ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน
จำนวนชนพื้นเมืองอเมริกันในแต่ละเทศมณฑลของ 50 รัฐ เขตโคลัมเบีย และปวยร์โตรีโกจากสำมะโนสหรัฐ ค.ศ. 2020
ประชากรทั้งหมด
ชนพื้นเมืองอเมริกันอินเดียนและอะแลสกา (สำมะโน ค.ศ. 2020)[1][2]
เผ่าเดียว: ลงทะเบียน 3,727,135 ล้านคน
รวมกับชาติพันธุ์อื่น: 5,938,923 คน
รวม: 9,666,058 คน ~ 2.9% ของประชากรสหรัฐทั้งหมด
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฝั่งตะวันตก; ยังมีชุมชนขนาดเล็กในสหรัฐฝั่งตะวันออก
ภาษา
อังกฤษ
กลุ่มภาษาอเมริกันพื้นเมือง
(เช่น นาวาโฮ, Central Alaskan Yup'ik, ทลินกิต, ไฮดา, ดาโกตา, เซนิกา, ลาโกตา, แอพะชีตะวันตก, เคเรส, เชโรกี, ช็อกทอว์, ครีก, Kiowa, โคแมนชี, Osage, ซูนิ, พอว์นี, ชอว์นี, Winnebago, โอจิบเว, ครี, O'odham[3])
สเปน
พิดจินพื้นเมือง (สูญหาย)
ฝรั่งเศส
รัสเซีย (บางส่วนในรัฐอะแลสกา)
ศาสนา

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: Native Americans in the United States) เป็นวลีที่หมายถึงชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาจากทวีปอเมริกาเหนือที่รวมแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของอะแลสกาและฮาวาย ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันหลายกลุ่มที่เป็นชนเผ่าอินเดียน (Indian tribe) แต่เป็นคำที่ถือว่าไม่สุภาพต่อคนหลายคนที่รวมทั้งรัสเซลล์ มีนส์นักปฏิกิริยาของขบวนการอเมริกันอินเดียน (American Indian Movement)[4] ตามความเห็นของมีนส์ “ในการสัมนานานาชาติของอินเดียนจากทวีปอเมริกาที่กรุงเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ที่สหประชาชาติ ใน ค.ศ. 1977 เราเห็นพ้องกันว่าเราจะใช้คำว่า “อเมริกันอินเดียน” ผู้อื่นที่สนับสนุนการใช้คำว่า “Native American” (ชนพื้นเมืองอเมริกัน) ไม่เห็นความสำคัญของการใช้คำและอ้างว่า “การตกลงเป็นเอกฉันท์มิได้เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกที่เป็นชนพื้นเมืองเกี่ยวกับชื่อที่ต้องการที่จะใช้” “ชนพื้นเมืองอเมริกัน” บางครั้งก็เรียกว่า “อินเดียน” “อเมริกันอินเดียน” “แอบบอริจินัลอเมริกัน” “อเมรินเดียน” “อเมรินด์” “ชนผิวสี” (Colored)[5][6] “อเมริกันแรก” “ชนพื้นเมือง” “อเมริกันดั้งเดิม” “อินเดียนแดง” และ “คนผิวแดง”

การยึดอเมริกาเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปนำมาซึ่งความขัดแย้งและการปรับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมของโลกเก่า และ โลกใหม่เป็นเวลาหลายร้อยปี บันทึกตามลายลักษณ์อักษรทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับชนพื้นเมืองเขียนโดยชาวยุโรปหลังจากที่ได้พบกันเป็นครั้งแรก สังคมของชาวพื้นเมืองอเมริกันดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์และเกษตรกรรมแบบยังชีพ (subsistence) ซึ่งเป็นคุณค่าที่แตกต่างจากระบบคุณค่าของชาวยุโรปที่เข้ามาจับจองดินแดน ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนสองกลุ่มและการสับเปลี่ยนความเป็นพันธมิตรระหว่างกันต่อกันภายในแต่ละกลุ่มนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่าง ๆ และความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น

ประมาณกันประชากรพรี-โคลัมเบียของที่ที่ปัจจุบันคือสหรัฐอเมริกามีระหว่าง 1 ถึง 18 ล้านคน[7][8]

