ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สไปเดอร์-แมน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.2
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
| sortkey = Spider-Man
| sortkey = Spider-Man
}}
}}
ผิดหมดเลย
'''สไปเดอร์-แมน''' ({{lang-en|Spider-Man}}) เป็นตัว[[การ์ตูน]][[ยอดมนุษย์]]สัญชาติ[[อเมริกัน]] สร้างโดย [[สแตน ลี]] และ [[สตีฟ ดิตโก]] ของสังกัด[[มาร์เวลคอมิกส์]] (Marvel Comics) ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกใน[[อแมซซิงแฟนตาซี]] ฉบับที่ 15 (สิงหาคม พ.ศ. 2505) ในปัจจุบันนี้ ไอ้แมงมุมถือเป็นหนึ่งในตัวละครยอดมนุษย์ที่โด่งดังที่สุดใน[[โลก]] และยังคงประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์

ในตอนที่ไอ้แมงมุมได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 60 ในเวลานั้น ตัวละครที่เป็นวัยรุ่นในหนังสือการ์ตูนยอดมนุษย์ของ[[อเมริกา]] มักจะมีบทบาทเทียบเท่าตัวประกอบเท่านั้น แต่การ์ตูนชุดไอ้แมงมุมได้พังกรอบเหล่านี้ออกไป โดยให้ตัวไอ้แมงมุม ซึ่งยังเป็นวัยรุ่นอยู่ มีบทบาทของวีรบุรุษตัวเอก ที่มี "ความสนใจเฉพาะตัว พร้อมกับการถูกปฏิเสธ ความขัดสน และความอ้างว้าง" ด้วยลักษณะเช่นนี้เอง ไอ้แมงมุมจึงสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านอายุน้อยได้<ref>Bradford W. Wright. Comic Book Nation (Johns Hopkins, 2001.) p. 210 {{en}}</ref>

นอกจากจะเป็นตัวละครในหนังสือการ์ตูนแล้ว ไอ้แมงมุมยังปรากฏตัวในสื่ออื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น[[แอนิเมชัน]] ละครชุดทาง[[โทรทัศน์]] คอลัมภ์การ์ตูนใน[[หนังสือพิมพ์]] [[วิดีโอเกม]] และ[[ภาพยนตร์]]ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง

มาร์เวลได้ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนชุดไอ้แมงมุมออกมาจำนวนหนึ่ง โดยชุดแรกมีชื่อว่า "[[ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน]]" (The Amazing Spider-Man) ในหนังสือการ์ตูนแต่ละชุด จะแสดงให้เห็นพัฒนาการของตัวละครปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ตั้งแต่เป็น[[นักเรียน]]ขี้อาย [[นักศึกษา]]มีปัญหา ครูสอนวิชา[[วิทยาศาสตร์]]<ref>J. Michael Straczynski (เขียนบท,) John Romitar Jr., Scott Hana (วาด.) "Coming Home" (คืนถิ่น,) The Amazing Spider-Man (Marvel Comics, Bongkoch Comics.) </ref> จนถึงสมาชิกของคณะยอดมุนษย์ที่ชื่อ "[[อเวนเจอร์ส (หนังสือการ์ตูน)|อเวนเจอร์ส]]" (Avengers) ส่วนในการ์ตูนชุด "[[สไปเดอร์เกิร์ล]]" (Spider-Girl) ปาร์คเกอร์ยังมีสถานะเป็น[[นักวิทยาศาสตร์]]และพ่ออีกด้วย

สไปเดอร์-แมนปรากฏตัวใน[[จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล]] ซึ่งรับบทโดย[[ทอม ฮอลแลนด์]] ในภาพยนตร์ได้แก่[[กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก]], [[สไปเดอร์แมน: โฮมคัมมิ่ง]], [[อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล]] และ[[สไปเดอร์-แมน ฟาร์ ฟรอม โฮม]]

== ประวัติการตีพิมพ์การ์ตูนไอ้แมงมุม ==
หลังจากที่[[มาร์เวลคอมมิคส์]]ประสบความสำเร็จกับ[[การ์ตูน]]ชุด[[แฟนแทสติกโฟร์]] (Fantastic Four) และ[[ตัวการ์ตูน]]อื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2505 แล้ว [[สแตน ลี]] [[บรรณาธิการ]]และหัวหน้า[[นักเขียน]]ของมาร์เวล ก็คิดจะสร้างตัวการ์ตูน[[ยอดมนุษย์]]ตัวใหม่ขึ้นมาอีก ซึ่งตัวการ์ตูนที่เขาคิดได้ในตอนนั้นก็คือ "สไปเดอร์แมน" หรือ "ไอ้แมงมุม" ใน[[ภาษาไทย]] ตัวไอ้แมงมุมนี้ เกิดขึ้นมาจากความต้องการบริโภค[[หนังสือการ์ตูน]]ของวัยรุ่น[[ชาวอเมริกัน]]ที่เพิ่มมากขึ้น และความปรารถนาของลีที่จะสร้างตัวการ์ตูนที่วัยรุ่นมีส่วนร่วมด้วยได้<ref>Cynthia O'Neill, Tom DeFalco, and Stan Lee. Spider-Man: The Ultimate Guide (DK CHILDREN, 2001.) p.1 {{en}}</ref> ลีได้กล่าวเอาไว้ใน[[หนังสือ]]อัตชีวประวัติของเขาว่า เขาได้รับอิทธิพลในการสร้างตัวไอ้แมงมุมมาจาก[[นิตยสาร]]เกี่ยวกับนักสู้อาชญากรที่ชื่อ "[[เดอะสไปเดอร์]]" (The Spider) <ref>Stan Lee, and George Mair. Excelsior!: The Amazing Life of Stan Lee (Fireside, 2002.) p.130 {{en icon}}</ref> และการได้เห็นความสามารถของ[[แมลงมุม]]ที่สามารถไต่กำแพงได้<ref>"Comic Book Creatures," รายการ Animal Icons (ปี 2.) [[ทรูวิชั่นส์]] ช่อง Animal Planet (20.00-23.00 น., 19 พฤษภาคม 2550.)</ref>

ในเรื่องของชื่อ "สไปเดอร์แมน" นั้น นักวาดการ์ตูน [[สตีฟ ดิตโก]] ได้กล่าวถึงที่มาของมันว่า:

{{คำพูด|''ตอนที่ถกกันเกี่ยวกับไอ้แมงมุมครั้งหนึ่ง สแตนได้พูดว่า เขาชอบชื่อ[[ฮอว์กแมน]] (Hawkman) แต่ทางสังกัด[[ดีซีคอมมิคส์]] (DC Comics) ได้ใช้ชื่อนี้และสร้างตัวละครตัวนี้ไปแล้ว ทางมาร์เวลก็มี[[แอนท์แมน]] (Ant-Man) กับ[[แวสป์]] (Wasp) แล้ว เพราะฉะนั้นตัวการ์ตูนตัวนี้ก็ควรจะอยู่ในหมวด[[แมลง]]ด้วย<ref>ในทางเทคนิค [[แมงมุม]]ไม่ใช่สัตว์จำพวก[[แมลง]]</ref> จากคำพูดนี้เอง ผมก็เชื่อว่าในตอนนั้นสแตนมีชื่อที่จะตั้งให้กับตัวการ์ตูนตัวนี้แล้ว''}}

[[ไฟล์:สแตน ลี กับไอ้แมงมุม.jpg|thumb|right|[[สแตน ลี]] ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการกำเนิดของไอ้แมงมุม]]
ต่อมา ลีได้เข้าไปตีสนิทกับฝ่ายการพิมพ์ของมาร์เวลที่ชื่อ [[มาร์ติน กู๊ดแมน]] (Martin Goodman) เพื่อที่จะให้เขาเห็นพ้องกับการกำเนิดการ์ตูนไอ้แมงมุมขึ้นมา หลังจากที่มีการโต้แย้งกันในเรื่องนี้ สุดท้าย กู๊ดแมนก็ตกลงว่าจะให้ลีลองเอาเรื่องไอ้แมงมุมไปลงไว้ในหนังสือ "[[อแมซซิงอเดาท์แฟนตาซี]]" (Amazing Adult Fantasy) ฉบับสุดท้ายดู ซึ่งฉบับดังกล่าวนั้นเป็นฉบับที่ 15 และได้มีการเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น "อแมซซิงแฟนตาซี" อีกด้วย<ref>Les Daniels. Marvel: Five Fabulous Decades of the World's Greatest Comics (Harry N. Abrams, New York, 1991.) p. 95 {{en icon}}</ref>

ในปี [[พ.ศ. 2525]] [[แจ็ก เคอร์บี]] (Jack Kirby) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ในความเป็นจริงแล้ว ลีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรตัวไอ้แมงมุมน้อยมาก นอกจากนั้นเขา (เคอร์บี) ยังอ้างว่า ตัวไอ้แมงมุมนี้มีต้นแบบมาจากตัวการ์ตูนอีกตัวหนึ่งที่ชื่อ "[[เดอะซิลเวอร์สไปเดอร์]]" (The Silver Spider) ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยตัวเคอร์บีเองร่วมกับ[[โจ ไซมอน]] (Joe Simon) เพื่อจะนำไปเสนอให้ตีพิมพ์ลงหนังสือการ์ตูน[[แบล็คแมจิค]] (Black Magic) ในสังกัด[[เครสท์วูด]] (Crestwood) แต่ทางผู้ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนดังกล่าวได้ยุติกิจการไปเสียก่อน

แต่จากอัตชีวประวัติของไซมอน ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2533 นั้น ได้ให้ข้อมูลที่ต่างออกไปจากคำกล่าวข้างต้นของเคอร์บี โดยไซมอนได้ยืนยันว่า เขาไม่ได้สร้างตัวการ์ตูนเดอะซิลเวอร์สไปเดอร์ขึ้นมาเพื่อที่จะตีพิมพ์ในแบล็คแมจิคเท่านั้น นอกจากนั้น ในตอนแรกเขาก็ตั้งชื่อให้ตัวการ์ตูนตัวนี้ว่า "สไปเดอร์แมน" เหมือนกับชื่อ[[ภาษาอังกฤษ]]ของไอ้แมงมุมในปัจจุบัน แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นเดอะซิลเวอร์สไปเดอร์แทน ส่วนตัวเคอร์บีนั้น ก็มีหน้าที่วางโครงเรื่องและลายละเอียดเกี่ยวกับพลังพิเศษต่าง ๆ ของตัวการ์ตูน ไซมอนได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ฐานคติหรือคอนเซ็ปเกี่ยวกับเดอะซิลเวอร์สไปเดอร์ของทั้งเขาและเคอร์บีนั้น สุดท้ายแล้วก็ได้นำไปใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างตัวการ์ตูนยอดมนุษย์อีกตัวหนึ่งที่ชื่อ "เดอะฟราย" (The Fly) ซึ่งอยู่ในสังกัด[[อาชีคอมมิคส์]] (Archie Comics) ของไซมอนเอง โดยเดอะฟรายนั้นเปิดตัวครั้งแรกในช่วงต้นปี พ.ศ. 2502

