ตราแผ่นดินของทาจิกิสถาน
ตราแผ่นดินของทาจิกิสถาน | |
---|---|
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ | |
ตราแผ่นดิน พ.ศ. 2535 - 2536 | |
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | สาธารณรัฐทาจิกิสถาน |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2536 |
โล่ | มงกุฎล้อมด้วยดาวห้าแฉก 7 ดวง พระอาทิตย์และภูเขา |
ประคองข้าง | ฝ้ายและข้าวสาลีล้อมรอบกับธงชาติทาจิกิสถาน |
ฐานรองข้าง | หนังสือ |
ตราแผ่นดินของทาจิกิสถาน ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยมีลักษณะอย่างเดียวกันกับ ตราเดิมของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก. ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ สัญลักษณ์ค้อนเคียวที่สื่อถึงการปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 ได้ถูกตัดออก พร้อมกับมีการแก้ไขตราแผ่นดินในบางลักษณะ
ด้านซ้ายช่อดอกฝ้าย และ ด้านขวา รวงข้าวสาลีเป็นรูปวงพระจันทร์ พันด้วยแถบริบบิ้นสีธงชาติ ซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้ เป็นสินค้าสำคัญที่ทำรายได้ให้ทาจิกิซสถาน สื่อถึง ดินแดนที่มีพืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ โดย ดอกฝ้าย หมายถึง ความบริสุทธิ์ของชนชาวทาจิก และ รวงข้าวสาลี หมายถึง ความสว่างไสวของชาติเหมือนรวงข้าวสีทอง เหนือช่อดอกฝ้าย และ รวงข้าวสาลี มีรูปภูเขาปาร์มาร์ภายใต้แสงรัศมีของดวงอาทิตย์ ประกอบมีรูปมงกุฎล้อมด้วยดาวห้าแฉก 7 ดวง รูปเหล่านี้เป็นสีทอง รองรับด้วยหนังสือ.
ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการประกาศใช้ตราแผ่นดินแบบแรก มีลักษณะเป็นรูปสิงโตยืนเหยียบภูเขาปาร์มาร์ รองรับรับด้วยรวงข้าวสาลีเป็นรูปวงพระจันทร์ พันด้วยแถบริบบิ้นสีธงชาติทั้งสองข้าง ในสมัยประธานาธิบดี เอมอมาลี ราห์มอน
ภาพ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]