แบล็กอีสคิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบล็กอีสคิง
ใบปิดประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
กำกับ
  • บียอนเซ่
  • กำกับร่วม
  • ควาซี ฟอร์ดเจอร์
  • ผู้กำกับ
  • เอ็มมานูเอล อัดจิ
  • บิตซ์ บาซาวูเล
  • อิบรา อาเก
  • เจนน์ นิกิรู
  • เจค นาวา
  • ปิแอร์ เดบุสแชร์
  • ดิคาอิล ริมมาช
  • เดฟ โอโบโร
เขียนบท
  • บียอนเซ่[1]
  • อีร์ซา ดาลีย์-วอร์ด[1]
  • โคลเวอร์ โฮบ[1]
  • แอนดรูว์ มอร์โรว์[1]
สร้างจาก
นักแสดงนำ
  • บียอนเซ่
  • โฟลาโจมี อาคินมูเรเล
  • คอนนี ชิอูเมะ
  • ญานิโซ เอ็นซิเคเลโล เดเซเดซ
  • นันดี มาดิดา
  • วอร์เรน มาเซโมลา
  • ซิบูซิโซ เอ็มเบเจ
  • ฟูมิ โอเดเด
  • สตีเฟน โอโจ
  • แมรี ทวาลา
ดนตรีประกอบ
  • เจมส์ วิลเลียม เบลดส์[1]
  • เมโล-เอ็กซ์[1]
  • ดีเร็ก ดิกซี[1]
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายดิสนีย์+[1]
วันฉาย31 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 (2020-07-31)
ความยาว85 นาที[1]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ

แบล็กอีสคิง (อังกฤษ: Black Is King) เป็นภาพยนตร์เพลงอเมริกันและอัลบั้มวิชวลปี ค.ศ. 2020 กำกับ เขียนบท และอำนวยการสร้างโดยนักร้องชาวอเมริกัน บียอนเซ่[4] เป็นวิชวลที่แสดงพร้อมกับอัลบั้มเพลงในปี ค.ศ. 2019 เดอะไลออนคิง: เดอะกิฟต์ ซึ่งดูแลกำกับโดยบียอนเซ่สำหรับประกอบภาพยนตร์ เดอะไลออนคิง (2019)[5] เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของเจ้าชายน้อยแอฟริกัน (โฟลาโจมี อาคินมูเรเล) ที่ถูกเนรเทศออกจากอาณาจักรหลังจากการตายของบิดา เมื่อเขาเติบโตเป็นชายหนุ่ม (นียานิโซ เดเซดเซ) เขาต้องผ่านการเดินทางแห่งอัตลักษณ์ของตนเอง โดยได้รับจากคำแนะนำของบรรพบุรุษ (บียอนเซ่) ความรักในวัยเด็ก (นันดี มาดิดา) และจิตใต้สำนึกของตนเอง (สตีเฟน โอโจ) เพื่อทวงบัลลังก์ของเขากลับคืนมา การเดินทางของเจ้าชายเป็นเหมือนสัญลักษณ์แทนการเดินทางของชาวแอฟริกันพลัดถิ่น ในการค้นพบ การเรียกคืน และการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมและมรดกของพวกเขา ซึ่งสะท้อนด้วยการรวมบทกวีคำพูดที่เน้นคำถามเกี่ยวกับตัวตนของคนผิวดำ

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการผลิตนานกว่าหนึ่งปี ในหกประเทศ กับสามทวีป บียอนเซ่เปิดรับสมัครนักแสดงและทีมงานที่หลากหลาย และเพื่อมอบโอกาสให้กับผู้มีความสามารถใหม่ ๆ ในด้านดนตรี การเต้นรำ เครื่องแต่งกาย ทรงผม และฉากได้รับการออกแบบมาเพื่อแสดงความงามและความรุ่มรวยของวัฒนธรรมแอฟริกาและการพลัดถิ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายทั่วโลกทางดิสนีย์+ ในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 และออกอากาศในวันรุ่งขึ้นทั่วซับซาฮาราแอฟริกา ทาง M-Net และ Canal+ Afrique และในทั่วตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ทาง OSN ในเพลง "Black Parade" เป็นเวอร์ชันขยายสำหรับเครดิตของภาพยนตร์เรื่องนี้ และรวมอยู่ใน เดอะกิฟต์ รุ่นดีลักซ์ที่วางจำหน่ายพร้อมกับภาพยนตร์เรื่องนี้

นักแสดง[แก้]

  • บียอนเซ่ รับบทเป็น วิญญาณนำทาง,[6] รูปมารดา,[7] และ/หรือ บรรพบุรุษ[8]
  • โฟลาโจมี อาคินมูเรเล รับบทเป็น เจ้าชายในวัยเด็ก, แรงบันดาลใจจากซิมบ้า
  • ญานิโซ เอ็นซิเคเลโล่ เดเซเดซ รับบทเป็น เจ้าชายในวัยผู้ใหญ่, แรงบันดาลใจจากซิมบ้า
  • สตีเฟน โอโจ รับบทเป็น ชายสีน้ำเงิน, เป็นตัวแทนของจิตใต้สำนึกของเจ้าชาย[9]
  • นันดี มาดิดา รับบทเป็น หญิงที่เป็นความสนใจของเจ้าชาย, แรงบันดาลใจจากนาลา
  • วอร์เรน มาเซโมลา รับบทเป็น จอมวายร้ายที่ยึดครองอาณาจักร, แรงบันดาลใจจากสการ์
  • ซิบูซิโซ เอ็มเบเจ รับบทเป็น พ่อของเจ้าชาย, แรงบันดาลใจจากมูฟาซา
  • คอนนี ชีอูเม รับบทเป็น มารดาของเจ้าชาย, แรงบันดาลใจจากซาราบี
  • แมรี ทวาลา รับบทเป็น ผู้สูงอายุ, แรงบันดาลใจจากราฟิกิ[7] ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นบทบาทสุดท้ายของทวาลา และได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่เธอเสียชีวิต[10]
  • ฟูมี โอเดดี

รับเชิญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 DeFore, John (July 31, 2020). "'Black Is King': Film Review". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
  2. Spangler, Todd (June 28, 2020). "Beyoncé Visual Album 'Black Is King' Coming to Disney Plus". Variety. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  3. Moreau, Jordan (July 19, 2020). "Beyoncé Releases Trailer for 'Black Is King' Visual Album on Disney Plus (Watch)". Variety. สืบค้นเมื่อ July 31, 2020.
  4. "Review: Beyoncé's 'Black Is King' reimagines 'The Lion King' as abstract tribute to Black power, beauty and wisdom". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2020-08-16.
  5. Robinson, Zandria Felice (2020-08-15). "Beyoncé's Search for Home Continues on 'Black Is King'". The Atlantic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
  6. Crumpton, Taylor (2020-08-04). "Beyoncé, the African Diaspora, and the Baptism of 'Black Is King'". The Ringer (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
  7. 7.0 7.1 Ahlgrim, Callie. "Beyoncé's 'Black Is King' is packed with gorgeous visuals, cameos, and pan-African details. Here's everything you may have missed". Insider. สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
  8. Obie, Brooke (2020-08-11). "Beyoncé's 'Black Is King' Is This Year's Most Powerful Album About Masculinity". Esquire (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
  9. Carter, Terry Jr. (August 7, 2020). "Papi Ojo Aka "The Blue Man" From Beyoncé's "Black Is King" Revealed The Meaning Behind His Character". BuzzFeed (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
  10. Neophytou, Nadia (2020-11-25). "From Beyoncé to the Oscars: Mary Twala, Africa's queen of cinema". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]