ภาษาตูวาลู
ภาษาตูวาลู | |
---|---|
Te Ggana Tuuvalu | |
ประเทศที่มีการพูด | ตูวาลู, ฟีจี, คิริบาส, นาอูรู, นิวซีแลนด์ |
จำนวนผู้พูด | 11,000 ในตูวาลู (2015)[1] 2,000 ในนิวซีแลนด์ (การสำรวจสำมะโนประชากร 2013) |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
ระบบการเขียน | อักษรละติน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ตูวาลู |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | tvl |
ISO 639-3 | tvl |
ภาษาตูวาลู (ตูวาลู: Te Ggana Tuuvalu) เป็นภาษากลุ่มพอลินีเชียภาษาหนึ่งที่พูดกันในประเทศตูวาลู มีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยกับภาษากลุ่มพอลินีเชียอื่น ๆ ทั้งหมด (เช่น ภาษาฮาวาย ภาษามาวรี ภาษาตาฮีตี ภาษาซามัว ภาษาโตเกเลา ภาษาตองงา) และมีความเกี่ยวข้องมากที่สุดกับภาษาที่พูดกันในพื้นที่วัฒนธรรมเฉพาะพอลินีเชียในภูมิภาคไมโครนีเชียและภูมิภาคเมลานีเชียตอนเหนือและตอนกลาง ภาษาตูวาลูยืมคำจำนวนมากจากภาษาซามัวซึ่งเป็นภาษาที่เหล่ามิชชันนารีคริสเตียนใช้ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[2][3]
ตูวาลูมีจำนวนประชากรประมาณ 10,645 คน (จากสำมะโนประชากรฉบับย่อ ค.ศ. 2017)[4] มีผู้พูดภาษาตูวาลูมากกว่า 13,000 คนทั่วโลก ใน ค.ศ. 2015 มีการประมาณการว่ามีชาวตูวาลูมากกว่า 3,500 คนอาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์ ประมาณครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นเกิดในนิวซีแลนด์ และร้อยละ 65 ของชุมชนตูวาลูในนิวซีแลนด์สามารถพูดภาษาตูวาลูได้[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษาตูวาลู ที่ Ethnologue (25th ed., 2022)
- ↑ "Tuvaluan (Te 'gana Tūvalu)". Omniglot. สืบค้นเมื่อ 6 November 2012.
- ↑ Munro, D. (1996). "D. Munro & A. Thornley (eds.) The Covenant Makers: Islander Missionaries in the Pacific". Samoan Pastors in Tuvalu, 1865-1899. Suva, Fiji, Pacific Theological College and the University of the South Pacific. pp. 124–157.
- ↑ "Tuvalu: Millennium Development Goal Acceleration Framework – Improving Quality of Education" (PDF). Ministry of Education and Sports, and Ministry of Finance and Economic Development from the Government of Tuvalu; and the United Nations System in the Pacific Islands. April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-13. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
- ↑ "Tuvalu Language Week kicks off today". MediaWorks TV (TV3). 27 September 2015. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.