]

ภาคอีสาน[แก้]

  1. สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทยจังหวัดขอนแก่น มีนางเครือมาศ นพรัตน์ เป็นประธานสมัชชาประชาชนฯ และนายเธียรชัย นนยะโส เป็นรองประธานฯ[5]
  2. สมัชชาประชาชนภาคอีสานจังหวัดบุรีรัมย์ มีนางสำเนียง สุภัณพจน์ เป็นประธาน มีแนวร่วมเป็นองค์กรเครือข่าย 18 องค์กร[6]

ภาคใต้[แก้]

  1. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสตูล มี นางอุดมศรี จันทร์รัศมี[7]และ อ.ประโมทย์ สังหาร[8] เป็นแกนนำ
  2. สมัชชาภาคใต้ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (กำลังก่อตั้ง) [8]

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์[แก้]

  • ประกอบด้วยกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 43 แห่ง กลุ่มหลักอยู่ที่ สหภาพ รสก. การไฟฟ้า, สหภาพ รสก. การรถไฟ[9]
  • ดูเพิ่มเติม สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจแรงงานสัมพันธ์ (สรส.) ประกอบด้วย สร.กสท. (การสื่อสารแห่งประเทศไทย) , สร.ท. (ทศท.) , สร.กปน. (การประปานครหลวง) , สร.กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) , สร.กบท. (การบินไทย)
แกนนำสหภาพฯ
  • นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • นาย สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) [10] และอดีตแกนนำสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย (สายของ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข )
    • นายสุภิเชษฐ์ สุวรรณชาตรี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่[11]
    • นายสาทร สินปรุ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย สาขานครราชสีมา[12]
    • นายพงษ์ฐิติ พงษ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) [13]
    • นายสนาน บุญงอก ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กำลังคน : สหภาพมีพนักงานขับรถและกระเป๋ารถเมล์รวม 9 พันคน แต่หากรวมกับพนักงานในส่วนอื่น ๆ ด้วยจะมีถึง 1.5 หมื่นคน[14]
    • สหภาพการบินไทย[15]
    • นายสมชาย ศรีนิเวศ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การประปานครหลวง ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณทำเนียบรัฐบาลว่า ต่อจากนี้ไปทางสหภาพฯ กปน.จะปฏิบัติการเชิงรุกตามแนวคิดของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี[16]
    • นายไพโรจน์ กระจ่างโพธิ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในช่วงบ่ายวันที่ 1 ก.ย. นี้ จะมีแถลงชี้แจงภายหลังการประชุมร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารของรัฐ ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธ.ก.ส. เพื่อแสดงจุดยืนหรือแนวทางการเคลื่อนไหว [17]
  • นายอำนาจ พละมี คณะกรรมการฝ่ายการเมือง สรส.
  • นายคมสันต์ ทองศิริ รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง

เครือข่ายสันติอโศก[แก้]

เครือข่ายสันติอโศก มีพุทธสถานสันติอโศกและสาขาอีก 8 สาขา ดังต่อไปนี้[ต้องการอ้างอิง]

  1. พุทธสถานสันติอโศก ตั้งอยู่ถนนสุขาภิบาล 1 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
  2. พุทธสถานปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม
  3. พุทธสถานศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ
  4. พุทธสถานศาลีอโศก จังหวัดนครสวรรค์
  5. พุทธสถานสีมาอโศก จังหวัดนครราชสีมา
  6. พุทธสถานราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
  7. พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ จังหวัดเชียงใหม่
  8. สังฆสถานทะเลธรรม จังหวัดตรัง
  9. สังฆสถานหินผาฟ้าน้ำ จังหวัดชัยภูมิ

เครือข่าย NGO[แก้]

  1. NGO ภาคใต้ มีแกนนำโดย นายบรรจง นะแส
  2. NGO ภาคเหนือ มีแกนนำโดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
  3. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

