ผู้ใช้:JohnnyRayder/ทดลองเขียน/ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลโตและอริสโตเติลในภาพจิตรกรรมฝาผนังชื่อ สำนักแห่งเอเธนส์ โดย ราฟาเอล

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง (อังกฤษ: History of political thought) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ ซึ่งอธิบายถึงลำดับเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญตามระเบียบวิธีของความคิดทางการเมืองของมนุษย์ การศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองถือเป็นจุดตัดของสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สาขาวิชากฎหมาย ปรัชญา ประวัติศาสตร์ และรัฐศาสตร์[1]

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองแบบตะวันตกจำนวนมาก มีรากฐานมาจากองค์ความรู้ของนักปรัชญาในสมัยกรีซโบราณ (โดยเฉพาะแนวคิด ประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ และ ปรัชญากรีกโบราณ) ตัวอย่างเช่น โสกราตีส เพลโต และ อาริสโตเติล ที่ต่างก็ได้รับการยกย่องว่ามีคุณูปการสำคัญต่อสาขาวิชาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง[2][3][4][5]

หากเปรียบเทียบกันแล้ว ประวัติศาสตร์ความคิด และ วัฒนธรรมทางการเมือง ที่ไม่ใช่แบบตะวันตกมักจะไม่ค่อยถูกนำเสนอในผลงานวิจัยทางวิชาการเสียสักเท่าไหร่[6] ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองที่ไม่ใช่แบบตะวันตกแต่มีความโดดเด่น ก็เช่น อารยธรรมจีนโบราณ (โดยเฉพาะปรัชญาจีนยุคแรก)[7] และใน อารยธรรมอินเดียโบราณ (อย่างคัมภีร์อรรถศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของพระคัมภีร์ในยุคแรก ๆ อธิบายถึงโครงสร้างทางการเมืองและหลักการปกครอง)[8] สำนักความคิดทางการเมืองที่มิใช่แบบตะวันตกที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่ง คือ ปรัชญาการเมืองอิสลาม[9] ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 7 หลังจากที่มีการแพร่กระจายของศาสนาอิสลาม

การศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับวารสารทางวิชาการร่วมสมัย[10] และได้รับการต่อยอดจากโครงการของมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลกเป็นจำนวนมาก[11][12]

ความคิดทางการเมืองสมัยใหม่[แก้]

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[แก้]

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ปรัชญาการเมืองแบบ รัฐฆราวาส เริ่มปรากฏขึ้นในยุโรปประมาณหนึ่งศตวรรษหลังจากการเกิดขึ้นของความคิดทางการเมืองแบบเทววิทยา แนวความคิดแบบสมัยกลางเริ่มหดตัวถอยหลัง และเข้าสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยเริ่มต้นในภูมิภาคที่เป็นประเทศอิตาลีในสมัยปัจจุบันเป็นแห่งแรก หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในคริสตศตวรรษที่ 6 มีการเกิดชนชั้นกลาง พลเมืองหรือประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการให้คุณค่าและความสำคัญต่อกิจกรรมทางสังคมหรือในทางศิลปวิทยาการ กลุ่มปัญญาชนจำนวนมากหันมาให้ความสนใจในการศึกษาภาษา วรรณคดี ศิลปะ และ วัฒนธรรมแบบกรีก-โรมัน การตื่นตัวทางองค์ความรู้และภูมิปัญญาเหล่านี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ในเวลาต่อมา

ผลงานที่ทรงอิทธิพลที่สุดชิ้นหนึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว คือ งานของ นิกโกเลาะ มาเกียเวลลี ชื่อว่า เจ้าผู้ปกครอง (Il Principe) ได้รับการประพันธ์ขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1511 จนถึงปี ค.ศ. 1512 และได้รับการตีพิมพ์หลังจากการเสียชีวิตของเจ้าตัว ในปี ค.ศ. 1532 พร้อมกับผลงานที่ชื่อว่า วาทกรรม (The Discourses) งานประพันธ์ของมาเกียเวลลีเป็นการวิเคราะห์ผ่านมุมมองแบบสมัยคลาสสิก ผลงานของมาเกียเวลลีมีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ในโลกตะวันตก ปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง (รวมถึง ฌ็อง-ฌัก รูโซ) ได้ตีความเนื้อหาของ เจ้าผู้ปกครอง ไว้ว่าเป็น งานประพันธ์แนวเสียดสี ซึ่งหมายถึงการล้อเลียนตระกูลเมดิชีหลังจากการยึดฟลอเรนซ์คืน และขับไล่ตระกูลมาเกียเวลลีออกจากฟลอเรนซ์ในเวลาต่อมา[13] แม้ว่าผลงานชิ้นนี้จะเขียนขึ้นเพื่ออุทิศให้กับตระกูลเมดิซี โดยคาดหวังว่าพวกเขาจะอภัยโทษให้กับมาเกียเวลลีหลังจากการถูกเนรเทศ แต่ถึงอย่างไรมาเกียเวลลีก็ยังสนับสนุนฝ่ายนิยมสาธารณรัฐฟลอเรนซ์มากกว่าอำนาจคณาธิปไตยของตระกูลเมดีชีอยู่ดี อย่างไรก็ตามมาเกียเวลลีได้นำเสนอมุมมองทางการเมืองเชิงปฏิบัติและค่อนข้างเป็นผลสืบเนื่อง โดยแบ่งแยกความดีและความชั่วไว้สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจทางการเมืองแต่เพียงเท่านั้น โทมัส ฮอบส์ ก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในยุคนี้ผ่านการนำเสนอทฤษฎีสัญญาประชาคมในมุมมองของตน ฮอบส์ได้ขยายความมุมมองนี้เพิ่มเติมไว้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ระหว่างสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอังกฤษ

