พูดคุย:ประเทศไทย/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดหนองคายได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่อันดับที่ 8 ของโลก

จัดอันดับโดยใครเมื่อไหร่ ควรต้องมีข้อมูลอ้างอิงด้วย Burlight 07:06, 25 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)

เพิ่มแหล่งอ้างอิงแล้ว และแก้จากอันดับ 8 เป็นอันดับ 7 --Pi@k 07:27, 25 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)
จริงๆแล้ว เป็นการจัดอันดับเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนชราชาวอเมริกา ไม่ใช่เหรอครับ? --Burlight 11:09, 25 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)
The northeastern Thai province of Nong Khai has been voted one of the world's best destinations to be called a "second home" for American senior citizens by a bimonthly US magazine Modern Maturity
หนองคายได้รับการจัดลำดับจากวารสาร The Us Magazine Modern Maturity ฉบับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2544 สำหรับเลือกเป็น “บ้านพำนักที่สองของชาวอเมริกันผู้สูงอายุ” ลำดับที่ 7 จาก 15 ลำดับ โดยการสำรวจสถานที่ 40 แห่งทั่วโลก มีเกณฑ์ในการคัดเลือกประกอบด้วยตัวชี้วัด 12 ประการ ได้แก่ ภูมิอากาศ,ค่าครองชีพ, ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น, ระบบบริการสาธารณสุข, สถานที่พักอาศัย, การคมนาคม, การบิการทางการแพทย์, สภาพแวดล้อม, สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ, ความปลอดภัย, ความมั่นคงทางการเมือง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สำหรับเมืองอันดับที่ 1-3 ที่ได้รับการคัดเลือกได้แก่ Costa Del Sol ประเทศสเปน, Cinque Terre ประเทศอิตาลีและ Provence ประเทศฝรั่งเศส ตามลำดับ วารสารฉบับนี้ผลิตโดยAmerican Association of Retired Persons (AARP) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร บริหารงานโดยชาวอเมริกันอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่มากด้วยประสบการณ์

มีที่พิมพ์ผิด

ด้านล่างคำอธิบายภาพ ที่ถูกคือ พระอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ใช่สุวรรณาดาราม

ถ้าพบคำผิดสามารถแก้ไขได้ทันทีเช่นกันครับ โดยกดที่แก้ไขครับ
เข้าใจว่าเพราะหน้าถูกล็อกอยู่น่ะครับ คุณคนที่แจ้งมาเลยกดเข้าไปแก้ไขไม่ได้ แต่ตอนนี้คุณธวัชชัยแก้ให้แล้ว -- 172.177.101.160 23:50, 13 กรกฎาคม 2006 (UTC)

ดีแล้วครับ

เผด็จการทหาร หรือ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ?

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน และเกิดร่วมกับเผด็จการทหารก็ได้ ดังนั้นควรระบุว่าประเทศไทยใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแทน? Vee 13:50, 28 กันยายน 2006 (UTC)

เผด็จการทหาร กับ ประชาธิปไตย

ตอนนี้บ้านเมืองปกครองด้วยเผด็จการทหาร (military junta) เด็กสิบขวบยังรู้

แต่ ทำไมยังมีคนพยายามแก้ให้เป็น "ประชาธิปไตย" เลิกหลอกตัวเองซะที

ขอร้อง อยากอ่านสารานุกรม ไม่อยากอ่านกระดาษห่อกล้วยแขก

รัฐบาลรักษาการ หรือ เผด็จการทหาร?

มีผู้เปลี่ยนตรงส่วน รัฐบาล จาก "เผด็จการทหารโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" เป็น "รัฐบาลรักษาการโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ผมคิดว่าแบบเดิมก็ดีอยู่แล้วนะครับ เพราะเข้าไปดูตรง code ก็เห็นเขียนว่า "government type" ซึ่งน่าจะแปลว่า "รูปแบบของการปกครอง" มากกว่าจะเป็น "สถานะของรัฐบาล" ดังนั้นผมจึงขอแก้กลับมาก่อนนะครับ ไม่ทราบว่ามีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ? --Kie 19:03, 26 ตุลาคม 2006 (UTC)

ขอความกรุณา เปลี่ยนจากราชาธิปไตย เป็น เผด็จการทหารได้ไหมครับ

อ้างอิงจาก wiki pedia eng ครับ จะเห็นว่า ประเทศไทย มี Government คือ Military junta under Constitutional monarchy

หรือระบอบเผด็จการทหาร ภายใต้พระมหากษัติย์


จาก wiki eng มีประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ เผด็จการทหารมีเท่านี้ครับ Nations currently under military rule

   * Libya - on September 1, 1969, a group of military officers staged a coup, and are still in power
   * Mauritania — on August 3, 2005, the military staged a coup and declared a two year transitional military dictatorship
   * Myanmar (Burma) - military seized power in 1962.
   * Pakistan (President came to power in coup in 1999, but institutions of civil rule have gradually been re-instated)
   * Thailand - on September 19, 2006, the military staged a coup and seized power.

คือ ลิเบีย Mauritania พม่า ปากีสถาน และประเทศไทย

จะเห็นได้ว่า Military junta จะมาก่อน monarchy นั่นจะหมายถึงไม่มีทางเป็นระบอบประชาธิปไตย และระบอบราชาธิปไตยได้

และอีกระเด็นหนึ่งคือ ไม่อยากให้เอาพระนามในหลวงไปเกี่ยวข้องกับเผด็จการทหารครับ เป็นในโลกนี้ก็ทราบหลังจากงานเมือต้นปีว่าทรงเป็นกษัตย์นักประชาธิปไตยครับ ไม่ทราบว่า จะแก้ไขได้หรือไม่ ขอล่ะครับ

รู้สึกว่าจะมีการแก้ไขแล้วนะครับ (หรืออาจจะมีการแก้กลับไปกลับมาหลายรอบ) คุณอาจต้องลอง refresh หน้านั้นดู อย่างไรก็ตามใน หน้า ประเทศไทย ขณะนี้สามารถแก้ไขได้สำหรับผู้ใช้ที่ล็อกอินเท่านั้นครับ (ช่วงนี้) โดยปกติจะให้ใครก็ตามแก้ไขได้ไม่ว่าล็อกอินหรือไม่ก็ตามครับ --Manop | พูดคุย - 17:19, 27 ตุลาคม 2006 (UTC)

ขอเสนอรูปแบบการปกครอง

อย่างที่ได้เปลี่ยนไว้แล้วครับผม Zenith Zealotry 13:13, 28 ตุลาคม 2006 (UTC)

ผมไม่เห็นด้วยกับการใช้ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้อำนาจเผด็จการทหาร" ครับ รัฐบาลนี้ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร มิใช่เลือกตั้ง จึงไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ใช้"เผด็จการทหารโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"น่าจะดีอยู่แล้วนะครับ (ไม่อยากให้เอาคำว่าประชาธิปไตยมาเกี่ยวข้องเลยครับ ไว้มีการเลือกตั้งเมื่อไรแล้วได้รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งกันเรียบร้อยแล้ว ผมว่าเวลานั้นค่อยใช้จะเหมาะสมกว่าครับ) นอกจากนี้ ข้อความ"พระประมุขภายใต้อำนาจเผด็จการทหาร"อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงได้ครับ ผมขออนุญาตแก้กลับก่อนนะครับ ผิดถูกอย่างไรชี้แนะมาได้เลยครับ : ) --Kie 16:52, 28 ตุลาคม 2006 (UTC)

