ข้ามไปเนื้อหา

ดิอะเมซิ่งเรซ 14

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดิ อะเมซิ่ง เรซ 14)
ดิอะเมซิ่งเรซ 14
โลโก้รายการ
ออกอากาศ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[1]
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[2]
ระยะเวลาการถ่ายทำ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551[3]
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
จำนวนตอน 12[4]
ผู้ชนะ แทมมี่กับวิคเตอร์
ทวีปที่ผ่าน 3
ประเทศที่ผ่าน 9
เมืองที่ผ่าน 20
ระยะทางการแข่งขัน 40,000 ไมล์
(64,372 กิโลเมตร)
จำนวนเลก 12
ซีซั่นก่อนหน้าและถัดไป
ก่อนหน้า ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13
ถัดไป ดิ อะเมซิ่ง เรซ 15

ดิ อะเมซิ่ง เรซ 14 (อังกฤษ: The Amazing Race 14) เป็นฤดูกาลที่ 14 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 20 นาฬิกา ซึ่งยังคงเป็นคืนวันอาทิตย์ เช่นเดิม[1] และเริ่มออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง เอเอ็กซ์เอ็น ทาง ทรูวิชั่นส์ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 21 นาฬิกา [5]

การผลิต

[แก้]

การถ่ายทำและการออกอากาศ

[แก้]

ดิ อะเมซิ่ง เรซ 14 ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 22 วัน คิดเป็นระยะทางประมาณ 40,000 ไมล์ โดยทีมจะเดินทางผ่าน 9 ประเทศ คือ โรมาเนีย (เป็นครั้งแรกของรายการ) สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย อินเดีย ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน และ รัสเซีย (ดินแดนครัสโนยาสค์ และแคว้นโนโวซีบีสค์ [4]) ก่อนที่จะไปจบการแข่งขันที่ มาอุย รัฐฮาวาย โดยจากบทสัมภาษณ์กับผู้ผลิตรายการ เบ็นตั้น แวนด์ มัสเตอร์ เขากล่าวว่าทีมจะเดินทางระหว่างเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งโดยรถไฟสายทรานส์ ไซบีเรียรวมถึงผจญพายุหิมะกลางทุ่งไซบีเรียที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส[4][6] เขายังกล่าวอีกว่าทีมจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดโหด ภารกิจอุปสรรคที่เข้มข้นและเวลาในท่าอากาศยานที่น้อยลง ซึ่งอาจทำให้ทีมเกิดอาการอ่อนเพลียได้ นอกจากนี้ ซีบีเอสยังเปิดเผยว่าในการแข่งขันจะมีการบันจีจัมพ์จากหอที่สูงเป็นลำดับสองของโลก ผจญกับอากาศที่ร้อนอบอ้าวจนหายใจไม่ออกในอินเดีย และการท้าทายระหว่างกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อนประจำปี ค.ศ. 2008 ที่ทำให้ทีมเกิดอาการหอบได้ [7]

