เพลงสดุดีโอลิมปิก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สดุดีโอลิมปิก | |
เพลงชาติของ กีฬาโอลิมปิกและคณะกรรมการโอลิมปิกสากล | |
เนื้อร้อง | โคสติส ปาลามาส |
---|---|
ทำนอง | สปีรีโดน ซามาราส, 2439 |
รับไปใช้ | 2501 |
เพลงสดุดีโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Hymn, กรีก: Ολυμπιακός Ύμνος, Olympiakós Ýmnos) หรือรู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเพลงประจำการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Anthem) เป็นเพลงประสานเสียงคันตาตาซึ่งประพันธ์โดยนักประพันธ์เพลงโอเปราชาวกรีก สปีรีโดน ซามาราส (2404–2460) ประพันธ์คำร้องโดยนักกวีชาวกรีก โคสติส ปาลามาส โดยทั้งบทกวีและทำนองได้รับเลือกโดยดีมีตรีโอส วีเกลัส ชาวกรีกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลคนแรก
ประวัติ
[แก้]เพลงสดุดีโอลิมปิกได้รับบรรเลงและขับร้องเป็นครั้งแรกในพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 1896 ณ เอเธนส์ ประเทศกรีซ ต่อมา ประเทศเจ้าภาพทุกประเทศได้มอบหมายให้มีการประพันธ์เพลงสดุดีโอลิมปิกโดยเฉพาะขึ้นเป็นฉบับของการแข่งขันนั้น ๆ
สำหรับเพลงฉบับของซามาราสและปาลามาส ได้รับการรับรองเป็นเพลงประจำการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากลในปี 2501 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลครั้งที่ 54 ณ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพลงสดุดีโอลิมปิกถูกขับร้องเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก ณ โอลิมปิกฤดูหนาว ค.ศ. 1960 ณ สควอว์วัลเลย์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา เพลงนี้จึงใช้เป็นเพลงหลักในการเชิญธงโอลิมปิกขึ้นสู่ยอดเสาในพิธีเปิด และระหว่างการเชิญธงดังกล่าวลงจากยอดเสาในพิธีปิด[1] รวมถึงยังใช้บรรเลงก่อนเริ่มการประชุมสมัยสามัญ (ไอโอซีเซสชัน) และสมัยวิสามัญ (โอลิมปิกคองเกรส) ของไอโอซีอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]
เนื้อเพลง
[แก้]แปลตรงตัวเป็นภาษาอังกฤษ[2] | แปลตรงตัวเป็นภาษาไทย |
---|---|
O Ancient Spirit immortal, pure father |
จิตวิญญาณโบราณอันอมตะ บิดาผู้บริสุทธิ์ |
ต้นฉบับภาษากรีก | ถอดเป็นสัทอักษรสากล | ถอดเป็นอักษรละติน | ถอดเป็นอักษรไทย |
---|---|---|---|
Αρχαίο Πνεύμα αθάνατο, αγνέ πατέρα |
[arˈçeo ˈpnevm(a) aˈθanato aɣˈne paˈtera] |
Archaéo Pnévma athánato, agné patéra |
อาร์เคโอ ปเนฟมา อะทานาโต, อัคเน ปาเตรา |
เวอร์ชันภาษาอังกฤษ
[แก้]เพลงเวอร์ชันภาษาอังกฤษประพันธ์โดย W. Earl Brown และ Shirley Russ โดยถูกใช้เป็นเนื้อร้องในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกบางรายการนับแต่ปี 2527 เป็นต้นมา (โอลิมปิกฤดูหนาวปี ค.ศ. 1960 และ 1980 ใช้คำร้องแตกต่างจากฉบับนี้)
ฉบับภาษาอังกฤษ | แปลเป็นภาษาไทย |
---|---|
Olympian flame immortal |
เพลิงโอลิมปิกอันอมตะ |