อันที่จริง ผมเห็นด้วยว่าไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่สังเกตจากเสียงโต้แย้งที่มีอยู่บ้าง ก็เลยลองเป็นจุดที่พบกันครึ่งทางน่ะครับ Zenith Zealotry 20:44, 28 ตุลาคม 2006 (UTC)

ทำไมข้อความกับตารางขัดแย้ง

ในข้อความระบุว่า ประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร แต่ในตารางตรง government type บอกว่า ประชาธิปไตย

ผมคิดว่าก็น่าจะระบุในตารางว่าเป็นเผด็จการทหารนะครับ

เท่าที่ดู เห็นว่าเพิ่งมีคนมาแก้ไป ผมขออนุญาตย้อนกลับไปเวอร์ชั่นของท่าน ZenithZealotry นะครับ

อยากให้เอาการสถาปนาเป็นเอกราชจากอาณาจักรขอมออก

ตรง สถาปนาเป็น จากอาณาจักรขอม อันนี้อยู่ในเมนูหลัก แปลมาจาก independence ในภาษาอังกฤษ ดูแล้วรู้สึกไม่ค่อยดี ไม่รู้เอามาเขียนทำไม เพราะประวัติศาสตร์ก่อนที่เขมรจะทำให้เราเสียindepence นั้น เราเป็นวุ้นอยู่ตรงไหนก็ยังเถียงกันอยู่

ถ้าไปดูอังกฤษ มันไม่เห็นเขียนตรง Indepedence นี้เอาไว้เลย ทั้งๆที่คนบริเตนจริงๆนั้นอยู่ที่ไหนไม่ทราบแล้วต่อมาก็ถูกเดนมาร์กยึด ต่อมาก็ถูกเยอรมัน(แซกซอน)ยึดแล้วต่อมาก็ถูกฝรั่งเศส(นอร์มัน)ยึด

กษัตริย์อังกฤษก็พูดอังกฤษไม่เป็น พูดได้แต่ฝรั่งเศสมาจนถึงชั้นหลัง ทำให้พวกไฮโซเกิดอุปาทานว่าภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาชั้นสูงไป

ทั้งนี้คนอังกฤษรุ่นที่เป็นแซกซอนก็ได้พยายามต่อสู้ประกาศเอกราชจากนอร์มันแต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งกลืนกลายเป็นชาติเดียวกัน เจ้าทางเกาะเริ่มทะเลาะกับเจ้าทางแผ่นดินใหญ่ แยกตัวมาปกครองเองอังกฤษจึงเป็นประเทศเอกราชไปได้

ชาติในยุโรปเช่นเยอรมัน ฝรั่งเศส อะไรทำนองนี้ก่อนที่จะถูกโรมันยึดก็เคยมีเอกราชมาก่อน จากนั้นก็กลายเป็นอาณานิคมของโรมันอย่างยาวนานทั้งสิ้น พอโรมันสิ้นอำนาจแล้วจึงประกาศเอกราชมันไม่เห็นเขียนว่า Independence from Roman เลย

ในวิกิอังกฤษผมแก้แล้ว จึงอยากจะแก้ในวิกิของไทยด้วย ผมไปดูชาติฝรั่งไม่เจอข้อมูลส่วนนี้เลย เลยมาดูเพื่อนบ้านเรา เห็นดังนี้

หรือพูดง่ายๆว่าฝรั่งมันคิดว่าชาติแถบนี้ต้องเคยเป็นเมืองขึ้นมัน แล้วค่อยมาประกาศเอกราชทีหลังหมด ถือเวลาประกาศเอกราชจากพวกมันนี้เป็นสำคัญใส่ไว้ ประวัติศาสตร์หลายร้อยปีก่อนหน้านั้น ไม่มีช่วงเวลาไหนสำคัญเท่าตอนนี้ ประเทศพวกมันเองไม่ใส่ไว้เลย

ทีนี้กับไทยที่พอดีรอดจากเมืองขึ้นมา มีช่อง Independence ไม่รู้จะใส่อะไรดี เลยใส่ไปว่ามาจากเขมร, ไม่งั้นมันคงเขียนว่า Independence from Myanmar แล้ว ซึ่งพอแปลมาเป็นภาษาไทยก็พลอยเอาติดมาด้วย

เฮ้ย ผมขอภูมิใจที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นชาติตะวันตกหน่อยได้ไหมครับ

ตอนนี้ประเทศไทยก็มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว ยังไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตยเหรอครับ

Answer: NO.

แล้วที่ทหารยังมีอำนาจอยู่ ก็ภายใต้การประกาศกฏอัยการศึกไม่ใช่หรือครับ

Answer: Martial Law was announced by the Military Junta. It serves as a basis for its governing power. This law has no known bound and can be increased by the Junta at will. You really need to study more before thinking about contributing to this online encyclopedia.


คือเรื่องนี้มีที่มาที่ไป อันเนื่องมาจากว่าในการศึกษาในอดีต เขาว่าเรามาจากอาณาจักรน่านเจ้า อพยพลงใต้มาแย่งชิงพื้นที่จากอาณาจักรขอม เพื่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย ภายใต้การนำของพ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาว (หรือภายหลังคือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)

but แต่ว่า งานวิจัยปัจจุบันหลายๆสำนักนี้ได้ระบุไว้แล้วว่า ที่ว่ามาข้างบนนั้นน่ะ ไม่ใช่... เพราะทางจีนสรุปว่าน่านเจ้าไม่ใช่พวกไต ส่วนทางเราก็พบว่าก่อนหน้านั้นยังมี พ่อขุนศรีนาวนำถม และขอมสบาดโขลญลำพง ครองสุโขทัยก่อน แถมก่อนหน้านั้นยังอุตส่าห์มีรัฐโบราณมากมาย เช่น หริภุญชัย (ในปี พ.ศ. 1203 ตามตำนานจามเทวี) แต่ว่าเนื่องจากงานวิจัยนี้ ยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น เขาจึงใส่สมมติฐานตั้งต้น ว่าไทย(ภายใต้การนำของพ่อขุนศรีฯและพ่อขุนผาฯ) ประกาศอิสรภาพ(ในดินแดน) จากอาณาจักรขอม นั้นเอง... (เออเนอะ แล้วมื่อไหร่จะรับรองประวัติศาสตร์นิพนธ์ฉบับใหม่ซะที) --อควา (ธัญกิจ) 17:14, 12 เมษายน 2007 (UTC)

ชื่อภาษาอังกฤษ

จำเป็นต้องมีชื่อภาษาอังกฤษ (Thailand; Kingdom of Thailand) ไว้ที่หัวบทความไหมครับ เพราะผมคิดว่า มันไม่ใช่ภาษาที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้เลย (สารานุกรมภาษาไทย; ประเทศที่กล่าวถึงใช้ภาษาไทย) ผู้อ่านที่ต้องการทราบสามารถใช้แถบภาษาอื่นด้านซ้ายอยู่แล้ว ภาษาอังกฤษก็ไม่น่าจะมีความสำคัญเหนือภาษาต่างประเทศอื่นๆ --KINKKUANANAS 09:49, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมว่าไม่จำเป็นนะ ไม่ใช่บทความนี้บทความเดียว ชอบใส่ภาษาอังกฤษกันเกร่อ --ธวัชชัย 09:53, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)

ผมเอาออกจากบทความนี้นะครับ (เห็นด้วยว่ามีหลายบทความที่ไม่น่าจำเป็นต้องใส่) --KINKKUANANAS 10:40, 12 มิถุนายน 2007 (UTC)

ประเทศไทยมีคำขวัญหรือ?

ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุดที่ชาวไทยให้ความเคารพไม่ใช่หรือครับ อีกอย่างหนึ่งในหนังสือหรือเอกสารทางราชการคำขวัญต้องเขียนใต้ตราแผ่นดินและชื่อทางการ

เช่น ด้านบนของหนังสือราชการของประเทศลาว (ตราแผ่นดิน) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร

ถ้าเป็นประเทศไทยควรจะเป็นเช่นนี้ (ตราครุฑ) ราชอาณาจักรไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

แต่ผมไม่เคยเห็นซักที จะมีแต่ตราครุฑเท่านั้น ผมจึงคิดว่าประเทศไทยไม่มีคำขวัญประจำชาติครับ --AkAiBaRa 20:10, 11 กันยายน 2551 (ICT)

วิกิพีเดียช่วยแก้ด้วยครับ

พลเอกสนธิไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีที่มาจากรัฐบาลแต่งตั้งแล้ว พลอากาศเอกชลิตรักษาการณ์แทน ประธาน คมช. ขอให้เปลี่ยนด้วยเถอะครับ

แก้ไขให้แล้วครับ -- Lerdsuwa 23:20, 2 ตุลาคม 2007 (ICT)


ขอเถอะ หากพวกคุณเป็นไทย

ขอให้เน้นประวัติศาสตร์ไทยในวิกิพิเดียซักสามอย่าง แบบ เน้นๆเลยนะ

1. ไทยเป็นประเทศเดียวในฝั่งทะเลแปซิฟิกและอันดามันที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครในโลก 2. ถ้าไม่นับรวมญี่ปุ่นแล้ว ไทยเป็นประเทศเดียวในทวีปเอเชีย ที่ร่วมฝ่ายอักษะในสองครามโลกครั้งที่สอง 3. ไทยเป็นประเทศเดียวในทวีปเอเชีย ที่ส่งทหารไปรบที่ยุโรปร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งไม่นับรวมอินเดีย หรือประเทศอื่นๆในเอเชีย ที่ส่งทหารไปรบในยุโรป เพราะเป็นประเทศเมืองขึ้น เลยถูกเจ้าอนานิคมบังคับ แต่เราไปเอง เรามีน้ำยา!!!

ขอเถอะครับ ขอให้แก้ให้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษเลย ภาษาอื่นได้ยิ่งดี ฝรั่งต่างชาติจะได้มองเราโดดเด่น และแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆในแถบนี้ ประเทศเรามีจุดยืน ประเทศเรามีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นในประวัติศาสตร์โลก เพราะเราไม่เคยมีการสอนประวัติศาตร์ของเราอย่างชัดเจนซักที คนต่างชาติก็จะรู้จักเมืองไทยก็แต่ว่า เมืองไทยมีช้าง เมืองไทยมีวัดพระแก้ว แค่นั้นหรือ? เราน่าจะใส่ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงไปด้วย เค้าจะได้ไม่มองว่าเราเป็นประเทศเอเชียกระจอกๆ

ลองสุ่มถามเด็กไทยอายุซักสิบหก สิบเจ็ดดูบ้าง ว่ารู้สามข้อข้างบนนั้นบ้างไหม ไม่ต้องตกใจถ้าคนส่วนใหญ่ตอบว่าไม่รู้ ตั้งแต่ที่ผมเรียนมาจนถึงมอหกแล้วตอนนี้ ยังไม่มีหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของเราซักเล่ม ที่เขียนครบสามข้อที่แท้จริงนั่น วิกิพิเดียเนี่ยแหละ จะช่วยได้

เคยรู้กันบ้างไหมว่าในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สยาม มีนักบินมากที่สุดในโลก เรามีสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและแปซิฟิก และหอบังคับการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก อะไรที่เป็นที่สุดแบบนี้อยากให้ใส่ลงไปในหัวข้อ ลำดับที่สำคัญ ข้างล่างอ่ะ ทั้งไทยและอังกฤษยิ่งดี

ผมอยากให้เขียนพาดพิงไปถึงตอนที่เรายังเป็นสยามอยู่เยอะๆ เพราะตรงนั้นเรายิ่งใหญ่มากประเทศหนึ่ง ที่พรมแดนติดจีนติดเวียดนาม

ตลกมากครับ ตรงส่วนของประวัติศาสตร์ไทย มีอยู่กระจึ๋งนึง ข้ามกาลเวลาไปเสียหมด เหลืออยู่ไม่กี่บรรทัด ทำให้ผู้อ่านหลายคนรู้สึกว่า ประเทศไทยเหมือนพึ่งตั้งมาได้แค่สองปี มีประวัติศาตร์อยู่แค่นั้น พึ่งรู้ว่าเราคนไทย อายไม่กล้าเอาประวัติศาตร์ที่บรรพบุรุษของเราสั่งสมไว้มาบอกลูกหลานคนไทย

ภูมิใจไหม บรรพบุรุษเอาเลือดแลกแผ่นดินไว้ ไทยจึงเป็นไท ไม่ต้องไปรับใช้ เป็นขี้ข้าเขา --206.176.118.50 11:08, 19 พฤศจิกายน 2007 (ICT) แบงกอกี้สกาย่า

ใจเย็น น้องเอ้ย คนไทยทั้งนั้นแหละ --ธวัชชัย 11:22, 19 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

พี่ธวัชชัยครับ ช่วยแก้ให้พวกเราด้วยสิ -- แบงกอกี้สกาย่า

ผมอยากเขียนมาตั้งนานแล้วครับ เรื่องประวัติศาสตร์ไทยแนว ๆ นี้ รวบรวมหนังสืออ้างอิงมาได้มากโขอยู่จนห้องรกไปด้วยหนังสือ อุปสรรคคือตอนนี้งานยุ่งมากเลยล่ะครับ ใครพอมีเวลาก็มาช่วย ๆ กันนะ --Pi@k 12:20, 19 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
คุณแบงกอกี้สกาย่า สามารถร่วมเขียนได้ครับ ลองดูวิธีการเริ่มต้นได้ที่ วิกิพีเดีย:เริ่มต้น --Manop | พูดคุย 12:48, 19 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

ผมว่าเรื่องนักบิน อะไรพวกนั้น มัน trivial มากเลยครับ เมื่อเทียบกับบทความโดยรวมของประเทศ แล้วก็วิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับเผยแพร่ความเป็นชาตินิยม ไม่ใช่ตัวแทนของแนวความคิดแบบใดๆ ถ้าข้อมูลพิสูจน์ได้ เกี่ยวข้องกับบทความ ก็ใส่ไปเลยครับ (เรื่องการไม่เคยเป็น colony การเข้าร่วมสงครามโลก มีความสำคัญกับบทความแน่ แต่การมีสนามบินใหญ่ มีหอบังคับการบิน มันเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก) อย่ามาโจมตีคนอื่น และอย่าเขียนโดยมีอคติ --KINKKUANANAS 12:56, 22 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

