อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
---|---|
การซื้อขาย | (SET:AMARIN) |
อุตสาหกรรม |
|
ก่อนหน้า | ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2519 (อายุ 47 ปี) |
สำนักงานใหญ่ | 378 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน, , |
จำนวนที่ตั้ง | 7 |
พื้นที่ให้บริการ | ![]() |
บุคลากรหลัก | เมตตา อุทกะพันธุ์ (ประธานกรรมการบริษัท) |
ผลิตภัณฑ์ | |
สินทรัพย์ |
|
บริษัทในเครือ | กลุ่มทีซีซี |
เว็บไซต์ | amarin![]() |
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อมรินทร์ เป็นบริษัทในกลุ่มทีซีซี ประกอบธุรกิจทางด้านการรับจ้างพิมพ์งานสิ่งพิมพ์สอดสีให้แก่บริษัท ห้างร้าน หน่วยราชการ และสถาบันเอกชนต่าง ๆ ในรูปของหนังสือ แผ่นพับ แคตตาลอค ปฏิทิน โฟลเดอร์ โปสการ์ด เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 มีประธานกรรมการบริษัทคือนายฐาปน สิริวัฒนภักดี
ประวัติ[แก้]
อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง เริ่มต้นจากการที่ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ รวบรวมเพื่อนร่วมงานและพนักงานไม่กี่คนมาร่วมกันจัดตั้ง "ห้างหุ้นส่วนจำกัด วารสารบ้านและสวน" โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลิตนิตยสาร "บ้านและสวน" ฉบับแรกออกวางจำหน่ายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2519 แต่ในสมัยนั้นต้องเดินทางไปพิมพ์หนังสือที่โรงพิมพ์ภายนอก เนื่องจากไม่มีโรงพิมพ์ของตัวเอง ต่อมาจึงได้มีการก่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในชื่อ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์" เพื่อจัดพิมพ์นิตยสารของตน ขณะเดียวกันก็รับจ้างงานพิมพ์อื่นด้วย
ระยะต่อมา เมื่อกิจการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์ จึงระดมทุนเพิ่ม และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2536 บริษัทได้ขยายกิจการไปสู่ด้านการจัดจำหน่าย โดยก่อตั้งบริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด เพื่อดูแลการจำหน่ายสิ่งพิมพ์ทั้งหมด รวมถึงจัดตั้งร้านค้าปลีกชื่อ "ร้านนายอินทร์"
ต่อมาปริมาณผู้อ่านนิตยสารมีมากขึ้น และประเภทของผู้อ่านมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงเริ่มผลิตนิตยสารอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อ่าน โดยมีนิตยสารแนวผู้หญิงออกตามมาคือ แพรว และ สุดสัปดาห์ และผลิตนิตยสารอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน[1]
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ในเครือไทยเบฟเวอเรจ ของกลุ่มทีซีซี ได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 200 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็น 47.62% เพื่อนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจทีวีดิจิทัลและชำระค่าใบอนุญาต รวมทั้งชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตรายการโทรทัศน์ให้แก่ช่องอมรินทร์ทีวี[2]
ธุรกิจของบริษัท[แก้]
- สื่อสิ่งพิมพ์
- บริการงานพิมพ์คุณภาพ
- บริการงานพิมพ์เร่งด่วน
- บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
- บริการผลิตเนื้อหา
- อมรินทร์พับลิชชิ่งเซอร์วิส
- สำนักพิมพ์
- แพรวเพื่อนเด็ก
- อมรินทร์คอมมิกส์
- แพรวเยาวชน
- สปริงบุ๊คส์
- ชอร์ตคัต
- สเต็ปส์
- อมรินทร์ฮาวทู
- อมรินทร์ทราเวล
- โรส
- อรุณ
- แพรวสำนักพิมพ์งานแปล
- แพรวสำนักพิมพ์
- สำนักพิมพ์อมรินทร์
- อมรินทร์สุขภาพ
- อมรินทร์ธรรมะ
- นิตยสาร
- บ้านและสวน
- รูม
- แพรว
- แพรวเวดดิ้ง
- ชีวจิต
- เนชั่นแนล จีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย
- ออนไลน์
- งานแสดงสินค้าและการประชุม
- งานแสดงสินค้า
- บ้านและสวนแฟร์
- Amarin Baby & Kids Fair
- กินดีอยู่ดี
- สุดสัปดาห์ ช้อปปิ้งมาร์เก็ต
- Thailand Food Show
- Explorers Fair
- งานอบรมสัมมนา
- อมรินทร์อะคาเดมี
- งานอีเวนต์
- อมรินทร์ครีเอทีฟแอนด์อีเวนต์
- งานแสดงสินค้า
- โทรทัศน์
- อมรินทร์เทเลวิชัน (อมรินทร์ทีวี)
- ร้านค้า
- ร้านนายอินทร์
- อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์
- อัมวาทาดอตคอม
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]
- ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562[3]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
1 | บริษัท วัฒนภักดี จำกัด | 600,000,000 | 60.10% |
2 | ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ | 94,000,000 | 9.42% |
3 | ระริน อุทกะพันธุ์ | 44,387,052 | 4.45% |
4 | ระพี อุทกะพันธุ์ | 38,188,553 | 3.83% |
5 | เมตตา อุทกะพันธุ์ | 36,671,791 | 3.67% |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. "เกี่ยวกับอมรินทร์". amarin.co.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไทยรัฐทีวี (25 พฤศจิกายน 2559). "'กลุ่มเจ้าสัวเจริญ' ทุ่ม 850 ล. ฮุบ 'อมรินทร์' เสริมแกร่งทีวีดิจิทัล". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (8 มีนาคม 2562). "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ AMARIN". www.set.or.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |