ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 9171530 สร้างโดย ชายชาย (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ชายชาย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
}}
}}


'''ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ''' (ชื่อเล่น: เอก, เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521) เป็น[[นักธุรกิจ]] นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักการเมืองชาวไทย เขาดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร[[กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท]]ตั้งแต่ปี 2545
'''ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ''' (ชื่อเล่น: เอก, เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521) เป็นกบฏ [[นักธุรกิจ]] นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักการเมืองชาวไทย เขาดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร[[กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท]]ตั้งแต่ปี 2545 และหัวหน้าใหญ่ผู้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้คนจะได้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดี แทน


เขาตัดสินใจเข้าสู่การเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2561<ref>{{cite news|title=Exclusive: "ไพร่หมื่นล้าน" จับมือ สมาชิก "นิติราษฎร์" เปิดตัวพรรคใหม่|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-43251942|accessdate=29 พฤศจิกายน 2562|work=[[บีบีซี]]|date=2 มีนาคม 2562}}</ref> เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง[[พรรคอนาคตใหม่]] และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก พรรคการเมืองของเขามีแนวนโยบายก้าวหน้าซึ่งได้รับความนิยมสูงในหมู่เยาวชน หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ในปี 2563 เขาตั้งคณะก้าวหน้าเพื่อสานต่อแนวคิดของพรรค
เขาตัดสินใจเข้าสู่การเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2561<ref>{{cite news|title=Exclusive: "ไพร่หมื่นล้าน" จับมือ สมาชิก "นิติราษฎร์" เปิดตัวพรรคใหม่|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-43251942|accessdate=29 พฤศจิกายน 2562|work=[[บีบีซี]]|date=2 มีนาคม 2562}}</ref> เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง[[พรรคอนาคตใหม่]] และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก พรรคการเมืองของเขามีแนวนโยบายก้าวหน้าซึ่งได้รับความนิยมสูงในหมู่เยาวชน หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ในปี 2563 เขาตั้งคณะก้าวหน้าเพื่อสานต่อแนวคิดของพรรค

เพื่อรักษาอุดมการณ์ของการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และขายประเทศไทยให้ประเทศมหาอำนาจต่อไป


== ปฐมวัยและครอบครัว ==
== ปฐมวัยและครอบครัว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:31, 13 ธันวาคม 2563

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม 2561 – 21 กุมภาพันธ์ 2563
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม – 20 พฤศจิกายน 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 (45 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคอนาคตใหม่
คู่สมรสรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ
บุตร4 คน
บุพการี
ญาติ
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
มหาวิทยาลัยซังคท์กัลเลิน
อาชีพนักธุรกิจ นักการเมือง
ทรัพย์สินสุทธิ5.6 พันล้านบาท (2562)
ลายมือชื่อไฟล์:ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ.png
ชื่อเล่นเอก

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (ชื่อเล่น: เอก, เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521) เป็นกบฏ นักธุรกิจ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักการเมืองชาวไทย เขาดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิทตั้งแต่ปี 2545 และหัวหน้าใหญ่ผู้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้คนจะได้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดี แทน

เขาตัดสินใจเข้าสู่การเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2561[1] เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก พรรคการเมืองของเขามีแนวนโยบายก้าวหน้าซึ่งได้รับความนิยมสูงในหมู่เยาวชน หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ในปี 2563 เขาตั้งคณะก้าวหน้าเพื่อสานต่อแนวคิดของพรรค

เพื่อรักษาอุดมการณ์ของการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และขายประเทศไทยให้ประเทศมหาอำนาจต่อไป

ปฐมวัยและครอบครัว

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ที่กรุงเทพมหานคร เขาเกิดในครอบครัวพ่อค้าเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว มีชื่อเล่นว่า เอก เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คน ของพัฒนากับสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ บิดาพัฒนาเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท[ต้องการอ้างอิง][2]

