ปลาช่อน
ปลาช่อน | |
---|---|
Channa striata ตาม Bleeker, 1879 | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | Anabantiformes Anabantiformes |
วงศ์: | Channidae Channidae |
สกุล: | ปลาช่อนเอเชีย Channa (Bloch, 1793) |
สปีชีส์: | Channa striata |
ชื่อทวินาม | |
Channa striata (Bloch, 1793) | |
ที่อยู่อาศัยของ Channa striata[2]
รายงานในมาดากัสการ์ระบุผิดเป็น C. maculata[3][4] | |
ชื่อพ้อง[5] | |
ปลาช่อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa striata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร
โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่า และอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ
ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์[6]
ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "ปลาหลิม" ในภาษาเหนือ "ปลาค้อ" หรือ "ปลาก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น[7]
และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด[8]
นอกจากนี้แล้วในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงในพื้นที่ตำบลหัวดวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร[9] และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่[10] มีความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นว่า ปลาช่อนสามารถขอฝนได้ โดยต้องทำตามพิธีตามแบบแผนโบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์เบื้องหน้าองค์พระประธาน และมีการโยงสายสิญจน์กับอ่างที่มีปลาช่อน 9 ตัว และสวดคาถาปลาช่อน เชื่อกันว่าระหว่างทำพิธี หากปลาช่อนดิ้นกระโดดขึ้นมา เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกลงมาในเร็ววันนี้[11]
นอกจากนี้แล้ว ที่อินเดียก็มีความเชื่อและพิธีกรรมที่คล้ายคลึงแบบนี้เหมือนกัน[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chaudhry, S.; de Alwis Goonatilake, S.; Fernado, M.; Kotagama, O. (2019). "Channa striata". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T166563A60591113. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-3.RLTS.T166563A60591113.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ Courtenay Jr.; Walter R. & James D. Williams. "Snakeheads (Pisces, Channidae): A biological synopsis and risk assessment". U.S. Geological Survey.
- ↑ USGS, Southeast Ecological Science Center: Channa striata. Retrieved 27 June 2014.
- ↑ Walter R. Courtenay, Jr., James D. Williams, Ralf Britz, Mike N. Yamamoto, and Paul V. Loiselle. Bishop Occasional Papers, 2004. [1] เก็บถาวร 2007-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Identity of Introduced Snakeheads (Pisces, Channidae) in Hawaii and Madagascar, with Comments on Ecological Concerns.
- ↑ Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2019). "Channa striata" in FishBase. August 2019 version.
- ↑ "ฟื้นชีพ..ปลาช่อนแม่ลา พันธุ์แท้..ครีบหูสีชมพู". ไทยรัฐ. 11 December 2015. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
- ↑ ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 116 หน้า. หน้า 98. ISBN 974-475-655-5 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ↑ Borneo, "Bite Me with Dr. Mike". สารคดีทางดิสคัฟเวอรีแชนแนล เอชดี ทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 8 เมษายน 2557
- ↑ "ชาวพิจิตรสวดคาถาปลาช่อน-แห่ตุ๊กตาแมวขอฝน". ช่อง 3. 10 July 2015. สืบค้นเมื่อ 11 July 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เชียงใหม่ เทศธรรมปลาช่อน แห่ขอฝน แล้งจัด พืชผลเสียหายยับ". ไทยรัฐ. 20 July 2015. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
- ↑ "ชาวนาไทยพึ่งพระพิรุณ หลากสูตรขอฝน-สู้แล้ง". มติชนออนไลน์. 28 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 6 July 2015.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "สีสันการขอฝนจากหลายประเทศ ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง ความหวังปาดน้ำตาประชาชน". เอ็มไทยดอตคอม. 12 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 13 May 2016.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปลาช่อน
- "Channa striata". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 18 April 2006.
- Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2006). "Channa striata" in FishBase. January 2006 version.