ปลาซิวข้างขวานใหญ่
ปลาซิวข้างขวานใหญ่ | |
---|---|
![]() | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Trigonostigma |
สปีชีส์: | T. heteromorpha |
ชื่อทวินาม | |
Trigonostigma heteromorpha (Duncker, 1904) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาซิวข้างขวานใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Trigonostigma heteromorpha) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่งจำพวกปลาซิว อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวแบนข้างกว่าปลาซิวทั่วไป หัวและตาโต ปากเล็กและไม่มีหนวด ลำตัวสีส้มแดงเหลือบชมพูหรือม่วง ลำตัวช่วงกลางจนถึงโคนหางมีแต้มสีดำรูปสามเหลี่ยม ครีบใสมีแถบสีชมพูเรื่อหรือแต้มสีส้ม ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ครีบหางเว้าลึก มีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร
พบอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ไม่ต่ำกว่า 100 ตัว ในประเทศไทยพบเฉพาะแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณภาคใต้แถบจังหวัดตรัง และที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส เท่านั้น มีพฤติกรรมผสมพันธุ์เป็นฝูง โดยวางไข่ติดอยู่กับใต้ใบไม้ของพืชน้ำ ครั้งละ 90–100 ฟอง
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "มะลิเลื้อย" เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาซิวอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ ปลาซิวข้างขวานเล็ก (T. espei)
Trigonostigma truncata (Tan, 2020)[2][แก้]
การศึกษาในปี 2020 ได้แบ่งซิวข้างขวานออกเป็นสองชนิด โดยได้ให้ชนิดที่พบในจังหวัดนราธิวาส และรัฐตรังกานู ลุ่มน้ำที่ไหลลงอ่าวไทยกลายเป็นชนิดใหม่ชื่อ Trigonostigma truncata ส่วนชื่อเก่า Trigonostigma heteromorpha เป็นประชากรที่อาศัยในลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลอันดามันและที่พบบนเกาะชวา โดยชนิด Trigonostigma truncata จะแตกต่างจากชนิด Trigonostigma heteromorpha ที่มีแถบสีฟ้าอยู่บนแนวหลัง และแถบสีดำจะสิ้นสุดก่อนถึงปลายหาง
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ปลาซิวข้างขวานใหญ่ |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trigonostigma heteromorpha ที่วิกิสปีชีส์