หัวข้อประวัติศาสตร์ไทยในบทความนี้ใช้สรุปโดยย่อเท่านั้น เพื่อไม่ให้เนื้อหาออกนอกประเด็นเรื่อง "ประเทศไทยคือประเทศหนึ่งบนโลก" เพราะถึงยังไงประวัติศาสตร์ไทยคงไม่ได้มีเพียงแค่สองย่อหน้าแน่ ถ้าอยากเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเป็นประเด็นหลักของบทความ เชิญเขียนได้ที่ประวัติศาสตร์ไทยครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:16, 22 พฤศจิกายน 2007 (ICT)


ประเภทการปกครอง

น่าจะใช้ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เฉกเช่นที่ขึ้นไว้เมื่อวานนะครับ แล้วตามด้วย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นะครับ


"สพฺเพสํ สํงฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา"

ในหน้าฝรั่งเศสบอกว่า คำขวัญแห่งประเทศไทยมีว่า "สพฺเพสํ สํงฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา" ซึ่งแปลว่า "L'unité du peuple fait le succès et la prospérité" ("สามัคคีรสแห่งปวงชนยังให้มีความวัฒนาผาสุก" ภาษาไทยนี่แปลเองค่ะ ไม่ใช่ฉบับทางการที่ไหน)

ตั้งแต่เกิดมาจนอายุสิบแปดในปัจจุบัน ไม่เคยทราบมาก่อนว่าประเทศไทยมีคำขวัญแบบนี้

ไม่ทราบว่ามีจริงหรือเปล่าคะ ถ้าจริงก็น่าจะใส่ไว้ในหน้าไทยบ้างนะ

--YURi ๗ เมษายน ๒๕๕๑, ๐๑:๑๙ (GMT)

คำขวัญของประเทศไทยไม่ใช่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เหรอ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.142.97 (พูดคุย | ตรวจ) 04:11, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

  • อันนี้เป็นความหมายของธงไตรรงค์ครับ --Horus 19:27, 26 กรกฎาคม 2551 (ICT)
ค้นๆ ดู "สัพเพสัง สังฆภูตานัง สามัคคี วุฑฒิสาธิกา" นิยมแปลว่า "ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ย่อมยังความเจริญให้สำเร็จ" -- ธวัชชัย 19:34, 26 กรกฎาคม 2551 (ICT)
  • "สพฺเพสํ สํงฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา" อันนี้เป็นคำขวัญมาจากตราแผ่นดินสมัย ร. 5 ครับ ทุกวันนี้บางหน่วยงานก็เอาคติอันนี้มาใช้เป็นภาษิตของหน่วยงานอยู่ เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีคติดังกล่าวอยู่ในดวงตราครับ --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 20:16, 26 กรกฎาคม 2551 (ICT)

งั้นก็แสดงว่าเป็นคำขวัญในอดีต --Octra Dagostino 00:54, 27 กรกฎาคม 2551 (ICT)

  • ขอแสดงทัศนะเพิ่มเล็กน้อย คำว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" นี้ เราก็พูดกันอยู่จนชินมาตลอดแล้ว แล้วก็เป็นคำที่มักเอาไปใช้ในทางการปลุกใจคนไทยให้รักชาติอยู่ตลอด เราจะถือได้หรือไม่ครับว่า วลีนี้ (ซึ่งเป็นความหมายของธงไตรรงค์) คือคำขวัญของชาติไทยอย่างไม่เป็นทางการแม้ว่าจะไม่มีประกาศของทางราชการออกมายืนยัน --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 08:23, 27 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ช่วยแก้ข้อความ ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยและราชาธิปไตย ให้ทีครับ

ข้อความ "ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยและราชาธิปไตย " รู้สึกว่าจะขัดกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๒ ที่ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นะครับ ยังไงก็ช่วยพิจารณาด้วยนะครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Ipnong (พูดคุยหน้าที่เขียน) 05:17, 29 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ราชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ ดังนั้นใส่ไว้ก็ไม่ผิดครับ แบบว่าผสมกัน ประชาธิปไตย+ราชาธิปไตย --Octra Dagostino 13:08, 29 กรกฎาคม 2551 (ICT)

  • ผมแก้แล้วครับ ไม่อยากให้มันเป็นประเด็นอะไรนักครับ ว่ากันตามรัฐธรรมนูญครับ ว่าแบบรัฐศาสตร์ก็ไม่เป็นไร แต่ในกรณีนี้ sensitve มาก ดังนั้นผมแก้ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยเฉย ๆ ครับ Skyman 16:47, 4 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
  • ผมแก้คืนนะครับ วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย หัวข้อวิกิพีเดียไม่มีเซ็นเซอร์ ฉะนั้นเหตุผลว่ามันเซนซิทีฟจึงไม่ใช่เหตุที่จะเอาออกครับ Kuruni 17:23, 4 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
  • ผมไม่เห็นด้วยกับที่ว่า การใช้คำว่า ราชาธิปไตย ไม่เป็นไร เพราะถ้าจะเขียน ควรจะเขียนให้ตรงตามรัฐธรรมนูญจะดีกว่า (เพราะเป็นหน้าวิกิไทย ซึ่งคงจะบอกว่าให้ต่างชาติอ่านคงไม่ได้) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Ashiir (พูดคุยหน้าที่เขียน) 04:06, 29 เมษายน 2552 (ICT)
  • ผมขอแก้เป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นะครับ เพราะผมไม่เห็นด้วยกับการใช้คำว่า ราชาธิปไตย ครับ --Deweyxx 15:24, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • แบบนั้นก็ได้ครับ --Octra Dagostino 15:32, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • "แบบนั้นก็ได้ครับ" แล้วไปแก้กลับทำไมเล่า--117.47.66.24 15:34, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • กรุณาย้อนกลับให้เป็นดั่งที่ผมแก้ด้วยครับ สารานุกรมเล่มนี้แม้จะปรับตามสถานการณ์บ้านเมืองจริง แต่บางครั้งก็ควรอิงด้วยตำราหรือหลักฐาน ไม่ใช่การแก้ไขลอยๆครับ..ขอบคุณครับ..--Deweyxx 15:36, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ต้องขอโทษด้วยครับ พอดีผมเพิ่งเห็นข้อความนี้หลังจากย้อนไปแล้ว ตอนนี้ก็ใช้แบบของคุณแล้วไง จะมีปัญหาอะไรอีกละ --Octra Dagostino 15:38, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เนื้อหาบางส่วนมีไว้ทำไม?

