ลาตัมแอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาตัมแอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
LA LAN LAN CHILE
ก่อตั้ง5 มีนาคม ค.ศ. 1929 (95 ปี) (ในชื่อ ลิเนอาอาเอโรโปสตัลซันติอาโก-อารีกา)
เริ่มดำเนินงานค.ศ. 1932 (92 ปี) (ในชื่อ ลิเนอาอาเอเรอานาซีโอนัล)
17 มิถุนายน ค.ศ. 2004 (19 ปี) (ในชื่อ ลันแอร์ไลน์)
5 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 (7 ปี) (ในชื่อ ลาตัม ชิลี)
AOC #LANF474J[1]
ท่าหลักซันติอาโก
ท่ารองเซาเปาลู–กวารุลยุส
ลิมา
โบโกตา
กีโต
กัวยากิล
อาซุนซิออน
เมืองสำคัญอันโตฟากัสตา
ไมแอมี
สะสมไมล์ลาตัมปาส
พันธมิตรการบินวันเวิลด์ (ค.ศ. 2000–2020)
บริษัทลูกลาตัมแอร์ไลน์ ชิลี
ขนาดฝูงบิน163
จุดหมาย151[2]
บริษัทแม่กลุ่มสายการบินลาตัม
สำนักงานใหญ่ชิลี ลาสกอนเดส ซันติอาโก ประเทศชิลี
บุคลากรหลักโรเบร์โต อัลโบ (ซีอีโอ)
ผู้ก่อตั้งอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซ
เว็บไซต์www.latamairlines.com

ลาตัมแอร์ไลน์ (อังกฤษ: LATAM Airlines) หรือชื่อเดิม ลัน ชิลี (อังกฤษ: LAN Chile) เป็นสายการบินข้ามชาติและสายการบินประจำชาติชิลี โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซในซานติอาโก และมีฐานการบินรองที่เซาเปาลู ลิมา โบโกตา กีโต กัวยากิล และอาซุนซิออน[3] ลาตัมเป็นบริษัทลูกและสายการบินผู้ร่วมก่อตั้งของกลุ่มสายการบินลาตัม บริษัทโฮลดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา

ลันเป็นอดีตสายการบินประจำชาติชิลีจนกระทั่งการเปลี่ยนเป็นบริษัทเอกชนในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 โดยในสมัยนั้นสามารถเป็นสายการบินหลักของชิลี เอกวาดอร์ และเปรู และใหญ่เป็นอันดับสองในโคลอมเบียได้ผ่านสายการบินลูกต่างๆ ปัจจุบันลาตัมถือเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางต่างๆในลาตินอเมริกา อเมริกาเหนือ แคริบเบียน โอเชียเนีย เอเชีย และยุโรป ลาตัมเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020[4]

กลุ่มสายการบินลาตัมก่อตั้งขึ้นจากการเข้าควบคุมกิจการของลันโดยตังลิเนียสอาเอริอัสสัญชาติบราซิล ซึ่งเสร็จสิ้นมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 สายการบินได้ประกาศว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นลาตัม พร้อมเปิดตัวมีลวดลายอากาศยานใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะทาสีเครื่องบินทุกลำให้เป็นลวดลายใหม่นี้ภายในปี 2018[5][6][7] ปัจจุบันลาตัมชิลีและลาตัม บราซิลดำเนินงานแยกจากกันภายใต้บริษัทแม่ กลุ่มสายการบินลาตัมเป็นองค์กรการบินมี่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา[8]

ประวัติ[แก้]

ช่วงแรก[แก้]

สายการบินก่อตั้งขึ้นโดยอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซ พลอากาศจัตวาสังกัดกองทัพอากาศชิลี ในชื่อ ลิเนอาอาเอโรโปสตัลซันติอาโก-อารีกา ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีการ์โลส อิบัญเญซ เดล กัมโป โดยได้เริ่มดำเนินงานในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1929 ต่อมาในปี 1932 สายการบินได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลิเนอาอาเอเรอานาซีโอนัลเดชิเล โดยทำการบินด้วยชื่อย่อ ลันชิลี และมีฝูงบินประกอบด้วยเครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ มอตฟ์[9]