เขาจบการศึกษาระดับประถมถึงมัธยมต้นจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก มัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[3] และเข้าศึกษาต่อในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ประเทศอังกฤษ ขณะเรียนปริญญาตรีเขาเริ่มสนใจกิจกรรมนักศึกษา[4] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 ธนาธรได้รับเลือกเป็นอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และในปี พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)[4]

ด้วยความสนใจในบ้านเมืองรวมทั้งแนวคิดและทฤษฎีเสรีนิยมเขาจึงตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทใบที่ 2 สาขาการเงินโลกที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกงและมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และศึกษาต่อปริญญาโทใบที่ 3 สาขากฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยแซงต์ กาลเลิน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[2]

เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาเข้าทำงานในองค์การนอกภาครัฐกลุ่มเพื่อนประชาชน (FOP) ได้พักหนึ่ง เขายังแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านสื่ออยู่เป็นระยะ ๆ ทั้งยังเปิดเผยด้วยว่า ตมีความคิดที่จะเล่นการเมือง[3]

การเคลื่อนไหวทางสังคมและความสนใจทางการเมือง

ระหว่างที่เรียนอยู่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาร่วมในกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมทางสังคม ในปี พ.ศ. 2543 ขณะร่วมเรียกร้องสิทธิกับกลุ่มสมัชชาคนจน ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล จนตัวเองได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[4] เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 เขาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มศึกษาทฤษฎีของคาร์ล มากซ์ และวลาดีมีร์ เลนิน เขาได้เข้าร่วมกลุ่ม Socialist Worker Student Society ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งระดับนักศึกษาในอังกฤษ หลังสำเร็จการศึกษา เขาได้กลับมาทำงานกับองค์การนอกภาครัฐในประเทศไทยได้ราวครึ่งปี[4] ต่อมาบิดาของเขาเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2545

เขามีศักดิ์เป็นหลานอาของสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ธนาธรและสุริยะให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่าทั้งสองมีความเห็นทางการเมืองต่างกันตั้งแต่สมัยธนาธรยังเป็นนักศึกษา เพราะธนาธรไม่เห็นด้วยกับโครงการท่อส่งก๊าซไทย-มาเลย์ เป็นอย่างมากเพราะจะทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล นำไปสู่ความขัดแย้งกับสุริยะ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น[5] ในปี 2561 สุริยะที่ไปเข้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงธนาธรว่า “ถ้าคุณพ่อเขาไม่เสีย ทุกวันนี้เขาคงไปเดินสายเอ็นจีโอ สมัยที่เขายังเรียนอยู่ บางทีซีเอ็นเอ็นออกข่าวเรื่องการต่อต้านอะไร คุณจะได้เห็นธนาธรโผล่ไปหมดแหละครับ ต่างประเทศก็ด้วย เพราะจริง ๆ เขาอยากจะเห็นโลกที่สมบูรณ์แบบ”ในแบบที่เขาคิด[6]

ปี 2545 เอก ธนาธร จึงรุ่งเรื่องกิจ และเพื่อน, ต๋อม ชัยธวัช และปุ๊ (ธนาพล อิ๋วสกุล) ได้ลงขันตั้ง “สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน” เพื่อผลิตวารสารฟ้าเดียวกัน ตอนนั้น อุเชนทร์ เรียนปริญญาโทอยู่ธรรมศาสตร์ ก็มาร่วมด้วยช่วยเขียน ซึ่งหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ กล่าวหาว่าเนื้อหาส่วนใหญ่โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์[7]

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ลงว่า 10 เมษายน 2553 ธนาธร จึงรุ่งเรื่องกิจเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่สี่แยกคอกวัว[8]

ในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ธนาธร จึงรุ่งเรื่องกิจโพสต์ข้อความและรูปภาพนิสิต-นักศึกษาร่วมแฟลชม็อบหนุนประชาธิปไตยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว[9] 20 ก.ค.63 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปฏิเสธอยู่เบื้องหลังการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก และย้ำว่าไม่เคยให้เงินเป็นค่าจ้างกับกลุ่มแกนนำ หรือกลุ่มผู้ชุมนุม [10] นอกจากนี้นายธนาธรยังได้ ทวีตชวนชุมนุม 19 ก.ย. 63 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ [11]