ทำไมบทความจึงมีการทำลิงก์ที่ไม่จำเป็นครับ อย่างรายชื่อจังหวัดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นต้น และอันดับที่สำคัญทำไมไม่ใส่ไว้ในที่สุดในประเทศไทยแทนล่ะครับ --Horus 19:10, 21 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

  • ก็เอาออกสิครับ —202.28.183.10 18:32, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    • ก็เอาออกแล้วไงครับ เขียนไว้เตือนไม่ให้คนอื่นมาเพิ่มเติมอีกครั้งเฉย ๆ --Horus

กทม.​ไม่ใช่จังหวัด จึงมีแค่ 75 จังหวัด

ปัญหาคือ

  • ท้ายคำว่า 75 จังหวัดยังมีคำว่าต้องการแหล่งอ้างอิง
  • ในตารางจังหวัด ดันมีคำว่า กรุงเทพมหานคร --Kaew 18:29, 1 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ผมเป็นคนใส่ต้องการแหล่งอ้างอิงเองแหละครับ เนื่องจากไม่มีที่ไหนระบุไว้อย่างชัดเจนว่าประเทศไทยมี 75 จังหวัด เพราะจากที่ผมคลิกเข้าไปใน CIA-The Wold Factbook เขาก็เขียนไว้ว่ามี 76 จังหวัด แถมแผนที่ประเทศไทยที่อยู่ในห้องนอนของผมก็เขียนว่ามี 76 จังหวัดเหมือนกันครับ --Horus 21:45, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

น่าจะพูดใหม่ว่า กทม. ไม่ถือว่าเป็นจังหวัด แต่เป็นเขตปกครองพิเศษครับ เช่นเดียวกับเมืองพัทยา บทความก็เขียนไว้ --Octra Dagostino 21:49, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ถึงจะแก้ไขแล้วเนื้อหาจะเอาที่ไหนมาเป็นแหล่งอ้างอิงล่ะครับ คนส่วนใหญ่เขารู้ว่า "ประเทศไทยมี 76 จังหวัด" ดังนั้นการแก้ไขในเรื่องนี้จึงถือว่าเป็นเรื่องใหม่ครับ (หรือเมื่อก่อนก็เป็น 75 แต่คนจำผิดเป็น 76) --Horus 23:21, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เข้าใจผิดก็แก้นะครับ ทีเรื่องระบอบฯ ยังอยากจะแก้เลยนิ แหล่งข้อมูลมีเยอะไป อย่้าพึ่งแต่ CIA นักเลย

จากการจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ ๓ จังหวัดนี้ ทำให้ในปัจจุบัน ประเทศไทยแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น ๗๕ จังหวัด ทั้งนี้ ไม่นับกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีฐานะเป็นจังหวัด.
ผู้เขียน :  นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ 
ที่มา :  จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓๑, ธันวาคม ๒๕๓๖

http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=661

--ธวัชชัย 23:40, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เข้าใจแล้วครับ แต่ผมก็ยังไม่ทราบอยู่ดีว่าทำไมคนไทยถึงไม่ทราบเรื่องนี้กัน (หรืออาจทราบน้อย) --Horus 23:46, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

กลับมาอีกทีแก้กันเรียบร้อยไปแล้ว ขอบคุณทุกคนนะครับ แต่เสนออีกนิดว่าหลังคำว่า 75 จังหวัด ใส่ข้อความในวงเล็บให้ชัดเจนไปเลยว่าไม่นับรวม กทม. ดีไหมครับ ไม่งั้นคนผ่านมาเดี๋ยวก็อาจจะสงสัยหรืออยากแก้ เพราะผมเห็นด้วยกับคุณ Horus ที่ว่าคนรู้เรื่องนี้น้อย พอมาเห็นปุ๊บต้องตั้งธงว่าผิดก่อนหากไม่อธิบายให้ชัดเจน --Kaew 19:41, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เพิ่มเติมแล้วครับ --Horus 19:57, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ขอบคุณมากครับ รวดเร็วทันใจดีแท้สำหรับบทความที่กำลังร้อนระอุแบบนี้ บทความวิทย์ถ้ามีคนช่วยกันแก้แบบนี้คงดีไม่น้อย :-) --Kaew 20:03, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

สงสัยคงต้องทำให้เป็นข่าวน่ะครับ 55 --Horus 20:09, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

รายการอ้างอิงแสดงรัฐธรรมนูญ 2540 สองครั้ง?

ช่วยแก้อ้างอิงตรงรัฐธรรมนูญด้วยครับ มันมี 2540 ถึงสองอัน ลำดับที่ 6 ควรจะเป็น 2550 --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 137.226.17.103 (พูดคุย | ตรวจ) 14:04, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

แก้แล้วครับ --Octra Dagostino 21:53, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

แก้ให้ด้วยครับ ในหัวข้อ การปกครอง

เดิมประเทศไทยมีการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา[ต้องการแหล่งอ้างอิง] แต่สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบเด็ดขาดนั้นเริ่มตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงรวมศูนย์อำนาจไว้ที่พระองค์เอง จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้กระทำรัฐประหาร ในสมัยรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ผมขอนุญาตเน้นนะครับ " จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้กระทำรัฐประหาร ในสมัยรัชกาลที่ 7 "

ผมขอให้แก้ไขเป็น " คณะราษฎรได้กระทำการ ปฏิวัติ ครับ ไม่ใช่รัฐประหาร ครับ

การ ปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองครับ แต่ถ้า รัฐประหาร คือการ ยึดอำนาจ รัฐบาล หรือ เปลี่ยนรัฐบาลโดยใช้อำนาจ ครับ

คนไทย มักจะใช้สลับกันพอเค้าทำรัฐประหารก็ชอบบอกว่า เค้า ปฏิวัติ แต่เค้า ปฏิวัติ ดันบอกว่า รัฐประหาร ประเทศไทยเรา มีการปฏิวัติ แค่ครั่งเดียวเองครับ

แก้ให้ด้วยนะครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Prince nan (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:14, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ที่จริงคุณสมัครเข้ามาแล้วก็แก้เองได้เลยนี่ครับ (หรือเปล่า) --Octra Dagostino 22:16, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

สงสัยกลัวการแก้ไขจะไม่มีคนยอมรับ --Horus 23:22, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุย กรุณารักษามารยาท อย่าว่าร้ายผู้อื่น มุ่งประเด็นไปที่เนื้อหาของบทความ ไม่ใช่ที่ผู้ร่วมเขียนบทความ นะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:47, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ขออภัยครับ --Horus 07:37, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ควรเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญเหมือนเดิมครับ

เพราะสามารถอ้างอิงจาก แผนที่แสดงประเทศที่ปกครองด้วยราชาธิปไตย ครับ ระบุว่าประเทศไทยเป็นประเทศราชาธิปไตย และอนึ่ง การปกครอง บนหน้า ประเทศไทย มี 2 อย่าง คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งอ่านดูคงจะงงกันไม่น้อย และบทความระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น สร้างบทความเมื่อวาน (6 พฤษภาคม พ.ศ.2552) ด้วยข้อความที่สั้นมาก จึงขอกรุณาอย่าเอาคนที่แก้คนๆเดียว มาเป็นความเห็นส่วนใหญ่ด้วยครับ เพราะตราบใดที่ไทย ไม่ได้ 1.เป็นสาธารณรัฐ 2.ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 3.ให้พระมหากษัตริย์หมดอำนาจบริหาร ก็มิอาจใช้คำว่าประชาธิปไตยดังเช่นบทความของประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นได้ครับ มีแต่บทความประเทศไทยภาษาไทยเท่านั้น ที่มีการเขียนแบบนี้นี บทความประเทศไทย ภาษาอังกฤษ ก็ยังบันทึกไว้ว่า Constitutional monarchy(ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญ) เพราะฉะนั้นกรุณาอ้างจากบทความของภาษาอื่นด้วยครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Setawut (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:07, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)


