พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ
พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ | |
---|---|
![]() | |
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | |
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2561–2566) เพื่อไทย (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นางกรณ์ภัสสร จึงรุ่งเรืองกิจ |
นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ (ชื่อเล่น : โฟม)[1] (เกิด 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยและที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ[แก้]
พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ (ชื่อเดิม : พีรเจต จึงรุ่งเรืองกิจ) เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายโกมล และ นางยาใจ จึงรุ่งเรืองกิจ โดยเป็นหลานชายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จาก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต[2] สมรสกับ นางกรณ์ภัสสร จึงรุ่งเรืองกิจ มีบุตร 1 คน
การทำงาน[แก้]
พงศ์กวิน เริ่มต้นทำงานด้านการบริหารธุรกิจ ด้วยตำแหน่งประธานกรรมและกรรมการบริษัท อาทิ บริษัท จีเดค จำกัด, บริษัท ไออีซี กรีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด, บริษัท ไออีซี บิซิเนส พาร์ทเนอร์ส จำกัด และบริษัท ไออีซี สระแก้ว 1 จำกัด[3]
งานการเมือง[แก้]
พงศ์กวิน เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เมื่อ พ.ศ. 2561[4] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปีถัดมา ต่อมาได้ลาออกจากสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และย้ายไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย
ในปี 2566 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2565 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เปิดฐานทุนหมื่นล. “เสี่ยโฟม-พงศ์กวิน”
- ↑ นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ
- ↑ "ประวัตินายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-18. สืบค้นเมื่อ 2019-12-16.
- ↑ รู้จัก “โฟม พงศ์กวิน” อีกหนึ่งโฉมนักการเมืองหน้าใหม่ ตระกูล “จึงรุ่งเรืองกิจ”
- ↑ ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2523
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- สกุลจึงรุ่งเรืองกิจ
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคพลังประชารัฐ
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.