ยุทธการที่คาร์เคมิช

พิกัด: 36°49′47″N 38°00′54″E / 36.8297°N 38.0150°E / 36.8297; 38.0150
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่คาร์เคมิช
ส่วนหนึ่งของ สงครามอียิปต์–บาบิโลเนีย

ยุทธการที่คาร์เคมิชในภาพวาดจาก Story of the Nations (1900) ของ Hutchinson
วันที่ป. 605 ปีก่อน ค.ศ.
สถานที่
ผล

บาบิโลเนียและมีดส์ชนะ

คู่สงคราม
อียิปต์
ส่วนหลงเหลือของอดีตกองทัพอัสซีเรียบางส่วน
บาบิโลเนีย
มีดส์, ชาวเปอร์เซีย, ชาวซิท (?)[1][2]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฟาโรห์เนโชที่ 2 พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2
Cyaxares(?)
ความสูญเสีย
มาก น้อย

ยุทธการที่คาร์เคมิช (อังกฤษ: Battle of Carchemish) เป็นการสู้รบที่เกิดขึ้นประมาณ 605 ปีก่อน ค.ศ.[3][4][5] ระหว่างกองทัพพันธมิตรอียิปต์กับส่วนหลงเหลือของอดีตกองทัพจักรวรรดิอัสซีเรียต่อกองทัพบาบิโลเนียที่เป็นพันธมิตรกับมีดส์, เปอร์เซีย และชาวซิท ในช่วงสงคราม เนบูคัดเนซซาร์เป็นผู้บัญชาการทหารและแนโบโพแลสซาร์ยังเป็นกษัตริย์แห่งบาบิโลน หลังสงคราม เนบูคัดเนซซาร์จึงขึ้นเป็นกษัตริย์[6]

ภูมิหลัง[แก้]

หลังนิเนเวห์ เมืองหลวงของอัสซีเรีย ถูกกองทัพมีดส์ ซิท บาบิโลเนีย และพันธมิตรเข้าทำลายใน 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช ฝ่ายอัสซีเรียจึงย่ายเมืองหลวงไปยังฮัรราน เมื่อฮัรรานถูกฝ่ายพันธมิตรยึดครองใน 609 ปีก่อนคริสต์ศักราช[7] ทำให้จักรวรรดิอัสซีเรียล่มสลาย ส่วนที่เหลือของกองทัพอัสซีเรียจึงดข้าไปยังคาร์เคมิช นครในเขตการปกครองของอียิปต์ริมแม่น้ำยูเฟรติส อียิปต์ อดีตรัฐบริวารของอัสซีเรีย จึงเป็นพันธมิตรกับอาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 กษัตริย์อัสซีเรีย และเดินทัพไปช่วยต่อสู้กับบาบิโลเนียใน 609 ปีก่อนคริสต์ศักราช[8]

กองทัพอียิปต์ของฟาโรห์เนโชที่ 2 ถูกรั้งทัพที่เมกิดโดโดยกองทัพของพระเจ้าโยสิยาห์แห่งยูดาห์ โยสิยาห์ถูกสังหารและกองทัพของพระองค์พ่ายแพ้ในสงครามนี้[9]

กองทัพอียิปต์และอัสซีเรียข้ามแม่น้ำยูเฟรติสและล้อมฮัรราน แต่ล้มเหลว จึงล่าถอยไปยังอัสซีเรียตะวันตกเฉียงเหนือ (ปัจจุบันคือซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ)

สงคราม[แก้]

กองทัพอียิปต์เผชิญหน้ากับกองทัพบาบิโลเนียและมีดส์ที่นำโดยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 ที่คาร์เรมิช ทำให้ทั้งกองทัพอียิปต์และอัสซีเรียถูกทำลาย อัสซีเรียสูญเสียอำนาจทั้งหมด อียิปต์ถอนทัพกลับและสูญเสียอำนาจในตะวันออกใกล้โบราณ ส่วนบาบิโลเนียเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดหลังจาก 605 ปีก่อนคริสต์ศักราช[10]

บันทึก[แก้]

ยุทธการนี้มีปรากฏในพงศาวดารพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2[11] และในพระคัมภีร์ไบเบิล ส่วนของหนังสือเยเรมีย์[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Neciyev, Elnur. "The Cambridge History of Iran. Volume 2: The Median And Achaemenian Periods. edited by Ilya Gershevitch. Cambridge University Press, 1985. 929 pp" (ภาษาอังกฤษ): 124. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. Encyclopedia Iranica "After the fall of Ḥarran, the strategic center of Assyrian resistance was moved to Carchemish, a city on the Upper Euphrates, which at that time belonged to Egypt. Carchemish was captured by the Babylonians in 605 BCE. It is not clear whether the Medes also participated in this final defeat of the Assyrians"
  3. Horn, Siegfried H (1967). "THE BABYLONIAN CHRONICLE AND THE ANCIENT CALENDAR OF THE KINGDOM OF JUDAH". Andrews University Seminary Studies (5/1967): 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  4. Wiseman, D. J. (1956). Chronicles of Chaldaean Kings (626-556 B.C.). British Museum: British Museum Publications, Ltd. p. 99.
  5. British Museum. "Cuneiform tablet with part of the Babylonian Chronicle (605-594 BC)". britishmuseum.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  6. Hill, Andrew; Walton, John (2009). A survey of the Old Testament (3rd ed.). Grand Rapids: Zondervan. p. 197. ISBN 9780310280958.
  7. Grant, R.G. (2005). Battle: A Visual Journey Through 5,000 Years of Combat. London: Dorling Kindersley. p. 18.
  8. Georges Roux, Ancient Iraq
  9. The Bible, 2 Kings 23:29-30, 2 Chronicles 35:20-23
  10. King, Philip J., 1993 Jeremiah: An Archaeological Companion, Westminster/John Knox Press p.22 [1]
  11. "Chronicle Concerning the Early Years of Nebuchadnezzar II. Retrieved July 18, 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2019. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.
  12. The Bible, Jeremiah 46:3–12

36°49′47″N 38°00′54″E / 36.8297°N 38.0150°E / 36.8297; 38.0150