ปูเจ้าฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูเจ้าฟ้า
ภาพในบัตรโทรศัพท์ โดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ผลิตในปี พ.ศ. 2538
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
วงศ์: Gecarcinucidae
สกุล: Phricotelphusa
สปีชีส์: P.  sirindhorn
ชื่อทวินาม
Phricotelphusa sirindhorn
Naiyanetr, ค.ศ. 1989

ปูเจ้าฟ้า, ปูสิรินธร หรือ ปูน้ำตก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phricotelphusa sirindhorn) เป็นปูน้ำตกพบที่วนอุทยานน้ำตกหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2529[2] เป็นปูที่มีสีสันสวยงาม กระดองและก้ามทั้งสองข้างเป็นสีขาว ขาเดินทั้งสี่คู่และเบ้าตาและบริเวณปากเป็นสีม่วงดำ มีลักษณะปล้องท้องและอวัยวะเพศผู้คู่ที่ 1 ต่างจากปูชนิดอื่น

เมื่อโตเต็มที่ความกว้างของกระดอกประมาณ 9–25 มิลลิเมตร พบอยู่จำกัดบริเวณน้ำตกแถบภาคตะวันตกของไทย เช่น น้ำตกห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้ำตกที่เขาพะเนินทุ่ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น

ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของปูชนิดนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531

ปัจจุบัน ปูเจ้าฟ้าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535

อ้างอิง[แก้]

  1. จาก IUCN
  2. สารคดีข่าว, นิตยสารสารคดี มิถุนายน พ.ศ. 2533, หน้า 38