ข้ามไปเนื้อหา

บียอนเซ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Beyoncé Knowles)
บียอนเซ่
บียอนเซ่ใน ค.ศ. 2023
เกิดบียอนเซ จิเซลล์ โนวส์[a]
(1981-09-04) 4 กันยายน ค.ศ. 1981 (43 ปี)
ฮิวสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐ
ชื่ออื่น
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • โปรดิวเซอร์
  • นักธุรกิจ
  • นักแสดง
  • นักการกุศล[4]
  • ผู้บริหารเพลง
  • ผู้กำกับ
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1990–ปัจจุบัน
องค์การเบย์กูด
ผลงาน
ตำแหน่ง
คู่สมรสเจย์-ซี (สมรส 2008)
บุตร3 คน รวมถึงบลู ไอวี
บิดามารดา
ญาติ
รางวัลรายการทั้งหมด
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • เสียงร้อง
ค่ายเพลง
สมาชิกของเดอะคาร์เตอส์
อดีตสมาชิกเดสทินีส์ไชลด์
เว็บไซต์beyonce.com
ลายมือชื่อ

บียอนเซ่ จิเซลล์ โนวส์-คาร์เตอร์ (อังกฤษ: Beyoncé Giselle Knowles-Carter; เกิด 4 กันยายน ค.ศ. 1981) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักธุรกิจชาวอเมริกัน เกิดและเติบโตที่ฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส ในวัยเด็กบียอนเซ่ได้เข้าร่วมในการแสดงหลากหลายเรียนอนุบาลถึงประถม ซึ่งรวมไปถึงการร้องเพลง อันเป็นการปูทางสำหรับอาชีพการเป็นนักร้อง บียอนเซ่เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในช่วงคริสต์ศตวรรษ 1990 ในฐานะสมาชิกคนสำคัญของเดสทินีส์ไชลด์ วงดนตรีหญิงล้วนแนวอาร์แอนด์บีชื่อดังในยุคนั้น ตลอดชีวิตการทำงานของเธอ มียอดขายเกินกว่า 100 ล้านชุดในฐานะศิลปินเดียว[11]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003 ระหว่างการพักงานของเดสทินีส์ไชลด์ บียอนเซ่ได้ออกอัลบั้มในฐานะศิลปินเดี่ยวเป็นครั้งแรกกับอัลบั้ม เดนเจอรัสลีอินเลิฟ ซึ่งนับเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอัลบั้มหนึ่งในปีนั้น อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านยอดขายและด้านคำวิจารณ์ต่างๆ ทำให้มีเพลงฮิตเช่นเพลง "เครซีอินเลิฟ", "เบบี้บอย" และทำให้บียอนเซ่ได้รับ รางวัลแกรมมี ถึง 5 สาขา ต่อมาเดสทินีส์ไชลด์ก็ได้ตัดสินใจแยกวงจากเป็นทางการ หลังจากนั้นบียอนเซ่ได้มีอัลบั้มชุดที่สอง นั่นก็คืออัลบั้ม บี'เดย์ ออกจำหน่ายใน ค.ศ. 2006 ซึ่งเปิดตัวอันดับ 1 บนชาร์ต บิลบอร์ด มีซิงเกิลฮิตอย่าง "เดจาวู", "อีเรเพลสอเบิล" และ "บิวติฟูล์ไลอาร์" อัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 3 ของเธอไอแอม... ซาชาเฟียร์ส ได้วางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 มีซิงเกิลฮิต เช่น "อิฟไอเวอร์อะบอย", "ซิงเกิลเลดีส์ (พุตอะริงออนอิต)", "เฮโล", และ "สวีตดรีมส์" บียอนเซ่มีซิงเกิลที่ติดอันดับ 1 อยู่ทั้งหมด 5 เพลงด้วยกัน ทำให้เธอเป็นหนึ่งในสองศิลปินหญิงที่มีเพลงติดอันดับหนึ่งมากที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษ 2000

จากความสำเร็จอย่างสูงของการเป็นศิลปินเดี่ยวของบียอนเซ่ ทำให้เธอได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินคนสำคัญคนหนึ่งของอุตสาหกรรมดนตรีในยุคปัจจุบัน และเธอก็ยังขยายงานอาชีพของเธอไปสู่งานทางการแสดงและเซ็นสัญญากับบริษัทสินค้าต่างๆ เธอได้เริ่มอาชีพทางการแสดงของเธอเมื่อปี ค.ศ. 2001 ใน ภาพยนตร์เพลงเรื่อง คาร์เมน: อะฮิปโฮเปรา ในปี ค.ศ. 2006 เธอได้รับบทนำในภาพยนตร์ทำใหม่ของละครบรอดเวย์ ค.ศ. 1981 เรื่อง ดรีมเกิร์ลส และทำให้เธอได้เข้าชิง รางวัลลูกโลกทองคำ ถึง 2 รางวัล บียอนเซ่ได้มีธุรกิจสายงานแฟชันที่เธอได้ร่วมกับครอบครัว โดยใช้ชื่อว่า "เฮาส์ออฟเดเรออน" และได้เซ็นสัญญาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับบริษัทต่างๆ เช่น เป๊ปซี่, ทอมมี ฮิลฟิกเจอร์, อาร์มานิ และลอเรอัล และในปี ค.ศ. 2009 นี้ นิตยสาร ฟอบส์ ยังได้จัดอันดับให้เธออยู่ในอันดับสี่ของคนดังที่มีอิทธิพลมากที่สุด, อันดับสามของนักดนตรีที่มีรายได้มากที่สุด, และอันดับหนึ่งของคนดังอายุต่ำกว่า 30 ที่มีรายได้มากที่สุด ด้วยรายได้กว่า 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่าง ค.ศ. 2008 - ค.ศ. 2009[12][13]

ชีวิตในวัยเด็กและช่วงแรกของการทำงาน

[แก้]

บียอนเซ่ จิเซลล์ โนวส์[a] เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1981 ที่ฮิวสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐ เป็นบุตรสาวคนแรกของ แมตทิว โนวส์ ผู้จัดการฝ่ายขายของซีรอกซ์ และทีนา บียินเซ่ เป็นผู้ออกแบบเสื้อผ้าและทรงผม พ่อของโนวส์เป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน ส่วนแม่ของเธอเป็นชาวครีโอล (บรรพบุรุษเป็น ชาวแอฟริกันอเมริกัน, พื้นเมืองอเมริกัน, ฝรั่งเศส, เคจัน, ไอริช และสเปน) [14] คุณตาและยายของเธอ ลูมิส อัลเบร์ต บียินเซ่ และ แอกเนซ เดเรออน เป็นชาวหลุยส์เซียนาครีโอล (เชื้อสายฝรั่งเศส-แอฟริกัน)[14] เธอเป็นพี่สาวของโซลอนจ์ ซึ่งเป็นนักร้องและนักแต่งเพลง และนักแสดง

โนวส์ได้ศึกษาที่โรงเรียนประถมเซนต์มารีย์ในรัฐเท็กซัส ที่เธอได้สมัครเรียนเกี่ยวกับการเต้นรำรวมถึงบัลเลต์และแจ๊ส ความสามารถพิเศษในการร้องเพลงได้ถูกพบโดยครูสอนเต้นของเธอเมื่อเธอเริ่มร้องเพลงตามเพลงที่เธอเต้นจนจบและสามารถร้องโน้ตสูง ๆ ได้[15] โนวส์สนใจดนตรีและการร้องเพลงของเธอก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลังจากที่ได้เริ่มเข้าร่วมการแข่งขันภายในโรงเรียน เธอขึ้นเวทีโชว์ครั้งแรกในรายการประกวดร้องเพลงแสดงความสามารถเมื่ออายุ 7 ปี และได้รับรางวัลชนะเลิศจากการร้องเพลง "อิเมจิน" ของจอห์น เลนนอน [16][17] ในปีเดียวกันโนวส์เริ่มได้รับความสนใจจากผู้คนมาก และยังได้รับการกล่าวถึงจากหนังสือพิมพ์ ฮิวส์ตันชอร์นิเคิล จากการที่ได้รับการเข้าชิงรางวัลเดอะโลคัลเพอร์ฟอร์มมิงอาร์ต ของ เดอะซัมมี่[18]

ในปลายปี 1990 โนวส์ได้เข้าเรียนในโรงเรียนพาร์กเกอร์เอเลเมนทารี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เน้นเกี่ยวกับดนตรีในฮิวสตัน และเธอก็ได้ร้องเพลงกับคณะประสานเสียงของโรงเรียนนี้[15] เธอยังสมัครเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายฟอร์เดอะเพอร์ฟอร์มิงแอนด์วิชวลอาร์ตในฮิวส์ตันอีกด้วย[19] และในภายหลังก็ได้ย้ายไปที่โรงเรียนมัธยมปลายอลีฟเอลสิก ซึ่งก็ได้ตั้งอยู่ที่ฮิวส์ตันเช่นกัน ในแถวชุมชนอลีฟ[14][20] โนวส์ยังได้เป็นนักร้องนำในคณะนักร้องประสานเสียงที่โบสถ์เซนต์จอห์นยูไนเต็ด ซึ่งเป็นโบสต์ในคริสตจักรเมทอดิสต์[15]

เมื่ออายุได้ได้ 8 ปี โนวส์ได้พบกับ ลาทาเวีย โรเบอร์ซัน ในขณะที่มีการออดิชั่นวงดนตรีหญิงล้วน[21] พวกเธอและเพื่อนของโนวส์ เคลลี โรว์แลนด์ ถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่เน้นการเต้นและร้องเพลงแร็ป ใช้ชื่อว่า เกิร์ลสไทม์[16] ในที่สุดพวกเขาก็ได้คัดให้เหลือสมาชิก 6 คน[15] ด้วยโนวส์และโรว์แลนด์ เกิร์ลสไทม์ จึงได้ดึงดูดผู้ชมทั่วประเทศเป็นอย่างมาก เวสต์ คอส โปรดิวเซอร์เพลงแนวอาร์แอนด์บีและอาร์น ฟราเจอร์ ได้เข้าไปในฮิวสตันเพื่อดูแลพวกเธอ และเขาก็ได้พาพวกเธอไปยังสตูดิโอเพลงของเขา เดอะแพลนต์เรเคิดดิงสตูดิโอส์ ในภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยน้ำเสียงของโนวส์ ทำให้ฟราเจอร์คิดว่าเธอเป็นผู้มีบุคลิกภาพและความสามารถในการร้องเพลง[15] ด้วยความพยายามที่จะให้เกิร์ลสไทม์เป็นกลุ่มดนตรีแนวหน้าในอุตสาหกรรมดนตรี ฟราเจอร์ได้ส่งพวกเธอไปในรายการ สตาร์เสรช[22] ซึ่งเป็นรายการประกวดร้องเพลงที่ดังที่สุดในอเมริกาในขณะนั้น[15] แต่ผลออกมาไม่ค่อยดี เพราะเพลงที่พวกเธอแสดงยังไม่ค่อยสมบูรณ์แบบเท่าไหร่นัก[23][24] โนวส์ได้กล่าวไว้ โนวส์ได้รู้สึกถึงการเสื่อมถ้อยในอาชีพของเธอเป็นครั้งแรกหลังจากที่ไม่ชนะรายการนี้ แต่เธอก็เริ่มกลับมามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ได้เรียนรู้จากบริตนีย์ สเปียรส์ และจัสติน ทิมเบอร์เลค ที่ได้มีมีประสบการณ์เดียวกันกับพวกเธอ[15]

