ภาษากาปัมปางัน
ภาษากาปัมปางัน | |
---|---|
Pampangan | |
Amánung Kapangpángan, Amánung Sísuan | |
"กาปัมปางัน" ที่เขียนด้วยอักษรกูลีตัน ระบบอักษรในอดีต | |
ออกเสียง | [kəːpəmˈpaːŋən] |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศฟิลิปปินส์ |
ภูมิภาค | เขตกิตนางลูโซน (จังหวัดปัมปังกาทั้งหมด, จังหวัดตาร์ลักตอนใต้, จังหวัดบาตาอันตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดบูลาคันตะวันตก, จังหวัดนูเวบาเอซีฮาตะวันตกเฉียงใต้, จังหวัดซัมบาเลสตะวันออกเฉียงใต้) |
ชาติพันธุ์ | ชาวกาปัมปางัน |
จำนวนผู้พูด | 2.8 ล้านคน (2010)[1] ภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 7 ในประเทศ[2] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรละติน (ชุดตัวอักษรกาปัมปางัน) อดีตเขียนด้วย: กูลีตัน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | Angeles City[3][4][5] |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ภาษาภูมิภาคในประเทศฟิลิปปินส์ |
ผู้วางระเบียบ | Komisyon sa Wikang Filipino |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | pam |
ISO 639-3 | pam |
บริเวณที่มีผู้พูดภาษากาปัมปางัน | |
ภาษากาปัมปางัน เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้พูดในประเทศฟิลิปปินส์
สัทวิทยา
[แก้]ภาษากาปัมปางันมาตรฐานมี 21 หน่วยเสียง แบ่งเป็นเสียงพยัญชนะ 15 เสียง และเสียงสระ 5 เสียง ในสำเนียงตะวันตกบางส่วนมีเสียงสระหกเสียง โครงสร้างพยางค์ของภาษานี้เรียบง่าย โดยแต่ละพยางค์มีพยัญชนะและสระอย่างน้อยหนึ่งตัว
สระ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พยัญชนะ
[แก้]ริมฝีปาก | ฟัน / ปุ่มเหงือก |
เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
นาสิก | m | n | ŋ | |||
หยุด | ไม่ก้อง | p | t | tʃ | k | ʔ |
ก้อง | b | d | dʒ | g | ||
เสียดแทรก | s | ʃ | ||||
ลิ้นกระทบ/รัว | ɾ ~ r | |||||
เปิด | l | j | w |
ไวยากรณ์
[แก้]คำนาม
[แก้]คำนามมี 3 การก คือ สัมบูรณ์ เกี่ยวพัน และกรรมตรง เป็นภาษาที่นิยมใช้ในรูปถูกกระทำ เครื่องหมายสำหรับการกสัมบูรณ์จะแสดงการกระทำของอกรรมกริยาและกรรมของสกรรมกริยา เครื่องหมายแสดงการกเกี่ยวพัน แสดงกรรมของอกรรมกริยา และการกระทำของสกรรมกริยา และใช้แสดงความเป็นเจ้าของ เครื่องหมายแสดงกรรมเหมือนกับบุพบทในภาษาอังกฤษแสดงตำแหน่งและทิศทาง เครื่องหมายของคำนามแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ใช้กับบุคคลและใช้ทั่วไป ดังในตาราง
การกสัมบูรณ์ (Absolutive) | การกเกี่ยวพัน (Ergative) | การกกรรมตรง (Oblique) | |
---|---|---|---|
เอกพจน์ทั่วไป | ing | -ng, ning |
king |
พหูพจน์ทั่วไป | ding ring |
ring | karing |
เอกพจน์บุคคล | i | -ng | kang |
พหูพจน์บุคคล | di ri |
ri | kari |
ตัวอย่างประโยค
- Dinatang ya ing lalaki = ผู้ชายมาถึง
- Ikit neng Juan i Maria = จอห์นเห็นมาเรีย
- Munta la ri Elena at Roberto king bale nang Miguel = เอเลนาและโรเบอร์โตจะไปบ้านของมิเกล
- Nukarin la ring libro = หนังสือเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
สรรพนาม
[แก้]การกสัมบูรณ์ (อิสระ) |
การกสัมบูรณ์ (ภายใน) |
การกเกี่ยวพัน | การกกรรมตรง | |
---|---|---|---|---|
เอกพจน์บุรุษที่ 1 | yaku, aku | ku | ku | kanaku, kaku |
เอกพจน์บุรุษที่ 2 | ika | ka | mu | keka |
เอกพจน์บุรุษที่ 3 | iya, ya | ya | na | keya, kaya |
ทวิพจน์บุรุษที่ 1 | ikata | kata, ta | ta | kekata |
พหูพจน์บุรุษที่ 1 รวมผู้ฟัง | ikatamu, itamu | katamu, tamu | tamu, ta | kekatamu, kekata |