หลังจากอาณานิคมก่อการปฏิวัติต่อเกรตบริเตนได้สำเร็จและก่อตัวขึ้นเป็นสหรัฐอเมริกาแล้วปรัชญาเทพลิขิต (Manifest destiny) ก็กลายเป็นส่วนสำคัญของขบวนการชาตินิยมอเมริกัน ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จอร์จ วอชิงตัน และ เฮนรี น็อกซ์เกิดความคิดที่จะสร้าง “ความมีวัฒนธรรม” ให้แก่ชาวพื้นเมืองอเมริกันโดยการเตรียมการมอบสิทธิการเป็นพลเมืองอเมริกันให้[9][10][11][12][13] การกลืนชาติ (Assimilation) (ไม่ว่าจะด้วยความเต็มใจเช่นในกรณีของเผ่าชอคทอว์[14][15] หรือถูกบังคับ) กลายมาเป็นนโยบายหลักของคณะผู้บริหารสหรัฐอเมริกาต่อมา เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวพื้นเมืองอเมริกันทางตอนใต้สุดของสหรัฐอเมริกาถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานออกจากที่ตั้งถิ่นฐานเดิมเพื่อปล่อยที่ดินให้กับการขยายตัวของสหรัฐอเมริกา เมื่อมาถึงสงครามกลางเมืองอเมริกา ชาติชนพื้นเมืองอเมริกันหลายชาติก็ถูกอพยพไปอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี การโยกย้ายก็มิได้เป็นไปอย่างสงบเสมอไปการต่อต้านที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าสงครามอินเดียนดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1890

ชาวพื้นเมืองอเมริกันในปัจจุบันมีความสัมพันธ์ที่เป็นเอกลักษณ์กับสหรัฐอเมริกา ชาวพื้นเมืองอเมริกันอาจจะเป็นสมาชิกของชาติ เผ่า หรือกลุ่มชาวพื้นเมืองอเมริกันผู้มีฐานะเป็นรัฐที่เป็นอิสระจากรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา สังคมและวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองอเมริกันยังคงมีความรุ่งเรืองอยู่ท่ามกลางประชาชนอเมริกันที่มีเชื้อสายอื่น ๆ เช่นชาวแอฟริกัน ชาวเอเชีย ชาวตะวันออกกลาง และ ชาวยุโรป ชาวพื้นเมืองอเมริกันที่ยังไม่มีสัญชาติอเมริกันก็มาได้รับสัญชาติตามรัฐบัญญัติว่าด้วยสัญชาติอเมริกันสำหรับชาวอินเดียน ค.ศ. 1924 (Indian Citizenship Act of 1924) ที่ได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Overview of 2020 AIAN Redistricting Data: 2020" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ January 16, 2022.
  2. "Race and Ethnicity in the United States: 2010 Census and 2020 Census". สืบค้นเมื่อ January 16, 2022.
  3. Siebens, J & T Julian. Native North American Languages Spoken at Home in the United States and Puerto Rico: 2006–2010. United States Census Bureau. December 2011.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 2009-08-21.
  5. W. David Baird; และคณะ (2009-01-05). ""We are all Americans", Native Americans in the Civil War". Native Americans.com. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  6. Jack Larkin (2003). ""OSV Documents - Historical Background on People of Color in Rural New England in the Early 19th Century". Old Sturbridge Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 2009-06-12.
  7. "The Native Peoples of North America By Bruce E. Johansen". Rutgers University Press. สืบค้นเมื่อ June 28, 2009.
  8. "Native American". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ June 28, 2009.
  9. Perdue, Theda (2003). "Chapter 2 "Both White and Red"". Mixed Blood Indians: Racial Construction in the Early South. The University of Georgia Press. p. 51. ISBN 978-0-8203-2731-0.
  10. Remini, Robert (1998) [1977]. "The Reform Begins". Andrew Jackson. History Book Club. p. 201. ISBN 978-0-06-080132-8.
  11. Remini, Robert (1998) [1977]. "Brothers, Listen ... You Must Submit". Andrew Jackson. History Book Club. p. 258. ISBN 978-0-06-080132-8.
  12. Miller, Eric (1994). "George Washington and Indians, Washington and the Northwest War, Part One". Eric Miller. สืบค้นเมื่อ May 2, 2008.
  13. Jewett, Tom (1996–2009). "Thomas Jefferson's Views Concerning Native Americans". Archiving America. สืบค้นเมื่อ February 17, 2009.
  14. "An Indian Candidate for Congress". Christian Mirror and N.H. Observer, Shirley, Hyde & Co. July 15, 1830.
  15. Kappler, Charles (1904). "Indian Affairs: Laws and Treaties Vol. II, Treaties". Government Printing Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2008. สืบค้นเมื่อ April 16, 2008.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]