เพื่อที่จะดูแลพวกเธอ พ่อของโนวส์ได้ลาออกจากงานของเขาในปี ค.ศ. 1995[25] เขาได้สละเวลาและจัดตั้ง "บูทแคมป์" สำหรับการฝึกอบรมนี้[22] การลาออกจากงานของพ่อโนวส์ ทำให้รายได้ของครอบครัวโนวส์ได้ลดลงกว่าครึ่งและพ่อแม่ของเธอได้แยกทางกันเนื่องจากความกดดันต่างๆ[14] ไม่นานหลังจากที่โรว์แลนด์ได้เข้ามา ในปี 1993 ได้มีสมาชิกใหม่เข้ามาในวงคือ เลโทย่า ลัคเก็ท[21] และก็ได้คัดเหลือเพียง 4 คน[15] ด้วยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของแมททิว พวกเธอได้ออดิชั่นก่อนที่จะเซ็นสัญญากับอีเลคตราเรเคิดส์[14] นางชอบมากินข้าวเหนียวมะม่วงที่บ้านของอริสา เล็กเจริญ

งานทางดนตรีและการแสดง

[แก้]

1997-2001: ช่วงของเดสทินีส์ไชลด์

[แก้]

ด้วยแรงจูงใจจากพระธรรมอิสยาห์วงนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อวงเป็นเดสทินีส์ไชลด์ในปี ค.ศ. 1993[21] เดสทินีส์ไชลด์ได้รับงานโชว์ตามงานต่าง ๆ หลังจาก 4 ปีของการเดินทาง พวกเธอก็ได้รับโอกาสเซ็นสัญญากับค่ายเพลงโคลัมเบียเรเคิดส์ในปลายปี ค.ศ. 1997 ในปีเดียวกันนั้นเดสทินีส์ไชลด์ได้บันทึกเสียงเพลงเปิดตัวเพลงแรกจากค่าย เพลง "คิลลิงไทม์" ซึ่งใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เมนอินแบล็ก[21][24] ในปีต่อมาก็ได้ออกอัลบั้มชุดแรกโดยใช้ชื่อเหมือนชื่อวงคือ เดสทินีส์ไชลด์[23] ซิงเกิลฮิตซิงเกิลแรกคือเพลง "โน,โน,โน" อัลบั้มนี้ได้ทำให้เดสทินีส์ไชลด์เป็นที่รู้จักและเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่อุตสหกรรมดนตรีและทำให้เดสิทินีส์ไชลด์ได้รับ 3 รางวัลจากงานประกาศผลรางวัลโซลเทรนมิวสิกอวอร์ดสสำหรับ "ซิงเกิลอาร์แอนด์บี/โซลยอดเยี่ยม" สำหรับเพลง "โน,โน,โน" , "อัลบั้มอาร์แอนด์บี/โซลยอดเยี่ยมแห่งปี", และ"ศิลปินอาร์แอนด์บี/โซลหรือแร็ปหน้าใหม่ยอดเยี่ยม"[21] ต่อมาพวกเธอก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่สองซึ่งมียอดขายระดับมัลติ-แพลตินัม อัลบั้มเดอะไรติงส์ออนเดอะวอลล์ ในปี 1999 เพลงในอัลบั้มที่ออกมาล้วนเป็นรู้จักกันอย่างกว้างขวาง เช่นเพลง "บิลส์, บิลส์, บิลส์" ซิงเกิลอันดับ 1 เพลงแรกของพวกเธอ, เพลง "จัมปิน', จัมปิน'", เพลง"เซย์มายเนม" ซึ่งเป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในขณะนั้นและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของวงจนถึงปัจจุบันนี้อย่างเพลง เพลง"เซย์มายเนม" ได้รับรางวัลการแสดงเพลงอาร์แอนด์บีคู่หรือกลุ่มด้วยเสียงร้องยอดเยี่ยมและเพลงอาร์แอนด์บียอดเยี่ยมที่งานประกาศรางวัลแกรมมี ประจำปี 2001[21] เดอะไรติงส์ออนเดอะวอลล์ มียอดขายมากกว่า 7 ล้านชุด[23] และทำให้พวกเธอเป็นที่จับตามองของสื่อและผู้คนมากมาย ในฐานะกลุ่มศิลปินหญิงหน้าใหม่ในยุคนั้น

โนวส์ในเพลง "อินดีเพนเดนท์วูเมนพาร์ท1" เพลงที่ฮิตที่สุดของเดสทินีส์ไชลด์

ควบคู่กันกับความสำเร็จทางด้านกำไรและยอดขาย เดสทินีส์ไชลด์ได้มีปัญหากับลักเก็ตต์และโรเบอร์สัน สำหรับคดีความการละเมิดสัญญา และปัญหายิ่งเพิ่มขึ้นหลังจากที่มิเชลล์ วิลเลียมส์และฟาร่า แฟรงคลินได้ปรากฏอยู่ในมิวสิกวิดีโอเพลง "เซย์มายเนม" ทำให้สามารถบอกเป็นนัยได้ว่าลักเก็ตต์และโรเบอร์สันได้ถูกแทนที่แล้ว[21] และในที่สุดลักเก็ตต์และโรเบอร์สันก็ได้ลาออกจากกลุ่มไป ต่อมาอีก 5 เดือนแฟรงกลินก็ได้ลาออกจากกลุ่มไป[23]ด้วยปัญหาความรู้สึกส่วนตัว หลักฐานปรากฏได้จากการที่เธอได้หายไปตามการโปรโมทและคอนเสิร์ตต่างๆ ทำให้เดสทินีส์ไชลด์เหลือสมาชิกกลุ่มสุดท้ายคือ โนวส์, โรว์แลนด์, และวิลเลียม

ต่อมาพวกเธอได้มีซิงเกิล "อินดีเพนเดนท์วูเมนพาร์ท1" ซึ่งใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2000 นั่นคือภาพยนตร์เรื่องนางฟ้าชาลี เพลงนี้กลายเป็นเพลงที่มีชาร์ตดีที่สุดของพวกเธอด้วยการที่อยู่อันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด ฮอต 100 ยาวนานถึง 11 สัปดาห์ติดต่อกัน[21][26] อัลบั้มชุดที่ 3 ของพวกเธอ เซอร์ไวเวอร์ วางขายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2001 แต่ก็ได้มีปัญหาบุคคลเดิมนั้นคือลักเก็ตต์และโรเบอร์สันในเรื่องของแนวของอัลบั้มว่าได้พาดพิงไปถึงพวกเธอ[21] แต่อย่างไรก็ตามอัลบั้มนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างมากด้วยการเปิดตัวอันดับหนึ่งบนชาร์ทบิลบอร์ด 200 ด้วยยอดขายกว่า 663,000 ชุดในสัปดาห์แรก[27] จนถึงปัจจุบันเซอร์ไวเวอร์ มียอดขายมากกว่า 10 ล้านชุดทั่วโลกและยอดขายร้อยละ 40 นั้นคือยอดขายแค่ในสหรัฐอเมริกาเพียงที่เดียว[28] อัลบั้มยังมีซิงเกิลฮิตอันดับหนึ่งในบิลบอร์ดอย่างเพลง "บูตีลิเชียส" และ "เซอร์ไวเวอร์" ที่ภายหลังก็สร้างรางวัลแกรมมีสาขาการแสดงเพลงอาร์แอนด์บีคู่หรือกลุ่มด้วยเสียงร้องยอดเยี่ยมให้กับพวกเธอ ต่อมาเดสทินส์ไชลด์ได้มีอัลบั้ม 8 เดส์ออฟคริสต์มาส ซึ่งวางขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของปี 2001 หลังจากนั้นก็ได้มีการพักงานชั่วคราว เพื่อที่สมาชิกแต่ละคนจะได้ออกไปทำงานเดี่ยวของตน[21]

2000-2002: การเป็นศิลปินเดี่ยวและการพัฒนาทางด้านอาชีพ

[แก้]

ในปี 2000 โนวส์ได้เซ็นสัญญาทำอัลบั้มเดี่ยว 3 อัลบั้มกับ โคลัมเบียเรเคิดส์[29] ขณะที่โนวส์ได้ทำงานร่วมกับเดสทินีส์ไชลด์ เธอก็ได้เริ่มทำงานเดี่ยวของตัวเอง เธอได้ร่วมงานกับ มาร์ก เนลซัน ในเพลง "อาฟเตอร์ออลอิสเซดแอนด์ดัน" เพื่อเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ในปี 1999 เรื่อง เดอะเบส์ตแมน และก็ได้ร้องเพลงร่วมกับ เอมิลล์[29] ในเพลง"ไอก็อทแดท" ปี 2000 ในช่วงต้นปี 2001 ขณะที่เดสทินีส์ไชลด์กำลังทำอัลบั้ม เซอร์ไวเวอร์ โนวส์ได้รับบทนักแสดงนำจากภาพยนตร์โทรทัศน์ ซึ่งออกฉายในช่องเอ็มทีวี เรื่อง Carmen: A Hip Hopera[30]

ในปี 2002 โนวส์มีผลงานการแสดงภาพยนตร์แนวตลก เรื่อง พยัคฆ์ร้ายใต้สะดือ ตอน ตามล่อพ่อสายลับ[31] ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดตัวอันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิศของสหรัฐอเมริกา มีรายได้กว่า 73.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสัปดาห์แรก[32] และโนวส์ก็ได้มีซิงเกิลเดี่ยวซิงเกิลแรกของเธอ "เวิร์คอิทเอาท์" เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้[33] ในปีต่อมานั้นเธอก็ได้แสดงภาพยนตร์แนว โรแมนติกโคเมดี้ เรื่อง เดอะไฟท์ทิงเทมป์เทชัน และมีซิงเกิลร่วมกับแร็ปเปอร์หญิงอย่าง มิสซี เอลเลียต, เอ็มซี ไลยต์, และ ฟรี ในเพลง "ไฟท์ทิงเทมป์เทชัน" เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ [34][35]

ในปีเดียวกันนั้น โนวส์ได้ร่วมร้องเพลงกับแฟนหนุ่มของเธอ เจย์-ซี ในเพลง"'03 บอนนีย์แอนด์ไคล์ด"[32] ลูเธอร์ แวนดรอสและโนวส์ ได้นำเพลง "เดอะโคลสเสอร์ไอเก็ทยู" กลับมาทำใหม่ ซึ่งต้นฉบับขับร้องโดย โรเบอร์ตา แฟล็ก และ ดอนนี่ แฮทอะเวย์ ในปี 1977[36] แล้วฉบับของพวกเขานี้ ก็ได้รับรางวัลแกรมมี่ สาขาการร้องเพลงอาร์แอนด์บีคู่หรือกลุ่มยอดเยี่ยม ในปีต่อมา

2003-2004: เดนเจอรัสลีอินเลิฟ

[แก้]

หลังจากโรว์แลนด์และวิลเลียมได้มีอัลบั้มเดี่ยวในปี 2002 โนวส์ก็ได้ออกมาเปิดตัวอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของเธอ เดนเจอรัสลีอินเลิฟ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003[36] ที่ได้ร่วมงานกับบรรดาคนทำเพลงชื่อดังมากมาย อัลบั้มนี้เปิดตัวบนอัลบั้มบนชาร์ทบิลบอร์ด 200 ที่อันดับ 1 ด้วยยอดขายกว่า 317,000 ชุดในสัปดาห์แรก[27] สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) ได้จัดให้อัลบั้มนี้มียอดขายระดับ 4x แพลตินัม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2004[37] และจนถึงปัจจุบันอัลบั้มนี้มียอดขายกว่า 5 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา

