วิเวก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิเวก ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก เป็นความสงัดกาย สงัดใจ และสงัดจากกิเลส

วิเวก 3[แก้]

  • กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่การอยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี การอยู่ในสถานที่ไม่วุ่นวายก็ดี
  • จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ หมายเอาจิตแห่งผู้มีสมาธิและสติ
  • อุปธิวิเวก ความสงัดจากกิเลส ได้แก่นิพพาน คือการระงับอุปธิทั้งปวง (หมายเอาผู้ฝึกฝนทางปัญญา จนเอาชนะกิเลส อนุสัยและสังโยชน์ลงได้

กายวิเวกนั้น บางทีพระพุทธเจ้าอาจไม่ได้สรรเสริญการอยู่ในป่าห่างไกลเพียงผู้เดียว เนื่องจาก ทรงห้ามพระอุบาลีเมื่อครั้งทูลขอเข้าไปในป่าเพียงผู้เดียว ทรงให้เหตุผลว่า การอยู่ป่าเพียงผู้เดียว มีโทษ2ประการ คือ 1.กลัวจนฟุ้งซ่าน 2.ไม่ประพฤติสำรวมเพราะไม่มีใครเห็น เนื่องจากพระองค์ทรงตั้งชุมชนสงฆ์ขึ้นมา เพื่อให้ช่วยเหลือกันเป็นกัลยาณมิตรกันในการบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีกัลยามิตรเลยมีแต่ปาปมิตร ทรงสรรเสริญการไปผู้เดียวดุจนอแรดประเสริฐกว่า ซึ่งในเรื่องนี้มีการสันนิษฐานว่า อาจเพราะทรงทราบว่าพระอุบาลีจะเป็นเอกทัคคะผู้ทรงพระวินัย จึงทรงห้ามเพื่อให้พระอุบาลีอยู่ท่ามกลางกลุ่มสงฆ์เพื่อให้เข้าใจหลักวินัย

จิตวิเวก หมายถึง ผู้ข่มระงับนิวรณ์ ด้วยอำนาจสมาธิมีฌานสมาบัติ เป็นต้น

อุปธิวิเวก หมายถึง ผู้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน

นอกจากนี้ยังมี วิเวก 5 มีความหมายอย่างเดียวกับ นิโรธ 5

อ้างอิง[แก้]