กลุ่มนักวิชาการ[แก้]

  1. กลุ่มรัฐศาสตร์จุฬาฯ: ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา, ดร.สุริชัย หวันแก้ว, ดร.ไชยันต์ ไชยพร, ดร.วีระ สมบูรณ์[ต้องการอ้างอิง]
  2. กลุ่มนักวิชาการที่ใกล้ชิดกับเครือข่ายผู้จัดการ (อาทิ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวานิช, ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ)
  3. กลุ่มนักวิชาการอื่นๆ อาทิ ดร.สุวินัย ภรณวลัย, ศ.ระพี สาคริก, นายไพศาล พืชมงคล, ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ

กลุ่มสว.[แก้]

  • 20 สว. อาทิ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เข้าให้กำลังใจพันธมิตร ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.30 น. โดยประกาศขอเข้าร่วมกับพันธมิตรเป็นทัพหน้า เพราะหลายคนเกิดจากเวทีพันธมิตร โดยนายสนธิ ได้ขึ้นบนเวทีประกาศแนะนำตัวกลุ่ม ส.ว.แต่ละคน รวมถึง พล.อ.อ.ณพฤกษ์ มัณฑะจิตร อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศที่เข้าให้กำลังใจด้วย[18]

กลุ่มศิลปิน[แก้]

กลุ่มสื่อมวลชน[แก้]

กลุ่มแนวร่วมอื่นๆ[แก้]

  • แนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเขตเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์, เขตวงเวียน 22 กรกฎา[19]
  • เว็บพันธมิตร Puntamit.com พันธมิตรพิทักษ์ชาติและราชบัลลังก์ [20] หรือ นักรบออนไลน์

ทนายความ[แก้]

สหรัฐอเมริกา[แก้]

Young PAD เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ[แก้]

สัญลักษณ์ของกลุ่ม Young PAD

หลังจากเกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง นปช.กับ พันธมิตรฯที่แยกจปร. ทำให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งนำโดย นายวสันต์ วานิชย์ ตัดสินใจรวมพลังกันจัดตั้งกลุ่ม เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ หรือ Young People"s Alliance For Democracy (Young PAD) โดยในวันเสาร์ที่ 6 กันยายน เวลาประมาณ 20.00 น. ได้เดินขบวนจากที่ชุมนุมที่สะพานมัฆวานฯไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศต่อต้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช และยังประกาศยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองอารยะขัดขืนหยุดเรียนเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันอังคารที่ 9 กันยายนเป็นต้นไป และหยุดติดต่อกันไปจนกว่ารัฐบาลจะลาออก การเคลื่อนไหวครั้งนี้มีนิสิตและนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้าร่วมกว่า 80 สถาบัน ซึ่งก่อตั้งโดยการ์ดอาสาของพันธมิตรฯ คือ[21]

หลังจากนี้ทางกลุ่ม Young PAD ก็ได้มีเวทีจัดกิจกรรมของตัวเอง โดยใช้เวทีที่สะพานมัฆวานรังสรรค์เป็นหลัก

เหตุการณ์ วันที่ 7 ตุลาคม 2551 มีคณะทำงานและสมาชิก Young PAD ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมขยายพื้นที่ชุมนุมตั้งแต่คืนวันที่ 6 ไปจนถึงเช้าวันที่ 7 ตุลาคม ตลอดทั้งเหตุการณ์ คณะทำงานได้เปลี่ยนเป็นการ์ดเยาวชน ด้านหน้าถนนอู่ทอง และหน้า บชน. ทำให้มีสมาชิกบาดเจ็บสาหัส 1 คน และบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดอีก 5 คน ที่เหลือโดนแก๊สน้ำตา

