ประเทศแองโกลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐแองโกลา

República de Angola (โปรตุเกส)
ตราแผ่นดินของแองโกลา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญVirtus Unita Fortior (อังกฤษ: "Virtue is stronger when united")
เพลงชาติAngola Avante!
(ภาษาโปรตุเกส: ก้าวไปข้างหน้าเถิด แองโกลา)
ที่ตั้งของแองโกลา
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ลูอันดา
ภาษาราชการภาษาโปรตุเกส
การปกครองสาธารณรัฐประชาธิปไตย
จัว ลอเรนโซ
Bornito de Sousa
ประกาศเอกราช
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
พื้นที่
• รวม
1,246,700 ตารางกิโลเมตร (481,400 ตารางไมล์) (22)
ไม่มี
ประชากร
• 2552 ประมาณ
18,498,000 (50)
• สำมะโนประชากร 2557
25,789,024
20.69 ต่อตารางกิโลเมตร (53.6 ต่อตารางไมล์) (199)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 191.999 พันล้าน
$ 6,813
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 124.034 พันล้าน
$ 4,401
เอชดีไอ (2559)เพิ่มขึ้น 0.533
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 150th
สกุลเงินกวันซา (AOA, Kwanza)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (ไม่มี)
รหัสโทรศัพท์244
โดเมนบนสุด.ao
1 ประมาณการจากการหาค่าเฉลี่ย ค่า PPP อื่น ๆ คำนวณมาจากค่าประมาณมาตรฐานล่าสุดของ International Comparison Programme

แองโกลา (โปรตุเกส: Angola, ออกเสียง: [ɐ̃ˈɡɔlɐ], อังกอลา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแองโกลา (โปรตุเกส: República de Angola) คือประเทศในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนจดกับประเทศนามิเบีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและประเทศแซมเบีย และมีชายฝั่งทางตะวันตกบนมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนจังหวัดกาบิงดาแยกจากส่วนที่เหลือของประเทศและมีพรมแดนจดสาธารณรัฐคองโก (คองโก-บราซาวีล) แองโกลาเป็นอดีตอาณานิคมของประเทศโปรตุเกส มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่พอสมควร ที่สำคัญคือน้ำมันและเพชร แองโกลาเป็นประเทศที่ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

ประวัติศาสตร์

ชาวบันตูเป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ในบริเวณที่เป็นประเทศแองโกลาปัจจุบัน เมื่อก่อนพ.ศ. 2053 โปรตุเกสเข้ามาถึงแองโกลาเมื่อ พ.ศ. 2126 และผูกมิตรกับราชอาณาจักรบาคองโก เพื่อดำเนินการค้าทาส แองโกลาจึงกลายเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส การต่อต้านโปรตุเกสด้วยสงครามกองโจรเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2517 โปรตุเกสจึงให้เอกราชแก่แองโกลา หลังได้รับเอกราช แองโกลาเกิดความขัดแย้งภายในประเทศระหว่างกลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตยที่ต่างมีมหาอำนาจหนุนหลัง ในที่สุดกองทหารคิวบาเข้ามาช่วยทำให้ฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์คือขบวนการประชาชนชนะ ส่วนแกนนำกลุ่มสหภาพแห่งชาติที่สหรัฐหนุนหลังออกไปสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2529

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างแองโกลา คิวบา และแอฟริกาใต้เกี่ยวกับการถอนทหารคิวบา ทหารคิวบาถอนกำลังออกหมดเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สงคราม 16 ปีในแองโกลาสิ้นสุดลงเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 โดยผู้นำประเทศลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพและรับปากจะฟื้นฟูประชาธิปไตย

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่การแบ่งเขตการปกครองของแองโกลา

แองโกลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 จังหวัด และ 163 เขตเทศบาล[1]

  1. เบนโก (Bengo)
  2. เบนกัวลา (Benguela)
  3. เบ (Bié)
  4. คาบินดา (Cabinda)
  5. ควนโด คูบานโก (Cuando Cubango)
  6. ควนซาเหนือ (Cuanza Norte)
  7. ควนซาใต้ (Cuanza Sul)
  8. คัวนีนี (Cunene)
  9. ฮัวโบ (Huambo)
  1. ฮุยลา (Huila)
  2. ลวนดา (Luanda)
  3. ลูนดาเหนือ (Lunda Norte)
  4. ลูนดาใต้ (Lunda Sul)
  5. มาลันเจ (Malanje)
  6. มอกซิโก (Moxico)
  7. นามิบี (Namibe)
  8. อูยจี (Uíge)
  9. ซาอีร์ (Zaire)
 
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในแองโกลา
2006 census
อันดับ ชื่อ จังหวัด ประชากร
ลูอันดา
ลูอันดา
วัมบู
วัมบู
1 ลูอันดา จังหวัดลูอันดา 2,776,125 โลบิโต
โลบิโต
เบนเกอลา
เบนเกอลา
2 วัมบู จังหวัดวัมบู 226,177
3 โลบิโต จังหวัดเบนเกอลา 207,957
4 เบนเกอลา จังหวัดเบนเกอลา 151,235
5 ลูคาปา จังหวัดลุนดานอร์เท 125,751
6 คุยโตะ จังหวัดเบียเอ 113,624
7 ลูบันโก จังหวัดฮุยลา 102,541
8 มาลานเจ จังหวัดมาลานเจ 87,047
9 นามิเบ จังหวัดนามิเบ 80,150
10 โซโย จังหวัดซาเอียร์ 67,553

อ้างอิง

  1. "Virtual Angola Facts and Statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 30 October 2007. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)