จอห์น ล็อก ได้นำเสนอทฤษฎีการเมืองยุคใหม่นี้ไว้ในผลงานของเขาที่ชื่อว่า ความเรียงที่สองว่าด้วยการปกครอง (Two Treatises of Government) ในหนังสือเล่มดังกล่าวล็อกได้เสนอทฤษฎีที่เรียกว่า สภาพธรรมชาติ ทฤษฎีดังกล่าวสนับสนุนต่อแนวความคิดของเขาโดยตรงว่าพัฒนาทางการเมืองเกิดขึ้นและได้รับการจัดตั้งขึ้นมาได้ด้วยวิธีใดผ่านหลักสัญญาประชาคม ล็อกยืนยันต่อทฤษฎีนี้เพื่อหักล้างทฤษฎีการเมืองที่ เซอร์ โรเบิร์ต ฟิล์มเมอร์ เคยนำเสนอไว้ โดยสนับสนุนระบบธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติภายใต้ระบบที่ถูกกำหนดขึ้นโดยเฉพาะ

การปฏิวัติอุตสาหกรรม[แก้]

ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย คาร์ล มากซ์ และ ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ ทฤษฎีดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20

การเกิดขึ้นของ การปฏิวัติอุตสาหกรรม มีอิทธิพลสำคัญต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก คาร์ล มากซ์ และ ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ เป็นนักทฤษฎีกลุ่มแรก ๆ ที่สมาทานแนวคิดแบบสังคมนิยม และ ลัทธิคอมมิวนิสต์ แนวคิดของพวกเขาได้รับการต่อยอดโดย วลาดิมีร์ เลนิน ไปเป็น ลัทธิเลนิน จนกระทั่งหลังจากการเถลิงขึ้นสู่อำนาจของ โจเซฟ สตาลิน แนวคิดเหล่านี้ก็ได้รับการพัฒนาและรวบยอดไปเป็น ลัทธิมากซ์–เลนิน ที่จะเป็นแม่แบบให้กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของ สหภาพโซเวียต และ กลุ่มประเทศตะวันออก ในสมัยสงครามเย็น นอกจากนี้ความคิดทางการเมืองรูปแบบดังกล่าวยังเป็นสารตั้งต้นที่จะได้รับการต่อยอดไปเป็น ลัทธิเหมา แนวคิดโฮจิมินห์ ลัทธิฮอจา และ ลัทธิตีโต ในเวลาต่อมา

นอกจากนี้ผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิด ลัทธิอาณานิคม กับ จักรวรรดินิยม ส่งผลให้เกิดอุดมการณ์ที่มีแนวคิดแบบต่อต้านจักรวรรดินิยม ขึ้นตามมา ได้แก่ ลัทธิคานธี และ ลัทธินัสเซอร์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schröder, Peter; และคณะ (2012). "Forum: History of Political Thought". German History. 30 (1): 75–99. doi:10.1093/gerhis/ghr126.
  2. Sabine, George H.; Thorson, T. L. (1937). A History of Political Theory (3rd ed.). Thomson Learning. ISBN 9780039102838.
  3. Klosko, George (2011). Klosko, George (บ.ก.). The Oxford Handbook of the History of Political Philosophy (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. doi:10.1093/oxfordhb/9780199238804.003.0051.
  4. McClelland, J. S. (1996). A History of Western Political Thought. Routledge. ISBN 0203980743.
  5. Shefali, Jha (2018). Western Political Thought: From The Ancient Greeks to Modern Times (2nd ed.). Pearson Education. ISBN 978-93-528-6934-3.
  6. Whatmore, Richard (2021). The History of Political Thought: A Very Short Introduction. Oxford University Press. ISBN 9780192595355.
  7. Dunstan, Helen (2004). "Premodern Chinese Political Thought". ใน Gaus, Gerald F. (บ.ก.). Handbook of Political Theory. Sage Publications. pp. 320–337. ISBN 0761967877.
  8. Kulke, Hermann (1986). A History of India. Routledge. ISBN 0203751698.
  9. Bowering, Gerhard; และคณะ, บ.ก. (2013). "Introduction". The Princeton Encyclopedia of Islamic Political Thought. Princeton University Press. ISBN 9780691134840.
  10. "History of Political Thought on JSTOR". www.jstor.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-29.
  11. "History of Political Thought Project" (ภาษาอังกฤษ). Princeton University. สืบค้นเมื่อ 2022-09-29.
  12. "MA in the History of Political Thought and Intellectual History" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Queen Mary University of London. สืบค้นเมื่อ 2022-09-29.
  13. Johnston, Ian (February 2002). "Lecture on Machiavelli's The Prince". Malaspina University College. สืบค้นเมื่อ 2007-02-20.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]