[[เกร็ก ธีคสตัน]] (Greg Theakston) นักประวัติศาสตร์ด้านหนังสือการ์ตูน ได้กล่าวว่า หลังจากที่กู๊ดแมนได้ให้ความเห็นชอบกับการใช้ชื่อสไปเดอร์แมน และคอนเซ็ปท์ "วัยรุ่นธรรมดา ๆ" กับตัวการ์ตูนไอ้แมงมุมแล้ว ลีก็ได้ไปพบกับเคอร์บี โดยในการพบกันครั้งนั้น เคอร์บีได้เล่าที่มาของซิลเวอร์สไปเดอร์ ตัวการ์ตูนของเขา ให้ลีฟังว่า ซิลเวอร์สไปเดอร์เป็นเด็กกำพร้าที่อาศัยอยู่กับญาติสูงอายุของเขา และวันหนึ่งเมื่อเขาได้ไปพบ[[แหวน]]วิเศษ เขาก็ได้รับพลังพิเศษมาจากแหวนวงนั้น ลีกับเคอร์บีนั่งประชุมกันในประเด็นเกี่ยวกับเนื้อเรื่องของไอ้แมงมุม ซึ่งหลังจากการประชุมสิ้นสุด ลีก็ได้มอบหมายให้เคอร์บีเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับตัวไอ้แมงมุมให้ และลองวาดตัวอย่างมาให้ลีดู หลังจากนั้น 1 หรือ 2 วัน เคอร์บีได้นำการ์ตูนตัวอย่างจำนวน 6 หน้ามานำเสนอให้ลีดู เมื่อลีได้ดูแล้วเขาก็ได้กล่าวว่า “ผมไม่ชอบวิธีที่เขาสร้างมันขึ้นมา ไม่ใช่เพราะฝีมือเขาไม่ดี แต่มันยังไม่ใช่ตัวการ์ตูนที่ผมต้องการ มันออกแนวฮีโร่มากเกินไป”<ref>Greg Theakston. The Steve Ditko Reader (Pure Imagination, Brooklyn, NY, 2002.) p. 12 {{en icon}}</ref> ทางด้านของไซมอนเอง ก็ยืนยันด้วยเหมือนกันว่า เคอร์บีได้นำเอาไอ้แมงมุมแบบดั้งเดิม (เดอะซิลเวอร์สไปเดอร์) ไปเสนอให้แก่ลี ผู้ซึ่งชอบแนวความคิดของเขา และมอบหมายให้เขาวาดตัวอย่างมาให้ดู แต่สุดท้ายลีก็ไม่ชอบผลงานที่เขาวาดออกมา ซึ่งไซมอนได้พรรณนาถึงตัวการ์ตูนที่เคอร์บีวาดเอาไว้ว่า เหมือน “[[กัปตันอเมริกา]]ที่มี[[ใยแมงมุม]]” <ref>Joe Simon, with Jim Simon. The Comic Book Makers (Crestwood/II, 1990.) {{en icon}}</ref>

หลังจากนั้นมา ลีก็ได้หันความสนใจไปที่ดิตโก และให้ดิตโกออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของไอ้แมงมุม ทั้งเสื้อผ้าที่ใส่ และลักษณะของพลังพิเศษต่าง ๆ แทนเคอร์บี ส่วนในเรื่องของ[[สตอรีบอร์ด]]นั้น ก็เป็นหน้าที่ของดิตโกอีกเช่นกัน โดยดิตโกได้สร้างร่วมกับ[[เอริค สแตนตัน]] (Eric Stanton) เพื่อนร่วมชั้นเรียนในโรงเรียนศิลปะ<ref>"[http://www.ditko.comics.org/ditko/crea/crerstan.html Ditko & Stanton] {{Webarchive|url=https://www.webcitation.org/5syJ0r5An?url=http://web.archive.org/web/20080501191157/www.ditko.comics.org/ditko/crea/crerstan.html |date=2010-09-24 }}." เว็บไซต์ Ditko Looked Up (http://www.ditko.comics.org {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20090201102153/http://www.ditko.comics.org/ |date=2009-02-01 }}).</ref> โดยสแตนตันได้ให้สัมภาษณ์กับธีคสตันในปี [[พ.ศ. 2531]] เกี่ยวกับเรื่องการทำงานกับดิตโกว่า เขาทั้งสอง “ได้ทำงานเกี่ยวกับสตอรีบอร์ดร่วมกัน และผมก็ได้เสริมความคิดของผมลงไปนิดหน่อย แต่เนื้องานส่วนใหญ่นั้น ได้รับการสร้างสรรค์มาจากตัวสตีฟเอง...ผมคิดว่าสิ่งที่ผมคิดเอาไว้ในเรื่องนี้ก็คือ ประเด็นที่ไอ้แมงมุมสามารถพ่นใยออกมาจากมือของเขาได้”<ref>Greg Theakston. เพิ่งอ้าง. p. 14 {{en icon}}</ref>

=== ความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ===
ไม่กี่เดือนหลังจากที่ไอ้แมงมุมได้ปรากฏตัวครั้งแรกใน[[หนังสือการ์ตูน]][[อแมซซิงแฟนตาซี]] ฉบับที่ 15 (สิงหาคม พ.ศ. 2505) [[มาร์ติน กู๊ดแมน]] จากฝ่ายการพิมพ์ของ[[มาร์เวลคอมมิคส์]] ก็ได้พบว่า หนังสือการ์ตูนฉบับดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นหนึ่งในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลที่มียอดขายสูงที่สุด<ref>Les Daniels. เพิ่งอ้าง. p. 97 {{en icon}}</ref> ต่อมา ไอ้แมงมุมก็ได้มีหนังสือการ์ตูนชุดเป็นของตนเอง โดยเริ่มต้นที่ “[[ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน]]” ฉบับที่ 1 ([[มีนาคม|มี.ค.]] [[พ.ศ. 2506|2506]]) เป็นอันดับแรก ซึ่งต่อมาหนังสือการ์ตูนชุดนี้ก็ได้กลายเป็นหนังสือการ์ตูนชุดที่มียอดขายสูงที่สุดของมาร์เวลไปอีกเช่นกัน<ref>Bradford W. Wright. เพิ่งอ้าง. p. 211 {{en icon}}</ref> และจากการสำรวจคะแนนเสียง[[นักศึกษา]][[มหาวิทยาลัย]]ของสำนักเอสไควร์ (Esquire) เมื่อปี [[พ.ศ. 2508]] ว่าใครเป็นสัญลักษณ์ในดวงใจที่มี “ความขบถ” อยู่ในตัว ของพวกเขามากที่สุด ก็ปรากฏว่า อันดับที่ 1 ก็คือไอ้แมงมุม ส่วนอันดับถัดลงมานั้น ก็คือ [[มนุษย์ยักษ์จอมพลัง]] (The Hulk) ที่เป็น[[ตัวการ์ตูน]]จากสังกัดมาร์เวลเหมือนกัน นอกจากนั้นยังมี[[บ็อบ ดีแลน]] และ[[เช เกบารา]] ติดอันดับอยู่ด้วย นักศึกษาผู้หนึ่งได้กล่าวถึงเหตุผลที่ลงคะแนนให้ไอ้แมงมุมว่า เพราะเขาถูก “ห้อมล้อมด้วยความทุกข์ ปัญหาทางด้านการเงิน และความสงสัยเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ ซึ่งพิจารณาให้ดีแล้ว เขาก็คือหนึ่งในพวกเรานั่นเอง”<ref>Bradford W. Wright. เพิ่งอ้าง. p. 223 {{en icon}}</ref>

หลังจากที่ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมนวางจำหน่ายถึงฉบับที่ 39 [[สตีฟ ดิตโก]] ก็ได้ยุติการวาดการ์ตูนชุดนี้ไป โดยผู้ที่มารับหน้าที่นี้ในระยะต่อมาก็คือ [[จอห์น โรมิตา ซีเนียร์]] (John Romita, Sr.)

ในปี [[พ.ศ. 2513]] แม้ว่าจะมีกฎห้ามไม่ให้พรรณนาเนื้อหาที่เกี่ยวกับ[[ยาเสพติด]] ไม่ว่าจะในแง่บวกหรือลบ ผ่านสื่อหนังสือการ์ตูนก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาธิการ และสวัสดิการของ[[สหรัฐอเมริกา]] ก็ได้ขอร้องให้[[สแตน ลี]] ช่วยเพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวกับการรณรงค์ต่อต้าน[[ยาเสพติด]]ลงไปในหนังสือการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จด้านการขายเรื่องใดเรื่องหนึ่งของมาร์เวลให้<ref>Bradford W. Wright. เพิ่งอ้าง. p. 239 {{en icon}}</ref> ซึ่งลีก็ตอบรับ และได้เลือกดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน ฉบับที่ 96 ถึง 98 ([[พฤษภาคม|พ.ค.]] – [[กรกฎาคม|ก.ค.]] [[พ.ศ. 2514|2514]]) ในการเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับผลเสียของการเสพยาเสพติดลงไป โดยในเนื้อเรื่องส่วนนี้ เป็นการกล่าวถึง[[แฮร์รี ออสบอร์น]] (Harry Osborn) เพื่อนของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ (ไอ้แมงมุม) ที่ไปติดยาเสพติดจนทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง ในขณะเดียวกันนั้น ก็เป็นช่วงที่ไอ้แมงมุมต้องต่อสู้กับ[[กรีนกอบลิน]] (Green Goblin, หรือ[[นอร์แมน ออสบอร์น]] (Norman Osborn) บิดาของแฮรี) อยู่พอดี สุดท้ายไอ้แมงมุมก็สามารถเอาชนะกรีนกอบลินได้ด้วยการให้นอร์แมนได้เห็นลูกชายของตนเองที่กำลังเจ็บป่วยเพราะพิษยาเสพติดอยู่