สำหรับในซีซั่นที่ 14 นี้ เบอร์แทรม ฟาน มุนสเตอร์ ได้ให้สัมภาษณ์กับยูเอสเอทูเดย์ไว้ว่า จะมีการอัปเดตแผนที่แสดงเส้นทางในรายการผ่านทาง กูเกิล แมปส์ มีช่วงเปิดรายการแบบใหม่ กราฟิกใหม่ (ฟอนต์ของชื่อผู้เข้าแข่งขันและคำอธิบายภารกิจในรายการ และไอคอนแสดงสัญลักษณ์คำใบ้ต่าง ๆ อย่างไรก็ดีไอคอนแบบเก่ายังพบในการถ่ายทำอยู่) มีการแบ่งครึ่งหน้าจอในช่วงที่มีสองฉากเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน และมีการปรับปรุงเพลงประกอบรายการใหม่อีกด้วย[6] นอกจากนี้ซีซั่นนี้เป็นครั้งที่สองที่เส้นชัยไม่ได้อยู่ที่แผ่นดินใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยฤดูกาลแรกที่เส้นชัยอยู่นอกแผ่นดินใหญ่ในสหรัฐอเมริกาคือ ดิ อะเมซิ่ง เรซ 12 ไม่เพียงเท่านี้ ฤดูกาลนี้ยังมีการเปลี่ยนกติกาของคำสั่งย้อนกลับ (U-Turn) เล็กน้อย ซึ่งปรากฏในเลกที่ 4 ของการแข่งขัน คำสั่งย้อนกลับที่ปรากฏในเลกนั้นทีมที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยว่าตนสั่งย้อนกลับ (ไม่จำเป็นต้องปิดป้ายแสดงว่าพวกเขาเป็นผู้สั่งย้อนกลับ[8] (Blind U-Turn) ซึ่งตั้งแต่มีการใช้คำสั่งถ่วงเวลา (Yield) และคำสั่งย้อนกลับ ทีมที่ใช้จะต้องปิดป้ายแสดงว่าตนเป็นผู้สั่งย้อนกลับให้ทีมอื่น ๆ ทราบ) แต่ทว่า U-Turn ในเลกที่ 10 ของฤดูกาลนี้นั้นเป็น U-Turn แบบปกติ คือ ต้องติดแผ่นป้ายบอกว่าใครเป็นคนสั่ง U-Turn ใคร ในการแข่งขันครั้งนี้ มีคำสั่งทางด่วนที่ไม่ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ 1 ครั้ง โดยเมลกับไมค์ให้สัมภาษณ์หลังจากจบการแข่งขันว่าคำสั่งทางด่วนในเลก 7 ของการแข่งขันเป็นคำสั่งที่ให้ทีมเดินทางไปยังตลาดและซื้อของให้กับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ด้วยเงินของพวกเขาเอง ซึ่งในที่สุดแล้วไม่มีทีมใดใช้ทางด่วนในเลกดังกล่าวเลยรวมถึงเป็นครั้งแรกที่จำนวนทางด่วนนั้นมีแค่ 1 ครั้งเท่านั้นซึ่งโดยปกติแล้วจำนวนทางด่วนในฤดูกาลที่ 5-13 จะมีทั้งหมด 2 ครั้ง (ฤดูกาลที่ 1-4 มีจำนวนทางด่วน 9-11 ครั้งด้วยกัน)[9]

การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน

[แก้]

สำหรับฤดูกาลที่ 14 นี้ปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 การสัมภาษณ์เพื่อคัดตัวรอบรองสุดท้ายมีขึ้นในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2551 และรอบสุดท้ายมีขึ้นเมื่อประมาณปลายเดือนมิถุนายน ถึงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ที่ ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา การค้นหาสถานที่แข่งกระทำขึ้นในช่วงเดือน สิงหาคม และการถ่ายทำคาดว่ามีขึ้นในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[10] [11]

ผู้เข้าแข่งขันในครั้งนี้มีทั้งคู่แต่งงานที่แต่งกันมาแล้ว 17 ปีจากรัฐเวอร์จิเนีย พี่ชายกับน้องชายสตั๊นท์แมน ไปจนถึงผู้เข้าแข่งขันที่หูหนวกครั้งแรกของเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ลูค อดัมส์ ที่อาศัยคุณแม่ของเขาในการสื่อสารด้วยภาษามือ[7][12] โดยผู้เข้าแข่งขันที่หูหนวกครั้งแรกในทุก ๆ เวอร์ชันคือเอเดรียน แย็บ ซึ่งเป็นผู้ชนะใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 (สำหรับในกรณีที่ถ้ามาร์กี้กับลุคเข้าถึงจุดพักพิธีกรจะใช้ภาษามือในการบอกลำดับที่ของพวกเขา ซึ่งปรากฏขึ้นในตอนที่ 1)

ผลการแข่งขัน

[แก้]

ตารางแสดงชื่อ ความสัมพันธ์ของผู้แข่งขันในขณะถ่ายทำของแต่ละทีมพร้อมทั้งแสดงสถานะในการแข่งขัน ดังนี้ (ตารางนี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ออกอากาศในโทรทัศน์เนื่องจากข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาบางส่วน หรือข้อมูลที่ถูกนำออกไปบางส่วน)

