ปลาช่อนเอเชีย
ปลาช่อนเอเชีย | |
---|---|
ปลาช่อนเจ็ดสี (C. bleheri) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Anabantiformes |
วงศ์: | Channidae |
สกุล: | Channa Scopoli, 1777 |
ชนิดต้นแบบ | |
Channa orientalis Bloch & Schneider, 1801 | |
ชนิด | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาช่อนในสกุล Channa | |
ชื่อพ้อง | |
ปลาช่อนเอเชีย (อังกฤษ: Asiatic snakehead) สกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ รูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า "Suprabranchia" จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ลำตัวมีลวดลายและสีสันแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Channa (/ชาน-นา/)
ลักษณะสำคัญของสกุลนี้ คือ หัวและแก้มปกคลุมด้วยเกล็ด ฐานครีบหลังยาวกว่าฐานครีบก้น หัวกว้างและแบน ปากกว้าง มุมปากยาวเลยหลังตา นัยน์ตาอยู่ค่อยมาทางปลายจะงอยปาก[1]
แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก
มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันอย่างมากตามแต่ละชนิด โดยพบมีความยาวตั้งแต่ 1.5 เมตร เช่น C. micropeltes หรือ C. aurolineatus ไปจนถึงไม่ถึงหนึ่งฟุต คือ ปลาช่อนแคระ
การจำแนก
[แก้]ปัจจุบันจำแนกออกได้เป็น 34 ชนิด[2] แต่หลายชนิดก็ยังมิได้มีการระบุชนิดหรืออนุกรมวิธานชัดเจน บางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ ในชนิดที่มีสีสันสวยงามหรือมีขนาดเล็ก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[3]
- Channa amphibeus (McClelland, 1845) (ปลาช่อนบอร์นา)
- Channa andrao Britz, 2013 [4] (ปลาช่อนแอนดริว)
- Channa argus (Cantor, 1842) (ปลาช่อนเหนือ)
- Channa asiatica (Linnaeus, 1758) (ปลาช่อนเอเชียติกา)
- Channa aurantimaculata Musikasinthorn, 2000 (ปลาช่อนออแรนติ)
- Channa aurantipectoralis Lalhlimpuia, Lalronunga & Lalramliana, 2016 [5]
- Channa bankanensis (Bleeker, 1853)
- Channa baramensis (Steindachner, 1901)
- Channa barca (Hamilton, 1822) (ปลาช่อนบาร์กา)
- Channa bleheri Vierke, 1991 (ปลาช่อนเจ็ดสี, ปลาช่อนเรนโบว์)
- Channa burmanica Chaudhuri, 1919
- Channa cyanospilos (Bleeker, 1853)
- Channa diplogramma (Day, 1865) (ปลาชะโดอินเดีย)
- Channa gachua (Hamilton, 1822) (ปลาก้าง, ปลากั้ง)
- Channa harcourtbutleri (Annandale, 1918)
- Channa lucius (Cuvier, 1831) (ปลาช่อนไช, ปลากะสง)
- Channa maculata (Lacépède, 1801)
- Channa marulioides (Bleeker, 1851) (ปลาช่อนทอง, ปลาช่อนข้าหลวง)
- Channa marulius (Hamilton, 1822) (ปลาช่อนงูเห่าอินเดีย)
- Channa melanoptera (Bleeker, 1855)
- Channa melanostigma Geetakumari & Vishwanath, 2011 [6]
- Channa melasoma (Bleeker, 1851) (ปลาช่อนดำ, ปลาพังกับ, ปลาช่อนเจ้าฟ้า)
- Channa micropeltes (Cuvier, 1831) (ปลาชะโด, ปลาแมลงภู่)
- Channa ninhbinhensis Nguyễn, 2011 [7]
- Channa nox Zhang, Musikasinthorn & Watanabe, 2002
- Channa orientalis Bloch & Schneider, 1801 (ปลาช่อนศรีลังกา)
- Channa ornatipinnis Britz, 2008
- Channa panaw Musikasinthorn, 1998 (ปลาช่อนพานาว)
- Channa pardalis Knight, 2016 [8]
- Channa pleurophthalma (Bleeker, 1851) (ปลาช่อนจุดอินโด)
- Channa pulchra Britz, 2007 (ปลาช่อนพุลชรา)
- Channa punctata (Bloch, 1793)
- Channa stewartii (Playfair, 1867) (ปลาช่อนสจวต, ปลาช่อนอัสสัม)
- Channa striata (Bloch, 1793) (ปลาช่อน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หน้า 224, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8738-8
- ↑ Fishbase
- ↑ หน้า 100-126, CHANNA CRAZY คนคลั่งช่อน, "Wild Ambition" โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์ และชัยพัทธ์ งามบุษบงโสภิน. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 42: ธันวาคม 2013
- ↑ Britz, R. (2013): Channa andrao, a new species of dwarf snakehead from West Bengal, India (Teleostei: Channidae). Zootaxa, 3731 (2): 287–294.
- ↑ Lalhlimpuia, D.V., Lalronunga, S. & Lalramliana (2016): Channa aurantipectoralis, a new species of snakehead from Mizoram, north-eastern India (Teleostei: Channidae). Zootaxa, 4147 (3): 343-350.
- ↑ Geetakumari, K. & Vishwanath, W. (2011): Channa melanostigma, a new species of freshwater snakehead from north-east India (Teleostei: Channidae). Journal of the Bombay Natural History Society, 107 (3): 231-235.
- ↑ Nguyen, V.H. (2011): Two new species belong to genus Channa (Channidae, Perciformes) discovered in Ninh Binh province, Vietnam. Vietnam Journal of Biology, 33 (4): 8-17.
- ↑ Knight, J.D.M. (2016): Channa pardalis, a new species of snakehead (Teleostei: Channidae) from Meghalaya, northeastern India. Journal of Threatened Taxa, 8 (3): 8583-8589.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Channa ที่วิกิสปีชีส์