ในปี พ.ศ. 2515 ไอ้แมงมุมได้ปรากฏตัวร่วมกับตัวการ์ตูนอื่น ๆ ของมาร์เวลในหนังสือการ์ตูนชุด “[[มาร์เวลทีมอัพ]]” (Marvel Team Up)

ในปี พ.ศ. 2519 มาร์เวลได้ออกหนังสือการ์ตูนชุดของไอ้แมงมุมมาเป็นชุดที่สอง โดยใช้ชื่อว่า “[[ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์, เดอะสเปคแทคูลาร์สไปเดอร์แมน]]” (Peter Parker, The Spectacular Spider-Man) ซึ่งได้วางจำหน่ายไปพร้อมกับดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน ซึ่งเป็นผลงานชุดแรก

ในปี พ.ศ. 2528 มาร์เวลก็สร้างหนังสือการ์ตูนชุดของไอ้แมงมุมมาเป็นชุดที่สาม โดยใช้ชื่อว่า “เว็บออฟสไปเดอร์แมน” (Web of Spider-Man) ซึ่งได้นำมาจำหน่ายแทนชุดมาร์เวลทีมอัพที่ยุติการสร้างไป

ในปี พ.ศ. 2533 ก็มีการวางจำหน่ายหนังสือการ์ตูนชุดของไอ้แมงมุมเป็นชุดที่สี่ โดยคราวนี้ผู้ที่มาเขียนบทและวาดให้คือศิลปินผู้โด่งดังที่ชื่อ [[ทอดด์ แมคฟาร์เลน]] (Todd McFarlane) ซึ่งการ์ตูนชุดนี้ สามารถเปิดตัวด้วยยอดขายที่สูงถึง 3 ล้านเล่มด้วยกัน<ref>Bradford W. Wright. เพิ่งอ้าง. p. 279 {{en icon}}</ref> นอกจากนั้น ยังมีการ์ตูนไอ้แมงมุมอีกอย่างน้อย 2 ชุดที่วางจำหน่ายตลอด

นอกจากจะเป็นตัวละครเอกในชุดของตนเองแล้ว ไอ้แมงมุมยังได้ปรากฏตัวอยู่ในหนังสือการ์ตูนที่ตีพิมพ์ออกมาแบบจำกัดจำนวน และยังได้เป็นแขกรับเชิญในหนังสือการ์ตูนของขอดมนุษย์ตัวอื่นอีกด้วย

เมื่อดิอแมซซิงสไปเดอร์แมนวางจำหน่ายถึงฉบับที่ 441 (พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) [[นักประพันธ์]]และศิลปิน [[จอห์น ไบร์น]] (John Byrne) ก็ได้นำเอาต้นกำเนิดของไอ้แมงมุมมาปรับปรุงใหม่ และนำไปสร้างเป็นหนังสือการ์ตูนชุดพิเศษที่ชื่อ “[[สไปเดอร์แมน: แชปเตอร์วัน]]” (Spider-Man: Chapter One, ธันวาคม พ.ศ. 2541 – ตุลาคม พ.ศ. 2542)

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมนก็ได้เริ่มวางจำหน่ายชุดที่ 2 มาเป็นฉบับแรก ซึ่งเมื่อวางจำหน่ายถึงฉบับที่ 59 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 จำนวนหนังสือการ์ตูนดิอแมซซิงสไปเดอร์แมนทั้งชุดที่ 1 และ 2 ก็มีจำนวนรวมกันถึง 500 ฉบับพอดี

[[ไฟล์:มาร์เวลแอดเวนเจอร์ เดอะสไปเดอร์-แมน ฉบับที่ 1.jpg|thumb|right|หน้าปก[[หนังสือการ์ตูน]] "[[มาร์เวลแอดเวนเจอร์สไปเดอร์แมน]]" ฉบับที่ 1]]
ในปี พ.ศ. 2550 ไอ้แมงมุมได้ปรากฏตัวอยู่ในหนังสือการ์ตูนชุดต่าง ๆ ของมาร์เวลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน, [[อเวนเจอร์ส#นิว อเวนเจอร์ส|นิวอเวนเจอร์ส]] (New Avengers), [[เดอะเซนเซชันแนลสไปเดอร์แมน]] (The Sensational Spider-Man), [[เฟรนลีเนเบอร์ฮูดสไปเดอร์แมน]] (Friendly Neighborhood Spider-Man) , [[สไปเดอร์แมนแฟมิลี]] (Spider-Man Family) , [[ดิอแมซซิงสไปเดอร์เกิร์ล]] (The Amazing Spider-Girl), [[อัลทิเมต สไปเดอร์-แมน]] (Ultimate Spider-Man), [[สไปเดอร์แมนเลิฟส์แมรี เจน]] (Spider-Man Loves Mary Jane), [[มาร์เวลแอดเวนเจอรส์สไปเดอร์แมน]] (Marvel Adventures Spider-Man) และ[[มาร์เวลแอดเวนเจอรส์: ดิอเวนเจอรส์]] (Marvel Adventures: The Avengers) นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงหนังสือการ์ตูนชุดอื่น ๆ ที่ขายอย่างจำกัดจำนวนของมาร์เวลอีกด้วย

ในปัจจุบันนี้ ไอ้แมงมุมได้กลายมาเป็นตัวการ์ตูนที่สำคัญของมาร์เวล และมักจะถูกนำมาใช้เป็นตัวนำโชคประจำ[[บริษัท]]อยู่บ่อย ๆ โดยในครั้งที่มาร์เวลได้เข้าสู่[[ตลาดหุ้น]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]]เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534<ref>มาร์เวลคอมมิคส์ถือเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการหนังสือการ์ตูนบริษัทแรกที่ได้เข้าสู่[[ตลาดหุ้น]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]]</ref> [[วารสารวอลล์สตรีท]] (Wall Street Journal) ก็ได้ตั้งหัวข้อข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ว่า “ไอ้แมงมุมบุกวอลล์สตรีทแล้ว” (Spider-man is coming to Wall Street) และในวันที่มีการโปรโมทหุ้นของบริษัท สแตน ลี พร้อมด้วย[[นักแสดง]]ที่ใส่ชุดไอ้แมงมุมก็ได้เดินทางไปร่วมโปรโมทกันที่ตลาดหุ้นด้วย<ref>Bradford W. Wright. เพิ่งอ้าง. p. 254 {{en icon}}</ref>

หลังจากที่เกิด[[วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544|เหตุการณ์ก่อความไม่สงบในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544]] มาร์เวลก็ต้องการจะตีพิมพ์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ผ่านทางการ์ตูนเรื่องหนึ่งของสังกัด ซึ่งสุดท้ายพวกเขาก็ได้เลือกการ์ตูนเรื่องไอ้แมงมุมเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้น โดยที่เนื้อเรื่องดังกล่าวอยู่ในหนังสือการ์ตูนชุดดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน ฉบับเดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2544|2544]]<ref>Beau Yarbrough. "[http://www.comicbookresources.com/news/newsitem.cgi?id=461 Marvel to Take on World Trade Center Attack in 'Amazing Spider-Man']," หน้า CBR News. เว็บไซต์ Comic Book Resources (http://www.comicbookresources.com). {{en}}</ref>

ในปี [[พ.ศ. 2549]] หลังจากที่มีข่าวว่า ไอ้แมงมุมจะถอดหน้ากากของตนเองออก เพื่อเผยว่าผู้ที่อยู่ใต้หน้ากากนั้นก็คือปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ในหนังสือการ์ตูนชุด "[[มาร์เวล: ซิวิลวอร์]]" (Marvel: Civil War) สื่อมวลชนในโลกแห่งความจริงหลาย ๆ แห่งต่างก็ลงข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวนี้อย่างพร้อมเพรียงกัน<ref>"[http://news.bbc.co.uk/1/hi/entertainment/5084326.stm Spider-Man removes mask at last]," หน้า Entertainment. เว็บไซต์ BBC News (http://news.bbc.co.uk). {{en icon}}</ref> ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ [[หนังสือพิมพ์]][[นิวยอร์กโพสท์]]ของสหรัฐอเมริกาที่ลงข่าวดังกล่าวนี้หนึ่งหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์เต็ม ๆ โดยได้ลงเอาไว้ก่อนที่หนังสือการ์ตูนตอนดังกล่าวจะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเสียอีก<ref>"[http://www.newsarama.com/marvelnew/CivilWar/CivilWar2_End.html New York Post Spoils Civil War #2]." เว็บไซต์ Newsarama.com (http://www.newsarama.com). {{en}}</ref>

== ชีวประวัติปีเตอร์ ปาร์คเกอร์/ไอ้แมงมุม ==
ในครั้งที่ปรากฏตัวครั้งแรกใน[[หนังสือการ์ตูน]] ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ เป็นเพียงวัยรุ่นเด็กเรียนคนหนึ่งจาก[[ฟอเรสท์ฮิลส์]] (Forest Hills) [[นครนิวยอร์ก]] ที่ต่อมาถูก[[แมงมุม]]อาบ[[กัมมันตภาพรังสี]]กัดในระหว่างที่เขากำลังศึกษาการทดลองทาง[[วิทยาศาสตร์]]อยู่ เขาได้รับพลังพิเศษต่าง ๆ จากแมงมุมตัวนั้น และหลังจากนั้น เขาก็พยายามที่จะเป็นดารา[[โทรทัศน์]]ด้วยการไปสมัครเป็น[[นักมวยปล้ำ]] แต่แล้ววันหนึ่ง ก็ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อเขาได้พลาดการหยุดยั้งอาชญากรคนหนึ่งเอาไว้ทั้งที่มีโอกาส จนเป็นเหตุให้อีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา อาชญากรคนเดียวกันนั้นได้ทำร้าย[[ลุงเบน]] (Uncle Ben) ซึ่งเป็นผู้ที่เลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เด็กจนเสียชีวิต หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ปาร์คเกอร์ก็ได้เรียนรู้ว่า พลังอันยิ่งใหญ่ที่เขาได้รับมานั้น มันจะต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ด้วย เขาจึงกลายมาเป็นไอ้แมงมุมหรือสไปเดอร์แมนและใช้พลังพิเศษที่เขามีทำหน้าที่ปกป้องความสงบสุขของประชาชนในที่สุด<ref>Amazing Fantasy (ชุดที่ 1, ฉบับที่ 15, [[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2505|2505]]) {{en icon}}</ref>