อัลบั้มนี้มีซิงเกิลอันดับหนึ่งถึง 2 เพลง เพลง "เครซีอินเลิฟ" ที่ได้มีท่อนแร็ปจากเจย์-ซี ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม ครองอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ด ฮอต 100 ถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน[38] และอยู่อันดับแรก ๆ ของหลายชาร์ตทั่วโลก โนวส์ยังประสบความสำเร็จทั้งในสหราชอาณาจักรโดยได้มีทั้งซิงเกิลและอัลบั้มอยู่อันดับหนึ่งของที่นั่น[39][40] ซิงเกิลที่ 2 จากอัลบั้มคือเพลง "เบบี้บอย" ที่ได้ร่วมงานกับฌอน พอล ที่ได้กลายเป็นเพลงที่ฮิตที่สุดในปี 2003 ครองอันดับหนึ่งแอร์เพลย์ที่สหรัฐอเมริกาและอยู่อันดับ 1 ได้ถึง 9 สัปดาห์ บนบิลบอร์ด ฮอต 100 ยาวนานกว่าเพลง "เครซีอินเลิฟ" หนึ่งสัปดาห์[41][42] นอกจากนี้ยังมีเพลง "มี, มายเซล์ฟ, แอนด์ไอ" และ "นอติเกิร์ล" เป็นซิงเกิลที่ 3 และ 4 จากอัลบั้มนี้ติด 5 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน[43]

โนวส์ได้รับรางวัลแกรมมีถึง 5 สาขาจากความตั้งใจและทุ่มเทของเธอ[44] ได้แก่ รางวัลสาขาการร้องเพลงอาร์แอนด์บีหญิงยอดเยี่ยม จากเพลง "เดนเจอรัสลีอินเลิฟ 2", เพลงอาร์แอนด์บียอดเยี่ยม จากเพลง "เครซีอินเลิฟ", และสาขาอัลบั้มอาร์แอนด์บีร่วมสมัยยอดเยี่ยม และในปีเดียวกันเธอก็ได้รับรางวัลของบริทอวอร์ดส สาขาศิลปินหญิงเดี่ยวระดับนานาชาติ[45] ถือเป็นการแจ้งเกิดในฐานะศิลปินเดี่ยวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงนั้น ในช่วงพฤศจิกายน 2003 บียอนเซ่ได้ทัวร์คอนเสิร์ตแดนเจอรัสลีอินเลิฟทัวร์ในทวีปยุโรป และร่วมเดินสายเวอร์ริซอนเลดีส์เฟิสต์ทัวร์กับมิสซี เอลเลียตและอลิเชีย คียส์ในอเมริกาเหนือ

2004-2005: เดสทินีฟูล์ฟิลด์ และ ปิดฉากเดสทินีส์ไชลด์

[แก้]

ในปี 2004 โนวส์วางแผนที่จะออกอัลบั้มชุดใหม่ และชุดสุดท้ายของเดสทินีส์ไชลด์ หลังจากอัลบั้มเดนเจอรัสลีอินเลิฟของเธอ ในช่วงต้นปีนั้น โนวส์ได้รับเกียรติให้ไปร้องเพลงชาติสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขัน ซูเปอร์โบวล์ ครั้งที่38 ณ รีเลียนท์สเตเดี้ยม ในฮิวสตัน และเธอก็ได้บอกว่าเป็นความใฝ่ฝันในวัยเด็กของเธอ[46]

เดสทินีส์ไชลด์ร้องเพลง "เซย์มายเนม" ในทัวร์คอนเสิร์ต เดสทินีฟูล์ฟิลด์ ... แอนด์เลิฟวิน'อิทเวิลด์ทัวร์

หลังจาก 3 ปีที่พวกเธอได้ทำผลงานเดี่ยว พวกเธอก็ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในอัลบั้มชุดที่ 4 เดสทินีฟูล์ฟิลด์ ซึ่งวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ปี 2004 [47] อัลบั้มนี้สามารถขึ้นไปสูงสุดในอันดับอัลบั้มของบิลบอร์ดได้ในอันดับที่ 2 มีซิงเกิลที่ฮิตอย่างเพลง "ลอสมายบรีท" , "โซล์เดอร์" , "เกิร์ล" , และ "คาเตอร์ทูยู" ต่อมาได้มีคอนเสิร์ตทัวร์ เดสทินีฟูล์ฟิลด์ ... แอนด์เลิฟวิน'อิทเวิลด์ทัวร์ ช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน ปี 2005 ในปีเดียวกันก็ได้ออกอัลบั้มรวมฮิตชุดแรก นัมเบอร์วันส์ ที่รวบรวมซิงเกิลอันดับ 1 และเพลงฮิตทั้งหมดที่ทุกคนรู้จักตั้งแต่ก่อตั้งวงนี้มา รวมถึงเพลงพิเศษอย่าง "สแตนด์อัพฟอร์เลิฟ" ในปี 2005 จากความสำเร็จอย่างมากมาย

ความทุ่มเทในการทำงานของพวกเธอทำให้ได้รับการจารึกชื่อวง เดสทินีส์ไชลด์ลงบน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม ในเดือนมีนาคม ปี 2006[48] และในที่สุดวงนี้ก็ได้ประกาศยุบตัวลง เพื่อสมาชิกแต่ละคนจะได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองสนใจ เหลือเพียงตำนานและชื่อเสียงที่น่าจดจำของ กลุ่มศิลปินหญิงที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล[49][50] และยังได้ตำแหน่ง 100 ศิลปินตลอดกาลที่บิลบอร์ดจัดขึ้นในปี 2008[51]

ในปลายปี 2005 โนวส์ได้เริ่มถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ดรีมเกิร์ลส ที่ดัดแปลงมาจากละครบรอดเวย์ในปี 1981 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักร้องในยุค 60 โดยได้แรงบันดาลใจจากวงดนตรีหญิงล้วน แนวโมทาวน์ วงเดอะ ซูปพรีมส์ โดยยึดลักษณะตัวละครคือ ไดอาน่า รอสส์ ในเรื่องคือ ดีน่า โจนส์[52][53] ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉายในเดือนธันวาคม และเรื่องนี้โนวส์ได้ร่วมงานกับนักแสดงนำอย่าง เจมี ฟ็อกซ์, เอ็ดดี้ เมอร์ฟี, และ เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน โนวส์ได้บันทึกเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่หลายเพลง ซึ่งก็รวมไปถึงเพลง "ลิสเซน"ด้วย[54] ในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2006 โนวส์ถูกเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำ ถึง 2 สาขา นั่นก็คือ นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม - โมชันพิกเจอร์ มิวสิคัลหรือตลก และ เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเพลง "ลิสเซน" [55]

2006-2007: บี'เดย์

[แก้]

ปี 2006 โนวส์มีผลงานแสดงในภาพยนตร์เรื่อง เดอะพิงค์แพนเตอร์ ซึ่งออกฉายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 เปิดตัวที่อันดับ 1 ในบ็อกซ์ออฟฟิศของสหรัฐอเมริกา มีรายได้กว่า 21.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์แรก [56][32] เธอยังร้องเพลงประกอบภาพยนตร์อย่างเพลง "เช็dออนอิท" ที่เธอได้ร่วมงานกับ สลิม ทัก และยังขึ้นถึงอันดับ 1 ในบิลบอร์ดฮ็อต 100อีกด้วย[52]

โนวส์กลับมากับอัลบั้ม บี'เดย์ ซึ่งออกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2006 ซึ่งตรงกับวันเกิดอายุครบ 25 ปีของเธอพอดี อัลบั้มนี้เปิดตัวที่อันดับ 1 ในชาร์ตบิลบอร์ด ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 541,000 ชุด และเป็นอัลบั้มที่มียอดขายในสัปดาห์แรกสูงที่สุดในฐานะศิลปินเดี่ยว[57] นอกจากจะรับหน้าที่เป็นเอกซ์คูทีฟโปรดิวเซอร์ในอัลบั้มนี้แล้ว โนวส์ยังร่วมแต่งและโปรดิวซ์เพลงในอัลบั้มนี้ถึง 11 เพลงเลยทีเดียว ร่วมด้วยทีมงานโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงระดับซุปเปอร์สตาร์เช่น สวิซ บีทซ์, ริช ฮาร์ริซัน, เดอะเนปจูนส์, ซีน การ์เรต, สตาร์ เกต, เจย์-ซี, โซแลงก์ โนวส์, เองเจลินา บียินเซ่, มาคีบา และ รอดนีย์ เจอร์กินส์[58]


ซิงเกิลแรกอย่าง "เดจาวู" ที่ได้เจย์-ซี มาช่วยแร็ปให้ในเพลงนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของ รอดนีย์ เจอร์กินส์ และยังได้ โซฟี มุลเลอร์ ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอชื่อดังมากำกับมิวสิกวิดีโอของเพลงนี้อีกด้วย และออกซิงเกิลที่ 2 ตามมาคือ เพลง "ริงดิอลาร์ม" แต่ทั้งสองซิงเกิลนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จบนในชาร์ตบิลบอร์ดฮ็อต 100 เหมือนซิงเกิลที่ผ่านๆมา จนมาถึงซิงเกิลที่ 3 เพลง "อีเรเพลสอเบิล" ถือเป็นเพลงที่ฮิตที่สุดในปี 2007 ซึ่งครองอันดับ 1 ถึง 10 สัปดาห์ และมียอดขายซิงเกิลกว่า 6 ล้านชุดทั่วโลก ทำให้เป็นเพลงที่ฮิตที่สุดของเธอด้วย

ต่อมาโนวส์ได้วางจำหน่าย บี'เดย์ ฉบับดีลักซ์ ในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2007 โดยเพิ่มเพลงใหม่ไปอีก 5 เพลง และฉบับภาษาสเปนของเพลง "อีเรเพลสอเบิล" และ "ลิสเซน" นอกจากนั้นยังมีเพลง "บิวติฟูล์ไลอาร์" ที่เธอร่วมร้องกับนักร้องสาวชาคีร่า ขึ้นอันดับ 1 ในประเทศอังกฤษ ส่วนในสหรัฐอเมริกาขึ้นสูงสุดที่อันดับ 3[59]

ต่อมาโนวส์ได้มีทัวร์คอนเสิร์ตชื่อว่า เดอะบียอนเซ่เอกซ์พีเรียนส์ มีรอบการแสดงถึง 97 รอบทั่วโลก ทั้งใน เอเซีย, ออสเตรเลีย, อเมริกาเหนือ, ยุโรป, และ แอฟริกา เปิดทัวร์ที่ประเทศญี่ปุ่นและสิ้นสุดที่ ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ทัวร์นี้ได้มีการบันทึกภาพที่ ลอสแอนเจลิส และวางขายเป็นดีวีดีในปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า เดอะบียอนเซ่เอกซ์พีเรียนส์ไลฟ์ และในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2007 เธอได้มาเปิดคอนเสิร์ตในประเทศไทย ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี โดยผู้จัดคือ บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) [60] ท่ามกลางความตื่นเต้นและรอคอยของแฟนคลับชาวไทย

ในงานแกรมมีปี 2007 อัลบั้มบี'เดย์ ทำให้โนวส์ได้รับรางวัลสาขาอัลบั้มเพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัยยอดเยี่ยม [61] และโนวส์ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในอเมริกัน มิวสิก อวอร์ดส์ ครั้งที่ 35 โดยเป็นศิลปินหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลสาขาศิลปินระดับต่างประเทศ[46]

2008-2010: ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส

[แก้]

ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 โนวส์ได้ร้องเพลงร่วมกับทีน่า เทอร์เนอร์ ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 50 โนวส์ได้เรียกเทอร์เนอร์ว่า 'เดอะควีน' และร้องเพลง "พราวด์แมรี" ต่อมาโนวส์ได้มีงานภาพยนตร์นั่นก็คือ คาดิลแล็กเรเคิดส์ วันวานตำนานร็อก ที่เริ่มถ่ายทำในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ซึ่งเธอรับบทเป็นนักร้องในตำนาน เอตต้า เจมส์ และโนวส์ยังได้มีภาพยนตร์แนวระทึกขวัญเรื่อง แรงรักมรณะ ร่วมกับนักแสดงนำอย่าง อาลิ ลาร์เตอร์ และ อิดริส เอลบา ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในสหรัฐอเมริกาในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2009 ในวันแรกภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไปกว่า 11.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในสุดสับดาห์ก็มียอดจำหน่ายในบ็อกออฟฟิศของสหรัฐอเมริกาเป็นที่ 1 ด้วยรายได้ทั้งหมด 28.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [62]