การทำงานทางธุรกิจ

หลังเรียนจบเขาเกือบเดินทางไปเริ่มทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนของสหประชาชาติที่ประเทศแอลจีเรียอยู่แล้ว[12] แต่บิดาเสียชีวิต ทำให้เขาเข้ารับตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิททันทีด้วยอายุ 23 ปีในขณะนั้น[13]

ตั้งแต่เขาเริ่มเข้าไปบริหารธุรกิจ กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทได้เติบโตขึ้นอย่างมาก จากรายได้ 16,000 ล้านบาท[14] เพิ่มขึ้นเป็นรายได้ 80,000 ล้านบาท เขาทำให้ธุรกิจครอบครัวกลายเป็นกลุ่มบริษัทระดับโลกที่มีโรงงานผลิตใน 7 ประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก รวมจำนวนพนักงานมากถึงราว 16,000 คน[15][16]

ข้อตกลงทางธุรกิจที่สำคัญ เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เมื่อเขาได้ดีลเป็นผู้ผลิตตัวถังรถยนต์ให้บริษัทเทสลา (Tesla) บริษัทสัญชาติอเมริกัน จำนวน 500,000 คันต่อปี[17] คิดเป็นกำไร 5,980 ล้านบาท[18] จากข้อตกลงนี้ กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทขยายฐานการผลิตกว้างไกลออกไปอีก ด้วยการเปิดโรงงานในสหรัฐ และในปี 2552 ไทยซัมมิทโดยการนำของนายธนาธรก็ได้ตัดสินใจซื้อ โอกิฮาระ (Ogihara) บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นผู้ผลิตแบบพิมพ์ชิ้นส่วนยานยนต์ใหญ่ที่สุดในโลก[19]

เขายังได้รับตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550–2554[20] และเขายังเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2550–2553 ธนาธรยังมีรายชื่ออยู่ในบอร์ดพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติอีกด้วย[21]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เขาลาออกอย่างเป็นทางการเพื่อทำงานทางการเมืองภายใต้บทบาทหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่[22] ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า จะยึดมั่นงานการเมืองอย่างเดียวนับจากนี้ และจะไม่กลับไปทำธุรกิจอีก[23]

การทำงานการเมือง

พรรคอนาคตใหม่

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ รศ. ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้สนับสนุนจำนวน 24 คน ได้ยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองภายใต้ชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง[24] ต่อมา เขาได้รับมติเห็นชอบ 473 เสียงจากที่ประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก[25] เขาประกาศเจตนารมณ์ของพรรคในการยุติระบอบรัฐประหาร กลับคืนสู่ระบอบรัฐสภา สร้างประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้มั่นคงในสังคมไทย กระจายอำนาจ รวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วม[26][27][28]

ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 พรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งใน 30 เขต และได้รับคะแนนมหาชนมากเป็นอันดับสาม รองจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย และยังเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงมหาชนในกรุงเทพมหานครมากที่สุด[29] หลังการเลือกตั้ง พรรคอนาคตใหม่และพันธมิตรทางการเมือง รวมทั้งพรรคเพื่อไทย แถลงร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ธนาธรได้รับข้อเสนอตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อแลกกับการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ธนาธรปฏิเสธ[30]

วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เขาถูกยื่นคำร้องว่ามีคุณสมบัติลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ โดยให้เหตุผลว่าขณะสมัครรับเลือกตั้งยังถือหุ้นสื่ออยู่[31]

วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ธนาธร ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า สิ้นสุดความเป็น ส.ส. จากคดีถือหุ้นสื่อ[32]

คดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.