เพลงในเวอร์ชันอังกฤษ ปกติแล้วจะใช้กันในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก นอกจากนี้ยังมีคำร้องเป็นภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษากรีกและภาษาอังกฤษด้วย โดยมักถูกแปลไปเป็นภาษาที่จะใช้ในการร้อง แต่บางการแข่งขันก็แตกต่างออกไป เช่น ในปักกิ่งเกมส์ 2008 มีการใช้เนื้อร้องภาษากรีกแทนภาษาจีน และรีโอเดจาเนโรเกมส์ 2016 มีการร้องเป็นภาษาอังกฤษแทนภาษาโปรตุเกส โตเกียวเกมส์ 2020 ใช้เนื้อเพลงฉบับภาษาอังกฤษแทนภาษาญี่ปุ่น การแข่งขันเดียวที่ใช้เนื้อร้องเวอร์ชันภาษาอังกฤษในการแปลไปเป็นภาษาอื่น คือ ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ณ แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา โดยโดโนแวน เซเดล ผู้ช่วยวาทยากรในระหว่างการแข่งขันได้เรียบเรียงเพลงสดุดีโอลิมปิกขึ้นใหม่ มีการแปลบางบทหนึ่งของกวีไปเป็นภาษาฝรั่งเศสเพื่อแสดงถึงการรับรองการมีภาษาราชการสองภาษาในประเทศแคนาดาอย่างเป็นทางการ[4][5][6]
รายการแสดงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
[แก้]เพลงสดุดีโอลิมปิกได้รับการบันทึกและบรรเลงเป็นภาษาต่าง ๆ มากมาย โดยมักเป็นผลมาจากการได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกสากลมิได้บังคับให้มีการบรรเลงเพลงนี้เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษากรีกเท่านั้น แต่ในพิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ณ ปักกิ่ง ประเทศจีน ได้มีการขับร้องเพลงนี้เป็นภาษากรีกแทนที่ภาษาจีนกลางซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีในพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ณ รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษในการขับร้องแทนภาษาโปรตุเกสซึ่งเป็นภาษาราชการของเจ้าภาพเช่นกัน[5]
โอลิมปิก | เมืองเจ้าภาพ | ภาษาที่ใช้ขับร้อง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ฤดูร้อน 1896 | เอเธนส์ กรีซ |
กรีก | เพลงสดุดีโอลิมปิกบรรเลงครั้งแรกในพิธีเปิดการแข่งขัน |
ฤดูหนาว 1960 | สควอว์วัลเลย์ สหรัฐ |
อังกฤษ | เป็นครั้งแรกที่มีการบรรเลงเพลงสดุดีโอลิมปิกนับตั้งแต่การแข่งขันที่เอเธนส์ในปี 1896 |
ฤดูร้อน 1960 | โรม อิตาลี |
อิตาลี | |
ฤดูหนาว 1964 | อินส์บรุค ออสเตรีย |
เยอรมัน[ต้องการอ้างอิง] | |
ฤดูร้อน 1964 | โตเกียว ญี่ปุ่น |
เพลงบรรเลง (พิธีเปิด) ญี่ปุ่น (พิธีปิด) |
เพลงสดุดีโอลิมปิกได้รับการขับร้องเป็นภาษาญี่ปุ่นในพิธีปิด[7] |
ฤดูหนาว 1968 | เกรอนอบล์ ฝรั่งเศส |
ฝรั่งเศส[ต้องการอ้างอิง] | |
ฤดูร้อน 1968 | เม็กซิโกซิตี เม็กซิโก |
สเปน | |
ฤดูหนาว 1972 | ซัปโปโระ ญี่ปุ่น |
ญี่ปุ่น | |
ฤดูร้อน 1972 | มิวนิก เยอรมนีตะวันตก |
เพลงบรรเลง | ใช้เพลงบรรเลงประสานเสียงในพิธีเปิดและพิธีปิด[8][9] |
ฤดูหนาว 1976 | อินส์บรุค ออสเตรีย |
กรีก (พิธีเปิด) เพลงบรรเลง (พิธีปิด) |
ในพิธีเปิด มีการขับร้องเป็นภาษากรีก[10] และบรรเลงดนตรีอย่างเดียวในพิธีปิด[11] ทั้งนี้ มีการขับร้องและบรรเลงในบทที่หนึ่งต่อจากบทที่สองแทนบทที่สาม |
ฤดูร้อน 1976 | มอนทรีออล แคนาดา |
กรีก | เพลงสดุดีโอลิมปิกขับร้องเป็นภาษากรีก[12] |
ฤดูหนาว 1980 | เลกพลาซิด สหรัฐ |
อังกฤษ | |
ฤดูร้อน 1980 | มอสโก สหภาพโซเวียต |
รัสเซีย (พิธีเปิด) กรีก (พิธีปิด) |
ขับร้องเป็นภาษารัสเซียในพิธีเปิดและภาษากรีกในพิธีปิด[13] |
ฤดูหนาว 1984 | ซาราเยโว ยูโกสลาเวีย |
เซอร์เบีย-โครเอเชีย | |
