ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเพทราชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ดี
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''สมเด็จพระมหาบุรุษ''' หรือ '''สมเด็จพระเพทราชา''' เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย]]รัชกาลที่ 28 ของ[[อาณาจักรอยุธยา]]
{{Infobox royalty
| สีพิเศษ = #ffcc00
| สีอักษร = #8f5f12
| image =
| name = สมเด็จพระมหาบุรุษ
| birth_date = พ.ศ. 2175
|birth_place = บ้านพลูหลวง [[จังหวัดสุพรรณบุรี|แขวงเมืองสุพรรณบุรี]] [[อาณาจักรอยุธยา]]
| death_date = กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2246
|death_place = [[กรุงศรีอยุธยา]] [[อาณาจักรอยุธยา]]
| succession = พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
| father = {{เทาเล็ก|ไม่ปรากฏ}}
| mother = ท้าวศรีสัจจา (พระนมเปรม)
| spouse-type = พระมเหสี
|spouse = [[กรมพระเทพามาตย์ (กัน)]]<br>[[กรมหลวงโยธาเทพ]]<br>[[กรมหลวงโยธาทิพ]]<br>[[นางกุสาวดี]]<ref name="ลาว">ภาสกร วงศ์ตาวัน. '''ประเทศราช ชาติศัตรู และพ่อค้านานาชาติ'''. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2553. หน้า 182</ref>
| พระราชสวามี =
| issue = [[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]]<br>[[ตรัสน้อย]]<br>[[เจ้าพระขวัญ]]<br>พระองค์เจ้าหญิงฉิม<br>พระองค์เจ้าหญิงจีน<br>พระองค์เจ้าชายดำ<br>พระองค์เจ้าชายแก้ว<br>พระองค์เจ้าชายบุนนาค<ref>[http://www.kingdom-siam.org/ayudhya-d.html ราชอาณาจักรสยาม]</ref>
| dynasty = [[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]
|reign = พ.ศ. 2231- พ.ศ. 2248
| พิธีบรมราชาภิเษก =
|ระยะเวลาครองราชย์ = 15 ปี
| predecessor = [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]
| successor = [[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]]
|title = พระมหากษัตริย์ไทย
}}
'''ปูนรักอาม เอ๊ะรักปู๊ สมเด็จพระมหาบุรุษ''' หรือ '''สมเด็จพระเพทราชา''' เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย]]รัชกาลที่ 28 ของ[[อาณาจักรอยุธยา]]


ะเป็นปฐมกษัตริย์ของ[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2231-2246
ะเป็นปฐมกษัตริย์ของ[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2231-2246

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:21, 12 ธันวาคม 2561

สมเด็จพระมหาบุรุษ หรือ สมเด็จพระเพทราชา เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 28 ของอาณาจักรอยุธยา

ะเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2231-2246

พระราชประวัติ

สมเด็จพระเพทราชา เป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบันคือบ้านพลูหลวง ตั้งอยู่ใน ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี) เป็นบุตรของพระนมเปรม และมีพระขนิษฐาคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม)[1][2] พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้รับราชการจนมีบรรดาศักดิ์เป็นพระเพทราชา ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระคชบาล มีกำลังพลในสังกัดหลายพัน[3]

ในปี พ.ศ. 2231 เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับ ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ ทรงพระประชวรใกล้สวรรคต ทรงเห็นว่าพระเพทราชาเป็นผู้ใหญ่ จึงมอบหมายให้ว่าราชการแทน[4] ระหว่างนั้นพระเพทราชาลวงพระอนุชาทั้งสองพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ คือเจ้าฟ้าน้อยและเจ้าฟ้าอภัยทศว่ามีรับสั่งให้เข้าเฝ้า เมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จถึงเมืองลพบุรีก็ถูกหลวงสรศักดิ์จับไปสำเร็จโทษที่วัดทราก ส่วนพระปีย์พระราชโอรสบุญธรรมถูกผลักตกจากชาลาพระที่นั่งสุทธาสวรรค์แล้วกุมตัวไปสำเร็จโทษ เมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตแล้ว ได้สั่งให้เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เข้ามาพบ เมื่อเจ้าพระยาวิชเยนทร์มาถึงศาลาลูกขุนก็ถูกกุมตัวไปประหารชีวิต เมื่อจัดการบ้านเมืองสงบแล้วจึงเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนารายณ์มาประดิษฐานที่พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ แล้วรับราชาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท[5]