พ.อ. บุรินทร์ ทองประไพ ฐานะตัวแทนของ คสช. แจ้งข้อหาความผิดแก่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) กรณีจัดรายการ "คืนวันศุกร์ให้ประชาชน" ผ่านเฟซบุ้กไลฟ์ ที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการนำคะแนนเสียง สส. เพื่อเป็นเสียง คสช. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยทั้งธนาธรรับทราบข้อหากล่าวต่อพนักงานสอบสวนเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 และส่งคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาพนักงานสอบสวนให้ส่งสำนวนคดีแก่พนักงานอัยการภายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ และนัดเข้าพบพนักงานอัยการในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุด[33][34][35]

วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เขาถูกตั้งข้อหาปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองและให้ที่พักพิงแก่ผู้ต้องหาอื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 189 โดยตัวแทน คสช. อ้างว่า ข้อหาดังกล่าวมาจากเหตุการณ์ที่กลุ่มดาวดินทำกิจกรรมที่หอศิลปวัฒนธรรมเมื่อปี 2558 แล้วกลุ่มดังกล่าวหลบหนีไปด้วยรถตู้ของธนาธร[36]

ภาพลักษณ์

บางทีสื่อไทยเรียกเขาว่า "ไพร่หมื่นล้าน" ซึ่งแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชนชั้นทางสังคมในประเทศไทย[37] ผู้สนับสนุนเขาที่เป็นหญิงอายุน้อยบางส่วนยังเรียกเขาว่า "พ่อ"[38][39][40] ประโยค "ฟ้ารักพ่อ" นั้นมาจากตัวละครหญิง เรยา จากเรื่อง ดอกส้มสีทอง ซึ่งเป็นการเรียกสามีที่สูงอายุกว่าและเป็นนักธุรกิจใหญ่[41]

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562 ธนาธรลงนามบันทึกความเข้าใจโอนทรัพย์สิน 5 พันล้านบาทเข้ากองทุนบลายด์ทรัสต์ (blind trust) คือ กองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลโดยที่เจ้าของทรัพย์สินไม่มีอำนาจสั่งผู้จัดการกองทุนได้[42]

ชีวิตส่วนตัว

ธนาธรแต่งงานกับรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ มีบุตรธิดารวมด้วยกัน 4 คน[43] เขามักเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยตนเอง เพราะต้องการให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ เกิดความสงสัยและตั้งคำถามเป็น[44]

นอกจากนี้ เขายังชื่นชอบการเล่นกีฬาและกิจกรรมผาดโผนต่าง ๆ อาทิ ปีนเขา พายเรือคายัค วิ่งระยะไกล ขี่จักรยานทางไกล ปีนผา ไตรกีฬา เขาเคยเข้าแข่งรายการต่าง ๆ ได้แก่ การวิ่ง 250 กิโลเมตรในทะเลทรายซาฮาร่า[45] รายการ 6633 Arctic Ultra มาราธอน 560 กิโลเมตร ในปีพ.ศ. 2558[46]

ธนาธรอ่านหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์, ดิอีโคโนมิสต์, ไฟแนนเชียลไทมส์, มติชน และ กรุงเทพธุรกิจ เขายังเป็นแฟนอีสปอร์ตและเกมอย่างไมน์คราฟต์ และอารีนาออฟเวเลอร์ ซึ่งเขาว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างสัมพันธ์กับบุตร[47]