ฤดูร้อน 1984 | ลอสแอนเจลิส สหรัฐ |
อังกฤษ | |
ฤดูหนาว 1988 | แคลกะรี แคนาดา |
กรีก | เพลงสดุดีโอลิมปิกขับร้องเป็นภาษากรีก[14][15] |
ฤดูร้อน 1988 | โซล เกาหลีใต้ |
เกาหลี | เพลงขับร้องเป็นภาษาเกาหลีในพิธีเปิดและพิธีปิด[16] |
ฤดูหนาว 1992 | อัลเบร์วีล ฝรั่งเศส |
เพลงบรรเลง | เพลงสดุดีโอลิมปิกใช้ในเวอร์ชันเพลงบรรเลง[17] |
ฤดูร้อน 1992 | บาร์เซโลนา สเปน |
กาตาลา สเปน และฝรั่งเศส (พิธีเปิด) สเปนและอังกฤษ (พิธีปิด) |
ในพิธีเปิดการแข่งขัน อัลเฟรโด เกราส์ร้องเพลงนี้ในสองบทแรกเป็นภาษาคาตาลา ส่วนที่เหลือเป็นภาษาสเปนและภาษาฝรั่งเศส[18] ในพิธีปิดการแข่งขัน ปลาซีโด โดมิงโกร้องเพลงนี้ในภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ[19] |
ฤดูหนาว 1994 | ลิลเลอฮาเมอร์ นอร์เวย์ |
นอร์เวย์ | ซิสเซล ชีร์เชเบอะร้องเพลงนี้ในทั้งพิธีเปิดและพิธีปิดพร้อมด้วยคณะเสียงประสานเยาวชน |
ฤดูร้อน 1996 | แอตแลนตา สหรัฐ |
อังกฤษ | ขับร้องโดยคณะเสียงประสานโอลิมปิกคตวรรษและคณะเสียงประสานแอตแลนตา จำนวน 300 คน ในพิธีเปิด ในพิธีปิดขับร้องโดยเจนนิเฟอร์ ลาร์มอร์และชมรมร้องประสานเสียงวิทยาลัยมอร์เฮาส์กับคณะออร์เคสตราเยาวชน |
ฤดูหนาว 1998 | นางาโนะ ญี่ปุ่น |
ญี่ปุ่น | ขับร้องเป็นภาษาญี่ปุ่นโดยคณะนักร้องประสานเสียงเยาวชนเมืองนางาโนะ และบรรเลงโดยวงดุริยางค์นางาโนะเฟสติวัล ทั้งในพิธีเปิดและพิธีปิด |
ฤดูร้อน 2000 | ซิดนีย์ ออสเตรเลีย |
กรีก (พิธีเปิด) อังกฤษ (พิธีปิด) |
เป็นการแข่งขันครั้งแรกจนกระทั่งโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่มีการบรรเพลงเพลงทั้งสองภาษาที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลเลือกใช้[5] ในพิธีเปิดการแข่งขัน ขับร้องเป็นภาษากรีกโดยคณะขับร้องประสานเสียงมิลเลนเนียมแห่งเขตปกครองนิกายออร์ทอดอกซ์กรีกแห่งออสเตรเลียกับวงดนตรีออร์เคสตราซิมโฟนีซิดนีย์เพื่อการรับรู้ถึงการมีอยู่ของชาวออสเตรเลียเชื้อสายกรีก[20] ในพิธีปิดขับร้องเป็นภาษาอังกฤษโดยอีวอนน์ เคนนี นักร้องโซปราโนชาวออสเตรเลีย |
ฤดูหนาว 2002 | ซอลต์เลกซิตี สหรัฐ |
อังกฤษ | ขับร้องโดยคณะขับร้องประสานเสียงมอร์มอนทาเบอร์นาเคิลในพิธีเปิด และขับร้องโดยลอรา การ์ฟ-เลวิสในพิธีปิด |
ฤดูร้อน 2004 | เอเธนส์ กรีซ |
กรีก | ขับร้องเป็นภาษากรีก และบรรเพลงโดยจอห์น ซาทัส[21] |
ฤดูหนาว 2006 | ตูริน อิตาลี |
เพลงบรรเลง | ในการแข่งขันนี้มีการบรรเลงเป็นเพลงรูปแบบย่อทั้งพิธีเปิดและพิธีปิด[22] |
ฤดูร้อน 2008 | ปักกิ่ง จีน |
กรีก | ขับร้องเป็นภาษากรีกทั้งพิธีเปิดและพิธีปิด[23] |
ฤดูหนาว 2010 | แวนคูเวอร์ แคนาดา |
อังกฤษและฝรั่งเศส | เป็นการแข่งขันเดียวที่แสดงเป็นภาษาราชการทั้งสองของการแข่งขันโอลิมปิก โดยสะท้อนถึงการมีภาษาราชการสองภาษาของประเทศแคนาดา[5] ในพิธีเปิดขับร้องโดยมีอาชา บรูกเกอร์กอสเมน และในพิธีปิดขับร้องโดยเบน เฮปเปอร์ ซึ่งขับร้องสองบทแรก บทที่สี่ และบทที่หกเป็นภาษาอังกฤษ และที่เหลือเป็นภาษาฝรั่งเศส[4] |
เยาวชน 2010 | สิงคโปร์ | กรีก | ขับร้องเป็นภาษากรีก |
เยาวชน 2012 | อินส์บรุค ออสเตรีย |
เพลงบรรเลง | เพลงบรรเลงใช้ในทั้งพิธีเปิดและพิธีปิด |
ฤดูร้อน 2012 | ลอนดอน สหราชอาณาจักร |