ทั้งนี้คณะทำงานทั้งหมดเลื่อนกิจกรรมที่ไม่เร่งด่วนออกไป เช่น กิจกรรมการเปิด Young PAD ภูเก็ต จากเดิมวันที่ 10 ไปเป็นวันที่ 13 แทน และในระยะเวลาช่วงหลังจากวันที่ 7 คณะทำงานทั้งหมดได้ออกไปแจกใบปลิว ในกรณีที่ตำรวจทำร้ายประชาชน ตามสถานที่สำคัญเช่น สีลม สยาม เป็นต้น เนื่องจากเห็นว่าสื่อมวลชนไม่ได้ให้ข้อเท็จจริงเท่าที่ควร

ไม่อยากให้ทั้งสองฝ่ายเอาเครือข่ายมาอวด มันจะยุ่ง --Horus | พูดคุย 20:23, 21 กันยายน 2552 (ICT)

รายชื่อเว็บไซต์[แก้]

รายชื่อเว็บไซต์มีแต่เว็บไซต์ของพันธมิตรฯ ไม่มีสถาบันอื่นที่สนับสนุนหรือต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯ เลยหรือ --Horus 19:32, 24 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ก็มีนี่ครับไม่ใช่ไม่มี ประชาไท มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ก็ไม่ใช่พวกพันธมิตรสักหน่อยครับ รวมถึง Human Right อะไรนั่นด้วย --ผู้ใช้:บรรณกร 13:48, 2 กันยายน 2552 (ICT)

  • ตาดีจังเลยนะครับ แต่ผมก็แค่อยากได้ข้อมูลของกลุ่มผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหน่อยเท่านั้น ผมเองก็เห็นแก่ "กลุ่ม" ของคุณเหมือนกันนะครับเนี่ย --Horus | พูดคุย 19:11, 2 กันยายน 2552 (ICT)

นำออกจากบทความ[แก้]