หลังจากลุงของเขาถึงแก่กรรมไป ปาร์คเกอร์และ[[ป้าเมย์]] (Aunt May) ผู้ที่เขาอาศัยด้วยและเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เด็กอีกคนหนึ่ง ก็เริ่มขัดสนด้านเงินทองมากขึ้น เขาจึงต้องไปทำงานเป็น[[ช่างถ่ายภาพ]]ให้กับสำนักหนังสือพิมพ์[[เดลีบูเกิล]] (Daily Bugle) และขายภาพให้กับ[[เจ. โจนาห์ เจมสัน]] (J. Jonah Jameson) ผู้ที่ชอบนำเอาความรู้สึกส่วนตัวใส่ลงในหัวข่าวหนังสือพิมพ์เสมอ<ref>The Amazing Sider-Man (ชุดที่ 1, ฉบับที่ 1, [[พ.ศ. 2506]]) {{en}}</ref>

หลังจากที่เขาได้ต่อสู้กับศัตรูของเขาครั้งแรก ปาร์คเกอร์ได้พบว่าการดำเนินชีวิตระหว่างชีวิตส่วนตัวกับชีวิตภายใต้ชุดแมงมุมนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบาก จนบางครั้งเขาก็พยายามจะเลิกสิ่งที่เขาทำ<ref>The Amazing Sider-Man (ชุดที่ 1, ฉบับที่ 50) {{en icon}}</ref><ref>The Amazing Sider-Man (ชุดที่ 1, ฉบับที่ 100) {{en}}</ref>

ทางด้านศัตรูของเขานั้น ก็มักจะเข้าทำร้ายคนรอบกายที่เขารักอยู่เสมอ โดยครั้งที่สำคัญที่สุดก็คือ ครั้งที่[[กรีนกอบลิน]]ได้ฆาตกรรม[[เกว็น สแตซี]] (Gwen Stacy) คนรักคนแรกของเขา แต่ถึงแม้ว่าความตายของเธอจะคอยหลอกหลอนเขาตลอดเวลา ในเวลาต่อมาปาร์คเกอร์ก็ได้เข้าพิธีวิวาห์กับ[[แมรี เจน วัตสัน]] (Marry Jane Watson) โดยเนื้อเรื่องต่อจากนั้น ก็มีการเปิดเผยให้เห็นถึง[[อัตลักษณ์]]ของเขาในฐานะของบุคคลธรรมดาคนหนึ่ง และปัญหามากมายที่เขาต้องประสบมากขึ้น

== พลังพิเศษและอุปกรณ์ต่าง ๆ ==
=== พลังพิเศษ ===
[[ไฟล์:ปาร์เกอร์ถูกแมงมุมกัด.jpg|thumb|right|ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ถูก[[แมงมุม]][[กัมมันตภาพรังสี]]กัด ทำให้เขาได้รับพลังพิเศษ]]
หลังจากที่ถูก[[แมงมุม]][[กัมมันตภาพรังสี]]กัดในระหว่างที่เขากำลังศึกษาการทดลองทาง[[วิทยาศาสตร์]] ในชั้นเรียนอยู่นั้น ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ก็ได้พบกับสิ่งแปลกใหม่บางอย่างที่เข้ามาในร่างกายของเขา นั่นก็คือพลังพิเศษที่เขาได้รับจากแมงมุมตัวนั้นนั่นเอง

ในเนื้อเรื่องดั้งเดิมของ[[สแตน ลี]] และ[[สตีฟ ดิตโก]] นั้น ไอ้แมงมุมมีความสามารถในการเกาะไต่กำแพงได้ มีความแข็งแกร่งที่เหนือวิสัยมนุษย์พึงมี มี[[สัมผัสที่ 6]] ที่เรียกว่า “สัมผัสแมงมุม” (spider-sense) ที่คอยเตือนเขาถึงอันตรายที่ใกล้เข้ามา มีความสมดุลของร่างกายที่ดีเยี่ยม และมีความเร็วกับความคล่องตัวเกินมนุษย์ทั่วไป เมื่อมาถึงเนื้อเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี [[พ.ศ. 2548]] และ [[พ.ศ. 2549]] ความสามารถของไอ้แมงมุมก็ยิ่งมีความใกล้เคียงกับแมงมุมจริง ๆ มากขึ้น นั่นคือเขาสามารถพ่น[[ใยแมงมุม]]จริงออกมาจากมือได้ มีเหล็กในพิษที่งอกมาจากแขน มีความสามารถที่จะติดยึดสิ่งของต่าง ๆ กับหลังของเขาได้ สามารถควบคุมสัมผัสแมงมุมเพื่อใช้ในการสืบค้นร่องรอยต่าง ๆ ได้ สามารถมองเห็นในที่อับแสงได้ และยังมีความแข็งแกร่งกับความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม

นอกจากพลังพิเศษที่เขาได้รับแล้ว ร่างกายในระดับองค์รวมและอวัยวะภายในของเขา ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบของ[[กระดูก]] เนื้อเยื่อที่ยึดกระดูกเข้าหากัน และ[[ระบบประสาท]]ต่าง ๆ ก็ยังมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนั้น [[กล้ามเนื้อ]]ของเขาก็ยังพัฒนาเพิ่มขึ้น

=== อุปกรณ์เสริม ===
ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ เป็นตัวการ์ตูนที่มีพรสวรรค์และเป็นอัจฉริยะในการประยุกต์ใช้ความรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น[[วิทยาศาสตร์]] [[เคมี]] หรือ[[ฟิสิกส์]] เพื่อเสริมให้พลังของเขาแข็งแกร่งขึ้น<ref>Kit Kiefer and Jonathan Couper-Smart. Marvel Encyclopedia Volume 4: Spider-Man (Marvel Comics, 2003.) {{en icon}}</ref> ซึ่งนอกเหนือจากพลังพิเศษแล้ว เขายังได้สร้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ควบคู่กับพลังของเขาอีกด้วย โดยอุปกรณ์ที่ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของไอ้แมงมุมก็คือ เครื่องยิงใยแมงมุม (web-shooter) ที่เขาพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่เขาเป็นวัยรุ่น อุปกรณ์นี้สามารถปล่อยสารประกอบที่มีความเหนียวอย่างมากคล้ายใยแมงมุม ซึ่งจะสลายตัวไปหลังจากที่ถูกปล่อยออกมาแล้ว 2 ชั่วโมง<ref>"[http://www.marveldirectory.com/individuals/s/spiderman.htm Spider-Man]," หน้า Individuals. เว็บไซต์ Marvel Directory (http://www.marveldirectory.com). {{en icon}}</ref> ไอ้แมงมุมจะติดเครื่องยิงใยแมงมุมนี้เอาไว้บริเวณข้อมือด้านในทั้งสองข้าง โดยจะมีสวิทช์ควบคุมการปล่อยอยู่บริเวณฝ่ามือ ซึ่งรูปแบบของสารประกอบที่ปล่อยออกมานั้น ก็มีรูปร่างที่ต่างกันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้ ไม่ว่าจะเป็นแบบสายยาวที่ใช้แทนเชือกในการโหนตัว แบบตาข่าย หรือแบบลูกกลมที่ใช้ในการยิงอาวุธในมือของศัตรูหรือยิงใส่ตาของศัตรู ทำให้ศัตรูมองไม่เห็นไปชั่วขณะ นอกจากนั้นแล้ว เขายังสามารถทอสารประกอบดังกล่าวให้กลายเป็นรูปทรงกลมหรือครึ่งทรงกลมมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันตนเองหรือห่อหุ้มบริเวณมือเพื่อใช้แทน[[นวม]] หรือเป็นปีกขนาดใหญ่เพื่อใช้แทนเครื่องร่อน

นอกจากเครื่องยิงใยแมงมุม ปาร์คเกอร์ยังได้ประดิษฐ์เครื่องนำร่องแมงมุม (spider-tracer) ซึ่งเป็นอุปกรณ์รูปร่างคล้ายแมงมุมติดสัญญาณไฟที่สามารถฉายภาพ “สัญญาณแมงมุม” (Spider-Signal) ได้ โดยต่อมาปาร์คเกอร์ยังได้ปรับแต่งเครื่องนำร่องแมงมุมนี้ให้มี[[กล้อง]]ถ่ายภาพติดเอาไว้เพื่อถ่ายภาพได้แบบอัตโนมัติ

ปาร์คเกอร์ยังได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ของ[[เบ็น เรลลี]] (Ben Reilly, มนุษย์เทียมที่[[โคลน]]มาจากตัวของปาร์คเกอร์เอง) ที่เรียกว่า “อิมแพ็คท์เว็บบิง” (impact-webbing) ซึ่งใช้ยิงกระสุนลูกปรายที่สามารถแผ่ออกมาเป็นใยแมงมุมหนา ๆ เพื่อห่อหุ้มร่างของผู้ที่ถูกยิงได้

[[ไฟล์:ไอ้แมงมุมชุดดำ.jpg|thumb|left|ไอ้แมงมุมฉบับบ[[การ์ตูน]]ในเครื่องแบบ[[สีดำ]]]]

=== ความสามารถด้านการต่อสู้ ===
ไอ้แมงมุมเป็นตัวการ์ตูนยอดมนุษย์ที่มีประสบการณ์การต่อสู้มากที่สุดตัวหนึ่งในจักรวาลของมาร์เวล ซึ่งถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยได้รับการฝึกฝนโดยตรงทางด้านนี้เลยก็ตาม แต่เขาก็ได้รับมันจากการร่วมงานกับยอดมนุษย์ตัวอื่น ๆ จากประสบการณ์เหล่านี้เอง ทำให้ไอ้แมงมุมสามารถเอาชนะศัตรูของเขาได้ด้วยพลังและความสามารถอันมหาศาล

รูปแบบการต่อสู้ของเขาจะเป็นแบบที่ไร้รูปแบบ โดยใช้ประโยชน์จากความคล่องแคล่ว ความแข็งแกร่ง ความเร็ว และความสมดุล ที่ผสมกับประโยชน์จากสัมผัสแมงมุมที่เขามี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการต่อสู้ส่วนใหญ่ของเขามาจากไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าผสมกับการใช้สติปัญญาและสงคราม[[จิตวิทยา]] ไม่ว่าจะเป็นการพูดเล่นมุขตลก เล่นลิ้น และเย้ยหยัน เพื่อให้คู่ต่อสู้โมโหคลุ้มคลั่ง และช่วยให้ตนเองสามารถรับมือกับความกลัวและความกังวลต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นระหว่างการต่อสู้ได้