พหูพจน์บุรุษที่ 1 ไม่รวมผู้ฟัง | ikami, ike | kami, ke | mi | kekami, keke |
พหูพจน์บุรุษที่ 2 | ikayo, iko | kayu, ko | yu | kekayu, keko |
พหูพจน์บุรุษที่ 3 | ila | la | da | karela |
ตัวอย่างประโยค
- Sinulat ku. = ฉันเขียนแล้ว (อดีต)
- Silatanan na ku = (เขา) เขียนถึงฉัน
- Dinatang ya = เขามาถึงแล้ว
- Ninu ing minaus keka? = ใครเรียกคุณ
คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำที่ถูกขยาย คำสรรพนามที่เป็นกรรมอาจใช้แทนคำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของได้ แต่จะนำหน้าคำที่ถูกขยาย เช่น
- Ing bale ku = Ing kakung bale = บ้านของฉัน
คำสรรพนามทวิพจน์ ikata ใช้แทนสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 คำสรรพนามรวมผู้ฟัง ikatamu ใช้แทนบุรุษที่ 1 และ 2 อาจรวมบุรุษที่ 3 ด้วย คำสรรพนามไม่รวมผู้ฟัง ikami ใช้แทนสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 3 แต่ไม่รวมบุรุษที่ 2 ตัวอย่างเช่น
- Ala tang nasi = เรา (คุณและฉัน) กินข้าว
- Ala tamung nasi = เรา (คุณและฉันและคนอื่น ๆ) กินข้าว
- Ala keng nasi = เรา (คนอื่น ๆ และฉัน ไม่รวมคุณ) กินข้าว
ภาษากาปัมปางันต้องแสดงคำสรรพนาม แม้ว่าจะมีคำนามปรากฏอยู่ก็ตาม เช่น
- Dinatang ya i Ernine = เออร์นินมาถึง
- Mamasa la ri Maria at Juan = มาเรียและฮวนกำลังอ่านหนังสือ
สรรพนาม ya และ la มีรูปพิเศษเมื่อใช้เป็นคำสันธานกับคำ ati (มี) และ ala (ไม่มี) เช่น
- Ati yu king Pampanga = เขาอยู่ในปัมปางา
- Ala lu ring doktor keni = หมอไม่ได้อยู่ที่นี่นาน
การรวมคำสรรพนาม
[แก้]การเรียงลำดับและรูปแบบของคำสรรพนามในภาษากาปัมปางันแสดงในตารางข้างล่าง สรรพนามเหล่านี้มีลำดับแน่นอนในการตามหลังคำกริยาหรืออนุภาค เช่น คำปฏิเสธ คำสรรพนามภายในจะตามหลังคำสรรพนามอีกตัวเป็นลำดับแรก เช่น
- Ikit da ka = ฉันเห็นคุณ
- Silatanan na ku = เขาเขียนถึงฉัน
การเรียงลำดับคำสรรพนามสลับกันถือว่าผิดไวยากรณ์ มีการรวมตัวของคำสรรพนามด้วย เช่น
- Ikit ke (แทน Ikit ku ya) = ฉันเห็นหล่อน
- Dinan kung pera (Dinan ku lang pera) = ฉันจะให้เงินแก่พวกเขา
คำสรรพนามที่รวมกันนี้ใช้ในคำถามด้วย เช่น
- Akakit mya? = คุณเห็นเขาไหม
ตารางต่อไปนี้แสดงคำสรรพนามที่รวมกันได้ ช่องว่างแสดงว่าคำสรรพนามคู่นั้นรวมกันไม่ได้ ตามแนวตั้งเป็นสรรพนามรูปสัมบูรณ์ ส่วนแนวนอนเป็นสรรพนามรูปเกี่ยวพัน
yaku 1 s |
ika 2 s |
ya 3 s |
ikata 1 dual |
ikatamu 1 p inc. |
ikami 1 p exc. |
ikayo 2 p |
ila 3 p | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ku 1 s |
(ing sarili ku) | da ka | ke kya |
- | - | - | da ko da kayu |
ko ku la |
mu 2 s |
mu ku | (ing sarili mu) | me mya |
- | - | mu ke mu kami |
- | mo mu la |
na 3 s |
na ku | na ka | ne nya (ing sarili na) |
na kata | na katamu | na ke na kami |
na ko na kayu |
no nu la |
ta 1 dual |
- | - | te tya |
(ing sarili ta) | - | - | - | to ta la |
tamu 1 p inc. |
- | - | ta ya | - | (ing sarili tamu) | - | - | ta la |
mi 1 p exc. |
- | da ka | mi ya | - | - | (ing sarili mi) | da ko da kayu |
mi la |
yu 2 p |
yu ku | - | ye ya |
- | - | yu ke yu kami |
(ing sarili yu) | yo yu la |
da 3 p |
da ku | da ka | de dya |
da kata | da katamu | da ke da kami |
da ko da kayu |
do da la (ing sarili da) |
คำสรรพนามชี้เฉพาะ
[แก้]คำสรรพนามชนิดนี้ในภาษากาปัมปางันต่างจากภาษาในฟิลิปปินส์อื่น ๆ คือมีการแยกรูปเอกพจน์กับพหูพจน์