ตอนเช้ามืดของวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีกลุ่มชายฉกรรจ์แต่งกายด้วยชุดและโพกผ้าสีดำอำพรางใบหน้าพร้อมอาวุธ บุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเอ็นบีที ผู้อ้างตัวว่าเป็นนักรบศรีวิชัย ซึ่งเป็นผู้รักษาความปลอดภัยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่ในที่สุดก็ถูกควบคุมตัวไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี และเวลาประมาณ 8.30 น. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้บุกรุกเข้าไปในสถานีเอ็นบีทีอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์ "เพื่อทวงสมบัติชาติคืนจากรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลใช้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการโจมตีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง" และต้องการปรับสัญญาณของเอ็นบีที เข้ากับเอเอสทีวี แต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่สามารถถอดรหัสได้[22] ซึ่งการเข้าบุกรุกครั้งนี้ได้รับการประณามจากสมาคมนักข่าวและหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า "ถือว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างรุนแรงและอุกอาจที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะมีการคุกคาม ข่มขู่และขัดขวางการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน"[23] และยังถูกประณามจากสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ผู้สื่อข่าวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า "การกระทำของผู้ชุมนุมในนามกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด และโจมตีเสรีภาพของสื่ออย่างโจ่งแจ่งที่สุด ขณะนี้สื่อมวลชนถูกคุกคาม ข่มขู่ และไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเอง และการบุก NBT ครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้"[24] --Horus | พูดคุย 21:11, 21 กันยายน 2552 (ICT)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 พันธมิตรฯสองแควพร้อมเคลื่อนพลสมทบชุมนุมใหญ่พรุ่งนี้
  2. "พันธมิตรฯต.อ." นับพันพร้อมแล้ว! เดินหน้าเข้ากทม.ร่วมชุมนุม
  3. พันธมิตรฯ พัทยา-นาเกลือ-บ้านบึง–พนัส แถลงเชิญชวนร่วมชุมนุม 25 พ.ค.
  4. พันธมิตรฯเมืองเลยเดินทางคืนนี้ ลั่นพร้อมต้านหุ่นเชิดแม้วแก้รธน.
  5. สมัชชาฯ ขอนแก่นพร้อมร่วมชุมนุม 25 พ.ค. ปลุกสำนึกคนไทยร่วมปกป้องชาติ
  6. เครือข่าย 18 องค์กรบุรีรัมย์เคลื่อนพลเข้ากรุงคืนนี้ -ร่วมชุมนุมต้านแก้“รธน.”
  7. พันธมิตรฯสตูล รับบริจาคค่ารถหวังสมทบพันธมิตรฯกทม.
  8. 8.0 8.1 “หมอศุภผล” ชี้มะเร็งระบอบทรราชย์กำลังลุกลาม หนุนสมัชชาใต้ล่างจับมืออีสานสู้
  9. "ชี้ขาดที่ขนาดของ “หัวใจ”"
  10. "รัฐวิสากิจ"ร่วมไล่"หุ่นเชิด"กับพันธมิตรฯ นัดหยุดงาน 26-27 ส.ค.
  11. รถไฟสายใต้ร่วมอารยะขัดขืนหยุดเดินรถพรุ่งนี้เช้า
  12. สหภาพแรงงานรถไฟฯ ลาป่วย! - หยุดเดินรถพร้อมกันทั่วประเทศแล้ว
  13. "ทีโอที" ชวนพนักงานลาพักร้อน
  14. ปธ.สหภาพแรงงาน ขสมก. เตรียมถกด่วน หลัง "สมัคร" ประณามนัดหยุดงาน
  15. "บินไทย"เผยสหภาพฯให้ลางาน15,000คนไม่กระทบนักบิน
  16. สหภาพกปน.-กปภ.นัดหยุดงานทั่วประเทศพรุ่งนี้ ขู่ตัดน้ำหากปชช.ถูกรังแก
  17. จับตา!แถลงจุดยืนสหภาพฯ 3 แบงก์รัฐ บ่ายนี้
  18. 20 ส.ว.เข้าให้กำลังใจม็อบถึงทำเนียบ
  19. แนวร่วมพันธมิตรฯ ลุกฮือสู้ ตร.เถื่อนสลายผู้ชุมนุม
  20. เปิดตัว www.puntamit.com ณ เวทีพันธมิตรฯ ทำเนียบรัฐบาล
  21. Sanook.com, ใครเป็นใครใน Young PAD, เข้าถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551
  22. พันธมิตรฯบุกยึด NBT dailynews.co.th
  23. ส.นักข่าวฯ ประณามม็อบไอ้โม่งบุกยึดเอ็นบีที dailynews.co.th
  24. มุมมองสื่อทั่วโลกกับการประท้วงของพันธมิตร komchadluek.net

กษัตริย์นิยม[แก้]

  • พฤติการณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯ สามารถอธิบายด้วยคำว่า "กษัตริย์นิยม" (Royalist) ได้ไหมครับ น่าจะเพิ่มในส่วน อุดมการณ์ ได้ --Horus | พูดคุย 18:01, 21 เมษายน 2553 (ICT)
    • ไม่เห็นด้วย เนื่องจากเรื่องสถาบันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนสำหรับคนไทย หากใช้คำว่า "กษัตริย์นิยม" มันดูรุนแรงเกินไป อาจส่งผลให้วิกิถูกโจมตีอย่างรุนแรงได้เช่นกัน เหมือนกรณี ควรเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญเหมือนเดิมครับ --Pitt 18:11, 21 เมษายน 2553 (ICT)
      • เป็นเหตุผลที่ไม่เข้ากับแนวคิดดั้งเดิมของผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียเอาเสียเลย จิมโบ เวลส์ ระบุว่า สิ่งที่เขียนในวิกิพีเดียอาจแตกต่างจากสิ่งที่รัฐบาลเผยแพร่แก่คนในประเทศนั้น ๆ หรืออาจไม่ใช่ประวัติศาสตร์กระแสหลัก หรืออาจเป็นความคิดที่ไม่เป็นที่ยอมรับโดยคนส่วนใหญ่ แต่นี่คือสารานุกรมที่เปิดกว้างนะครับ อย่างไรก็ตาม คุณก็ใส่ในนามของ "สื่อต่างประเทศ" หรืออะไรก็ได้ ไม่น่าจะนำไปสู่อะไรที่รุนแรง --Horus | พูดคุย 18:21, 21 เมษายน 2553 (ICT)
  • มีคนใช้คำว่า "นิยมเจ้า" พอสมควรนะครับ --octahedron80 18:22, 21 เมษายน 2553 (ICT)
  • แล้วถ้าใช้คำว่า ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ แทนจะดีมั๊ย --Pitt 18:48, 21 เมษายน 2553 (ICT)
    • พฤติกรรมเชิดชูสถาบันจะเข้ากับส่วนนี้ได้หรือครับ เพราะมันไม่ใช่ "การปกป้อง" ควรใช้คำที่อธิบายภาพกว้าง ๆ --Horus | พูดคุย 18:52, 21 เมษายน 2553 (ICT)
    • ตัดทิ้งไปเลยดีกว่า Choosing between Truth and safety of Lies... 00:15, 22 เมษายน 2553 (ICT)

