การอธิษฐานในศาสนาพุทธ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
อธิษฐาน (อะ-ทิด-ถาน) มีสองความหมาย ความหมายแรก คือ การตั้งมั่นหรือการตัดสินใจ และความหมายที่สอง คือ การตั้งใจหรือการผูกใจ
อธิษฐานในความหมายของการตั้งมั่น
[แก้]อธิษฐาน แปลว่า การตั้งมั่น การตัดสินใจ การตั้งความปรารถนา ทั่วไปหมายถึงการตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, การตั้งจิตร้องขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์, การนึกปรารถนาสิ่งที่ต้องการจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากพระ นึกอธิษฐานในใจ ขอให้เดินทางแคล้วคลาด เป็นต้น
คำว่า อธิษฐาน ในคำวัด หมายถึง ความตั้งใจมั่นคงตัดสินใจรักษาสัจจะ ตั้งใจประกอบความเพียร ตั้งใจเสียสละ ตั้งใจทำบุญ ตั้งใจหาความสงบ เป็นต้น
อธิษฐานในความหมายของการตั้งใจ
[แก้]อธิษฐาน แปลว่า การตั้งใจไว้ การผูกใจไว้ ใช้คู่กับคำว่า ปัจจุธรณ์ ที่แปลว่า ถอนคืน, การถอนคืน เป็นภาษาพระวินัย คือมีธรรมเนียมว่าเมื่อพระสงฆ์ได้ผ้ามาใหม่ ตั้งใจจะใช้เป็นผ้าชนิดใด เช่น เป็นสบงสำหรับนุ่ง เป็นจีวรสำหรับห่ม ก็อธิษฐาน คือตั้งใจกำหนดผูกใจไว้ ว่า จะใช้สอยเป็นผ้าชนิดนั้น เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วเป็นอันถูกต้อง และใช้สอยได้ตามพระวินัย เรียกผ้านั้นว่า ผ้าอธิษฐาน ผ้าครอง หรือ สบงอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน
แม้บาตรก็ต้องอธิษฐานก่อนนำใช้บิณฑบาตทุกครั้งเช่นกัน โดยว่าดังนี้ 3 หน “อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ” เมื่ออธิษฐานแล้วเรียกว่า บาตรอธิษฐาน
มีคำสำหรับอธิษฐานตามพระวินัยโดยเฉพาะเมื่อต้องการจะเลิกใช้หรือเปลี่ยนใหม่ก็ทำได้โดยการปัจจุธรณ์เสียก่อน
คำขอขมาและอธิฐานจิต
อธิฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดมนต์ก่อนนอน
(ตั้งนะโม 3 จบ)
สัพพัง อะปะระธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะคะตัง สัพพัง ทะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548