ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ"

พิกัด: 13°30′10″N 100°45′17″E / 13.50267°N 100.75466°E / 13.50267; 100.75466
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 72: บรรทัด 72:
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]


== สถาบันสวนกุหลาบ ==
ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง'''
มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี]]
* [[โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ]]
* [[โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:07, 24 พฤศจิกายน 2561

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ
Nawamintrachinutit Suankularb Wittayalai Samutprakarn School
ไฟล์:00230 0.gif
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 261 หมู่ที่ 3 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ข้อมูล
ชื่ออื่นนมร.ส.ก.ส. (NMR.S.K.S.)
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ
(ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
สถาปนา8 เมษายน พ.ศ. 2534
ผู้ก่อตั้งสุโข วุฑฒิโชติ
หน่วยงานกำกับสพฐ.
ผู้อำนวยการบรรหาร เอี่ยมสอาด
ระดับปีที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3 และ 4
(มัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย)
สี██████ ชมพู - ฟ้า
เพลง
เว็บไซต์www.sks.ac.th

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ (Nawamintrachinutit Suankularb Wittayalai Samutprakarn School) (อักษรย่อ: นมร.ส.ก.ส., S.K.S.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา ในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาเขต6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชื่อเดิม: กรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ

ผู้บริหารชุดปัจจุบันของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 โดยผู้ดูแลระบบ นมร.สกส 1.นายบรรหาร เอี่ยมสอาด ผู้อำนวยการคนที่ 6 ของโรงเรียน,รองผู้อำนวยการ 2.นางอรุณี คำสุวรรณ,3.นางสาวสุภกร สวนสมุทร

ประวัติโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ มุมจากสะพานลอย

เมื่อปี พ.ศ. 2523 นายสำเริง นิลประดิษฐ์ มีดำริจะขยายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ออกไปสี่มุมเมือง จึงได้ปรึกษากับ นายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ให้จัดหาที่ดินสร้างโรงเรียน แต่ก็ติดปัญหาบางประการ จึงระงับโครงการไป ต่อมา กรมสามัญศึกษา ได้สั่งให้สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ รับสมัครนักเรียนในปีการศึกษา 2533 จำนวน 5 ห้องเรียน โดยฝากไว้ที่โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ 2 ห้อง และ โรงเรียนสมุทรปราการ 3 ห้อง รวมนักเรียนชาย–หญิง จำนวน 250 คน เมื่อประกาศจัดตั้งโรงเรียนแล้ว จึงนำนักเรียนที่ฝากไว้ มาเรียนที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ ทว่าเกิดปัญหาขัดข้องในเรื่องที่ดินสร้างโรงเรียน ทำให้ต้องยกนักเรียนที่ฝากไว้ ให้เป็นนักเรียนของโรงเรียนนั้นไป

สระวังกุหลาบ หน้าโรงเรียน

ต่อมาปี พ.ศ. 2534 อาจารย์สุทธิ เพ็งปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เข้าพบ นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ รองอธิบดีกรมสามัญศึกษาในขณะนั้น เพื่อขอปรึกษาเรื่องประกาศจัดตั้งโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง ท่านรองอธิบดีฯ จึงได้สั่งการให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดคณาจารย์ขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีอาจารย์สุโข วุฑฒิโชติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง เป็นหัวหน้าคณะ จัดเตรียมเอกสารการรับสมัคร และรับสมัครนักเรียน ปีการศึกษา 2534 ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2534

กระทรวงศึกษาธิการ จึงมีประกาศจัดตั้งโรงเรียนรัฐขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ เมื่อเปิดภาคเรียน ได้ฝากนักเรียนดังกล่าว จำนวน ๓๐๖ คน ให้ศึกษาเป็นการชั่วคราว ที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 71 เพื่อรออาคารเรียนชั่วคราวจัดสร้างแล้วเสร็จ โดยมีนายไพฑูรย์ สุนทรวิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานประกอบพิธียกเสาเอก และเปิดป้ายอาคารเรียน ในปีเดียวกัน

เมื่ออาคารชั่วคราวแล้วเสร็จ จึงย้ายนักเรียนที่ฝากไว้ เข้าเรียนในอาคารดังกล่าว ในปีถัดมา กรมสามัญศึกษา คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ และได้รับพระราชทานชื่อโรงเรียน เป็นโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ[1]


อาคารและสถานที่

อาคาร

  • อาคารไม้ (ในอดีต)
  • หอประชุม (โภชนาการ)
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ (อาคารรูปตัวอี)
  • อาคารแห่งเกียรติคุณ (หอจาริกานุสรณ์)
หอจาริกานุสรณ์และหอประชุม
  • เรือนปกครอง
  • อาคารคหกรรม
  • โรงฝึกงานช่างอุตสาหกรรม
  • บ้านพักครู
  • บ้านพักนักกีฬา

สถานที่ต่างๆในโรงเรียน

  • สถานเชิญธงจินดาศักดิ์ชัย
สถานเชิญธงจินดาศักดิ์ชัย
  • วิหารหลวงพ่อสวนกุหลาบ
  • สระวังกุหลาบ
  • ซุ้มชิงถ้วยท้อง
  • เรือนเพาะชำ
  • สนามฟุตบอลจุลานนท์

เกียรติประวัติ

พ.ศ. 2553
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School) รุ่นที่ 1 เป็น 1 ใน 369 โรงเรียนทั่วประเทศ[2]

ดูเพิ่ม

สถาบันสวนกุหลาบ

ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่

อ้างอิง

  1. [1] จากเว็บไซต์โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ
  2. โรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School) รุ่นที่ 1

แหล่งข้อมูลอื่น

13°30′10″N 100°45′17″E / 13.50267°N 100.75466°E / 13.50267; 100.75466