เรื่องบทความ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รอให้คนรู้จริงมาเขียนดีกว่าครับ ปล.วิกิพีเดียไม่อ้างอิงกันเอง อ้างอิงแหล่งข้อมูลภายนอกที่เชื่อถือได้เท่านั้น --Octra Dagostino 21:36, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)


ยึดมั่นในประชาธิปไตยซะ ถ้างั้นเรามาประชาธิปไตยกันตรงนี้ดีกว่าไหม โหวตกันไปเลยว่าจะใช้คำว่าอะไรดี --Horus 21:55, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

โหวตไปก็ไม่ช่วยอะไรดีขึ้นมาครับ เพราะวิกิแก้ไขได้ตลอดเวลา วิกิพีเดียถือเอาความคิดเห็นส่วนใหญ่จากการอภิปราย ไม่ใช่การโหวต --Octra Dagostino 21:57, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)


เรื่องประเทศไทย ควรอ้างอิงจากรัฐธรรมนูญ หรือเอกสารด้านกฎหมาย จำพวกราชกิจจานุเบกษา อะไรทำนองนั้น ดีกว่ามั้งครับ. ไม่ใช่อ้างอิงจากเว็บ CIA (ฮามาก) แล้วก็ต้องแปลอังกฤษมาเป็นไทย แล้วก็เถีัยงกันอีก ว่าแปลถูกหรือไม่, ผมก็ไม่เข้าใจ ทำไมถึงอ้างอิงเอกสารไทยไม่ได้ ประเทศไทยไม่มีข้อมูลแล้วหรือ?

ส่วนบทความเรื่องระบอบนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่าเพิ่งเอามาคุยตรงนี้ เดี๋ยวก็ยุ่งอีก --ธวัชชัย 22:04, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)


ผมเห็นในบทความ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" มาแล้ว ไม่ฮากว่าเหรอครับ เขียนบทความแค่บรรทัดเดียวเพื่อพวกเห็นแก่ตัว "การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นการปกครองของประเทศไทย" ตลกครับ แล้วการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มีในรัฐธรรมนูญแสดงว่าวิกิพีเดียผิดมาสองปีแล้วอย่างนั้นสินะครับ --Horus 22:11, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)


ไม่เห็นจะฮาตรงไหน เราเจอข้อมูลซึ่งเขาเขียนไว้ (แถมไม่ใช่แค่CIAด้วย) แล้วเราก็เอามาลงโดยเทียบกับศัพท์บัญญัติ ของงที่อยู่ในรัฐธรรมนูญก็เอามาลงคู่กันไว้สิ ให้คนอ่านรับข้อมูลไป เราก็ทำตามแบบปกตินั่นล่ะ ใส่มันไว้ทั้งสองอัน แล้วก็ใส่แหล่งอ้างอิงให้คนอ่านไปค้นเอง อย่าไปตัดสินแทนคนค้นข้อมูลว่าอันไหนน่าเชื่อกว่ากัน ส่วนตัวแล้ว ผมว่าทั้งสองแหล่งน่าเชื่อกว่าด้วยซ้ำไป เพราะเขาเป็นคนกลาง การปกครองของเราไม่มีส่วนได้เสียชัดๆกับเขาอยู่แล้ว ส่วนคนร่างรัฐธรรมนูญเป็นคนไทย ที่พยายามบอกหรืออ้างว่าตนปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีผลกระทบด้านหน้าตาในสังคมโลกเขา

ขอถามกันตรงๆไม่อ้อมค้อมดีกว่า ที่เราจะอ้อมๆเรื่องราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในบทความประเทศไทยนี่ เรากลัวกันใช่ไหมครับ เอ้า! ไม่กลัวแต่เกรงใจเอเอสทีวีผู้จัดการก็ได้ พดกันให้ชัดๆตรงนี้เลยดีกว่า ผมยอมรับได้ แล้วก็เอาข้อที่ว่าวิกิพีเดียไม่มีเซ็นเซอร์ออกไปจากวิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดียซะเลย ยอมรับกันตรงๆจะสะดวกใจกว่า Choosing between Truth and safety of Lies... 23:16, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)


ซึ่งผมจะคัดค้านเป็นคนแรกเลยครับ แล้วย้ำเตือนถึงแม่แบบ "วิกิพีเดียไม่เกี่ยวข้องกับรัฐใด ๆ" ตราบใดก็ตามที่การแสดงออกไม่ผิดกฎหมาย เราก็มีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนั้น เห็นได้จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการซึ่งไม่เห็นฟ้องวิกิพีเดียเลย (เหมือนกับเล่นเกมการเมือง) สงสัยคงต้องการจะเชิดหน้าชูตา กลัวจะถูกลืมกระมัง --Horus 23:09, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ขอให้ผู้ที่พยายามแก้ไขทราบว่าสิ่งที่ถูกต้องแตกต่างจากสิ่งที่ถูกใจอย่างไร ขอบคุณ --Horus 23:19, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

คงไม่มีใครกลัวอะไรหรอกนะครับ ประเทศนี้เมืองนี้เขาระบุว่าปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตั้งนานแล้ว ดังนั้น การปกครองของประเทศนี้จึงควรเขียนตามที่เขาระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของเขา ส่วนจะมีการ redirect ระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปยัง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ นั้นก็อีกเรื่องหนึ่งครับ นี่คือความจริงของการเรียกระบอบการปกครองของประเทศนี้ครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:44, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ถ้าอย่างนั้น เราก็ควรจะใส่ทั้งสองแบบเลยไหมละครับ นี่แหละโอเคที่สุดแล้ว อย่าให้เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ทว่าผมยังเห็นว่าความพยายามของคุณในการที่จะบอกว่า "เป็นความจริงของการเรียกระบอบการปกครองของประเทศนี้" แสดงว่านี่เป็นการปกครองแบบใหม่ที่ไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อนในโลกเลยหรือครับ หรือว่าประเทศไทยมีเอกสิทธิ์พิเศษในการไม่ขึ้นกับเอกสารวิชาการที่มีความเป็นสากลหรือเปล่าครับ --Horus 23:54, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)


แล้วคุณคิดว่า ระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความเหมือนหรือแตกต่างยังไงกับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญ ครับ และใส่ทั้ง 2 แบบของคุณหมายถึงอะไรบ้าง และ อย่างเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งนี่หมายถึงอะไร รบกวนขยายความให้กระจ่างครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 08:54, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ถ้าจะถามผม

  • ในเมื่อคุณไม่รู้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองแบบ แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าทำไมต้องเปลี่ยนเป็นแบบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  • สำหรับผม มันต่างกันตรงแค่เขาคิดว่าการปกครองแบบราชาธิปไตยเป็นเผด็จการก็เท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ เพราะอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดไว้โดยรัฐธรรมนูญ และไม่มีอำนาจบริหารโดยตรง
  • ผมขอถามคุณบ้าง ว่าทำไมถึงห้ามไม่ให้ใช้คำว่าราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะคำดังกล่าวก็มีบัญญัติไว้ จะว่าวิกิพีเดียผิด แล้วทำไมมาบอกกันตอนนี้ ไม่บอกเมื่อหกร้อยเกือบเจ็ดร้อยวันก่อนล่ะครับ
  • ผมไม่ได้บอกว่าอย่างไหนถูกอย่างไหนผิด แต่ที่เห็น ๆ ก็คือ การปกครองแบบนี้ไม่เคยปรากฏในหลักฐาน สารบบ หรือตำราไหน ๆ