=== เครื่องแบบ ===
ไอ้แมงมุมมีเครื่องแบบประจำตัวไม่มากนัก<ref>ดูเพิ่ม "[http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9470000013823 สไปเดอร์แมน เปี๊ยนไป๋!!] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070527092018/http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9470000013823 |date=2007-05-27 }}," หน้า Metro Life (29 มิถุนายน 2547.) เว็บไซต์ Menager Online (http://www.manager.co.th).</ref> โดยมีอยู่ 3 ชุดที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด นั่นคือ ชุด[[แมงมุม]][[สีแดง]]-[[น้ำเงิน]]ที่ใส่เป็นประจำแทบจะทุกตอน ชุด[[สีขาว]]-[[ดำ]]คล้าย[[มนุษย์ต่างดาว]] (ภายหลัง ชุดนี้ได้ถูกพัฒนาไปเป็นเครื่องแบบที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวไอ้แมงมุม) และชุดไอออน
สไปเดอร์ (iron spider) ที่สร้างขึ้นมาโดย[[เทคโนโลยี]]ชั้นสูง ซึ่งออกแบบโดย[[โทนี สตาร์ค]] (Tony Stark) หรือ[[ไอร์ออนแมน]] (Ironman) เพื่อน[[ยอดมนุษย์]]อีกตัวหนึ่ง นอกจากนั้นแล้ว ในชุดปกติแดงน้ำเงินของไอ้แมงมุม บางครั้งจะมีใยแมงมุมเชื่อมระหว่างต้นแขนกับข้างลำตัวด้วย ขึ้นอยู่กับการตีความของศิลปินที่วาดแต่ละคน

[[แอกเซล อลองโซ]] (Axel Alonso) [[บรรณาธิการ]]ของหนังสือการ์ตูนไอ้แมงมุม ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ว่า ไอ้แมงมุมในหนังสือการ์ตูนจะกลับมาใส่ชุดเครื่องแบบสีดำอีกครั้ง โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือน[[กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2550|2550]] เป็นต้นไป เพื่อสอดรับกับชุดสีดำที่ไอ้แมงมุมในภาพยนตร์เรื่อง “[[ไอ้แมงมุม 3]]” (Spider-Man 3) ที่ได้เข้าฉายทั่ว[[โลก]]ในช่วงเวลานั้น ใส่พอดี


== ศัตรู ==
== ศัตรู ==
ไม่จริง
ไอ้แมงมุมเป็น[[ตัวการ์ตูน]][[ยอดมนุษย์]]อีกตัวหนึ่งที่มีศัตรูจำนวนมาก และศัตรูหลาย ๆ ตัวของเขาก็เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยศัตรูตัวสำคัญของเรื่องนี้ที่ถือว่ามีความเลวทรามและอันตรายที่สุดก็ได้แก่ [[กรีนกอบลิน]]<ref>Hilary Goldstein. "[http://uk.comics.ign.com/articles/684/684904p5.html Spider-Man Villains Tournament] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070514183515/http://uk.comics.ign.com/articles/684/684904p5.html |date=2007-05-14 }}," หน้า Features, Comics, Entertainment. เว็บไซต์ IGN (http://uk.comics.ign.com {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070528095251/http://uk.comics.ign.com/ |date=2007-05-28 }}). {{en icon}}</ref> [[ดอกเตอร์ออกโทปุส]] (Doctor Octopus) และ[[เวนอม]] (Venom) ส่วนศัตรูตัวอื่น ๆ ที่มีความสำคัญพอ ๆ กัน ก็ได้แก่ [[ลิซาร์ด]] (Lizard) [[คาเมเลียน]] (Chameleon) [[ฮอบกอบลิน]] (Hobgoblin) [[แครเวนเดอะฮันเตอร์]] (Kraven the Hunter) [[สกอร์เปียน]] (Scopion) [[แซนด์แมน]] (Sandman) [[ไรห์โน]] (Rhino) [[มิสเทริโอ]] (Mysterio) [[วัลเจอร์]] (Vulture) [[อีเล็คโตร]] (Electro) [[คาร์เนจ]] (Carnage) [[คิงพิน]] (Kingpin) และ[[ช็อคเกอร์]] (Shocker) เป็นต้น ศัตรูเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับพลังพิเศษมาจากอุบัติเหตุจากการทดลองทาง[[วิทยาศาสตร์]]หรือการนำ[[เทคโนโลยี]]วิทยาศาสตร์มาใช้ในทางที่ผิด และศัตรูบางตัวยังมีเครื่องแบบและพลังพิเศษเหมือน[[สัตว์]]คล้ายกับไอ้แมงมุมอีกด้วย นอกจากนั้นศัตรูบางตัวยังตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับไอ้แมงมุมด้วย เช่น กลุ่ม[[ซินนิสเตอร์ซิกซ์]] (Sinister Six) เป็นต้น


== ตัวละครสมทบ ==
== ตัวละครสมทบ ==
ผิด
เมื่อมองจากด้านตรงข้าม ไอ้แมงมุมก็คือมนุษย์ผู้หนึ่งที่ได้รับพลังพิเศษมาจากตัวแปรภายนอกเท่านั้น เพราะฉะนั้น [[การ์ตูน]]เรื่องนี้จึงมีส่วนที่เล่าถึงเรื่องราวของเขาในฐานะที่เป็นสามัญชนคนหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องราวในส่วนดังกล่าวนี้ก็หมายรวมไปถึงเพื่อนฝูง ครอบครัว และความรักของเขาด้วย
*

[[ไฟล์:ไอ้แมงมุม 2-2550.jpg|thumb|right|[[ป้าเมย์]] (ซ้ายสุด) และ[[แมรี เจน วัตสัน]] (ขวาสุด) สองตัวละครสมทบที่มีบทบาทมากที่สุดในการ์ตูนเรื่องไอ้แมงมุม<br /> (วาดโดย [[ไมค์ ดีโอดาโต]])]]
[[ตัวละครการ์ตูน]]ในบทบาทสมทบของไอ้แมงมุมที่มีความสำคัญและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่
* [[ป้าเมย์]] – ป้าผู้น่ารักของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ที่รับเขามาเลี้ยงดูหลังจากที่บิดาและมารดาของเขาถึงแก่กรรม และเมื่อ[[เบนจามิน ปาร์คเกอร์]] (Benjamin Parker) สามีของเธอ หรือลุงเบนของปีเตอร์ เสียชีวิตไปอีกคนหนึ่ง ป้าเมย์ก็กลายเป็นครอบครัวที่เหลืออยู่ของปีเตอร์เพียงคนเดียว ทำให้ทั้งเขาและเธอสนิทสนมกันมาก
* [[เกว็น สแตซี]] – คนรักของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ สมัยที่เรียนอยู่ใน[[วิทยาลัย]] ถูกสังหารโดย[[กรีนกอบลิน]] ด้วยการโยนร่างของเธอลงมาจากสะพาน
* [[เบ็ตตี แบรนท์]] (Betty Brant) – เลขานุการที่ทำงานในสำนัก[[หนังสือพิมพ์]][[เดลีบูเกิล]] ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยหลงรักกับปีเตอร์
* [[เจ. โจนาห์ เจมสัน]] – ผู้บริหารเจ้าอารมณ์ประจำสำนักเดลีบูเกิล ที่ได้จ้างปีเตอร์มาทำงานในตำแหน่ง[[ช่างถ่ายภาพ]]ของสำนัก เขาเป็นผู้ที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์ไอ้แมงมุมและมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้สาธารณชนไม่ไว้ใจไอ้แมงมุมด้วย
* [[โจเซฟ “ร็อบบี” โรเบิร์ตสัน]] (Joseph “Robbie” Robertson) – หัวหน้ากอง[[บรรณาธิการ]]ของสำนักเดลีบูเกิล ผู้ที่คอยทำให้อำนาจของเจมสันอ่อนลง สำหรับปีเตอร์ หลังจากที่ลุงเบนของเขาจากไปแล้ว โรเบิร์ตสันก็ถือเป็นตัวแทนของบิดาของเขา
* [[แมรี เจน วัตสัน]] (เอ็มเจ (MJ)) – เคยเป็นคู่แข่งหัวใจของเกว็น สแตซี ซึ่งต่อมาเธอก็กลายมาเป็นเพื่อนสนิทและภรรยาของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์
* [[แฟลช ทอมพ์สัน]] (Flash Tompson) – เด็กเกเรที่ชอบแกล้งปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ สมัยที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งต่อมาเขาทั้งสองก็ได้กลายเป็นเพื่อนสนิทกัน หลังจากจบมหาวิทยาลัย แฟลชได้เข้าเป็นทหารและเข้าร่วมรบจนเสียขาทั้ง2ข้าง แฟลชได้เข้าโครงการ รีเบิร์ท2.0 ซึ่งเป็นการผสานร่างกายเข้ากับ วีน่อมซิมไบโอต แฟลชจึงได้กลายเป็น เอเจนท์วีน่อม
* [[แฮร์รี ออสบอร์น]] – เพื่อนสนิทของปีเตอร์สมัยที่เรียนอยู่ในวิทยาลัย ผู้ซึ่งต่อมาได้ดำเนินตามรอยของบิดาของเขา ([[นอร์แมน ออสบอร์น]]/กรีนกอบลิน) และกลายมาเป็นกรีนกอบลินตัวที่ 2 ที่คอยจ้องทำลายไอ้แมงมุม
* [[เฟลิเซีย ฮาร์ดีย์]] (Felicia Hardy) หรือ แบล็คแคท (Black Cat) – หัวขโมยที่มีความสามารถและการแต่งตัวคล้าย[[แมว]] ผู้ซึ่งเป็นคนรักและคู่หูของไอ้แมงมุมในระดับหนึ่งจนมี "การร่วมเพศ" กับสไปเดอร์แมน


== ไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่น ==
== ไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่น ==
{{บทความหลัก|ไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่น}}
{{บทความหลัก|ไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่น}}

นอกจากจะเป็นหนึ่งใน[[หนังสือการ์ตูน]]กระแสหลักของสังกัด[[มาร์เวลคอมิกส์]]แล้ว เรื่องของไอ้แมงมุมก็ยังถูกนำมาเล่าในเนื้อเรื่องอื่น ๆ