เมื่อปราบดาภิเษกนั้นสมเด็จพระเพทราชามีพระชนมายุได้ 51 พรรษา ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระมหาบุรุษ วิสุทธิเดชอุดม บรมจักรพรรดิศร บรมนาถบพิตร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว" แล้วทรงตั้งคุณหญิงกันเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายขวา (พระมเหสีเดิมในพระเพทราชา เป็นผู้อภิบาลพระเจ้าเสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ภายหลังได้ขึ้นเป็นที่ กรมพระเทพามาตย์ ในสมัยของพระเจ้าเสือ) ตั้งกรมหลวงโยธาเทพ (เจ้าฟ้าทอง) พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์เป็นพระมเหสีฝ่ายซ้าย ตั้งนางนิ่มเป็นพระสนมเอก ตั้งหลวงสรศักดิ์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งหม่อมแก้วบุตรท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระขนิษฐาของพระองค์เป็นกรมขุนเสนาบริรักษ์ เป็นต้น[6]

เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายอาณาจักรอยุธยาเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา

สมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2246[7] พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าสวรรคต ณ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ขณะครองราชย์ได้ 15 ปี สิริพระชนมายุได้ 71 พรรษา[8]

พระราชกรณียกิจ

การปฏิรูปการปกครอง

ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ

นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย

งานต่างประเทศ

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าในรัชกาลนี้ประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมเจริญสัมพันธไมตรี กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2234 นักเสด็จเถ้าพระเจ้ากรุงกัมพูชาโปรดให้พระยาเขมร 3 คนนำช้างเผือกพังช้างหนึ่งมาถวาย สมเด็จพระเพทราชาพระราชทานชื่อว่าพระบรมรัตนากาศ ชาติคเชนทร์ วเรนทรมหันต์ อนันตคุณ วิบุลธรเลิดฟ้า และพระราชทานผ้าแพรจำนวนมากให้พระยาเขมรนำไปพระราชทานนักเสด็จเถ้า[9]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2238 พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์นมาทูลว่าจะถวายพระราชธิดา และขอกรุงศรีอยุธยาส่งกองทัพไปช่วยป้องกันกรุงศรีสัตนาคนหุตจากกองทัพหลวงพระบาง จึงโปรดให้พระยานครราชสีมานำพล 10,000 ไปกรุงเวียงจันทน์ หลวงพระบางทราบข่าวจึงยอมประนีประนอมกับเวียงจันทน์ เมื่อเรือพระที่นั่งของพระราชธิดาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตมาถึงหน้าวัดกระโจม กรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็มีพระบัณฑูรให้รับพระราชธิดานั้นไว้ที่วังหน้า แล้วเสด็จไปกราบทูลสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเพทราชาก็พระราชทานตามที่ขอ[10]

พระมเหสี

พระเพทราชาทรงมีมเหสีสำคัญๆอยู่ 4 พระองค์ ได้แก่

  1. กรมพระเทพามาตย์ (กัน)[11] พระมเหสีเดิมในพระเพทราชาเป็นผู้อภิบาลพระเจ้าเสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ภายหลังได้ขึ้นเป็นที่กรมพระเทพามาตย์
  2. กรมหลวงโยธาเทพ หรือ มเหสีฝ่ายซ้าย - พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชโอรสคือ เจ้าฟ้าตรัสน้อย ทรงสนใจทางด้านการศึกษาในหลายๆแขนงวิชา ช่วงหลังย้ายตามพระราชมารดาไปอยู่ ณ พระตำหนักใกล้วัดพุทไธศวรรย์
  3. กรมหลวงโยธาทิพ หรือ มเหสีฝ่ายขวา - พระขนิษฐาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชโอรสคือ เจ้าพระขวัญ (กรมพระราชวังบวรสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์)
  4. นางกุสาวดี มเหสีพระราชทานจากพระนารายณ์มหาราช พระธิดาพญาแสนหลวง เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ
  1. ภูธร ภูมะธน. โกษาปาน ราชทูตกู้แผ่นดิน. (กรุงเทพฯ:สถาบันการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้), 2550), หน้า 33
  2. พลับพลึง มูลศิลป์. ความสัมพันธ์อาณาจักรอยุธยา-ฝรั่งเศส สมัยอยุทธยา. (กรุงเทพ:บรรณกิจ), 2523, หน้า 110, 238
  3. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 158
  4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 317
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 330-331
  6. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 318
  7. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 160
  8. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน, หน้า 276
  9. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 335-336
  10. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 339-341
  11. เรื่องเก่าเอามาเล่าอีก (1)
บรรณานุกรม
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2558. 558 หน้า. ISBN 978-616-92351-0-1 [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า สมเด็จพระเพทราชา ถัดไป
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(ราชวงศ์ปราสาททอง)

(พ.ศ. 2199 - 2231)

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2231 - 2246)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2246 - 2251)