ทีม ความสัมพันธ์ ลำดับที่ (ในแต่ละช่วง) ผู้แก้อุปสรรค
1 2 3 41 5 6 8 9 105 11 12
แทมมี่กับวิคเตอร์ พี่น้อง / ทนายความ 2 1 8 3 2 1 1 3 2 3 1» 1 แทมมี่ 5, วิคเตอร์ 6
เจมี่กับคาร่า อดีตเชียร์ลีดเดอร์ เอ็นเอฟแอล 7 6 7 5 3 5 2 2 4 1 3 2 เจมี่ 6, คาร่า 5
มาร์จี้กับลุค แม่กับลูกชาย 1 4 4 4» 1 4 4 1 3 2 2 3 มาร์กี้ 5, ลุค 6
คิชากับเจน พี่น้อง 8 7 3 2 6 3 5 4 43 4 4« คิชา 5, เจน 5
มาร์คกับไมเคิล พี่น้อง / สตั๊นท์แมน 3 8 5 7 5 6 32 54 5 มาร์ค 5, ไมเคิล 3
เมลกับไมค์ พ่อกับลูกชาย 4 2 1 6 4 2 6 เมล 3, ไมค์ 3
คริสตี้กับโจดี้ พนักงานบนเครื่องบิน 10 9 6 1 7 7 คริสตี้ 3, โจดี้ 3
อแมนด้ากับคริส คู่เดท 5 3 2 8« อแมนด้า 1,คริส 3
แบรดกับวิคตอเรีย คู่สมรส 6 5 9 แบรด 0, วิคตอเรีย 3
สตีฟกับลินดา คู่สมรส 9 10 สตีฟ 1 , ลินดา 1
เจนนิเฟอร์กับเพรสตัน คู่เดท 11 เจนนิเฟอร์ 0, เพรสตัน 1


หมายเหตุ 1: คำสั่งย้อนกลับในเลกนี้เป็นแบบไม่ต้องเปิดเผยว่าใครเป็นผู้สั่งใช้โดย มาร์จี้กับลุค ใช้สั่งย้อนกลับ อแมนด้ากับคริส
หมายเหตุ 2: มาร์คกับไมเคิลมาถึงเป็นที่ 1 ของเลคนี้ แต่พวกเขาถูกปรับเวลา 30 นาที 2 ครั้ง รวมเป็น 1 ชั่วโมง เนื่องจากอย่างแรกคือพวกเขาซ่อนเครื่องมือในการทำงานทางแยก 2 ไมล์ และอย่างที่สองก็คือให้แท็กซี่นำทางให้ หลังจากปรับเวลาเสร็จแล้ว ทำให้พวกเขาตกลงมาอันดับที่ 3
หมายเหตุ 3: คิชากับเจนเดิมมาถึงเป็นลำดับที่ 3 แต่พวกเธอไม่ได้นำกระเป๋าที่ใส่เงินและหนังสือเดินทางมาด้วย ทำให้จะแข่งต่อไปยังประเทศอื่นไม่ได้ ดังนั้นจะต้องกลับไปเอากระเป๋าแล้วค่อยเข้าจุดพักอีกครั้ง ทำให้ลำดับตกลงมาอยู่ที่ 4
หมายเหตุ 4: มาร์คกับไมเคิลใช้ของส่วนตัวแทนเงินในการจ่ายค่าโดยสารแท็กซี่ (ปกติทีมสามารถขอเงินจากคนท้องถิ่นหรือขอลดหย่อนค่าโดยสารได้ถ้าไม่ได้สั่งห้ามไว้) จำนวน 2 ครั้งจึงถูกปรับครั้งละ 2 ชั่วโมงรวมเป็น 4 ชั่วโมง แต่เมื่อปรับเวลาไปได้ 50 นาทีก็ทำให้ตกลงมาอยู่อันดับสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกเนื่องจากเป็นด่านที่ไม่มีการคัดออก ฉะนั้นเวลาอีก 3 ชั่วโมง 10 นาที ที่เหลือจะถูกนำไปปรับเพิ่มตอนเริ่มการแข่งขันในด่านถัดไปแทน
หมายเหตุ 5: เมื่อเข้าจุดเช็คในเลกที่ 10 นี้ทีมได้รับคำใบ้จากพิธีกรและแข่งต่อไปทันทีโดยไม่มีการหยุดพัก ทำให้กลายเป็นว่าทีมที่เข้ามาเป็นลำดับสุดท้ายก็ไม่มีบทลงโทษ

  • สีแดง หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกคัดออก
  • สีเขียว ƒ หมายถึง ทีมนั้นๆ ทำ Fast Forward สำเร็จ ; เลขของเลกที่มีสีเขียวและ ƒ เป็นเลกที่มี Fast Forward แต่ไม่มีทีมไหนใช้
  • สีน้ำเงินตัวหนา หมายถึง ทีมนั้นๆ มาถึงจุดพักเป็นทีมสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก แต่จะต้องทำภารกิจเพิ่มในด่านถัดไปเรียกว่า "สปีด บัมพ์"
  • เครื่องหมาย » สีน้ำตาล หมายถึง ทีมนั้นๆ ใช้คำสั่งย้อนกลับให้กับทีมอื่น (U-Turn)  ; « หมายถึงทีมนั้นๆ ถูกสั่งให้ย้อนกลับ ; «» หมายถึงเลกที่มีกฎการย้อนกลับแต่ไม่มีทีมไหนใช้