== ชุดของสไปเดอร์แมน ==

{| class="wikitable"
|-
! ชื่อชุดไอ้แมงมุม !! ลักษณะ !! หมายเหตุ
|-
| '''ชุดเดอะเวสเลอร์ (the wrestler suit)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่ใช้ในสังเวียนมวยปล้ำ เพื่อทดสอบพลังของตนเอง
|
|-
| '''ชุดเดอะสไปเดอร์แมน (the spider man suit)'''
| ชุดแรกที่ปีเตอร์สร้างขึ้นมาหลังจากได้รับชัยชนะจากสังเวียนมวยปล้ำปีเตอร์จึงออกแบบชุดของตัวเองเองใหม่ทั้งหมดโดยแต่งแต้มแมงมุมทั้งหมดเพิ่มสีสาร แดง-ดำ พร้อมทั้งประดิษฐ์เครื่องพ่นใยขึ้นมา เพื่อใช้ในการยิงใยได้ถนัด
|
|-
| ''' ชุดต้นแบบ (classic costume suit)'''
| ชุดที่ถูกออกแบบใหม่ที่ลบแต้มแมงมุมออกทั้งหมดที่ร่องแขนและเพิ่มสีน้ำเงินเข้าไปแทนและเป็นชุดที่สไปเดอร์แมนใช้มาตลอด
|
|-
| '''ชุดสีดำหรือชุดซิมไปโอต (black suit & symbiote suit)'''
| ในขณะที่สไปเดอร์-แมนกำลังต่อสู้บนดาวประหลาด (เนื้อเรื่องย่อยภาคซีเคร็ท วอร์ส) เขาต้องยอมเสียสละเครื่องยิงใยแมงมุมอาวุธหลักของเขาไปในการช่วยเหลือเพื่อนพ้องจากการโดนหินทับที่โมเลกุล-แมนทุ่มใส่ ทำให้สไปเดอร์-แมนต้องหาอาวุธใหม่มาทดแทน โดยได้ข่าวจากฮีโร่คนอื่นๆมาว่ามีเครื่องยนต์ประหลาดในห้องแลปทดลองใกล้ๆซึ่งสามารถซ่อมชุดของเขาได้ สไปเดอร์แมน จึงเริ่มตามหาเครื่องที่ว่านี้ แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ไปเปิดผิดเครื่อง และปลดปล่อย“สสารเอเลี่ยนประหลาด” หลุดออกมาจากที่กักขังโง่ๆ ด้วยความประมาทของสไปเดอร์แมน ทำให้สสารเอเลี่ยนนั้นครอบคลุมร่างกายของเขา ทำให้ชุดสไปเดอร์แมนกลายเป็นร่างใหม่สีดำ ซึ่งค้นพบภายหลังว่ามันตอบสนองต่อสมองของเขา ซึ่งสามารถพรางกายให้เป็นชุดคนธรรมดา และสามารถพ่นใยแมงมุมอาวุธหลักได้อย่างไม่จำกัด

พอกลับมาที่[[โลก]] สไปเดอร์แมนก็ได้ค้นพบความจริงที่น่าสะพรึงกลัวของชุดใหม่นี้ และพบว่า “มัน” ต้องการจะรวมร่างกับเขา โดยมันเข้าครอบงำร่างของเขาในเวลากลางคืน ในเวลาที่เขาหลับ ออกไปท่องราตรีต่อสู้กับเหล่าอธรรมอย่างโหดเหี้ยม ต่อมาด้วยความช่วยเหลือจาก[[มนุษย์กายสิทธิ์]] (1 ใน [[แฟนแทสติก โฟร์]]) สไปเดอร์แมนจึงแยก'''"มัน"'''ออกจากตัวเขาได้ด้วยคลื่นโซนิค ซึ่งสามารถทำร้ายมันได้ แต่มันก็แหกกรงขังออกจากกลุ่มแฟนแทสติก โฟร์ได้ในที่สุด มันติดตามและพยายามจะรวมร่างกับสไปเดอร์-แมนอีกครั้งในหอระฆังโบสถ์ ด้วยพลังต่อต้านจากตัวสไปเดอร์-แมน และเสียงระฆัง ทำให้มันอ่อนแรงและหนีไปโดยทำท่าเหมือนจะตายแต่ก็หลบหนีไปได้และต่อมามันได้ไปรวมร่างกับ เอ็ดดี้ บร็อค จนกลายเป็น [[เวนอม]]
|ชุดที่เกิดจากการรวมเข้ากับซิมไบโอต เวนอม
|-
| '''ไอ้แมงมุมหกแขน (spider man six arms)'''
| เกิดจาการที่ปีเตอร์ดื่มยาลบผลข้างเคียงจาการถูกแมงมุมกัดแต่แทนที่เซรุ่มจะไปทำให้พลังของปีเตอร์หายไปแต่ผลดันผิดพลาดเพราะแขนเพิ่มออกมาสี่แขนจนกลายเป็นไอ้แมงมุมหกแขนต่อมาดร.เคริด์ คอนเนอร์ หรือ ริซาร์ด ผลิตยานต้านในภายหลังจนหายดี
|
|-
| ''' แบค-แมน (bag man suit) '''
| ชุดที่สมาชิกของ ([[แฟนแทสติก โฟร์]]) ทั้งสี่มอบให้เพราะหลังจากปีเตอร์แยกซิมไบโอตออกมาแล้วก็อยู่ในสภาพเปลือยกายเลยไปขอยืมชุดของเหล่าแฟนแทสติก โฟร์ มายืมใส่และใช้เป็นชุดปฏิบัติการอยู่ช่วงหนึ่งก่อนจะกลับมาใส่ชุดเดิม
|
|-
| '''คอสมิคสไปเดอร์แมน (cosmic spider-man)'''
|เกิดจากการที่ปีเตอร์ถูกระเบิดในห้องทดลองแทนที่มันจะฆ่าปีเตอร์แต่แรงระเบิดไปหลอมรวมเข้ากับปีเตอร์เข้ากับพลังงานคอสมิคจนกลายเป็น '''กัปตันยูนิเวิรส์''' ทำให้ปีเตอร์มีพลังพิเศษที่สามารถยิงลำแสงทำลายล้างออกมาจากมือได้และสามารถยิงใยให้ออกมาตามรูปแบบที่ใจของของปีเตอร์ปรารถนา
|
|-
|''' ชุดไซบอร์คสไปเดอร์แมน (cybrog spider-man suit)'''
| ชุดที่ปีเตอร์สวมใส่ในตอนที่ปีเตอร์บาดเจ็บจากการต่อสู้ส่วนแขนเหล็กไม่ได้เชื่อมต่อกับร่างกายจริงๆเป็นเพียงเครื่องมือที่สวมไว้ให้ปีเตอร์รักษาอาการบาดเจ็บ หลังจากปีเตอร์หายดีแขนกลก็ถูกถอดออก
|
|-
|''' สไปเดอร์อาร์เมอร์ มาร์ค 1 (spider-armor Mark i)'''
| ชุดเกราะที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยปีเตอร์เพื่อรับมือกับเหล่าวายร้ายนามว่า '''นิวเอนฟอร์ซเซอร์ ( New enforcers)'''
|
|-
| ''' ชุดอ็อคโต้สไปเดอร์ (Octo-spider suit)'''
| เกิดจากการที่ปีเตอร์สวมอุปกรณ์แขนกลของด็อคเตอร์อ็อคโตปุสเพื่อรับมือกับกลุ่ม ซินนิสเตอร์ซิกซ์
|
|-
|''' ชุดไอเดนทิตี้ ไคลซิส ริโคลเช็ท (identity crisis:ricochet)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่เนื่องจากถูกใส่ร้ายว่าเป็นฆาตกรปีเตอร์จึงเปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนชุดเพื่อรอคอยให้เรื่องคลี่คลายก่อนจะกลับมาเป็นสไปเดอร์แมนอีกครั้ง
|
|-
|'''ชุดไอเดนทิตี้ ไคลซิส: เดอะฮอร์เน็ท (identity crisis:The hornet)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่มีต้นแบบมาจากตัวต่อ มีเจ็ทแพ็คติดอยู่ที่หลังใช้โบยบินไปบนท้องฟ้าและมีอาวุธลับเป็นเข็มยาสลบ
|
|-
|'''ชุดดัสค์ (dusk suit)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ไดรับมาจากดินแดนเนกาทีฟโซนมีความสามารถพิเศษคือ สามารถแฝงกายไปกับเงามืดและมีปีกร่อนที่ใช้ในการบิน ชุดจะมีสีดำทั้งหมด
|
|-
|'''ชุดโพรดิจี้ (prodigy suit)'''
| ชุดที่ถูกออกแบบโดย [[แมรี เจน วัตสัน]] เป็นชุดเกราะกันกระสุนทั่วทั้งตัวและมีพลังทำให้ปีเตอร์สามารถกระโดดไปตึกหนึ่งไปอีกตึกหนึ่งได้ในระยะไกล
|
|-
|'''ชุดอัลลิมิเตท (unlimited suit)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่มีลักษณะสีแดง-น้ำเงินเข้ม ตาสีเหลือง
|
|-
|'''ชุดสุดท้าย (the final costume)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่ในอนาคตหลังหมดหน้าที่ซุปเปอร์ฮีโร่โดยมีลักษณะใส่หน้ากาก ถุงมือ แจ็คเก็ต โดยมันเป็นแค่นิมิตแต่เป็นชุดของจักรวาล 312500 ต่อมาปีเตอร์ในจักรวาลหลักก็ได้รับชุดนี้จริงจากช่างตัดเสื้อที่ชื่อว่า เดอะโอลซีดิงกี้
|
|-
|'''เกราะไอรอนสไปเดอร์ (iron-spider armor)'''
| ชุดเกราะใหม่ของใหม่ของปีเตอร์ที่โทนี่สร้างขึ้นมาและติดตั้งอุปกรณ์มากมาย เช่น ขากลของแมงมุม เครื่องสแกนเนอร์ อุปกรณ์ขยายเสียงและภาพ เป็นต้น มีสีแดงลายเหลือง
|
|-
|'''สไปเดอร์อาร์เมอร์ มาร์ค 2 (บิ๊ก ไทม์) (spider-armor Mark ii (Big Time)'''
| ชุดเกราะที่ถูกสร้างโดยปีเตอร์มีความสามารถในการซ่อนเร้นหายตัวโดยขึ้นอยู่กับสีสว่างบนชุดโดยสีของชุดแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ สีเขียว ทำให้อุปกรณ์ตรวจจับเสียงและภาพไร้ผล สีแดง ทำให้การทำงานของกับดักถูกยกเลิก
|
|-
|'''ชุดฟิวเจอร์ฟาวเดชั่น (future foundation suit)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่ได้รับมาจากจอห์นนี่ สตรอม์ หรือ ฮิวแมนทอร์ช ในช่วงที่ปีเตอร์เข้าร่วมกลุ่มฟิวเจอร์ฟาวเดชั่น ชุดสีขาวลายดำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำกลุ่ม
|
|-
|'''สไปเดอร์อาร์เมอร์มาร์ค 3 (spider-armor Mark iii)'''
| ชุดเกราะที่ถูกสร้างโดยปีเตอร์โดยเป็นชุดเกราะที่ปีเตอร์ตั้งใจประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อรับมือกับกลุ่มซินนิสเตอร์ซิกซ์โดยเฉพาะภายในชุดติดตั้งอุปกรณ์ไฮเทคมากมายซึ่งทำให้ปีเตอร์รับมือกับเหล่าศัตรูได้อย่างสบายๆ
|
|-
|'''สไปเดอร์อาร์เมอร์มาร์ค 4 (spider-armor Mark iv)'''
| ชุดเกราะที่ถูกสร้างโดยปีเตอร์โดยมีลักษณะเหมือนชุดดั้งเดิมแต่สัญลักษณ์แมงมุมมีสีเขียว-ดำ
โดยปีเตอร์ได้ติดตั้งระบบการยิงใยใหม่ ให้สามารถสั่งการได้ด้วยเสียงและชุดยังสามารถกันความร้อนและกันกระสุนปืนได้อีกด้วย
|
|-
|'''ชุดแอดวานส์ (advanced suit)
| ชุดที่ปรากฏในเกมส์เท่านั้นโดยเป็นชุดที่ด็อคเตอร์อ็อคเตเวียสออกแบบขึ้นมาเพราะเข้าใจว่าปีเตอร์แอบช่วยสไปเดอร์แมนโดยปีเตอร์ได้สวมชุดนี้ออกปฏิบัติการและชุดมีพลังพิเศษที่เรียกว่า แบทเทิลโฟกัส (Battle focus) จะทำให้เกจโฟกัสเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและจะกดอินแสตนท์เท็คดาวน์ของศัตรูได้ทันที
|
|-
|'''ชุดซีเคร็ทวอร์ (secrect war suit)'''
| ชุดเกราะที่ปีเตอร์ใส่ไปช่วยนิค ฟิวรี่จากด็อคเตอร์ดูม มีความสามารถในการปล่อย EMP
|
|-
|'''ชุดเนกาทีฟ (Negative suit)'''
| ชุดที่เกิดจากการที่ปีเตอร์เข้าไปในเนกาทีฟโซน (Negative zone) จนชุดดูดซับพลังของมันมาทำให้มีความสามารถล่องหนและมีความสามารถในการปล่อยคลื่นช็อคเวฟสีขาว-ดำออกมาได้
|เกิดจากการดูดพลังงานจากเนกาทีฟโซนมา
|-
|'''ชุดดำพลังไฟฟ้า (Electrically insulated suit)
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่ในการต่อสู้ร่วมกับทีม เอ็กซ์เมน และยังสามารถต่อกรกับอีเล็คโตรได้เพราะชุดสามารถกันไฟฟ้าได้
|
|-
|'''ชุดเฟียร์อิทเซลฟ์ (Fear itself suit)'''
| ชุดที่อัพเกรดถูกสร้างโดย โทนี่ สตาร์ค และ กลุ่มคนแคระ โดยใช้แร่อูรูในการสร้าง มีอาวุธคือใบมีดที่ออกมาจากปลอกแขนทั้งสองข้าง หลังจบเหตุการณ์ Fear itself โอดินได้สั่งทำลายอาวุธและรวมชุดนี้ด้วย
|
|-
|'''ชุดเวโรซิตี้ (verocity suit)
| ชุดที่ปรากฏในเกมส์เท่านั้น ชุดที่ปีเตอร์ใส่มีความสามารถในการเพิ่มความเร็วในการวิ่ง
|
|-
|'''ชุดสไตล์คอมมิค (vintage comic book suit)'''
| ชุดที่มีต้นแบบมาจากคอมมิคมีลวดลายเส้นการ์ตูน
|
|-
|'''ชุดลำลอง (ESU suit)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่ในชีวิตประจำวันมีแค่หน้ากากและเครื่องยิงใยเท่านั้น
|
|-
|''' ไม่มีชุด (undies suit)'''
| ปีเตอร์ที่ไม่ได้ใสเสื้อกับกางเกงใส่แค่หน้ากากและกางเกงในเท่านั้น
|
|-
|'''ชุดแอนตี้อ็อค (Anti-ock)'''
| ชุดที่ปรากฏในเกมส์ช่วงสุดท้ายเท่านั้น ชุดที่ปีเตอร์ใส่มีความสามารถในการเพิ่มพลังให้ชุด
|
|-
|'''ชุดมืด (dark suit)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ใส่หลังจากกลับมาจากความตายจากการช่วยเหลือของเดดพูลที่ฆ่าปีเตอร์เพราะถูกว่าจ้าง
|
|-
|}