ป.ล. ดูคห. 3 นะครับ --Horus 09:09, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)


แล้วรู้ได้ยังไงว่าผมไม่รู้หรือครับ??? ผมรู้เท่าที่ผมรู้และถ้าคุณอธิบายมาได้แค่นั้น แสดงว่าคุณก็ไม่ได้รู้มากกว่าผมนะครับ ทำไมจึงต้องเปลี่ยนอธิบายไปหลายรอบแล้วนะครับว่า ประเทศนี้ระบุการปกครองของเขาว่าปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมามากกว่า 50 ปีแล้วว่า มีอ้างอิง คือ รัฐธรรมนูญของประเทศนี้ เมื่อมีการเทียบเป็นภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า Constitutional monarchy และเมื่อมีการบัญญัติศัพท์ของคำนี้เป็นภาษาไทยเขาบัญญัติว่า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อคุณเห็นศัพท์บัญญัติเขาบัญญัติเช่นนั้น คุณเลยบอกว่า การปกครองแบบนี้ (ประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข)ไม่เคยปรากฏในหลักฐาน สารบบ หรือตำราไหน ๆ เหรอครับ แสดงว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนี้ใช้ผิดมามากกว่า 50 ปีก่อนใช่ไหมครับ แล้วรัฐธรรมนูญของประเทศนี้ไม่ใช่หลักฐานที่แสดงว่าเขาเรียกการปกครองของเขาว่าประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือครับ แล้วศัพท์บัญญัติของ Constitutional monarchy มีมาก่อนหรือหลังการระบุการปกครองของประเทศนี้หรือครับ และถ้าคุณคิดว่าทั้ง ประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญ และ Constitutional monarchy มันไม่ต่างกันทำไมไม่ redirect ประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปยัง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญหรือครับ Constitutional monarchy เป็นหลักสากลแต่การบัญญัติศัพท์การเรียกเป็นสิทธิ์ของแต่ละประเทศไม่ใช่หรือครับ และถ้าประเทศนี้จะเรียกการปกครองของเขาว่า ประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นั้นผิดเปล่าครับ
ส่วนที่ถามว่าทำไมผมไม่แย้งตั้งแต่เมื่อ 600-700 วันที่แล้ว ผมถามกลับว่าทำไมผมถึงต้องแย้งหรือครับ ในเมื่อบทความประเทศนี้ไม่ได้เป็นบทความเฝ้าดูของผมเสียด้วยซ้ำ หรือว่าถ้าผมไม่แย้งเมื่อ 600-700 วันก่อน แสดงว่า ผมไม่มีสิทธิที่จะแย้งเหรอครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:46, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ผมคงต้องบอกว่าคุณมองโลกในแง่ดีมากครับ ถ้าพวกที่แก้ไขทำอย่างนี้ก็จบ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พวกคนที่มาออกความเห็นในผู้จัดการไม่ยอมรับ ให้มีการเขียนบทความการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ แล้วใช้อารมณ์ล้วน ๆ (อย่างไรก็ตาม ต้องขอโทษด้วยที่เปรียบเทียบคุณกับพวกเผด็จการสื่อพวกนั้นครับ) --Horus 09:54, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ผมก็ไม่ได้บอกว่าให้เอาข้อที่ว่าประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ออกไปจากบทความนะ ผมแนะว่าให้ใส่ไว้ทั้งสองอันตามแหล่งข้อมูลที่เรามี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขระบุภาษาอังกฤษไว้ว่า constitutional democratic monarchy เท่ากับว่าเรามีข้อมูลที่ขัดแย้งกันสองทาง ระบอบไหนมีหรือไม่มีอย่างไรไม่ใช่หน้าที่ของเราที่ต้องเอามาเขียนหรือศึกษาเป็นงานวิจัยต้นฉบับ Choosing between Truth and safety of Lies... 11:49, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ผมไม่ได้ว่าคุณหรอกครับ แต่ผมเห็นด้วยที่ว่า "การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ควรจะ redirect ไปยัง "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ขนาดวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ยังเป็นแบบนี้ ซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้วในการให้คงทั้งสองคำในบทความ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ มีคนบางกลุ่มไม่ยอมรับคำว่า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" กับ "การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" มีความหมายเหมือนกัน เพียงแต่อันหนึ่งมีคำว่า "ประชาธิปไตย" อีกคำหนึ่งไม่มี ก็เท่านั้นเอง --Horus 12:03, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ใช่ครับ !!! ตามคุณ Horus ที่บอกว่า แล้วรู้ได้อย่างไรว่าผมไม่รู้ครับ ??? เห็นด้วยเลยครับ

ประชาธิปไตนอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษ ยังไง ? ไม่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พระมหากษัตริย์ ไร้ซึ่งพระราชอำนาจทุกกรณี มีฐานะเป็นเพียง พระประมุข ประชาชน มีสิทธิ์ ที่จะวิพากษ์ วิจารณ์ราชวงศ์ได้อย่างเปิดเผย อย่างอังกฤษ ปาปารัสซี่ ไล่ถ่ายเจ้าฟ้าชายชาร์ล ใช่ไหม แล้วเป็นเมืองไทย ลองทำแบบอังกฤษดิ หัวขาดสถานเดียว !! ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญ เช่น ประเทศกัมพูชา ไทย ที่ยังคงมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ ประชาชน ไม่มีสิทธิ์ ที่จะวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ได้ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจ

แต่ !! ที่จริงแล้ว มันไม่มี ทั้งสองอย่าง ไม่ว่าจะ "ราชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ" หรือ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ตามที่คุณ Horus กล่าวมา ทั้งสองอย่างนี้ เป็นการแยกประเภทออกมา เพื่อให้คนเข้าใจ เท่านั้นเอง ทั้ง 2 อย่าง ไม่เคยมีในสารบบของทั้งโลก แต่หลายกลุ่มบุคคลแยกออกมา เพื่อให้เข้าใจง่าย

ผมว่า อย่างเดิม แล้วล็อคหน้าไว้ซะ จะดีที่สุด แล้วอย่างเดิมอย่างไหน? ก็อย่างที่มันอยู่มาเป็นปีๆอ่ะครับ เพียงแต่ช่วงนี้กระแสมันแรงเฉยๆ เลยถกเถียงกันมาก

อย่างเดิมคือ มี "ราชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ" กับ "ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา(แต่ลิ้งค์ไป "ระบอบรัฐสภา")"

แล้วคุณบอกต้องอ้างอิงจากกฎหมาย บางอย่างมันอ้างต่อโลกไม่ได้ครับ อย่าง "เกาหลีเหนือ" เขาชื่อเต็มว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea)" หรือลาว "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ตัวอย่างทั้ง 2 ประเทศนี้ เขามีการเลือกตั้งเหมือนเรา เขาอ้างว่าเขาเป็นประชาธิปไตย แต่ทำไม โลกถึงให้เขาเป็นคอมมิวนิสต์ล่ะครับ ? ปัญหาการถกเถียงนี้ มันเกิดจากผม เอาบทความนี้ ไปอ้างในสนุกดอทคอม เมื่อวันที่ 6/5/52 ซึ่งก็รู้อยู่ ว่าเว็ปบอร์ดสนุกถิ่นเหลือง แล้วเหลืองเค้ารับไม่ได้ เลยมาแก้ ไม่เชื่อผม ลองไปดูนะครับ การอภิปรายของบทความ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หัวข้ออภิปรายที่ 5 "นักรัฐศาสตร์ชี้ ไม่มีราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนุญ" นั่นแหล่ะครับ เสื้อเหลืองมาแก้ แต่ขอขอบคุณที่คุณมานพ เขาลบข้อความอภิปรายไปแล้ว แล้วรู้ได้ไงว่าเขาสีเหลือง ลิ้งค์นี้เลยครับ http://webboard.news.sanook.com/forum/index.php?topic=2788253 ไอ่เนี่ยแหล่ะ ตัวการ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Setawut (พูดคุยหน้าที่เขียน) 10:19, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)


ถ้าอยากให้เห็นภาพชัดเจนกว่านั้น ลองดูที่ นาซีเยอรมนี ไปเลยครับ ผมว่าในรัฐธรรมนูญคงไม่ได้บอกแน่ว่ามีการปกครองแบบที่เขียนไว้ในหน้าบทความนั้นแน่

ป.ล. "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" มีนะครับ แถมมีในราชบัณฑิตฯ ซะด้วย ป.ล.ล. ถ้าผมจบรัฐศาสตร์มาเมื่อไหร่ อะไรถูกอะไรผิดกระจ่างแน่ --Horus 17:35, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)


การแก้ไขล่าสุดของคุณ Horus ไม่ชัดเจนนะครับ
"ในทางนิตินัยแล้ว ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งตามความในมาตรา 2 บัญญัติว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยปรากฏในเอกสารภาษาอังกฤษว่า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตาม ราชบัณฑิตยสถาน"
  • เอกสารภาษาอังกฤษฉบับไหนเขียนเป็นภาษาไทยหรือครับ ผมว่ารูปแบบเดิมนั้น คือ
"ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งตามความในมาตรา 2 บัญญัติว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยปรากฏในเอกสารภาษาอังกฤษว่า Constitutional monarchy ตรงกับคำภาษาไทยว่า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน"
  • ให้ความหมายไม่ต่างจากที่คุณ Horus แก้ไขนะครับ แต่ค่อนข้างชัดเจนกว่าอยู่แล้วนะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:34, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • แก้ไขแล้วครับ (เพราะผมไม่อยากใส่ภาษาอังกฤษให้มันซ้ำซ้อนเองแหละ) --Horus 19:58, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

แหล่งอ้างอิงขัดแย้ง?

จากการตรวจสอบบางแหล่งข้อมูลพบว่ามีข้อมูลบางอย่างที่ขัดแย้งกัน อยากทราบว่าในบทความนี้ควรจะใช้แหล่งอ้างอิงของไทย หรือของต่างประเทศในการอ้างอิงข้อมูลที่ไม่ตรงกันครับ --Horus | พูดคุย 22:20, 22 กรกฎาคม 2552 (ICT)

ขัดแย้งแบบไหนหล่ะครับ แต่ให้ดี ลงทั้งสองอันแหละครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:28, 22 กรกฎาคม 2552 (ICT)
เท่าที่พบ (ไม่ได้ยกตัวอย่างนะครับ) ก็มีพื้นที่ของประเทศ 513,115 (สถิติแห่งชาติ) กับ 513,120 (ซีไอเอ) ตารางกิโลเมตรครับ --Horus | พูดคุย 22:47, 22 กรกฎาคม 2552 (ICT)
อันนี้อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนอันเนื่องมาจากเครื่องมือวัด หรือการปัดเศษเวลาคำนวณครับ แต่อย่างไรก็ตาม มีค่าต่างเพียง 5 ตร.กม. หรือ ประมาณ 0.001 % เองครับ ถืิอว่าเป็นค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ครับ ดังนั้น ใส่อันไหนก็ได้ครับ หรืออาจจะใส่ทั้งสองตัวเลขเลยก็ได้ครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:55, 22 กรกฎาคม 2552 (ICT)
  • เราไม่มีสิทธิตัดสินว่าแหล่งข้อมูลไหนดีกว่ากันครับ (เว้นแต่เป็นแหล่งข้อมูลที่มีเรื่องผิดพลาดออกมาบ่อย อย่างผู้จัดเกรียนไง) ลงไว้ทั้งคู่เลยเถอะ Choosing between Truth and safety of Lies... 09:33, 23 กรกฎาคม 2552 (ICT)

ส่วนที่ย้ายออกจากหน้าบทความ

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนแรกเป็นผลมาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2516 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นเวลา 41 ปี[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งนับเป็นการสังหารหมู่คนไทยด้วยกันเอง ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งนำไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ชาวไทยมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุด

เป็นผลให้พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุด ภายใต้กติกาแห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จัดตั้งรัฐบาล บริหารราชการแผ่นดินครบวาระ 4 ปี เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2544-2547) และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันเป็นสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดในขณะนั้น ทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยลำพังพรรคเดียวเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2548) ขณะเดียวกัน เกิดการชุมนุมทางการเมืองโดยกลุ่มต่างๆ เรื่อยมาจนปัจจุบัน

ซึ่งผู้ก่อการรัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ. 2549 อ้างว่าเป็นสาเหตุสำคัญในการดำเนินการ พร้อมกับตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อยุบพรรคการเมืองที่บริหารประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2544 และจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2550 แต่เมื่อเกิดการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่มีสมาชิกเดิมจากพรรคที่ถูกยุบไป ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุดอีกครั้ง จึงได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินในปี พ.ศ. 2551 ท่ามกลางแรงกดดันจากชนชั้นนำ และกลุ่มชุมนุมทางการเมือง จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายกรัฐมนตรีคนถัดมาพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากรับจ้างดำเนินรายการโทรทัศน์ประเภทปรุงอาหาร และยุบพรรคร่วมรัฐบาลจำนวนหนึ่ง ด้วยข้อหาทุจริตการเลือกตั้ง

ส่งผลเป็นการเปิดทางให้พรรคที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง ได้รับโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2552 ไปโดยปริยาย กลุ่มชุมนุมทางการเมืองอีกกลุ่มจึงลุกขึ้นต่อต้าน และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นมิตร จนในที่สุด ก็เกิดการปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง ในเช้าวันสงกรานต์ปีนั้น แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลับไม่ต้องต้องแสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด

เรื่องภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาสากล

  • นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ในทวีปยุโรป ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาสากลในการติดต่อระหว่างประเทศ (lingua franca) เอกสารระหว่างประเทศจึงใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก รวมถึงหนังสือเดินทางไทยในรุ่นแรกอีกด้วย --Horus | พูดคุย 18:29, 9 ตุลาคม 2552 (ICT)