ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอบางซ้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.บางซ้าย)
อำเภอบางซ้าย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Sai
คำขวัญ: 
บางซ้ายถิ่นทุ่งทอง เรืองรองพันธุ์ไม้ผล
ชีวิตริมสายชล มากล้นแหล่งพันธุ์ปลา
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางซ้าย
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางซ้าย
พิกัด: 14°20′5″N 100°51′3″E / 14.33472°N 100.85083°E / 14.33472; 100.85083
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด150.7 ตร.กม. (58.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด18,950 คน
 • ความหนาแน่น125.75 คน/ตร.กม. (325.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13270
รหัสภูมิศาสตร์1413
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางซ้าย เลขที่ 72
หมู่ที่ 1 ตำบลบางซ้าย อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13270
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางซ้าย เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมพื้นที่อำเภอบางซ้ายเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเสนา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2491 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้ยกฐานะตำบลบางซ้ายนอกขึ้นเป็นกิ่งอำเภอบางซ้าย มีเขตการปกครองครอบคลุมตำบลบางซ้ายนอก ตำบลบางซ้ายใน ตำบลปลายกลัดนอก และตำบลเต่าเล่า ขึ้นกับอำเภอเสนา[1] ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ยกฐานะกิ่งอำเภอบางซ้ายขึ้นเป็นอำเภอบางซ้ายเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2501 พร้อมกับกิ่งอำเภออื่นอีก 26 แห่ง[2] พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอบางซ้ายเป็นทุ่งนา อาชีพส่วนใหญ่ของคนอำเภอบางซ้าย คือเกษตรกรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบางซ้ายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

พื้นที่อำเภอบางซ้ายแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 6 ตำบล 53 หมู่บ้าน

1. บางซ้าย (Bang Sai)
2. แก้วฟ้า (Kaeo Fa)
3. เต่าเล่า (Tao Lao)
4. ปลายกลัด (Plai Klat)
5. เทพมงคล (Thep Mongkhon)
6. วังพัฒนา (Wang Phatthana)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบางซ้าย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางซ้าย ตำบลแก้วฟ้า และตำบลเต่าเล่า
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางซ้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางซ้ายและตำบลแก้วฟ้า (นอกเขตเทศบาลตำบลบางซ้าย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปลายกลัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลายกลัดทั้งตำบลและตำบลเต่าเล่า (นอกเขตเทศบาลตำบลบางซ้าย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพมงคลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังพัฒนาทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
  • วัดบางซ้ายใน ตั้งอยู่ที่ ม.4 บ้านบางซ้าย ตำบลเต่าเล่า บางซ้าย พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่อดีตเจ้าอาวาสหลวงปู่ยวงเทพเจ้าแห่งความแคล้วคลาด หลวงพ่อไวย์เทพเจ้าแห่งความเมตตา และหลวงปู่หริง เทพเจ้าแห่งความเอื้อเฟือ มีคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หนไหลผ่านหน้าวัด มีประเพณีก่อเจดีย์ทราย กีฬาพื้นบ้านในวันสงกรานต์ ภูมิภาพสวยงาม น่าเดินทางมาพักผ่อนและสักการะเกจิอาจารย์ดังในอดีต
  • วัดบางซ้ายนอก ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านเต่าเล่า หมู่ที่ 8 ตำบลเต่าเล่า อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินเนื้อที่ตั้งวัด 11 ไร่ 1 งาน 14 ตารางวาพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน วัดบางซ้ายนอก สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2425 ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดมีนามว่า"ฉิม"ชาวบ้านจึงมักเรียกว่า"วัดตาฉิม"บางคนเรียก"วัดปลายบาง"เพราะวัดนี้ตั้งอยู่สุดเขต ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถัดเข้ามาจะเป็นวัดบางซ้ายใน วัดนี้อยู่ด้านนอกไกลออกไปจึงได้นามว่า"วัดบางซ้ายนอก" ปูชนียวัตถุที่สำคัญได้แก่ พระประธานในอุโบสถ เจดีย์บรรจุพระธรรม รูปปั้นหลวงปู่รอด (พระครูอดุลวุฒิกร)
  • ตลาดบางซ้าย ตลาดใหญ่ประจำอำเภอบางซ้าย มีอาหาร สินค้า มากมาย พร้อมร้านค้าสะดวกซื้อ

ชาวอำเภอบางซ้ายที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 9 ธันวาคม 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 22 กรกฎาคม 2501. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]