= ชุดของสไปเดอร์แมนที่ปรากฏในภาพยนตร์ =
= ชุดของสไปเดอร์แมนที่ปรากฏในภาพยนตร์ =

{| class="wikitable"
|-
! ชื่อชุดไอ้แมงมุม !! ลักษณะ !! หมายเหตุ
|-
|'''ชุดดิอะเมซิ่งสไปเดอร์แมน รุ่นปี 1970 (the amazing spider-man suit (1970))'''
| ชุดสไปเดอร์แมนของปี 1970 โดยชุดมีสีแดง-น้ำเงิน ลักษณะชุดคือ เข็มขัดและเครื่องยิงใยเที่ใหญ่ป็นพิเศษโดยตาของสไปเดอร์แมนรุ่นนี้จะแหลมเป็นพิเศษ ปรากฏตัวใน ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน ปี 1970
|
|-
|''' ชุดสไปเดอร์แมนโตเอะ (spider-man toei suit)'''
| ชุดสไปเดอร์แมนของทางญี่ปุ่นหรือโตเอะที่จับมือร่วมกับมาร์เวลโดยชุดมีสีแดง-น้ำเงินเหมือนเดิมโดยชุดมีลักษณะคือ จะไม่มีเครื่องยิงใยแต่จะเป็นกำไลข้อมือที่เรียกชุดออกมาใส่และสามารถพ่นใยแมงมุมออกมาได้และสไปเดอร์แมนเวอร์ชันนี้มีหุ่นยนต์ประจำตัวคือ ลีโอพาดอน ปรากฏในทีวีโทรทัศน์ปี 1978
|
|-
|''' ชุดเวสเลอร์ เวอร์ชัน โทบี้ แม็คไกวร์ (the wrestler suit ver.Tobey macguire)
| ชุดที่ปีเตอร์สร้างขึ้นมาเองเพื่อในการประลองมวยปล้ำเพื่อชิงเงินรางวัลและทดสอบความสามารถของตัวเองว่าเก่งแค่ไหนปรากฏในไอ้แมงมุม ภาค 1
|
|-
|'''ชุดดั้งเดิม เวอร์ชัน โทบี้ แม็คไกวร์ (classic suit ver. Tobey macguire)'''
| ชุดที่สร้างขึ้นมาเองทำมาจากหนังโดยมีสีแดง-น้ำเงินและชุดมีลักษณะเหมือนในคอมมิคแต่จะไม่มีเครื่องยิงใยเพราะปีเตอร์สามารถยิงใยได้ด้วยตัวเองโดยไม่พึ่งเครื่องยิงใยแมงมุมปรากฏใน ไอ้แมงมุม ภาค 1 2 3
|
|-
|'''ชุดดั้งเดิม เวอร์ชัน โทบี้ แม็คไกวร์ รูปแบบเสียหาย(classic suit ver. Tobey macguire (Damgned))'''
| เกิดจากการที่ปีเตอร์ต่อสู้กับเหล่าวายร้ายจนทำให้ชุดขาดบางส่วนหรือมีลอย
|
|-
|''' ชุดดำ (black suit)'''
| ชุดที่เกิดจากการรวมตัวของซิมไบโอต เวน่อม โดยชุดจะมีลักษณะสีดำและทำให้ปีเตอร์มีพลังมากขึ้นแต่ปีเตอร์จะสูญเสียบุคลิกของตนเองไปเพราะยิ่งเวน่อมครอบงำปีเตอร์มากเท่าไหร่ปีเตอร์จะกลายเป็นไม่ดีและก้าวร้าว ปีเตอร์จึงเลยถอดชุดออกมาและเวน่อมมันก็ได้ไปรวมกับเอ็ดดี้ บร็อคจนกลายเป็น เวน่อม ปรากฏใน ไอ้แมงมุมภาค 3
|
|-
|''' ชุดศาลเตี้ย ( vigilante suit)'''
| ปีเตอร์ใส่แค่หน้ากากและแว่นส่วนเสื้อเป็นชุดลำลองและใส่หมวกไหมพรม ปรากฏใน ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน
|
|-
|''' ชุดแรก (first suit)'''
| ชุดแรกที่ปีเตอร์ออกแบบขึ้นมาเองโดยชุดมีสีแดง-น้ำเงินและมีเครื่องยิงใยแมงมุมเนื่องจากปีเตอร์ไม่สามารถยิงใยควบคุมได้ สัญลักษณ์แมงมุมจะมีขายาว โดยหน้ากากตรงตาจะมีสีเหลือง ปรากฏใน ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน
|
|-
|'''ชุดที่สอง (second suit)'''
| ชุดที่สองของปีเตอร์ที่ออกแบบโดย เกว็น สเตซี่ โดยสีตาจะถูกเปลี่ยนเป็นสีขาวให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและสีของชุดถูกปรับให้สดใสขึ้น เครื่องยิงใยแมงมุมถูกเปลี่ยนเป็นอันใหม่ ปรากฏใน ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน ภาค 2
|
|-
|}
= ชุดของสไปเดอร์แมนที่ปรากฏใจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล =
= ชุดของสไปเดอร์แมนที่ปรากฏใจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล =
{| class="wikitable"
|-
! ชื่อชุดไอ้แมงมุม !! ลักษณะ !! หมายเหตุ
|-
|'''ชุดโฮมเมด (homemade suit)'''
| ชุดที่ปีเตอร์ทำเองที่บ้านหลังจากโดนแมงมุมอาบรังสีกัดโดยตาจะเป็นแว่น ความสามารถของชุดนี้คือ โดยตัวแว่นมันทำให้ปีเตอร์มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เห็น เครื่องยิงใยแมงมุมถูกสร้างโดยปีเตอร์โดยสร้างจากวัสดุที่ไม่แพงและหาได้ง่าย โดยมีตัวบรรจุกระสุนใยแมงมุมอยู่ โดยมีสี่อันต่อเครื่องยิงใย
|ในภาพยนตร์เรื่อง ''[[กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก]] ปีเตอร์ตั้งใจจะใส่ชุดนี้ไปลุยแต่โทนี่ส่งชุดใหม่มาก่อน
|-
|''' ชุดแดง&น้ำเงิน หรือ ชุดดั้งเดิมของสตาร์ค (Red&blue suit หรือ original stark suit)'''
| ชุดที่โทนี่สร้างให้ปีเตอร์ใส่เพื่อจับกุมกลุ่มแคปในเหตุการณ์[[กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก]] ก่อนโทนี่จะมอบชุดให้ปีเตอร์ไปใช้โดยมีสีแดง-น้ำเงิน ชุดนี้ปีเตอร์สามารถใช้ช่วงช่วยคนแถวบ้านของตนเองและปกป้องผู้คนจากภัยอันตราย โดยชุดทอขึ้นมาด้วยเส้นใยชนิดพิเศษที่มี ความแข็งแกร่ง ทนทาน และ ยากที่การฉีกขาดโดยตัวชุดมีการติดตั้งระบบ Auto fit suit (ระบบศูนย์ยากาศ) ที่สามารถปรับขนาดของชุดให้ใหญ่-เล็กลงก็ได้เพื่อให้พอดีกับผู้สวมใส่ได้โดยอัตโนมัติ อาวุธสำคัญที่ติดตั้งมาคือ เครื่องยิงใยแมงมุม (web-shootes) ที่อัพเกรดใหม่หากเกิดใยหมดระหว่างทำภารกิจสามารถติดตั้งใยสำรองบริเวณเอวถึง 6 กรัม โดยเครื่องยิงใยและใยสำรองมาใช้กับชุดลำลองได้ในกรณีที่ปีเตอร์ไม่ได้พกชุดมา โดยชุดดูเหมือนจะเป็นชุดซุปเปอร์ฮีโร่ธรรมดาทั่วไป แต่ความจริงโทนี่แอบซ่อนความสามารถต่างๆเอาไว้ เพื่อบล็อกไม่ให้ปีเตอร์ใช้งานจนกว่าจะผ่านการประเมิณจากโทนี่ แต่ปีเตอร์ก็ดันไปพบกับความลับนี้จนได้และขอให้เน็ท ลีด ปลดล็อกความสามารถทั้งหมดออกมา