อยากให้แก้ไขส่วนนี้ครับ[แก้]

เป็นวรรคที่สี่ของส่วนความนำ "ต่อมาผลการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเคยดำเนินการเคลื่อนไหวก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร กลับมาชุมนุมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวชและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง"

อยากให้แก้ไขเรื่องการไล่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนว่าสาเหตุไม่ใช่เรื่องเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์ของคุณทักษิณอย่างเดียว มีสาเหตุเพื่อต้านการโกงเลือกตั้งและการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้พ้นผิดด้วย อ่านแถลงการณ์พันธมิตรฯได้ครับ http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.2551 --ผู้ใช้:บรรณกร 18:59, 14 กันยายน 2553 (ICT)

มีอยู่ในบทความอยู่แล้วครับ แค่ส่วนต้นเท่านั้นก็ไม่จำเป็นต้องคัดมามาก (หรือคุณอาจจะเพิ่มเติมเองก็ได้) --Horus | พูดคุย 19:05, 14 กันยายน 2553 (ICT)

เพิ่มเติม จุดยืนและเป้าหมายการขับเคลื่อน[แก้]

  • ช่วงแรก พ.ศ.2549 ขับไล่ระบอบทักษิณ

* พันธกิจของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีทั้งหมด 3 ข้อ คือ

  1. เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ขาดความชอบธรรมโดยพื้นฐาน ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  2. เปิดโปงวาระที่ซ่อนเร้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และบุคคลใกล้ชิด
  3. ผลักดันให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 โดยมุ่งลดอำนาจรัฐ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากขึ้น
  • ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2551 (193 วัน) ขับไล่นอมินีระบอบทักษิณและสร้างการเมืองใหม่

หลังรัฐบาลขิงแก่ ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สิ้นสุดลงและจัดให้มีการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งได้รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐบาลนอมินีของระบอบทักษิณ และพยายามแก้รัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมระบอบทักษิณและเครือข่าย ทำให้พันธมิตรฯ ตัดสินใจฟื้นพันธมิตรขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยุติบทบาทลงหลังรัฐประหาร คือ วันที่ 22 กันยายน 2549 ในระหว่างขับไล่รัฐบาลสมัคร มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแต่สุดท้ายก็ได้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จากพรรคพลังประชาชน มาเป็นนายกฯ ซึ่งมาจากพรรคพลังประชาชนเช่นกัน และยังดำเนินแนวทางการฟอกผิดระบอบทักษิณ ทำให้พันธมิตรฯ ตัดสินใจชุมนุมต่อ ในระหว่างการชุมนุมที่ยืดเยื้อพันธมิตรฯ ได้เสนอแนวคิด “การเมืองใหม่” เพื่อผ่าทางตันการเมืองไทย และนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยอย่างรอบด้าน แนวคิดการเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ มีสาระจากแถลงการณ์ดังนี้Gifty27 20:05, 4 ตุลาคม 2554 (ICT)