โนวส์ในเพลง "อเมริกาเดอะบิวทิฟูล์" ในงาน
พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามา

โนวส์กลับมาอีกครั้งในช่วงปลายปี กับอัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 3 มีชื่อว่า ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008.[63] โดยโนวส์ได้เผยว่า ซาชา เฟียร์ส คือภาพลักษณ์ของเธอเวลาอยู่บนเวทีที่จะเต็มที่ เปรี้ยวแรง และทุ่มเท ต่างกับตัวจริงของเธอที่จะเป็นคนเงียบๆ และเรียบง่าย มีซิงเกิลแรกและซิงเกิลที่สองออกมาพร้อมกัน 2 เพลง คือ "อิฟไอเวอร์อะบอย" และ "ซิงเกิลเลดีส์ (พุตอะริงออนอิต)" ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ที่ต่างประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งคู่ โดยเพลง "อิฟไอเวอร์อะบอย" สามารถขึ้นไปอันดับหนึ่งบนชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร และเพลง "ซิงเกิลเลดีส์ (พุตอะริงออนอิต)" นั้นสามารถขึ้นไปถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ด ฮอต 100 ซึ่งนับเป็นซิงเกิลอันดับหนึ่งในบิลบอร์ดเพลงที่ 5 ของโนวส์ในฐานะศิลปินเดี่ยว และซิงเกิลที่ 4 ของอัลบั้มนี้ "เฮโล" สามารถขึ้นไปสูงสุดในบิลบอร์ดได้ถึงอันดับที่ 5 ทำให้เป็นซิงเกิลที่ 12 ที่สามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของบิลบอร์ดได้ในฐานะศิลปินเดี่ยว ทำให้เธอเป็นศิลปินหญิงที่มีเพลงอยู่ในสิบอันดับแรกมากที่สุดในทศวรรษนี้ [64][65] ต่อมาโนวส์ก็ได้รับรางวัลสาขาศิลปินหญิงโดดเด่น ของเอ็นเอเอซีพีอิมเมจอวอร์ด [66] และยังได้รับรางวัลศิลปินอาร์แอนด์บียอดเยี่ยมที่ทีนชอยส์อวอร์ดประจำปี 2009 อีกด้วย

เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 โนวส์ได้รับเกียรติให้ไปร้องเพลง "อเมริกาเดอะบิวทิฟูล" ในงานพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามา และเธอยังได้นำเพลง "แอตลาสต์" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง คาดิลแล็กเรเคิดส์ วันวานตำนานร็อก ไปร้องระหว่างการเต้นรำของประธานาธิบดีโอบามาและมิเชลล์ ในขณะที่เป็นประธานาธิบดีและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกาด้วย [67]

โนวส์ได้มีทัวร์คอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งที่ 3 ใช้ชื่อว่า ไอแอม... ทัวร์ การทัวร์เริ่มในช่วงเดือนมีนาคมโดยที่จะไปในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มจากอเมริกา, ยุโรป, เอเซีย, แอฟริกาและโอเชียเนีย ซึ่งระหว่างการทัวร์ในสหรัฐอเมริกา เธอได้จัดคอนเสิร์ต "ไอแอม... ยัวรส์" 4 รอบ ที่ลาส เวกัส ทัวร์คอนเสิร์ตของโนวส์ในครั้งนี้ติดอันดับ 1 คอนเสิร์ตที่ร้อนแรงที่สุดจากบิลบอร์ด และยังยืนยันถึงความสำเร็จของทัวร์นี้อีกว่าทัวร์คอนเสิร์ตนี้มีรายได้ได้กว่า 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐขณะที่เพิ่งเริ่มการทัวร์และติดอยู่ใน 15 ทัวร์ที่มีรายได้มากที่สุด ด้วยการที่มีกำหนดการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 2010 เธอเดินสายคอนเสิร์ตทั้งหมด 108 รอบ กวาดรายได้กว่า 119.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[68][69]

มิวสิกวิดีโอเพลง "ซิงเกิลเลดีส์ (พุตอะริงออนอิต)" ได้รับรางวัลวิดีโอแห่งปีที่งานประกาศรางวัลบีอีทีอวอร์ดส์ ประจำปี 2009 และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส ประจำปี 2009 ถึง 9 รางวัล ท้ายที่สุดก็ได้รับรางวัลวิดีโอแห่งปีกับอีก 2 รางวัลที่นี้อีกเช่นเดียวกัน ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 โนวส์ได้รับรางวัล "วูเมนออฟเดอะเยียร์" จากนิตยสารบิลบอร์ด[70] นอกจากนี้ในงานประกอศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 52 บียอนเซ่มีชื่อเข้าชิงรางวัลทั้งหมด 10 รายการ ทั้งอัลบั้มแห่งปีจาก "ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส", บันทึกเสียงแห่งปีจาก "ฮาโล" และเพลงแห่งปีจาก "ซิงเกิลเลดีส์ (พุตเดอะริงออนอิต)" และอื่น ๆ และชนะรางวัลถึง 6 รางวัลด้วยกัน ทำให้เธอเป็นผู้หญิงทีชนะรางวัลแกรมมีมากที่สุดภายในหนึ่งคืน ในปี 2010 เธอร่วมงานกับเลดี้ กาก้าในเพลง "เทเลโฟน" ที่ทะยานขึ้นสู่อันดับ 1 ของชาร์ตเพลงป็อปของอเมริกาได้ กลายเป็นเพลงที่สามารถขึ้นอันดับ 1 ได้เป็นเพลงที่ 6 ทั้งของบียอนเซ่และเลกี้ กาก้า

บียอนเซ่ประกาศพักงานในวงการเพลงในเดือนมกราคม 2010 ตามคำแนะนำของแม่ของเธอ "กลับไปใช้ชีวิตของตัวเอง หาแรงบันดาลใจจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว" ระหว่างพักนั้นเธอได้ไปเที่ยวในหลายประเทศในยุโรป ไปที่กำแพงเมืองจีน มหาพีระมิดที่อียิปต์ ออสเตรเลีย เทศกาลดนตรีของอังกฤษ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และการแสดงบัลเล่ต์

2011-2015: โฟร์ และ บียอนเซ่

[แก้]
บียอนเซ่ในคอนเสิร์ตโฟร์อินทิเมตไนท์วิทบียอนเซ่

วันที่ 24 มิถุนายน 2011 โนวส์ได้ออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ใช้ชื่อว่า โฟร์ ผ่านทางค่ายเพลงโคลัมเบียเรเคิดส์ ขายได้ 310,000 ชุด ภายใน 1 สัปดาห์ ขึ้นแท่นบิลบอร์ดอันดับที่ 1 ในบิลบอร์ด 200[71]ในวันที่ 26 มิถุนายน 2011 บียอนเซ่เป็นศิลปินหญิงเดี่ยวคนแรกที่ได้ขึ้นเวทีพีระมิด ซึ่งเป็นเวทีหลักในรอบ 20 ปีในเทศกาลแกลสตันบูรี 2011 ซิงเกิลเปิดอัลบั้มอย่าง "รันเดอะเวิลด์ (เกิร์ลส)" และ "เบสติงไอเนเวอร์แฮฟ" ถือว่าประสบความสำเร็จพอประมาณ แต่ซิงเกิลที่สี่อย่าง "เลิฟออนท็อป" นั้นประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในเชิงพาณิชย์ในอเมริกา เรื่อง "อีต, เพลย์, เลิฟ" ที่เธอแต่งลงนิตยสารเอสเซน ซึ่งเกี่ยวกับช่วงที่เธอพักในปี 2010 ได้รับรางวัลจากจาก New York Association of Black Journalists และในช่วงท้ายปี 2011 เธอได้แสดงคอนเสิร์ตโฟร์อินทิเมตไนท์วิทบียอนเซ่ ทั้งหมด 4 รอบในโรสแลนด์บอลรูม

ในวันที่ 7 มกราคม 2012 บียอนเซ่ให้กำเนิดลูกสาวคนแรก ชื่อว่า "บลู ไอวี คาร์เตอร์" ที่โรงพยาบาลเลเน็กซ์ฮิลส์ในนิวยอร์ก ห้าเดือนต่อมา บียอนเซ่หวนคืนสู่เวทีอีกครั้งกับการแสดงทั้งหมด 4 รอบที่เรเวล แอตแลนติกซิตี้เพื่อฉลองการเปิดรีสอร์ตแห่งใหม่

เดือนมกราคม 2013 เดสทินีส์ไชลด์ได้ปล่อยอัลบั้ม "เลิฟซอง" ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ได้รวบรวมเพลงรักโรแมนติกจากอัลบั้มก่อน ๆ และมีหนึ่งเพลงใหม่ ชื่อว่า "นิวเคลียร์" และบียอนเซ่ยังได้รับเกียรติร้องเพลงชาติสหรัฐ ฯ ในพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีบารัก โอบามาอีกด้วย เดือนถัดมา บียอนเซ่ได้รับเชิญให้ไปแสดงช่วงพักครึ่งในการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 47 ร่วมกับเพื่อนรัก เคลลี โรว์แลนด์และมิเชล วิลเลียมส์ ซึ่งส่งผลให้การแสดงนี้เป็นเหตุการณ์ที่ถูกทวิตมากที่สุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ ด้วยจำนวน 268,000 ทวิตต่อนาที และสารคดีเรื่องยาวเกี่ยวกับชีวิตของเธอ "ไลฟ์อิสบัตอะดรีม" ก็ได้ฉายบนช่องเอชบีโอในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2013

บียอนเซ่กำลังแสดงเพลง 1+1 จากอัลบั้มโฟร์ในคอนเสิร์ตเดอะมิสซิสคาร์เตอร์โชว์เวิลด์ทัวร์

ต่อมาในวันที่ 15 เมษายน 2013 บียอนเซ่ได้เริ่มเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตเดอะมิสซิสคาร์เตอร์โชว์เวิลด์ทัวร์ โดยแสดงที่เบลเกรด ประเทศเซอร์เบียเป็นที่แรก และสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2014 รวมแล้วเธอทัวร์คอนเสิร์ตทั้งสิ้น 132 รอบ กลายเป็นทัวร์คอนเสิร์ตที่ประสบความที่สุดในชีวิตการทำงานของเธอและเป็นหนึ่งในทัวร์คอนเสิร์ตที่ประสบความสำเร็จตลอดกาล ในเดือนพฤษภาคม "แบ็กทูแบล็ก" เพลงของศิลปินในตำนาน เอมี ไวน์เฮาส์ที่บียอนเซ่ได้นำมาคัฟเวอร์ ซึ่งถูกใช้ประกอบภาพยนตร์เดอะ เกรท แกตสบี้ รักเธอสุดที่รัก ก็ได้ปล่อยออกมา นอกจากนี้เธอยังให้เสียงตัวละครควีนทาร่าในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง "เอปิก" และร้องเพลงประกอบชื่อว่า "ไรส์อัป" ซึ่งแต่งร่วมกับเซียอีกด้วย มิถุนายน 2014 บียอนเซ่และเคลลี โรว์แลนด์ ได้ร่วมงานกับ มิเชล วิลเลียมส์ เพื่อนร่วมวงเดสทินีส์ไชลด์อีกครั้ง ในซิงเกิ้ล Say Yes เป็นซิงเกิลของมิเชลล์ ภายใต้ค่ายเพลงอิสระ เอ็นเตอร์เทนเมนต์วัน (อีวัน)