เพลงบรรเลง (พิธีเปิด) อังกฤษ (พิธีปิด) |
เพลงบรรเลงในพิธีเปิดโดยวงออร์เคสตราซิมโฟนีลอนดอนและวงดนตรีกรีเมทอร์ปคอลลีรี[24] ขับร้องเป็นภาษาอังกฤษในพิธีปิดโดยคณะนักร้องเสียงประสานชายเวลส์ลอนดอนและคณะนักร้องเสียงประสานของชมรมรักบีเวลส์ลอนดอนในเนื้อร้องฉบับย่อ[25] |
ฤดูหนาว 2014 | โซชี สหพันธรัฐรัสเซีย |
รัสเซีย (พิธีเปิด) เพลงบรรเลง (พิธีปิด) |
ขับร้องเป็นภาษารัสเซียโดยใช้เนื้อเพลงแปลฉบับเดียวกันกับโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ที่มอสโก โดยแอนนา เนเทรบโกและคณะนักร้องเสียงประสานชายสเรเทนสกี โมนาสเทรีในพิธีเปิด และเพลงบรรเลงในพิธีปิดใช้เพลงเดียวกับที่บรรเลงในพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ลอนดอน |
เยาวชน 2014 | หนานจิง จีน |
เพลงบรรเลง | เพลงบรรเลงใช้เพลงเดียวกับที่บรรเลงในพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ลอนดอน |
เยาวชน 2016 | ลิลเลอฮาเมอร์ นอร์เวย์ |
นอร์เวย์ | ขับร้องประสานเสียงในภาษานอร์เวย์ทั้งพิธีเปิดและพิธีปิดโดยใช้เนื้อร้องเดียวกับโอลิมปิกฤดูหนาว 1994[26] |
ฤดูร้อน 2016 | รีโอเดจาเนโร บราซิล |
อังกฤษ | ขับร้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งพิธีเปิดและพิธีปิด โดยคณะนักร้องเสียงประสานเยาวชนมอร์โปรเจกต์จากเทศบาลนีเตรอยในเขตมหานครรีโอเดจาเนโร |
ฤดูหนาว 2018 | พย็องชัง เกาหลีใต้ |
กรีก (พิธีเปิด) อังกฤษ (พิธีปิด) |
เป็นการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกนับตั้งแต่โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 และเป็นโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งเดียวจนถึงขณะนี้ ที่มีการขับร้องเพลงทั้งสองภาษาที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลเลือกใช้ โดยถูกร้องเป็นภาษากรีกโดยซูมิ ฮวังในพิธีเปิด และเป็นภาษาอังกฤษโดยโอย็อนจุนในพิธีปิด |
เยาวชน 2018 | บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา |
อังกฤษ | ขับร้องโดยลูนา ซูยาโตวิกในพิธีเปิด และโดยเมลินา โมกีเลฟสกีในพิธีปิด[27][28] |
เยาวชน 2020 | โลซาน สวิตเซอร์แลนด์ |
อังกฤษและฝรั่งเศส (พิธีเปิด) เพลงบรรเลง (พิธีปิด) |
เพลงถูกขับร้องเป็นเวอร์ชันสองภาษาในพิธีเปิดโดยคณะนักร้องเสียงประสานเยาวชน "Les Petits Chanteurs de Lausanne" |
ฤดูร้อน 2020 | โตเกียว ญี่ปุ่น |
อังกฤษ | ขับร้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งพิธีเปิดและพิธีปิด โดยพิธีเปิดขับร้องโดยนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาฟูกูชิมะโคริยามะและโรงเรียนมัธยมศึกษาสตรีโทชิมากาโอกะ และโดยโทโมทากะ โอกาโมโตะในพิธีปิด[29][30] |
ฤดูหนาว 2022 | ปักกิ่ง จีน |
กรีก | ขับร้องเป็นภาษากรีกทั้งพิธีเปิดและพิธีปิด โดยคณะนักร้องประสานเสียงยุวชน Malanhua'er จากมณฑลเหอเป่ย์ |
เยาวชน 2024 | คังว็อน เกาหลีใต้ |
อังกฤษ | ขับร้องเป็นภาษาอังกฤษโดยคณะประสานเสียงยุวชนแห่งคังนึง |
ฤดูร้อน 2024 | ปารีส ฝรั่งเศส |
กรีก (พิธีเปิด) อังกฤษ (พิธีปิด) |
