สี่รัฐมาลัย
สี่รัฐมาลัย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กลุ่มรัฐ | |||||||||
พ.ศ. 2486 – 2488 | |||||||||
สี่รัฐมาลัยในพื้นที่สีแดง | |||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่ 2 | ||||||||
• ญี่ปุ่นส่งมอบดินแดนให้ | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486 | ||||||||
• คืนดินแดนให้สหราชอาณาจักร | 2 กันยายน พ.ศ. 2488 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | มาเลเซีย |
สี่รัฐมาลัย หรือสะกดว่า 4 รัถมาลัย[1] คืออดีตเขตการปกครองหนึ่งที่เคยเป็นของประเทศไทย อันประกอบด้วยรัฐกลันตัน, ตรังกานู, ไทรบุรี และปะลิส ซึ่งปัจจุบันทั้งหมดตั้งอยู่ทางตอนเหนือในอธิปไตยของประเทศมาเลเซีย
เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น ไทยได้รับดินแดนส่วนนี้คืนจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ได้ลงนามยอมรับว่าดินแดนส่วนนี้เป็นของไทย (ส่งมอบวันที่ 20 สิงหาคม) รัฐมาลัยที่อังกฤษเคยแย่งชิงไปจากไทยจึงตกมาอยู่ในครอบครองของไทยอีกครั้ง รัฐบาลไทยได้ส่งข้าหลวงใหญ่ทหารไปประจำทุกรัฐในสี่รัฐมาลัย[2] โดยขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด[1]
หลังสิ้นสุดสงครามไทยต้องส่งมอบดินแดนส่วนนี้คืนอังกฤษ โดยข้าหลวงใหญ่ประจำสี่รัฐมาลัยได้ทำพิธีมอบสี่รัฐมาลัยคืนให้กับฝ่ายทหารอังกฤษ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2488[3][4]
1 มกราคม พ.ศ. 2489 มีตกลงทำสัญญาที่เรียกว่าความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร ประกอบด้วยสัญญา 24 ข้อ เน้นเรื่องการถอนกำลังทหารออกจากสหรัฐไทยเดิมและสี่รัฐมาลัย การคืนดินแดนให้อังกฤษและไทยต้องส่งข้าวจำนวน 1.5 ล้านตันให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า การครอบครองสี่รัฐมาลัยของไทยเป็นอันสิ้นสุดลง
การบริหารสี่รัฐมาลัย
[แก้]หน่วยงานฝ่ายบริหารของไทยในพื้นที่สี่รัฐมาลัยมีขนาดค่อนข้างเล็ก และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบทั้งด้านการทหาร การรักษาความสงบฝ่ายพลเรือน และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงานฝ่ายไทยนั้นเป็นภาระของข้าราชการพลเรือน โดยอยู่ภายใต้การกำกับของทางฝ่ายทหารอีกชั้นหนึ่ง
รัฐไทรบุรี
[แก้]ข้าหลวงญี่ปุ่น
[แก้]- 2484 – มีนาคม 2485 โอจามะ (Ojama)
- มีนาคม 2485 – 18 ตุลาคม 2486 เซจิ ซูเกงาวะ (Seiji Sukegawa)
ข้าหลวงไทยฝ่ายทหาร
[แก้]- 18 ตุลาคม 2486 – 2488? ร้อยตำรวจเอก ปราโมทย์ จงเจริญ (อดีตกงสุลไทยประจำเมืองปีนัง)
ข้าหลวงใหญ่ฝ่ายทหารของไทย
[แก้]รับผิดชอบดูแลรัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู[5]
- 20 สิงหาคม 2486 – ตุลาคม 2486 พันเอก พระสราภัยสฤษฏิการ (กระมล โชติกเสถียร)
- 18 ตุลาคม 2486 – 2488? พันเอก พระสราภัยสฤษฏิการ (กระมล โชติกเสถียร) (รับมอบดินแดนจากญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ)
รัฐกลันตัน
[แก้]ข้าหลวงญี่ปุ่น
[แก้]- 2484 – 2486 ยาซูชิ ซูนากาวัง (Yasushi Sunakawan)
- 2486 – 20 สิงหาคม 2486 คิกูระ ฟูจิซาวะ (Kikura Fujisawa)
ข้าหลวงไทยฝ่ายทหาร
[แก้]- 2486 – 2487 จรูญ ชัยชาญ
- 2487 – 2488 ธาริน ระวังภู่
รัฐตรังกานู
[แก้]ข้าหลวงญี่ปุ่น
[แก้]- ธันวาคม 2484 – 18 มีนาคม 2485 ไม่มีข้อมูล
- 18 มีนาคม 2485 – กรกฎาคม 2486 คูจิ มานาบุ (Kuji Manabu)
ข้าหลวงไทยฝ่ายทหาร
[แก้]- 20 สิงหาคม 2486 – สิงหาคม 2488 ประยูร รัตนกิจ
รัฐปะลิส
[แก้]ข้าหลวงญี่ปุ่น
[แก้]- 2484 – 2485 โอยามะ คิกันโจ (Ohyama Kikancho)
- มีนาคม 2485 – 20 สิงหาคม 2486 เซจิ ซูเกงาวะ
ข้าหลวงไทยฝ่ายทหาร
[แก้]- 20 สิงหาคม 2486 – 8 กันยายน 2488 ชาญ ณ สงคราม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาสกองบันชาการทหานสูงสุด เรื่องการจัดการปกครองดินแดน 4 รัถมาลัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (68ง): 3921. 21 ธันวาคม พ.ศ. 2486.
- ↑ กรมยุทธศึกษาทหาร. ประวัติศาสตร์การสงครามของไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา. กรุงเทพฯ:กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม, 2540, หน้า 216-218
- ↑ "เรื่องไทยในอดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-15.
- ↑ กรมยุทธศึกษาทหาร. ประวัติศาสตร์การสงครามของไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา. กรุงเทพฯ:กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม, 2540, หน้า 337-338
- ↑ "Malaysian States". www.worldstatesmen.org.
ดูเพิ่ม
[แก้]- สี่รัฐมาลัย
- การยึดครองทางทหารของไทย
- หน่วยการบริหารของประเทศไทยในอดีต
- ประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย
- ความสัมพันธ์ไทย–มาเลเซีย
- เขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ประวัติศาสตร์การทหารของไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
- บริติชมาลายาในสงครามโลกครั้งที่สอง
- บริติชมาลายา
- ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2486
- สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488