ข้ามไปเนื้อหา

หลวงอธึกเทวเดช (บุญเจียม โกมลมิศร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บุญเจียม โกมลมิศร์)
หลวงอธึกเทวเดช
(เจียม โกมลมิศร์)
รัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2486
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้ามุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
ถัดไปหลวงเทวฤทธิ์พันลึก (กาพย์ ทัตตานนท์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 สิงหาคม พ.ศ.2440
ไทย ประเทศไทย
คู่สมรสสุดา โกมลมิศร์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพอากาศไทย
ยศ พลอากาศเอก
ผ่านศึกกรณีพิพาทอินโดจีน[1][2]

พลอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์) (2 สิงหาคม พ.ศ.2440-25 กันยายน พ.ศ.2529)เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ[3] และอดีตรัฐมนตรีแห่งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10[4] ผู้มีบทบาทสำคัญในกรณีพิพาทอินโดจีน[1]

ครั้งหนึ่ง เคยมีการตั้งชื่อ "อำเภออธึกเทวเดช" ในจังหวัดพระตะบองตามชื่อของเขา เมื่อครั้งที่ไทยได้รับดินแดนจากประเทศฝรั่งเศสคืนมาบางส่วน[1][5]

ประวัติ

[แก้]

วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งหลวงอธึกเทวเดช รองผู้บัญชาการทหารอากาศ มาเป็นแม่ทัพอากาศ เพื่อเตรียมการกรณีพิพาทอินโดจีน[6][7]

กรณีพิพาทอินโดจีน

[แก้]

ในกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อครั้งที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเริ่มการโจมตี หลวงอธึกเทวเดชได้ทำหน้าที่เป็นแม่ทัพอากาศ เพื่อป้องกันภัยทางอากาศและสนับสนุนกำลังภาคพื้นดิน และได้รับชัยชนะในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยประเทศไทยได้ดินแดนที่เคยเสียไปคืนมาบางส่วน[8]

ในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครจัมปาศักดิ์, จังหวัดลานช้าง, จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงคราม หลังจากการเจรจาระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศฝรั่งเศสที่กรุงโตเกียว ซึ่งหนังสือเล่าความหลังครั้งสงคราม ของโกวิท ตั้งตรงจิตร ได้ระบุว่า จังหวัดพระตะบอง เดิมเป็นเมืองพระตะบองของเขมร แล้วมีการตั้งชื่อ "อำเภออธึกเทวเดช" เมื่อครั้งที่ไทยได้จังหวัดพระตะบอง ตามชื่อของพลอากาศเอกหลวงอธึกเทวเดช ทว่า ก็ต้องคืน 4 จังหวัดดังกล่าวให้แก่ฝรั่งเศส เนื่องด้วยฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่สอง[3] หลังจากไทยปกครอง 4 จังหวัดดังกล่าวได้ 5 ปี 4 เดือน 1 วัน[9][10]

รัฐมนตรี

[แก้]

พลอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์) เป็นมิตรสหายของสมาชิกแกนนำคณะราษฎรที่เข้าร่วมคณะรัฐบาล[11] โดยในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 มีการแต่งตั้งให้เขาเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10 ทว่าภายหลัง เขาได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2486[12]

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม

[แก้]
  • อำเภออธึกเทวเดช (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองระสือ ประเทศกัมพูชา)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "จังหวัดพระตะบอง - Vacation Trip At Cambodia - มณฑลคีรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2019-03-22.
  2. เหตุการณ์ในอดีต
  3. 3.0 3.1 ชื่อนั้น...ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว - ไทยรัฐ
  4. รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 - ข่าวออนไลน์
  5. การปักปันดินแดน - บ้านจอมยุทธ
  6. เรื่องของไทยในอดีต - mettadham
  7. ประวัติกองบิน ๒
  8. ‘อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ’ สัญลักษณ์ของทหารผ่านศึก นักรบที่มีคุณค่ายิ่งแก่แผ่นดินไทย : โดย พลโท ทวี แจ่มจำรัส
  9. ๔ จังหวัดในฝันของไทย ครองอยู่ได้ ๕ ปี ๔ เดือน ๑ วัน ตกไปอยู่ในเมืองเขมร-ลาว!!!
  10. "๔ จังหวัดในฝันของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-03-22.
  11. รัฐบาลคณะราษฎร พ.ศ. 2476-90 - ศิลปวัฒนธรรม
  12. "The Secretariat of the Cabinet, THAILAND - สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]