การกสัมบูรณ์ | การกเกี่ยวพัน | การกกรรมตรง | สถานที่ | ภายใน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เอกพจน์ | พหูพจน์ | เอกพจน์ | พหูพจน์ | เอกพจน์ | พหูพจน์ | เอกพจน์ | พหูพจน์ | ||
ใกล้กับผู้พูดที่สุด (นี่ ที่นี่) |
ini | deni reni |
nini | dareni | kanini | kareni | oyni | oreni | keni |
ใกล้ผู้พูดหรือสถานที่ (นี่ ที่นี่) |
iti | deti reti |
niti | dareti | kaniti | kareti | oyti | oreti | keti |
สถานที่ที่อยู่ใกล้ (ที่นั่น นั่น) |
iyan | den ren |
niyan | daren | kanyan | karen | oyan | oren | ken |
อยู่ไกล (โน่น) |
ita | deta reta |
nita | dareta | kanita | kareta | oyta | oreta | keta |
imi และ iti หมายถึง "นี่" เหมือนกันแต่ใช้ต่างกัน iti ใช้แทนสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น iting musika (ดนตรีนี้) ini ใช้กับสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น เช่น ining libru (หนังสือเล่มนี้)
ในรูปชี้บ่งสถานที่ keni ใช้เมื่อผู้พูดไม่อยู่ใกล้สิ่งที่พูดถึง keti ใช้เมื่อผู้พูดอยู่ใกล้สิ่งที่พูดถึง ทั้งสองคำหมายถึง "ที่นี่" เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
- Ninu ing lalaking ita = ใครคือผู้ชายคนนั้น
- Me keni = มาที่นี่
- Ati ku keti = ฉันอยู่ที่นี่
- Oreni adwang regalo para keka = นี่คือของขวัญ 2 ชิ้น สำหรับคุณ
คำกริยา
[แก้]คำกริยาในภาษากาปัมปางันมีโครงสร้างที่ซับซ้อน มีการลงวิภัติปัจจัยผันตามสิ่งเน้น จุดประสงค์ รูปแบบ และอื่น ๆ ผู้พูดภาษาอื่น ๆ ในฟิลิปปินส์จะมองว่าคำกริยาของภาษากาปัมปางันยากกว่าภาษาอื่น เพราะมีรูปแบบที่คาดเดาได้ยาก ตัวอย่างเช่นคำว่า sulat (เขียน) ซึ่งเป็นรากศัพท์ที่พบทั้งภาษาตากาล็อกและภาษากาปัมปางัน มีการผันต่างกันดังนี้
- susulat ภาษากาปัมปางันแปลว่า "กำลังเขียน" ภาษาตากาล็อกแปลว่า "จะเขียน"
- sumulat ภาษากาปัมปางันแปลว่า "จะเขียน" ภาษาตากาล็อกแปลว่า "เขียนแล้ว" และใช้เป็นรูปนามกริยาทั้ง 2 ภาษา
- sinulat แปลว่า "เขียนแล้ว" ทั้ง 2 ภาษา แต่ภาษากาปัมปางันเน้นผู้กระทำ ภาษาตากาล็อกเป็นรูปเน้นกรรม
มีคำกริยาในรูปเน้นผู้ถูกกระทำที่ไม่ใช้อาคม -um- แต่ใช้การเชื่อมต่อ เช่น gawa(ทำ) bulus (จม) sindi (สูบบุหรี่) คำกริยาเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนเสียงสระในรูปเน้นผู้กระทำจะเกิดกับคำกริยาที่มีสระ u ที่พยางค์แรก เช่น lucas (เอาออกไป) lukas (จะเอาออกไป) lulukas (กำลังเอาออกไป) และ likas (เอาออกไปแล้ว)
นามกริยา & Contemplative |
ความต่อเนื่อง | สมบูรณ์ | |
---|---|---|---|
เน้นผู้กระทำ1a | -um- | CV- | -in- |
เน้นผู้กระทำ1b | - | CV- | -in- -i- |
เน้นผู้กระทำ1c | m- | mVm- | min- me- |
เน้นผู้กระทำ2 | mag- | mág- | mig-, meg- |
เน้นผู้กระทำ3 | ma- | má- | ne- |
เน้นผู้กระทำ4 | maN- | máN- | meN- |
เน้นกรรม1 | -an | CV- ... -an | -in- -i- -e- |
เน้นกรรม2 เน้นการใช้ประโยชน์ |
i- | iCV- | i- -in- i- -i- i- -e- |
เน้นกรรม3 เน้นสถานที่ |
-an | CV- ... -an | -in- ... -an -i- ... -an -e- ... -an |
เน้นเครื่องมือ | ipaN- | páN- | piN-, peN |
เน้นเหตุผล | ka- | ká- | ke- |
ตัวอย่างประโยคทั่วไป
- Kumusta naka? = คุณเป็นอย่างไรบ้าง
- Masalese kupu = ฉันสบายดี
- Nanung lagyu mu? = คุณชื่ออะไร
จำนวน
[แก้]1 = metung 2 = adwa 3 = atlu 4 = apat 5 = lima 6 = anam 7 = pitu 8 = walu 9 = siyam 10 = apulu
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2010 Census of Population and Housing, Report No. 2A - Demographic and Housing Characteristics (Non-Sample Variables)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-02.