วันที่ 13 ธันวาคม 2013 โนวส์ได้ออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 5 ใช้ชื่อว่า บียอนเซ่ ลงบนไอทูนส์โดยปราศจากการประกาศล่วงหน้า และขึ้นแท่นบิลบอร์ดอันดับที่ 1 ในบิลบอร์ด 200 ทำให้เธอกลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่มีอัลบั้ม 5 อัลบั้มแรกเปิดตัวบนชาร์ตด้วยอันดับ 1 อัลบั้มนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่ดีและขายได้ 617,000 ชุด ภายใน 3 วันในสหรัฐฯ (828,773 ทั่วโลก) เป็นอัลบั้มที่สร้างปรากฏเหนือความคาดหมายในวงการเพลงส่งท้ายปี โดยนำเสนอในรูปแบบเพลงจำนวน 14 เพลง (16 เพลง ["โกสต์" / "ฮอนเท็ด" และ "ยอนเซ่" / "พาร์ทิชั่น" เป็นเพลงต่อ]) และมิวสิกวีดีโอ 17 เพลง แถมโบนัสวิดีโอ "โกรนวูแมน" โดยมีบูทส์, ทิมบาแลนด์, จัสติน ทิมเบอร์เลค‎, เจ ร๊อซ, เจย์ ซี, พาเรียล, เดอะ ดรีม, ฮิตบอย, ไรอัน แทนเดอร์, เซีย, มิเกล, เดรก, มาจิด จอร์แดน, แฟรงก์ โอเชียน ฯลฯ เป็นโปรดิวเซอร์ [72] บียอนเซ่ปล่อยซิงเกิลเอ็กโอและดรังอินเลิฟที่พีกขึ้นอันดับ 2 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 หลังจากการแสดงที่งานประกาศผลรางวัลแกรมมี 2014 ตามด้วยพาร์ทิชั่นและพริตทีเฮิร์ตส เดือนเมษายน 2014 บียอนเซ่และเจย์ซีประกาศทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกันอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อว่า "ออนเดอะรันทัวร์" โดยกวาดรายได้กว่าร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐด้วยจำนวนรอบ 21 รอบ ในเดือนสิงหาคม 2014 เธอได้รับรางวัลไมเคิลแจ็กสันแวนการ์ดในงานประกาศผลรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส 2014 และยังชนะอีก 3 รางวัล ได้แก่ Best Video with a Social Message และ Best Cinematography จากพริตทีเฮิร์ตสและ Best Collaboration จากดรังอินเลิฟ ในเดือนพฤศจิกายน นิตยสารฟอบส์รายงานว่า บียอนเซ่เป็นผู้หญิงในวงการเพลงที่ทำรายได้สูงสุดติดกันเป็นปีที่ 2 โดยทำรายได้ไป 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในหนึ่งปี ซึ่งมากกว่ารายได้ของเธอในปี 2013 กว่าสองเท่า ต่อมาบียอนเซ่ปล่อย บียอนเซ่ ฉบับแพลตินั่ม พร้อม 2 เพลงใหม่ ได้แก่ 7/11 และริงออฟ และ 4 เพลงรีมิกซ์ หนึ่งในนั้นมีสแตนดิงออนเดอะซัน ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในโฆษณาของ H&M ด้วย

ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 57 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 บียอนเซ่เข้าชิงทั้งหมด 6 สาขาด้วยกัน และชนะในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ Best R&B Performance และ Best R&B Song จากเพลง "ดรังอินเลิฟ" และ Best Surround Sound Album จาก "บียอนเซ่" เธอเข้าชิงรางวัล Album of The Year ด้วย แต่เบ็กชนะไปด้วยอัลบั้มมอร์นิ่งเฟส

2016-ปัจจุบัน: อัลบั้มชุดที่ 6

[แก้]
บียอนเซ่ทำการแสดงช่วงพักครึ่งซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 50

ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2016 บียอนเซ่กลับมาอีกครั้งกับซิงเกิลใหม่ "ฟอร์เมชัน" ซึ่งปล่อยให้ดาวน์โหลดได้ฟรีในบริการสตรีมเพลงไทดอล วันต่อมาเธอได้แสดงเพลงฟอร์เมชันเป็นครั้งแรกในช่วงพักครึ่งในการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลซูเปอร์โบวล์ ครั้งที่ 50 ที่เธอเป็นแขกรับเชิญให้กับโคลด์เพลย์ และหลังจากนั้นเธอก็ประกาศทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก "เดอะฟอร์เมชันเวิลด์ทัวร์" ในทันที

สไตล์เพลงและภาพลักษณ์

[แก้]

ดนตรีและเสียงร้อง

[แก้]

เพลงของโนวส์ส่วนใหญ่จะเป็นแนวอาร์แอนด์บีร่วมสมัย แต่ก็มักจะผสมแนวแดนซ์ป็อป, ฟังก์, ป็อป และโซลเข้าไปด้วย เพลงของโนวส์นั้นไม่ได้มีแค่เพียงเพลงภาษาอังกฤษ เธอยังได้ทำเพลงภาษาสเปนอยู่หลายเพลงสำหรับการวางจำหน่ายอีกครั้งของอัลบั้มบี'เดย์ อีกด้วย วงเดสทินีส์ไชลด์เองก็ยังเคยทำเพลงภาษาสเปนด้วยเช่นกันและยังได้เสียงตอบรับที่ดีจากแฟนเพลงชาวลาติน โนวส์เคยใช้ภาษาสเปนในโรงเรียนเมื่อยังเด็ก แต่ตอนนี้สามารถพูดได้เพียงไม่กี่คำ แต่เมื่อต้องทำเพลงภาษาสเปนสำหรับการวางจำหน่ายอีกครั้งของอัลบั้มบี'เดย์ เธอก็ได้ไปฝึกสัทศาสตร์กับโปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกัน ชื่อว่ารูดี เพียร์ซ[73]

การแสดงบนเวที

[แก้]
โนวส์ร้องเพลงในเดอะบียอนเซ่เอกซ์พีเรียนส์ปี2007 ร่วมกับวงดนตรีหญิงล้วน "ชูก้ามาม่า"

ในปี 2006 โนวส์ได้มีวงดนตรี ชูก้ามาม่า ของตนเอง ซึ่งก็ได้มีทั้ง นักเล่นเบส, นักตีกลอง, นักเล่นกีต้าร์, นักเล่นฮอร์น, มือคีย์บอร์ด และ นักดนตรีเครื่องดนตรีประเภทตี [74] พวกเขาได้เปิดตัวครั้งแรกในงานประกาศผลรางวัลบีอีทีอวาร์ดส ปี 2006 และปรากฏตัวอีกครั้งในมิวสิกวิดีโอเพลง "อีเรเพลสอเบิล" และ "กรีนไลท์".[73] วงดนตรีนี้ได้เล่นดนตรีให้โนวส์ในการร้องเพลงสดของโนวส์ในที่ต่างๆ รวมไปถึงคอนเสิร์ตทัวร์รอบโลกในปี 2007 เดอะบียอนเซ่เอกซ์พีเรียนส์, และในปี 2009 คอนเสิร์ตทัวร์ไอแอม...

ในบทความที่มีชื่อว่า "บอร์นทูเอ็นเตอร์เทน" โนวส์รวมถึงศิลปินคลาสสิกและร่วมสมัยอื่นๆ ได้รับคำชมจากการแสดงบนเวทีของเธอ[75] ในบทวิจารณ์คอนเสิร์ตทัวร์ไอแอม... ในปี ค.ศ. 2009ของเธอ อลิส โจนส์ของหนังสือพิมพ์อินดีเพนเดนท์ ได้เขียนไว้ว่า "Watching Beyoncé sing and strut her stuff can feel at best overawing, at worst, alienating. She takes her role as entertainer so seriously she's almost too good."[76] เดอะนิวยอร์กไทมส์ เขียนว่า "มันมีความน่าทึ่งพร้อมกับน่าตื่นเต้นมากในการวางแผนของเธอที่จะทำให้ผู้ชมสนุกสนาน"[77] รีนี มิเชลล์ ฮารริสของเซาท์ฟลอริดาไทมส์ เขียนว่า โนวส์ "สามารถทำตัวเป็นเจ้าของเวทีพร้อมกับใส่เอกลักษณ์ของเธอและมีความเอาจริงเอาจัง... การแสดงที่มีเสียงร้องอันทรงพลังของเธอและไม่มีโน้ตใดที่ตกหล่นไป, การเต้นที่สมบูรณ์แบบ...ไม่มีใครทั้งนั้น, ไม่ใช่บริตนีย์, ไม่ใช่ซิเอรา และก็ไม่ใช่ริอานน่า สามารถทำอย่างที่เธอทำได้ ทั้งการร้องการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์ในเวลาเดียวกัน"[78] และนี่เป็นการสะท้อนออกมาของลอร์เรน ชวารตซ์จากดิเอกซ์แซมิเนอร์ ผู้ที่เขียนไว้ว่า "ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ฉันได้เห็น มาดอนน่า, บริตนีย์, และบียอนเซ่... [บียอนเซ่]ดีกว่าสามคนนั้นอยู่ไกลมาก"[79]

ภาพลักษณ์

[แก้]
โนวส์โพสท่าใน
เดอะบียอนเซ่เอกซ์พีเรียนส์

โนวส์เป็นที่รู้จักกันในเรื่องสัญลักษณ์ของเพศ[80][81] ตามที่เธอได้พูดไว้ว่า "ฉันชอบที่จะแต่งตัวเซ็กซี่และทำตัวเองให้เหมือนสตรีทั่วไป" แต่เธอก็ได้บอกว่าการแต่งตัวบนเวทีก็ "สำหรับการแสดงบนเวทีเท่านั้น"[82] เนื่องจากเธอเป็นคนที่ชื่นชอบและหลงใหลในแฟชั่น โนวส์ได้ผสมผสานองค์ประกอบของศิลปะกับมิวสิกวิดีโอและการแสดงของเธอ แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียน โรเบอร์โต คาวาลลิ กล่าวไว้ว่า "เธอจะใช้สไตล์ที่แตกต่างกัน พยายามให้เข้าดนตรีในขณะแสดง"[83] นิตยสาร พีเพิล ได้จัดให้โนวส์เป็นคนดังที่มีแต่งตัวได้ดีที่สุดในปี 2007[84] แม่ของโนวส์ได้เขียนหนังสือในปี 2002 โดยชื่อว่า เดสทินีส์สไตล์: บูตีลิเชียสแฟชั่น, บิวติฟูล์แอนด์ไลฟ์สไตล์ซีเครตฟรอมเดสทินีส์ไชลด์ เป็นบันทึกที่ว่าแฟชั่นมีส่วนต่อความสำเร็จของเดสทินีส์ไชลด์มากแค่ไหน[85]

ในปี 2007 โนวส์เป็นที่จับตามองมาก ในการที่เธอได้ขึ้นปกของ สปอร์ตสอิลลัสเตรดต์สวิมสูทอิชชู เธอเป็นคนแรกที่ไม่ใช่ทั้งนางแบบและไม่ใช่ทั้งนักกีฬาที่ได้ลงสิ่งตีพิพม์นี้ และยังเป็นศิลปินชาวแอฟริกันอเมริกัน คนที่สองหลัง ไทรา แบงส์[86] ในปีเดียวกัน ภาพโนวส์ได้ปรากฏอยู่ในนิตยสารบิลบอร์ดและหนังสือพิมพ์ทั่วสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นภาพที่เธอกำลังถือบุหรี่แบบเก่าอยู่และเป็นภาพจากปกหลังของอัลบั้ม บี'เดย์ ภาพนี้ถูกต่อต้านจากองกรณ์ป้องกันการสูบบุหรี่อย่างมาก โดยระบุว่าเธอไม่จำเป็นต้องเพิ่มบุหรี่ "เพื่อให้ตัวเองดูซับซ้อนกว่าเดิม"[87]

ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2009 โนวส์ได้ไปสัมภาษณ์ในรายการ แลร์รี่คิงไลฟ์ เธอได้พูดถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอได้ไปร้องเพลงในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามาเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 และเธอกล่าวว่า มิเชลล์ โอบามา "เป็นบุคคลที่เก๋มาก" และได้กล่าวไปถึงว่าการได้ไปร้องเพลง"แอตลาสต์"นั้น ว่าเป็นอะไรที่สำคัญต่อชีวิตการทำงานของเธอมาก[88]

เราสอนให้ผู้หญิงรู้จักเจียมตัวเพื่อให้ตัวเองด้อยลง
เราสอนผู้หญิงว่า "คุณทะเยอทะยานได้ แต่อย่ามากเกินไป คุณควรจะประสบความสำเร็จ แต่อย่าสำเร็จเกินไปเพราะจะทำให้ผู้ชายเกรงกลัว"
และเพราะฉันเป็นผู้หญิง ฉันหวังว่าจะได้แต่งงาน ฉันหวังว่าชีวิตจะมีตัวเลือกหลายอย่าง และจำไว้ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแต่งงาน ซึ่งทำให้มีความสุข ความรัก และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
แต่ทำไมเราไม่สอนให้ผู้ชายต้องการที่จะแต่งงานเหมือนที่สอนผู้หญิงบ้าง
เราสอนผู้หญิงเห็นผู้หญิงด้วยกันเป็นคู่แข่งกัน ไม่ใช่เพื่องานหรือความสำเร็จที่ฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่เพื่อความสนใจของผู้ชาย
เราห้ามไม่ให้ผู้หญิงแสดงออกทางเพศได้เฉกเช่นผู้ชาย
นักสตรีนิยม: บุคคลที่เชื่อในความเท่าเทียมทางเพศในด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ

— สุนทรพจน์ของชิมามานดา อะดิชี ในเพลง ***ฟลอว์เลส [89]

ต่อมาเมื่ออัลบั้ม 4 ถูกปล่อยในช่วง 2011 พร้อมซิงเกิลเปิดอัลบั้มอย่าง "รันเดอะเวิลด์ (เกิร์ลส) ซึ่งประกาศความเป็นสตรีนิยมของบียอนเซ่อย่างเต็มตัว และตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นสตรีนิยมให้เด่นชัดมากขึ้นอีกในเพลง "***ฟลอว์เลส" จากอัลบั้มบียอนเซ่ ที่มีเนื้อหาให้ผู้หญิงมีความมั่นใจในตนเอง และมีสุนทรพจน์ของชิมามานดา อะดิชี นักเขียนชาวไนจีเรียอยู่ในเพลงด้วย ต่อมาในปี 2015 บียอนเซ่ได้ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีเมดอินอเมริกาและเทศกาลโกลบอลซิตีเซน ซึ่งมีนัยด้านสตรีนิยมปรากฏ

อิทธิพลและสิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

โนวส์ยกย่อง ไมเคิล แจ็คสัน เป็นผู้มีอิทธิพลทางดนตรีที่ยิ่งใหญ่ของเธอ ตอนอายุ 5 ขวบ เมื่อโนวส์ไปที่คอนเสิร์ตของเขาครั้งแรกนั้นทำให้เธอตระหนักถึงเป้าหมายของเธอ ปี 2006 ที่งาน เวิลด์มิวสิกอวอร์ดส เธอยังกล่าวต่อผู้ชมว่า "ถ้าไม่ใช่เพราะไมเคิล แจ็คสัน ฉันคงไม่ได้เป็นเช่นทุกวันนี้" โนวส์ได้แรงบันดาลใจในการเป็นนักร้องมาจากศิลปินชาวอเมริกันอย่าง ทีน่า เทอร์เนอร์, พรินซ์, อารีธา แฟรงคลิน, วิทนีย์ ฮูสตัน, เจเน็ต แจ็กสัน, เซเลนา, แมรี เจ. ไบลจ์, ไดอาน่า รอสส์, ดอนนา ซัมเมอร์, มารายห์ แครี และนักร้องชาวโคลัมเบียนอย่าง ชาคีร่า. นอกจากนี้โนวส์ได้เติบโตมากับเพลงของ เอนิตา เบเกอร์และลูเธอร์ แวนดรอส และในต่อมาก็กลับกลายเป็นคนที่เธอได้ร่วมงานอยู่ด้วยในที่สุด [90][91]

โนวส์ยังมีอิทธิพลต่อศิลปินร่วมสมัยด้วย นักร้องเพลงแนวอาร์แอนด์บี ชาวคะเนเดียน เคเชีย ชานเต ก็ได้มีอิทธิพลมาจากโนวส์เช่นเดียวกัน [92] นอกจากนั้น ผู้ชนะรายการ อเมริกันไอดอล จอร์ดิน สปาร์คส ซิงเกิลแรก "แทททู" และอัลบั้มแรกของเขา สามารถอธิบายได้ว่ามีความชอบในตัวบียอนเซ่เอามากๆ ซึ่งซิงเกิล"แทททู"นั้น ก็ได้มีดนตรีและสิ่งต่างๆเหมือนกับเพลงฮิตของโนวส์มาก นั้นคือเพลง "อีเรเพลสอเบิล" [93]

สตีเฟน โทมัส เอร์ไลไวน์ ของออลมิวสิกได้พบว่าเพลงในอัลบั้มแรกของนักร้องป๊อปชาวอเมริกัน เคทารีน แม็คฟี ได้รับอิทธิพลจากเพลงของโนวส์มากๆ [94] โรว์แลนด์ ยังได้แรงบันดาลใจ ก่อนการทำอัลบั้มชุดที่ 2ของเธอ มิส.เคลลี่ จากเสียงร้องของโนวส์ด้วยเช่นกัน[95]

โนวส์เป็นนักร้องหญิงคนแรก ที่ได้รับรางวัล อเมริกัน มิวสิก อวอร์ดส์ สาขาศิลปินระดับต่างประเทศ โนวส์ได้เป็นนักร้องนำของวงดนตรีหญิงล้วนที่มียอดขายสูงที่สุดตลอดกาล เดสทินีส์ไชลด์[96][97] ในที่ต่างๆมากมาย ได้บันทึกไว้ว่าเธอเป็นสัญลักษณ์ของเพลงป๊อป ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด[98][99] อัลบั้มแรกของเธอ เดนเจอรัสลีอินเลิฟ ได้อยู่ในรายชื่อ ท๊อป200เดฟินิทีฟอัลบั้ม ในประวัติศาสตร์ดนตรี โดย ร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ซึ่งน้อยมากสำหรับศิลปินในยุดนี้ ที่จะได้อยู่ในรายชื่อนั้น[100] โนวส์ได้มีหุ่นขี้ผึ้งในที่ต่างๆมากมาย แต่ที่ ที่รู้จักกันมากก็คือ ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของ Madame Tussaud[101] เธอก็ยังเป็นหนึ่งในน้อยคนของแอฟริกันอเมริกัน ที่ได้เข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำถึง 3 รางวัล หรือมากกว่านั้น

กิจกรรมการกุศลและงานอื่นๆ

[แก้]

เฮาส์ออฟเดเรออน

[แก้]

ปี 2005 โนวส์เปิดตัวธุรกิจห้องเสื้อที่เธอได้ร่วมมือกับทีน่า โนวส์ (แม่ของเธอ) โดยใช้ชื่อว่า เฮาส์ออฟเดเรออน (House of Deréon) [102] (เดเรออน คือชื่อยายของเธอ) ซึ่งงานออกแบบได้รับแรงบันดาลใจมาจากบรรพบุรุษในตระกูล ทัวร์คอนเสิร์ต เดสทินีฟูล์ฟิลด์ ... แอนด์เลิฟวิงอิทเวิลด์ทัวร์ ของเดสทินีส์ไชลด์ ได้เลือกใช้ชุดจากห้องเสื้อนี้ของเธอเองทั้งหมด ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ธุรกิจนี้ร่วมกับผลงานของเธอที่ออกมาในขณะนั้นด้วย

งานโฆษณา

[แก้]

โนวส์ได้เซ็นสัญญากับเครื่องดื่มเป๊ปซี่ในปี ค.ศ. 2002[103] ซึ่งเป็นการโฆษาณาทั้งบนโทรทัศน์ รวมถึงวิทยุและในอินเทอร์เน็ต [104] ในปี ค.ศ. 2004 เป๊ปซี่ได้มีโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ มีแนวโฆษณาเป็น "นักต่อสู้ในสมัยโรมัน" โดยมีโนวส์และนักร้องอย่าง บริตนีย์ สเปียรส์, พิงก์, และเอนรีเก อีเกลเซียสรวมอยู่ในโฆษณา[105] และในปีถัดมาก็ได้ร่วมงานกับเจนนิเฟอร์ โลเปซและเดวิด เบคแคมในโฆษณาแนว "ซามูไร"[106] และในปี 2013 เธอได้โฆษณาโดยใช้เพลง "Grown Woman" และเป๊ปซี่ก็เป็นผู้สนับสนุนการแสดงช่วงพักครึ่งซูเปอร์โบลว์ครั้ง 47 ให้กับเธอ

นอกจากนี้แล้ว โนวส์ยังเซ็นสัญญากับบริษัทเครื่องสำอางหรือสินค้าที่เกี่ยวกับความสวยความงาม นั่นก็คือลอเรอัลในช่วงปี ค.ศ. 2003 ทำรายได้ให้เธอกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[107]ในปี 2004 โนวส์ได้มีน้ำหอมของเธอเอง เรียกว่า "ทรูสตาร์" ซึ่งก็ได้ทำโดยทอมมี่ ฮิลไฟเจอร์ เธอได้มีวิดีโอประชาสัมพันธ์ โดยเธอร้องเพลง "วิชชิงออนอะสตาร์" มาร้องประกอบด้วย โดยทำรายได้ให้เธอกว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[108] และเธอยังได้มีทรูสตาร์โกลด์ในปี ค.ศ. 2005 และ เอ็มพอเรอร์อาร์มานิส์เดียมอนด์ส ในปี ค.ศ. 2007[109] นิตยสารฟอร์บยังได้รายงานว่า โนวส์มีรายได้ในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 ถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 สูงถึง 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากอัลบั้ม,คอนเสิร์ตทัวร์,ธุรกิจเสื้อผ้า,และงานโฆษณาต่างๆ และจัดให้เธอเป็นคนดังที่มีรายได้สูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก[110]

กิจกรรมการกุศล

[แก้]
โนวส์ได้เป็นตัวแทนให้กับมูลนิธิ "โชว์ยัวร์เฮลปปิงแฮนด์"

โนวส์ร่วมกับเคลลี โรว์แลนด์ และครอบครัวของทั้งสอง ได้เปิดองค์กรช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยใช้ชื่อว่า "เซอร์ไวเวอร์ ฟาวเดชัน" ในปี 2005[111] องค์กรนี้ได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ในพื้นที่รัฐเท็กซัส, สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอเอง และโนวส์ยังได้บริจาคเงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับ"กัล์ฟคอส์ตไอค์รีลีฟฟันด์" ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุเฮอร์ริเคนไอค์ ในเมืองฮิวสตันอีกด้วย

ในปี 2005 โปรดิวเซอร์เพลง เดวิด ฟอสเตอร์ ,ลูกสาวของเขา เอมี ฟอสเตอร์-จิลลีส์, และโนวส์ ได้ร่วมกันแต่งเพลง "สแตนด์อัพฟอร์เลิฟ" ซึ่งจะเป็นเพลงประจำวันเด็กโลก ที่เดสทินีส์ไชลด์ได้ร่วมกันร้องเพลงนี้ และรับเป็นตัวแทนจากทั่วโลกประจำวันเด็กโลกปี 2005 และในปี 2008 โนวส์ได้มีเพลง "จัส์ตสแตนด์อัพ!" ร่วมกับศิลปินอื่นๆ เช่น มารายห์ แครี, เลโอนา ลิวอิส, ริอานน่า, แมรี เจ. ไบลจ์ เป็นซิงเกิลการกุศลสำหรับมูลนิธิ สแตนด์อัพทูแคนเซอร์ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง

โนวส์ได้รับจารึกชื่อเข้าสู่ อินเตอร์เนชันเนลพีเดียทริกฮอลล์ออฟเฟม ของ ไมแอมีชิลเดรนส์ฮอสปิตอล[112] ซึ่งเป็นโรงพยาบาลดูแลเด็กพิการ หลังจากที่เธอได้เข้าช่วยเหลือด้วยการบริจาคเงินและเข้าเยี่ยมเด็กๆ อย่างสม่ำเสมอ ในขณะถ่ายทำภาพยนตร์ คาดิลแล็กเรเคิดส์ วันวานตำนานร็อก บียอนเซ่ได้เข้าศึกษาลักษณะผู้ป่วยติดยาเสพติดในสถานบำบัด เพื่อใช้ในการแสดงภาพยนตร์ดังกล่าว และเธอยังได้บริจาคเงินรายได้ของเธอให้กับ โฟนิกซ์เฮาส์ เป็นองกรณ์ที่ช่วยบำบัดผู้ที่ติดยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย และในเวลาต่อมาไม่นาน โนวส์ได้รับเป็นตัวแทนให้กับมูลนิธิ "โชว์ยัวร์เฮลปปิงแฮนด์" [113] เป็นมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเด็กที่อดอยาก และเธอยังให้แฟนๆของเธอ นำอาหารที่ไม่เน่าเปื่อยได้ง่ายมาบริจาคใน ยู.เอส.คอนเสิร์ตทัวร์สต๊อป ของเธอด้วย

ในปี 2013 เธอได้ร่วมมือกับกุชชีและซัลมา ฮาเยก ในการจัดตั้งแคมเปญ Chime For Change ในการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงทั่วโลก วันที่ 1 มิถุนายน 2013 เธอก็ขึ้นแสดงคอนเสิร์ต Sound of Change เพื่อระดุมทุนและเป็นกระบอกเสียงให้กับสิทธิสตรีทั้งด้านความยุติธรรม การศึกษา และสุขภาพ ร่วมกับศิลปินอีกหลายท่าน อาทิ เจนนิเฟอร์ โลเปซ, เอลลี โกลดิง, เจสซี เจ, แมรี เจ. ไบลจ์

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 บียอนเซ่ได้เริ่มคบหาดูใจกับแร็ปเปอร์หนุ่ม เจย์-ซี ซึ่งเป็นบุคคลที่คอยช่วยเหลือเธอมาโดยตลอด ข่าวลือต่าง ๆ ได้เริ่มตอกย้ำความสัมพันธ์ระหว่างเขาทั้งสองคน หลังจากที่บียอนเซ่ได้ร่วมร้องเพลงกับเจย์-ซี ในเพลง "'03 บอนนีย์แอนด์ไคล์ด"[114] และใน ค.ศ. 2005 ข่าวลือต่าง ๆ ก็ได้กระจายไปทั่วว่า บียอนเซ่และเจย์-ซี จะแต่งงานกัน แต่เมื่อได้สอบถามกับตัวบียอนเซ่เแล้ว เธอได้บอกว่าตัวเธอกับเจย์-ซีนั้นยังไม่ได้หมั้นหมายกันไว้แต่อย่างใด[115] และเมื่อผู้สื่อข่าวได้ถามอีกครั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 เจย์-ซีก็ได้ตอบว่า "One day soon - let's leave it at that."[116] ลอรา เชรฟเฟอร์ ซึ่งเป็นนักเขียนอาวุโสของนิตยสาร โอเค! กล่าวว่า "พวกเขาเป็นคนที่มีความเป็นส่วนตัวเอามาก ๆ"[117] เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2008 บียอนเซ่กับเจย์-ซีได้แต่งงานกันที่นครนิวยอร์ก[118] บียอนเซ่เปิดเผยว่าเธอเคยแท้งบุตรราว ค.ศ. 2010 หรือ 2011 ในสารคดีไลฟ์อิสบัตอะดรีม ทั้งนี้เธอได้แต่งเพลงให้กับความสูญเสียในครั้งนี้ด้วย

ในงานประกาศผลรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ ค.ศ. 2011 บียอนเซ่ได้แสดงเพลง "เลิฟออนท็อป" โดยเริ่มต้นการแสดงว่า "วันนี้ฉันอยากให้ทุกคนยืนขึ้นและรับรู้ถึงรักที่กำลังเติบโตภายในตัวฉัน" และในตอนจบ เธอก็ทิ้งไมโครโฟน ถอดกระดุมเบลเซอร์ออกและลูบท้อง ซึ่งยืนยันว่าเธอตั้งครรภ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในกินเนสส์เวิลด์เรเคิดส์ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ถูกทวิตมากที่สุดต่อวินาที คิดเป็น 8,868 ทวิตต่อวินาที และคำว่า "Beyonce Pregnancy" กลายเป็นคำที่ถูกค้นหามากที่สุดในกูเกิลในรอบสัปดาห์ของวันที่ 29 สิงหาคมา ค.ศ. 2011

วันที่ 7 มกราคม 2012 บียอนเซ่ได้ให้กำเนิดบุตรสาว 1 คน ชื่อว่า "บลู ไอวี คาร์เตอร์" ที่โรงพยาบาล Lenox Hill Hospital ในนิวยอร์ก 2 วันให้หลัง เจย์ซีปล่อยเพลง โกลรีย์ ซึ่งเป็นเพลงที่เขาแต่งให้กับลูกสาวลงบนเว็บไซต์ Lifeandtime.com ในเพลงกล่าวถึงการฝ่าฟันอุปสรรคขณะตั้งครรภ์ รวมถึงการแท้งลูกก่อนที่จะตั้งครรภ์บลู ไอวี เสียงร้องของบลู ไอวีถูกนำมาใส่ตอนจบเพลง และใส่เครดิตว่า "B.I.C." ส่งผลให้บลู ไอวี ซึ่งมีอายุเพียง 2 วัน กลายเป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุดที่ปรากฏบทชาร์ตบิลบอร์ดเมื่อ "โกลรีย์" เดบิวต์บนชาร์ต Hot R&B/Hip-Hop Songs

ผลงานเพลง

[แก้]

ดูบทความหลักที่ รายชื่อผลงานของบียอนเซ่ โนวส์

ทัวร์คอนเสิร์ต

[แก้]

ผลงานทางด้านภาพยนตร์

[แก้]
ปี ภาพยนตร์ บทบาท หมายเหตุ
2001 คาร์เมน: อะฮิปโฮเปรา คาร์เมน รับบทนำ, เป็นภาพยนตร์โทรทัศน์
2002 พยัคฆ์ร้ายใต้สะดือ ตอน ตามล่อพ่อสายลับ ฟอกซ์ซี คลีโอพัตรา รับบทนำ
2003 เดอะไฟท์ติงเทมป์เทชัน ลิลลี รับบทนำ
2004 เฟดทูแบล็ก ตัวเธอเอง ภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับเจย์-ซี
2006 เดอะพิงค์แพนเตอร์ ซาเนีย รับบทนักแสดงประกอบ
ดรีมเกิร์ลส ดีนา โจนส์ รับบทนำ
2008 คาดิลแล็กเรเคิดส์ วันวานตำนานร็อก เอตต้า เจมส์ รับบทนำ
2009 แรงรักมรณะ ชารอน ชาลส์ รับบทนำ
วาว! วาว! วับบ์ซี! ไชน์ (พากย์เสียง)

"Wubb Girlz Rule!/Wuzzleburg Idol" (ฤดูกาลที่ 2, ตอนที่ 19)
"Bye Bye Wuzzleburg/Wubbzy's Wacky Journey" (ฤดูกาลที่ 2 , ตอนที่ 20)
"Wubbzy's Big Makeover/The Big Wuzzlewood" (ฤดูกาลที่ 2, ตอนที่ 22)
"Lights, Camera, Wubbzy!/A Wubbstar Is Born" (ฤดูกาลที่ 2 , ตอนที่ 23)

2013 ไลฟ์อิสบัตอะดรีม ตัวเธอเอง ภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับตัวเธอเอง
เอปิค ควีนทารา (พากย์เสียง)
2016 เลมอนเนด ตัวเธอเอง ภาพยนตร์สั้นประกอบเพลงในอัลบั้มเลมอนเนด

รางวัล

[แก้]

เธอได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ในฐานะศิลปินเดี่ยว อัลบั้มของเธอมียอดขายถึง 15 ล้านชุดในอเมริกา และ 118 ล้านเร็กคอร์ดทั่วโลก (60 ล้านชุดร่วมกับเดสทินีส์ไซลด์) ซึ่งทำให้เธอเป็นหนึ่งในศิลปินที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกาจัดอันดับให้บียอนเซ่เป็นศิลปินที่ได้รับการรับรองสูงสุดในปีช่วงทศววรษที่ 2000 ด้วยการรับรองทั้งหมด 64 ครั้ง "เครซีอินเลิฟ", "ซิงเกิลเลดีส์ (พุตอะริงออนอิต)", "เฮโล" และ "อีเรเพลสอเบิล" เป็นหนึ่งในซิงเกิ้ลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล ดิออบเซอเวอร์กล่าวว่าเธอเป็นศิลปินแห่งทศวรรษ บียอนเซ่เป็นศิลปินหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัล International Artist Award โดย อเมริกันมิวสิคอวอร์ด นอกจากนี้เธอยังได้รับ Legend Award โดย World Music Award ในปี 2008 และ Billboard Millennium Award ใน งานประกาศผลบิลบอร์ดมิวสิกอวอร์ด 2011

บียอนเซ่ได้รับรางวัลแกรมมีทั้งสิ้น 20 รางวัล ทั้งในฐานะศิลปินเดี่ยวและสมาชิกของเดสทินีส์ไชลด์ ทำให้เธอเป็นศิลปินหญิงที่ได้รับรางวัลแกรมมีมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากอลิสัน เคราส์ และเป็นผู้หญิงที่มีรายชื่อเข้ารางวัลแกรมมี่มากที่สุด โดยเข้าชิงทั้งสิ้น 52 รายการ "ซิงเกิลเลดีส์ (พุตอะริงออนอิต)" ชนะในสาขาเพลงแห่งปีในปี 2010 ในขณะที่ "เซย์มายเนม" และ "เครซี่อินเลิฟ" ชนะในสาขาเพลงอาร์แอนด์บียอดเยี่ยม ทั้ง เดนเจอรัสลีอินเลิฟ , [[บี'เดย์] และ ไอแอม... ซาชาเฟียร์ส ต่างก็ชนะในสาขาอัลบั้มอาร์แอนด์บีร่วมสมัย เธอถูกบันทึกว่าเป็นผู้หญิงที่ชนะรางวัลแกรมมี่มากที่สุดในหนึ่งคืนในปี 2010 ด้วยจำนวน 6 รางวัล และด้วยบทบาทในดรีมเกิร์ลส เธอเข้าชิงรางวัลสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วยเพลง "ลิสเซน" และนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในงานประกาศผลลูกโลกทองคำ และสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมในงานประกาศผลรางวัลเอ็นเอเอซีพีอิมเมจอวอร์ด และชนะ 2 รางวัลในงานประกาศรางวัลคริติกส์ชอยส์มูฟวี่อวอร์ด ครั้งที่ 12 ได้แก่ สาขาเพลงยอดเยี่ยมด้วยเพลง "ลิสเซน" และเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วยเพลงดรีมเกิร์ลส