เมริโน เบนิเตซสามารถผูกขาดการบินในชิลีได้ โดยเฉพาะในเส้นทางภายในประเทศ ต่างจากประเทศอื่นๆ ในลาตินอเมริกาส่วนใหญ่ที่ถูกผูกขาดด้วยสายการบินพานากราสัญชาติสหรัฐ โดยได้รับอนุญาตการทำการบินจากรัฐบาลของแต่ละประเทศที่คาดว่าได้รับอิทธิพลจากการโฆษณาของการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของชาลส์ ลินด์เบิร์ก[10] และด้วยเหตุนี้ ทำให้ลันไม่มีเครื่องบินสหรัฐในฝูงบินจนกระทั่งเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง ลันได้สั่งซื้อเครื่องบินโปเตซ 560 สัญชาติฝรั่งเศสจำนวน 2 ลำในปี 1936 และยุงเคิร์ส ยู 86บีสัญชาติเยอรมันจำนวน 4 ลำถูกรวมในปี 1938 ในช่วงเวลานั้นสายการบินได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับสายการบินยอยด์ อาเอเรโอ โบลิวิอาโนและฟอเซตต์เปรู และยังมีการลงนามข้อตกลงกับลุฟท์ฮันซ่าสำหรับเที่ยวบินไปและกลับจากยุโรปและชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของอเมริกา

ในปี 1940 เนื่องจากข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สายการบินจึงไม่มีชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับเครื่องยนต์บีเอ็มดับเบิลยูของเครื่องบินยุงเคิร์ส ลันจึงต้องเลือกที่จะนำเครื่องบินล็อคฮีด โมเดล 10เอ อิเล็กตราเข้ามาประจำการแทน พร้อมกับเริ่มใช้ล็อคฮีด ซี-60 ในปี 1941 และ ดักลาส ดีซี-3 ในปี 1945

กิจการองค์กร[แก้]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ข้อตกลงการบินร่วม[แก้]

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ลาตัมแอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[11]

ฝูงบิน[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน[แก้]

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ลาตัมแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[14]

ฝูงบินของลาตัมแอร์ไลน์
แอร์บัส เอ321-200 ของลาตัม
โบอิง 787-8 ของลาตัม
โบอิง 787-9 ของลาตัม
ฝูงบินของลาตัม
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
J W Y รวม
แอร์บัส เอ319-100 15 144 144 7 ลำให้บริการสำหรับลาตัม เปรู
6 ลำให้บริการสำหรับลาตัม โคลอมเบีย
แอร์บัส เอ320-200 78 168 168 26 ลำให้บริการสำหรับลาตัม เปรู
8 ลำให้บริการสำหรับลาตัม โคลอมเบีย
4 ลำให้บริการสำหรับลาตัมเอกซ์เพรส
174 174
180 180
แอร์บัส เอ320นีโอ 6 174 174 2 ลำให้บริการสำหรับลาตัม เปรู
แอร์บัส เอ321-200 18 220 220 9 ลำให้บริการสำหรับลาตัมเอกซ์เพรส
224 224
แอร์บัส เอ321นีโอ 1 32 รอประกาศ ส่งมอบตั้งแต่ปี 2023[15][16]
แอร์บัส เอ321เอกซ์แอลอาร์ 5 รอประกาศ ส่งมอบตั้งแต่ปี 2025 - 2026[17]
โบอิง 767-300อีอาร์ 9 20 211 231 บางส่วนจะถูกดัดแปลงสำหรับการขนส่งสินค้า[18]
213 234
218 238
โบอิง 787-8 10 30 217 247
โบอิง 787-9 26 14 30 57 216 303
283 313
รวม 163 51

ลาตัมแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 11.6 ปี

ฝูงบินในอดีต[แก้]

ลาตัมแอร์ไลน์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบินในอดีตของลาตัม
เครื่องบิน จำนวน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
แอร์บัส เอ318-100 15 2007 2013 ใช้ในเที่ยวบินภายในประเทศ

ทั้งหมดขายให้กับลาตัม บราซิล

แอร์บัส เอ330-200 2 2019 2019 เช่าจากวามอสแอร์
แอร์บัส เอ340-300 5 2000 2015
บีเออี 146–200 3 1990 1997
โบอิง 707-320 11 1967 1994 ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศเที่ยวแรก

(โดยแวะพักที่ปารีส–ออร์ลีย์, มาดริด, และเซาเปาลู)