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. "Exclusive: "ไพร่หมื่นล้าน" จับมือ สมาชิก "นิติราษฎร์" เปิดตัวพรรคใหม่". บีบีซี. 2 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ประวัติธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ". พรรคอนาคตใหม่. 15 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "นายทุน "ฟ้าเดียวกัน" เปิดหน้าชก เอาเศรษฐกิจบังหน้า ชู รบ.มือเปื้อนเลือด-ไล่พันธมิตรฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 31 ตุลาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "สัมภาษณ์ : ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท "ผมถูกบังคับให้เป็นนายทุน"". นิตยสารสารคดี. 11 พฤษภาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Isaan's future: Thanathorn on moving the region forward". เดอะ อีสานเรคคอร์ด. 6 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "'สุริยะ' พูดถึง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 'ผมเองยังถูกต่อว่า เขาเป็นคนแบบนี้มาตั้งแต่เรียน'". มติชน. 8 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. https://mgronline.com/politics/detail/9510000129530
  8. https://www.komchadluek.net/news/scoop/368988
  9. https://www.thaipost.net/main/detail/58235
  10. https://news.thaipbs.or.th/content/294754
  11. https://www.posttoday.com/politic/news/633335
  12. https://isaanrecord.com/2018/06/08/isaans-future-thanathorn-on-moving-the-region-forward/
  13. https://isaanrecord.com/2018/06/08/isaans-future-thanathorn-on-moving-the-region-forward/
  14. คุณ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ LifeRevo 8 ตุลาคม 2552
  15. https://www.bbc.com/thai/thailand-44001760
  16. https://www.prachachat.net/motoring/news-54183
  17. https://www.bbc.com/thai/thailand-44001760
  18. https://brandinside.asia/thaisummit-to-usa-for-tesla/
  19. http://www.daiwa-grp.jp/english/press/en_090219-a.html
  20. http://info.matichon.co.th/report/committee/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3.pdf
  21. https://futureforwardparty.org/person/ธนาธร-จึงรุ่งเรืองกิจ
  22. https://www.bbc.com/thai/thailand-43080898
  23. https://www.matichon.co.th/politics/news_933215
  24. https://www.khaosod.co.th/politics/news_796767
  25. http://news.ch3thailand.com/ข่าวด่วน/69923/-ธนาธร--นั่งหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่.html
  26. https://www.bbc.com/thai/thailand-43080898
  27. https://www.bbc.com/thai/thailand-43411311
  28. https://www.matichon.co.th/politics/news_933215
  29. “ธนาธร” ปลื้ม อนาคตใหม่ขึ้นแท่นเบอร์1 ชนะใจคนกรุง ควง 9 ว่าที่ส.ส. คาราวานขอบคุณ
  30. Pheu Thai offered Thanathorn nomination for PM's post
  31. ธนาธร โดนอีก! กกต.ตั้ง กรรมการสอบสวน ปมถือหุ้น ส่อโดนหนัก ไม่ได้เข้าสภา!
  32. ธนาธร ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า สิ้นสุดความเป็น ส.ส. จากคดีถือหุ้นสื่อ
  33. พรรคอนาคตใหม่ เผย ‘นายธนาธร’ อาจถูกอัยการสูงสุดสั่งฟ้องฝากขัง 27 ก.พ. นี้ เพราะถูกเร่งรัดคดี กรณีเฟซบุ๊กไลฟ์วิจารณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
  34. อัยการนัดธนาธรพบ 27 ก.พ. คดีจัดรายการวิจารณ์ คสช. อนาคตใหม่จับตาจะถูกฝากขังหรือไม่
  35. จับคำต่อคำ "ธนาธร" พูดประโยคจี้ใจ ทำคสช.เดือด นับถอยหลัง ลุ้นพ่อของฟ้านอนคุก
  36. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ : รับหมายเรียกข้อหา ยุยง-ปลุกปั่น ให้ที่พักพิงแก่ผู้ต้องหา จากเหตุเมื่อ 4 ปีก่อน
  37. "ไพร่หมื่นล้าน! 10 รู้จัก 'เอก ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' เขาคือใคร?". Thairath. สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.
  38. Thongnoi, Jitsiree; Jaipragas, Bhavan (24 Feb 2019). "Everyone loves 'Daddy': forget Thaksin, Thanathorn Juangroongruangkit is the Thai junta's new billionaire rival". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.
  39. Mahtani, Shibani (19 March 2019). "A new political party in Thailand, led by an athletic billionaire, rattles ruling junta". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.
  40. Tanakasempipat, Patpicha (26 February 2019). "Thailand's rising political star under fire as election nears". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.
  41. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000014262 สืบค้นเมื่อวันที่ 24/10/62
  42. “ธนาธร” ลงนาม mou เซ็นโยกทรัพย์สิน 5 พันล. เข้ากองทุน blind trust
  43. https://www.thaipost.net/main/detail/10472
  44. https://www.fungjaizine.com/article/interview/thanathorn-playlist
  45. https://www.fungjaizine.com/article/interview/thanathorn-playlist
  46. http://www.paulpoole.co.th/truesouth/about-tj.html
  47. "ผมก็แค่คนธรรมดาคนหนึ่ง : ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ". Fungjai. สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่อินสตาแกรม