ขอให้แก้เพิ่มเติม การชุมนุมทางการเมืองที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 193 วัน[แก้]

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการเคลื่อนไหวเพื่อชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องยาวนานโดยการปักหลักพักค้างเป็นระยะเวลานานถึง 193 วัน โดยเริ่มนับจากวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองรอบใหม่หลังจากที่ห่างหายไปตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 โดยการชุมนุมที่เริ่มในกลางปี 2552 นั้นสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ภายหลังจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังประชาชน ที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี เป็นผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หัวหน้าพรรคพลังประชาชนและนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ในเวลานั้นพ้นจากตำแหน่งไปโดยปริยาย ส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคร่วมรัฐบาลเดิมมีการเปลี่ยนแปลง หันมาให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้กลับมาเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในเวลาต่อมาตามที่ได้ทราบกันดี

การเคลื่อนไหวทางการเมืองและการดำเนินการกิจกรรมทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อการแสดงท่าทีทางการเมืองอันไม่สยบยอมหรือยอมรับต่อการบริหารราชการแผ่นดินของพรรคพลังประชาชน โดยเริ่มต้นดังนี้

การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เริ่มต้นเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยจัดสัมมนาที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีการเสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจในการเมืองหลายกลุ่ม รวมทั้งมีการแสดงงิ้วธรรมศาสตร์อีกครั้ง และเปิดตัวผู้ทำงานทางด้านติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลชุดต่าง ๆ และจัดประชุมเสวนาอีกครั้งที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน และเริ่มชุมนุมเคลื่อนไหวอย่างจริงจังนับหนึ่ง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กร จากสื่อมวลชน นักวิชาการ ศิลปิน รวมถึงองค์กรอิสระจากภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดระยะเวลาการชุมนุมต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยถึง 193 วัน ในที่สุดผลจากคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช แสดงให้เห็นว่าการได้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินที่ผ่านมานั้นไม่ใช่วิถี ทางของประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการได้มาซึ่งอำนาจด้วยการทุจริตการเลือกตั้ง และเป็นบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นเป็นความถูกต้องชอบธรรมเป็นที่ประจักษ์ ดังนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาเพื่อประชาธิปไตยจึงขอประกาศยุติการชุมนุมทั้ง ที่ทำเนียบรัฐบาล สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 แม้ตลอดระยะเวลาของการชุมนุมที่ยืดเยื้อยาวนาน และพันธมิตรฯ ได้ยึดหลักแนวทางสันติ อหิงสา ชุมนุมกันโดยสงบปราศจากอาวุธ แต่ก็มีฝ่ายต่อต้านใช้ความรุนแรงโจมตีตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งมวลชนฝ่ายต่อต้านมาปิดล้อมการชุมนุมที่ทำเนียบ การล้มเวทีพันธมิตรฯ ในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งการยิงระเบิด M79 เข้าใส่ที่ชุมนุมพันธมิตร หลายครั้งจนมีคนเสียชีวิตกว่า 10 คน และบาดเจ็บรวมตลอดการชุมนุม 193 วัน กว่า 1,000 คน Gifty27 20:19, 4 ตุลาคม 2554 (ICT)

ปลดล็อก[แก้]

กรุณาปลดล็อกบทความนี้เดี๋ยวนี้เพื่อปรับปรุงเนื้อหาที่ล้าสมัย ปรับภาษา ใส่แหล่งอ้างอิง ใส่ลิงก์ภายใน และเพิ่มเติมเนื้อหาให้เป็นบทความคุณภาพด้วยครับ--49.49.148.4 15:28, 20 พฤศจิกายน 2554 (ICT)