- ↑ "2010 Census of Population and Housing, Report No. 2A - Demographic and Housing Characteristics (Non-Sample Variables)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-02.
- ↑ Ordinance No. 424, City of Angeles.
- ↑ Orejas, Tonette (July 22, 2021). "Angeles traffic signs soon in Kapampangan". Inquirer.net. The Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ September 7, 2021.
- ↑ Orejas, Tonette (September 7, 2021). "Drivers welcome Kapampangan traffic signs". Inquirer.net. The Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ September 7, 2021.
- บรรณานุกรม
- Bautista, Ma. Lourdes S. 1996. An Outline: The National Language and the Language of Instruction. In Readings in Philippine Sociolinguistics, ed. by Ma. Lourdes S. Bautista, 223. Manila: De La Salle University Press, Inc.
- Bergaño, Diego. 1860. Vocabulario de la Lengua Pampanga en Romance. 2nd ed. Manila: Imprenta de Ramirez y Giraudier.
- Castro, Rosalina Icban. 1981. Literature of the Pampangos. Manila: University of the East Press.
- Fernández, Eligío. 1876. Nuevo Vocabulario, ó Manual de Conversaciónes en Español, Tagálo y Pampángo. Binondo: Imprenta de M. Perez
- Forman, Michael. 1971. Kapampangan Grammar Notes. Honolulu: University of Hawaii Press
- Gallárdo, José. 1985–86. Magaral Tang Capampangan. Ing Máyap a Balità, ed. by José Gallárdo, May 1985- June 1986. San Fernando: Archdiocese of San Fernando.
- Henson, Mariano A. 1965. The Province of Pampanga and Its Towns: A.D. 1300–1965. 4th ed. revised. Angeles City: By the author.
- Kitano Hiroaki. 1997. Kapampangan. In Facts About The World's Major Languages, ed. by Jane Garry. New York: H.W. Wilson. Pre-published copy
- Lacson, Evangelina Hilario. 1984. Kapampangan Writing: A Selected Compendium and Critique. Ermita, Manila: National Historical Institute.
- Manlapaz, Edna Zapanta. 1981. Kapampangan Literature: A Historical Survey and Anthology. Quezon City: Ateneo de Manila University Press.
- Panganiban, J.V. 1972. Diksyunaryo-Tesauro Pilipino-Ingles. Quezon City: Manlapaz Publishing Co.
- Pangilinan, Michael Raymon M. 2004. Critical Diacritical. In Kapampangan Magazine, ed. by Elmer G. Cato,32-33, Issue XIV. Angeles City: KMagazine.
- Samson, Venancio. 2004. Problems on Pampango Orthography. In Kapampangan Magazine, ed. by Elmer G. Cato,32-33, Issue XII. Angeles City: KMagazine.
- Samson, Venancio. 2011. Kapampangan Dictionary. Angeles City: The Juan D. Nepomuceno Center for Kapampangan Studies, Holy Angel University Press. ISBN 978-971-0546-07-7
- Tayag, Katoks (Renato). 1985. "The Vanishing Pampango Nation", Recollections and Digressions. Escolta, Manila: Philnabank Club c/o Philippine National Bank.
- Turla, Ernesto C. 1999. Classic Kapampangan Dictionary. Offprint Copy
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Sínúpan Singsing, de facto language regulator
- Bansa Kapampangan-English Dictionary เก็บถาวร 2016-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kapampangan Wiktionary