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Curto, Justin (April 30, 2021). "Yes, 'Harmonies by The Hive' is Beyoncé". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2021. สืบค้นเมื่อ May 8, 2021.
  2. Gay, Jason (February 10, 2013). "Beyoncé Knowles: The Queen B". Vogue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2021. สืบค้นเมื่อ October 18, 2021.
  3. Lewis, Brittany (July 9, 2013). "Beyoncé credited as 'Third Ward Trill' on Jay-Z's album, 'Magna Carta Holy Grail'". Global Grind. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2021. สืบค้นเมื่อ June 29, 2018.
  4. "BeyGOOD". www.beygood.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-31. สืบค้นเมื่อ 2024-03-31.
  5. Reviews, Unorthodox (2022-12-05). "5 Times Beyoncé's Music Was Inspired by Africa" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-30. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  6. Aniftos, Rania (2022-03-22). "Billboard Teams Up With Afro Nation to Launch New U.S. Afrobeats Songs Chart". Billboard (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-21. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  7. "'Renaissance' Is A Love Letter To The Black Queer Roots Of Dance Music". Essence (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-07-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-01. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  8. "Beyoncé Has Always Been Country". TIME (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-14. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  9. Dailey, Hannah (2024-03-12). "Everything We Know About Beyoncé's 'Act II: Cowboy Carter' So Far". Billboard (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-16. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  10. "Beyoncé and Country Music – Exhibits". www.blackmusicproject.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-05. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  11. Beyonce: The Billboard Cover Story. (2009-10-01) Billboard Retrieved 2009-10-01
  12. "The Celebrity 100: #4 Beyonce Knowles". June 3, 2009.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-24.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 "Beyonce Knowles' Biography". Fox News. April 15, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-06-05.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 15.7 Beyonce: All New. E! Online.
  16. 16.0 16.1 "Beyoncé Knowles: Biography - Part 1". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-26. สืบค้นเมื่อ 2008-04-01.
  17. "Beyoncé: The Ice Princess". Blender. September 18, 2006. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  18. Gillings, Andrew (April 22, 2001). "Destiny's Child: Soul-Survivors". Essence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
  19. "Distinguished HISD Alumni". Houstonisd.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  20. "Famous Alumni - Elsik High School". ElsikAlumni.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  21. 21.00 21.01 21.02 21.03 21.04 21.05 21.06 21.07 21.08 21.09 Kaufman, Gil (June 13, 2005). "Destiny's Child's Long Road To Fame (The Song Isn't Called "Survivor" For Nothing)". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-01.
  22. 22.0 22.1 "Driven". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-08-20. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 Farley, Christopher John (January 15, 2001). "Call Of The Child". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  24. 24.0 24.1 Reynolds, J.R. (March 3, 1998). "All Grown Up". Yahoo! Music. สืบค้นเมื่อ 2007-01-12.
  25. Tyrangiel, Josh (June 30, 2003). "Destiny's Adult". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  26. "The Best in Hip hop/Soul". American Society of Composers, Authors and Publishers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  27. 27.0 27.1 Todd, Martens (July 2, 2003). "Beyonce, Branch Albums Storm The Chart". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-04-01.
  28. Carpenter, Troy (October 22, 2003). "Destiny's Child Slapped With Infringement Suit". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-04-01.
  29. 29.0 29.1 Manifest Destiny เก็บถาวร 2009-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Entertainment Weekly
  30. Beyonce To Star In 'Carmen' Remake เก็บถาวร 2010-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV news
  31. Beyonce Records Song Written By Mike Myers For 'Powers' Flick เก็บถาวร 2010-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  32. 32.0 32.1 32.2 "Beyoncé Knowles: Biography - Part 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-26. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  33. Beyonce, Britney Serve Up First Singles From 'Goldmember' เก็บถาวร 2010-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  34. Beyonce Teams With Diddy, Destiny On 'Temptations' Soundtrack เก็บถาวร 2010-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  35. http://www.mtv.com/bands/b/beyonce/news_feature_062703 เก็บถาวร 2009-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Beyoncé: Genuinely In Love - Part 1] MTV News
  36. 36.0 36.1 Beyonce Pushes Up Release Date Of Solo Debut เก็บถาวร 2010-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  37. "Gold and Platinum". Recording Industry Association of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  38. Bonson, Fred (February 17, 2006). "Chart Beat Chat". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  39. Sexton, Paul (July 21, 2003). "Beyonce Continues U.K. Chart Dominance". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  40. Sexton, Paul (July 14, 2003). "Beyonce Rules Again On U.K. Charts". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  41. Martens, Todd (September 11, 2003). "Beyonce, Sean Paul Creep Closer To No. 1". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  42. Martens, Todd (November 28, 2003). ""Stand Up" Ends "Baby Boy" Reign". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  43. Beyonce Billboard Singles ออลมิวสิก
  44. 46th Grammy Awards - 2004 CNN.com
  45. "Brit Awards 2004 winners". BBC UK. February 17, 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  46. 46.0 46.1 "Beyoncé Knowles: Biography - Part 2" เก็บถาวร 2007-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน People.
  47. Destiny's Child's Long Road To Fame (The Song Isn't Called 'Survivor' For Nothing) เก็บถาวร 2009-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mtv.com
  48. Destiny's Child gets Walk of Fame star msnbc.msn.com
  49. "Beyonce Knowles". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  50. Keller, Julie (2005-09-01). "Destiny's World Domination". Yahoo! Music. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
  51. "The Billboard Hot 100 All-Time Top Artists". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  52. 52.0 52.1 Interview: Beyonce Knowles IGN
  53. Beyonce To Star Opposite Steve Martin In 'Pink Panther' เก็บถาวร 2010-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  54. Beyonce Wants End To Drama Over New Drama 'Dreamgirls'; Sets Tour เก็บถาวร 2010-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  55. [1] เก็บถาวร 2021-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน timesonline.co.uk
  56. THE PINK PANTHER (2006) boxofficemojo.com
  57. Beyonce's 'B-Day' Makes Big Bow At No. 1 billboard.com
  58. More >> B'day เก็บถาวร 2009-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน beyoncethailand.net
  59. Beyoncé and Shakira - Beautiful Liar acharts.us
  60. "The Beyoncé Experience Tour” Live in Bangkok 2007 thaiticketmajor.com
  61. ผลรางวัลแกรมมี่ 2007 เก็บถาวร 2007-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน manager.co.th
  62. http://www.boxofficemojo.com/news/?id=2580&p=.htm Box Office Mojo
  63. Vineyard, Jennifer (October 8, 2008). "Beyonce Releases Two Tracks From I Am ... , Inspired By Jay-Z And Etta James". MTV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
  64. Flo Rida Has Sweet Week On Billboard Hot 100 Billboard.com
  65. "Chart Beat: Depeche Mode, Pet Shop Boys, Oak Ridge Boys, Hannah Montana" Billboard.com
  66. Hudson tops winners at NAACP Image Awards cbc.ca
  67. [http://jezebel.com/5135849/beyonce-brings-it-at-obamas-inaugural-ball-first-dance Beyonce Brings It At Obamas' Inaugural Ball First Dance] เก็บถาวร 2009-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน jezebel.com
  68. "Beyonce's Four-Night Stint at Wynn Las Vegas a Resounding Success". PR Newswire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-11. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  69. "Concert Charts: Fierce Showing By Beyonce On Top Tours List". บิลบอร์ด. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  70. Concepcion, Mariel (2009-10-02). "Beyonce Accepts Billboard's Woman Of the Year Award, Lady Gaga Is Rising Star". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.
  71. [2]
  72. [3]
  73. 73.0 73.1 Vineyard, Jennifer. "Beyonce: Behind The B'Day Videos 1". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  74. MTV News Staff (June 8, 2006). "For The Record: Quick News On Beyonce, Madonna, Michael Jackson, Taylor Hicks, JC Chasez, Beth Orton, Slayer & More". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-11.
  75. Holsey, Steve (February 27, 2008). "Born to entertain". Michigan Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  76. Jones, Alice (27 May 2009). "Beyoncé, 02 Arena, London:Diva who answers the call of booty". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2009-05-23.
  77. Ratliff, Ben (June 22, 2009). "Flash, Concepts and, Yes, Songs". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-05-23.
  78. Harris, Renee Michelle (July 3, 2009). "Beyonce Wows Crowd at BankAtlantic Center". South Florida Times. สืบค้นเมื่อ 2009-07-03.
  79. Schwartz, Lorraine (July 3, 2009). "Concert Report: Beyoncé at Madison Square Garden". The Examiner. สืบค้นเมื่อ 2009-07-03.
  80. Hinds, Kadidja. "Work Your Assets Like Beyoncé!". Black Entertainment Television. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  81. "Change of Scenery for Beyonce". The New York Times. October 2, 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  82. "Beyoncé Knowles". Glamour. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-04-05.
  83. "Beyonce wearing one of my dresses is harmony". Times Online. August 8, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-05.
  84. Goldsmith, Belinda (September 13, 2007). "Beyonce tops fashion list". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-24. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
  85. "Book Excerpt: Destiny's Style". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  86. "Beyoncé Knowles: Biography - Part 2". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-01.
  87. Dennehy, Luke (February 20, 2007). "Beyonce's ad fires up critics". News.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
  88. Vocick, Simon. "Beyonce on Larry King". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-27. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  89. แม่แบบ:***Flawless (feat. Chimamanda Ngozi Adichie)
  90. "Look who's coming to town". The Manila Times. October 10, 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-04-10.
  91. "On top".
  92. "Keshia Chante". Much Music. CTV Globe Media. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
  93. Saldaña, Hector (2007-07-16). "'American Idol' singers get ready for performance". MySa.com. San Antonio Express-News. สืบค้นเมื่อ 2008-04-24.
  94. Erlewine, Stephen Thomas. "Katharine McPhee: Album Review". Allmusic. Macrovision Company. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  95. Moss, Corey (2006-09-27). "Kelly Rowland Scraps Sappy Story, Picks Up Snoop". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-14. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  96. "biography". โคลัมเบีย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-21. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
  97. "R&B stars Destiny's Child Split". BBC. 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  98. "Beyonce Offers Fans Exclusive Backstage Access to Meet the Superstar and Front Row Seats". April 12, 2009.
  99. "Did You See This?! Britney, Beyoncé, Jonas Brothers And More!". March 2, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-28. สืบค้นเมื่อ 2009-07-31.
  100. "Definitive 200".
  101. "Beyonce to get wax figure at Madame Tussauds". March 9, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-15. สืบค้นเมื่อ 2009-07-31.
  102. House of Deréon เก็บถาวร 2009-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sojones.com
  103. "Pepsi FAQs". Pepsi. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  104. Destiny's Child star Beyonce Knowles signs for Pepsi brandrepublic.com
  105. Jeckell, Barry (January 23, 2004). "Pop Stars Clash in U.K. Pepsi Ad". Reuters. Yahoo. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  106. "For The Record: Quick News On Britney Spears, Paris Hilton, Sum 41, Lil' Kim, Gerald Levert, Morrissey & More". MTV News. February 28, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-19. สืบค้นเมื่อ April 3, 2008.
  107. Susman, Gary (April 15, 2003). "Bills, Bills, Bills". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-03. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  108. Jessen, Monique; และคณะ (June 22, 2004). "Beyoncé Launches New True Star Fragrance". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
  109. Givhan, Robin (May 18, 2007). "The Aura of a Pinup: Beyoncé's Winning Image". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  110. "#4 Beyoncé Knowles". Forbes. June 3, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-04.
  111. The Survivor Foundation findarticles.com
  112. Hall of Fame - Miami Children Hospital Foundation เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนMCHF.org
  113. show your helping hand help fight hunger showyourhelpinghand.com
  114. "Beyoncé Knowles: Biography - Part 1" เก็บถาวร 2007-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPeople.com
  115. Beyonce Shoots Down Jay-Z Marriage Rumors In Vanity Fair Interview เก็บถาวร 2008-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  116. Jay-Z And Beyonce Are Getting Married ... 'One Day Soon,' Jay Says เก็บถาวร 2008-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  117. Jay-Z And Beyonce Are Still Staying Quiet About Their Reported Wedding ... But Why? เก็บถาวร 2008-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV News
  118. "Beyonce's ring revealed!" นิตยสาร People 70

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]