เป็นการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2018 ที่มีการขับร้องเพลงทั้งสองภาษาที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลเลือกใช้ เพลงสดุดีโอลิมปิกขับร้องเป็นภาษากรีกโดยคณะประสานเสียงวิทยุฝรั่งเศสในพิธีเปิด และขับร้องเป็นภาษาอังกฤษโดยคณะประสานเสียงเยาวชนแห่งวิทยาลัยฟงแตนโบลในพิธีปิด |
ฤดูหนาว 2026 | มิลาน อิตาลี |
||
เยาวชน 2026 | ดาการ์ เซเนกัล |
||
ฤดูร้อน 2028 | ลอสแอนเจลิส สหรัฐ |
||
ฤดูร้อน 2032 | บริสเบน ออสเตรเลีย |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Olympic Anthem Symbolism" (PDF). LA84 Foundation.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อIOC
- ↑ Michael Beek, "Olympic hymn - what is it and what are its lyrics?" Classical Music, 14 July 2021.] Accessed 9 August 2021.
- ↑ 4.0 4.1 Measha Sings the Olympic Hymn.mp4 (video).
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Lederman, Marsha (17 February 2010). "More French in Closing Ceremonies, Executive Producer Says". The Globe and Mail. p. S1.
- ↑ Dave Pierce, Donovan Seidle (2010). Sounds of Vancouver 2010: Opening Ceremony Commemorative Album (CD).
- ↑ Tokyo Olympiad Closing Ceremony digest (video). 4:38–5:14 นาที.
- ↑ Olympische Hymne 72 Olympic anthem 1972 (video).
- ↑ Olympische Spiele München 1972: Schlussfeier (video).
- ↑ Olympic Hymn (Innsbruck 1976) (video).
- ↑ Olympic Hymn Innsbruck 1976 (closing ceremony) (video).
- ↑ Montreal 1976 Olympics Music – Olympic Hymn (video).
- ↑ 1980 Olympic Closing Ceremony – Part IV Olympic Anthem & Extinguishing of the Flame (video).
- ↑ 1988 Winter Olympics Opening Ceremony Part 22 (video).
- ↑ 1988 Winter Olympics Opening Ceremony Part 23 (video).
- ↑ https://olympics.com/en/video/closing-ceremony-seoul-1988
- ↑ drapeau et flamme olympiques / Albertville '92 (video).
- ↑ Barcelona 1992 Opening Ceremony (video).
- ↑ Barcelona 1992 Closing Ceremony ที่ยูทูบ
- ↑ The Olympic Hymn (video).
- ↑ Olympic Anthem Athens 2004 (video).
- ↑ Olympic Anthem and Torino 2006 Anthem Claudio Baglioni 2006 (video).
- ↑ Olympics Beijing 2008 – Hasteamento da bandeira olímpica – Pequim 2008 (video).
- ↑ Opening Ceremony – London 2012 Olympic Games (video).
- ↑ London Hand Over To Rio (Raising Of The Flags) – Closing Ceremony | London 2012 Olympics (video).
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=BkvUckI-WH8&t=57m48s
- ↑ "Himno olimpico Luna Sujatovich Ceremonia de Apertura Juegos Olímpicos Juventud – #BuenosAires2018". YouTube. สืบค้นเมื่อ 11 November 2018.
- ↑ "Buenos Aires 2018: Closing Ceremony". insidethegames. 18 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 November 2018.
- ↑ Olympic Anthem|Tokyo 2020 Opening Ceremony|Official Anthem ที่ยูทูบ
- ↑ "Recapping the Olympics closing ceremony: Bidding farewell to Summer Games in Tokyo". USA Today. 8 August 2021. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.