โดยชุดสร้างมาจากผลิตด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยโดยมีการติดตั้งเลนส์ชนิดพิเศษที่บริเวณดวงตาสามารถใช้คลื่นแสสเป็คตรั้มและสแกนหาเป้าหมายได้ทุกพิกัดแม้จะมีสิ่งกีดขวางบดบังอยู่ก็ตาม เวฟวิงค์ หรือ ปีกแมงมุม (web-wings) สามารถทำให้ปีเตอร์ร่อนอยู่ในที่สูงกรณีที่อยู่ในพื้นที่กว้างที่ไม่มีตึกให้ปีเตอร์โหนตัวลงมา โลโก้ที่หน้าอกชุดมันมีชื่อว่า โดรนนี่ (droney) โดรนลาดตระเวนที่สามารถสอดแนมและส่งข้อมูลมาให้ปีเตอร์ เครื่องยิงใยสามารถปล่อยแมงมุมจิ๋วติมตามเป้าหมายและส่งข้อมูลผ่าน GPS แพตกิ้ง ซึ่งจะแสดงพิกัดแผนที่แบบโฮโลแกรม โดยชุดมีระบบปฏิบัติการอัจฉริยะโดยปีเตอร์ตั้งชื่อว่า คาเรน(K.A.R.E.N)โดยคาเรนเชื่อมต่อกับข้อมูลส่วนกลางทำให้สามารถนำข้อมูลต่างๆมาแสดงผลได้อย่างรวดเร็วและสามารถวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมต่างๆว่าในแต่ละสถานการณ์ปีเตอร์ควรใช้โหมดไหนในการต่อสู้โดยเครื่องยิงใยสามารถยิงใยได้ 576 รูปแบบ เช่น ใยลูกกระดอน ใยแยกสลาย ใยลูกระเบิด ฯลฯ โดยชุดสามารถใช้โหมด instanct kills หรือ โหมดสังหารได้ ปรากฏตัวใน ''[[กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก]] , ''[[สไปเดอร์แมน: โฮมคัมมิ่ง]] , ''[[อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล]]'' ,''[[สไปเดอร์-แมน ฟาร์ ฟรอม โฮม]]''
|
|-
|''' เกราะไอรอนสไปเดอร์ (iron-spider armor)'''
| หลังจบ''เหตุการณ์ปราบวัลเจอร์ลงไปได้'' โทนี่ได้ตอบแทนน้ำใจปีเตอร์โดยการสร้างชุดนี้ขึ้นมาโดยมีต้นแบบมาจากชุดเกราะ ไอรอนแมน มาร์ค 46 โดยโทนี่ได้ให้ปีเตอร์ใส่เพื่อเปิดตัวฮีโร่คนใหม่อย่างสไปเดอร์แมนแต่ปีเตอร์ปฏิเสธเพราะปีเตอร์ขอเป็นสไปเดอร์แมนเพื่อนบ้านที่แสนดีไปก่อน ในช่วงเหตุการณ์ชิงมณีจาก ดร.สเตรนจ์ ในนิวยอร์ก โดยปีเตอร์ได้เกาะยาน Q-ship โดยชุดแดง&น้ำเงินไม่มีอากาศถ่ายเทบนอวกาศ เลยทำให้โทนี่สั่งการจรวดขนาดเล็กที่บรรจุเกราะอยู่ให้ปีเตอร์ใส่ โดยเมื่อใส่เข้าไปทำให้ชุดผลิตออกซิเจนให้ปีเตอร์มีอากาศหายใจและเป็นชุดที่เหมาะกับการทำภารกิจบนอวกาศ โดยชุดสามารถกันกระสุนได้เนื่องจากเป็นเกราะ ชุดมีซอฟแวร์ที่เชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการ F.R.I.D.A.Y ทำให้โทนี่ควบคุมชุดไอรอนสไปเดอร์ได้อย่างเต็มที่ โดยบรรจุเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็ก โดยมีความมารถมากมาย เช่น ระบบร่มชูชีพ ขาแมงมุมที่เป็นอาวุธหลักของชุดในการต่อสู้และเป็นแขนขาในการปีนป่ายหรือใช้เดินบนพื้นผิวขรุขระ ถ้าหากต้องการใช้ฟังก์ชัน Full option ต้องสั่งการโหมด instant kills หรือ โหมดสังหาร มันจะทำให้ขาแมงมุมโจมตีศัตรูได้อย่างรวดเร็วและทำให้สไปเดอร์กลายเป็นผู้ต่อสู้ที่น่ากลัวไปในที่สุด ในช่วงที่ปีเตอร์ไปทัศนศึกษาได้เผยว่า ชุดยังต้องชาร์จพลังงาน ปรากฏตัวใน ''[[สไปเดอร์แมน: โฮมคัมมิ่ง]] , ''[[อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล]]'' ,''[[สไปเดอร์-แมน ฟาร์ ฟรอม โฮม]]''
|
|-
|'''ชุดสเตล็ท หรือ ชุดไนท์มังกี้ (stealth suit หรือ night monkey suit)'''
|
|
|-
|'''ชุดแดง&ดำ(red&black suit)'''
|
|
|-
|}
== ไอ้แมงมุมในสื่ออื่น ==
== ไอ้แมงมุมในสื่ออื่น ==
{{โครงส่วน}}
{{โครงส่วน}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:04, 26 ธันวาคม 2564

สไปเดอร์-แมน
หน้าปกหนังสือการ์ตูน "อแมซซิงแฟนตาซี" ฉบับที่ 15 ที่ซึ่งไอ้แมงมุมปรากฏตัวเป็นครั้งแรก
ข้อมูลการจัดพิมพ์
ผู้จัดพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์
ปรากฏตัวครั้งแรกอแมซซิงแฟนตาซี #15 (สิงหาคม 1962)
สร้างสรรค์โดยสแตน ลี
สตีฟ ดิตโก
ข้อมูลในเรื่อง
ชื่อจริงปีเตอร์ เบนจาบิน ปาร์คเกอร์
นามแฝงRicochet,[1] Dusk,[2]Prodigy,[3] Hornet,[4] Ben Reilly,[5]
Scarlet Spider,[6] Iron Spider,[7] Captain Universe,[8] The Liar[9]
สปีชี่ส์Human mutate
สังกัดทีมอเวนเจอร์ส
แฟนแทสติกโฟร์
ฟิวเจอร์ ฟาวน์เดชัน
นิวอเวนเจอร์ส
Jean Grey School for Higher Learning
Web-Warriors
พลพรรคแบล็ค แคท
พลอว์เลอร์
ซิลค์
สไปเดอร์-แมน (ไมล์ โมราเลส)
เดดพูล
สไปเดอร์-เกว็น
กัปตันอเมริกา
ไอรอนแมน
ความสามารถ
  • สติปัญญาระดับอัจฉริยะ
  • นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ที่เชี่ยวชาญ
  • ความแข็งแรง, ความเร็ว, ความทนทานและความคล่องตัว เหนือมนุษย์
  • มีความสามารถในการยึดติดกับพื้นผิวเกือบทุกแบบ
  • รู้อนาคตด้วยสไปเดอร์-เซนส์
  • ใช้เครื่องยิงใยจากข้อมือ

ผิดหมดเลย

ศัตรู

ไม่จริง

ตัวละครสมทบ

ผิด

ไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่น

ชุดของสไปเดอร์แมนที่ปรากฏในภาพยนตร์

ชุดของสไปเดอร์แมนที่ปรากฏใจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล

ไอ้แมงมุมในสื่ออื่น

อ้างอิง

  1. Amazing Spider-Man #434
  2. Spider-Man #91
  3. The Spectacular Spider-Man #257
  4. Sensational Spider-Man #27
  5. Amazing Spider-Man Annual #36
  6. The Amazing Spider-Man #149-151
  7. The Amazing Spider-Man #529
  8. "What If? Vol 2 #31
  9. "Amazing Spider-Man Vol.05" #6

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น