โบอิง 727-100 5 1968 1979
โบอิง 737-200 33 1980 2008
โบอิง 747-100 1 1989 1990 เช่าจากแอร์ลิงกัส
โบอิง 747-400 1 2018 2018 เช่าจากวามอสแอร์[19]
โบอิง 757-200[20] 1 1996 1997 เช่าจากไอแอลเอฟซี
โบอิง 767-200อีอาร์ 6 1986 1997
โบอิง 777-200อีอาร์ 2 2018 2019 เช่าจากโบอิงแคปิตอล
คอนโซลิเดต พีบีวาย คาตาลีนา 1 ไม่ทราบ ไม่ทราบ
คอนแวร์ 340 4 1961 1965
เคอร์ติส ที-32 ค็อนดอร์ II 3 1935 1942
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา ดีเอชซี-6 ทวินออตเตอร์ 6 1974 1974
เดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช.160 มอตฟ์ 2 1929 ไม่ทราบ
เดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช.104 โดฟ 12 1949 1955
ดักลาส ซี-47 สกายเทรน 18 1946 1979
ดักลาส ดีซี-6บี 10 1955 1973 ให้บริการเที่ยวบินระยะไกลเที่ยวแรกสู่ไมแอมี

(โดยแวะพักที่ลิมาและปานามาซิตี)

แฟร์ไชลด์ เอฟซี-2 7 1932 1939
ฟอร์ด 5-เอที-ดีเอส ไตรมอเตอร์ 3 1930 1938
ฮอว์เกอร์ ซิดเดลีย์ เอชเอส 748 9 1967 1978
ยุงเคิร์ส ดับเบิลยู.34 1 ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ยุงเคิร์ส ยู 52 1 1938 1938
ยุงเคิร์ส ยู 86 4 1938 1940
ล็อคฮีด โมเดล 10เอ อิเล็กตรา 6 1941 1955
ล็อคฮีด โมเดล 18 โลดสตาร์ 2 1943 1944
มาร์ติน 2-0-2 4 1947 1958
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-30 5 1980 1986
โปเตซ 56 11 1936 1943
ซูว์ดาวียาซียงการาแวล 3 1964 1975 ให้บริการเที่ยวบินระยะไกลเที่ยวแรกสู่ไมแอมี

(โดยแวะพักที่ลิมา, โบโกตา, และอ่าวมอนทีโก)

ซิคอร์สกี เอส-43 2 1936 ไม่ทราบ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Federal Aviation Administration – Airline Certificate Information – Detail View". Federal Aviation Administration. สืบค้นเมื่อ 23 January 2017.
  2. "LATAM Airlines on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-09.
  3. "| oneworld".
  4. "Details | oneworld". www.oneworld.com. สืบค้นเมื่อ 2020-02-14.
  5. "LAN and TAM to operate as LATAM with a new livery" เก็บถาวร 2020-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved August 9, 2015
  6. "Chile's LAN Airlines completes takeover of rival TAM". Reuters. June 22, 2012.
  7. "LATAM's entire fleet to have new livery by 2018" retrieved August 9, 2015
  8. cycles, This text provides general information Statista assumes no liability for the information given being complete or correct Due to varying update; Text, Statistics Can Display More up-to-Date Data Than Referenced in the. "Topic: LATAM Airlines Group". Statista (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-08.
  9. "Asociación de Pilotos en Retiro". Pilotosretiradoslan.cl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 14, 2011. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 20, 2013.
  10. "Nuestra Historía". Pilotosretiradoslan.cl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 10, 2011. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 20, 2013.
  11. "Profile on LAN Airlines". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-29.
  12. Liu, Jim (4 September 2019). "Finnair / LATAM begins codeshare service from Oct 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
  13. Liu, Jim (16 December 2019). "LATAM / Malaysia Airlines begins codeshare partnership from mid-Dec 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
  14. "LATAM Chile Fleet Details and History". planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 5 May 2022.
  15. "LATAM incorporates 3 Airbus A321neo from Air Lease Corporation". Aviacionline.com. June 3, 2022. สืบค้นเมื่อ June 3, 2022.
  16. "Chile's LATAM Airlines orders 17 A321neo, -XLRs". Ch-Aviation. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
  17. "LATAM To Take 5 Airbus A321XLRs from Air Lease Corporation". Simple Flying. 14 October 2022.
  18. "LATAM Boosts Its Freighter Business With A 3rd LATAM Boeing 767BCF". Simpleflying.com. May 25, 2022. สืบค้นเมื่อ May 25, 2022.
  19. "LATAM aluga Boeing 747 para substituir temporariamente o 787 Dreamliner". Aeroflap.com.br (ภาษาโปรตุเกส). April 19, 2018. สืบค้นเมื่อ April 19, 2018.
  20. "LAN Chile Fleet of B757 (History) – Airfleets aviation". www.airfleets.net. สืบค้นเมื่อ June 25, 2017.