คำสั่งต่างๆ ในการแข่งขัน

[แก้]
เครื่องหมาย คำอธิบาย
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
Route Marker เป็นสัญลักษณ์ธงสีแดงและสีเหลือง เป็นเครื่องหมายประจำสถานที่ที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถค้นหาคำสั่งต่อๆ ไป
บัตรคำสั่ง Route Infomation
บัตรคำสั่ง Route Infomation
Route Infomation (ข้อมูลเส้นทาง) เป็นสัญลักษณ์ตัวบอกเส้นทางที่ไปยังจุดหมายถัดไป ทีมจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะถูกทำโทษปรับเวลาขั้นต่ำในการลงโทษ 30 นาทีบวกกับเวลาที่ได้เปรียบจากการเดินทางที่ผิดไปจากคำสั่ง
Detour (ทางแยก) เป็นสัญลักษณ์ตัวเลือกระหว่างภารกิจที่แตกต่างกันสองประการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกทำให้สำเร็จ ภารกิจทั้ง 2 อย่างนั้นมีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองฉะนั้นควรเลือกที่คิดว่าทั้งทีมถนัดเพื่อทำงานให้เสร็จโดยเร็ว จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป ถ้าหากโดนคำสั่งย้อนกลับ ทีมจะต้องกลับมาทำ Detour อีกอันที่ไม่ได้เลือกทำแต่แรก และกลายเป็นว่าจะต้องทำทั้งสองอันนั่นเอง (ถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 24 ชั่วโมงแต่ในฤดูกาลที่ 17 เป็นต้นมาจะถูกปรับแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น)
Roadblock (อุปสรรค) เป็นสัญลักษณ์ภารกิจที่อนุญาตให้สมาชิกเพียงคนเดียวในทีมสามารถทำได้เท่านั้นและเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนคนทำได้ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกทำนั้นต้องทำงานอุปสรรคนั้นให้สำเร็จก่อน จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป (หลังจากฤดูกาลที่ 5 ได้กำหนดตลอดระยะเวลาการแข่งขันให้ทำได้ไม่เกินคนละ 6-7 ครั้ง โดยมากแล้วจะแบ่งในสัดส่วนพอๆ กันและถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 4 ชั่วโมง)
Face-Off (ภารกิจตัวต่อตัว) เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ทีมที่มาขึ้นจุดนี้ รออีกทีมหนึ่งมา และสองทีมจะต้องแข่งภารกิจ ตัวต่อตัว ทีมที่ชนะจะได้คำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่แพ้ต้องรอจนกว่าจะมีอีกทีมถัดมา และแข่งใหม่อีกครั้ง โดยทีมสุดท้ายที่แพ้จะต้องถูกโทษปรับเวลา การแข่งขันภารกิจแบบตัวต่อตัวนี้ จะทำให้ลำดับการแข่งขันเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก
Fast Forward (ทางด่วน) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมใดก็ตามที่เสร็จสิ้นภารกิจ 1 อย่างเป็นพิเศษ ตามคำสั่งของ Fast Forward เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปยัง Pit Stop หรือจุดหมายปลายทางสุดท้ายของด่านนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านด่านใดๆ อีกในระหว่างทาง สิทธิ์ในการใช้สัญลักษณ์นี้ จะให้เฉพาะกับทีมแรกที่สามารถหาและเสร็จสิ้นภารกิจ Fast Forward เท่านั้นและตลอดการแข่งขันทีมๆ นั้นจะใช้สิทธิ์นี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยกเว้นในกฏ Intersection จะสามารถทำ Fast Forward ร่วมกันกับอีกทีมที่จับคู่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็น Fast Forward ครั้งที่ 2 ก็ตาม (การใช้ Fast Forward ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้น้อยมาก) อย่างไรก็ตาม การได้บัตรทางด่วนนี้ ยังคงไม่รับประกันว่าจะไม่ตกรอบ ถ้ายังคงมาถึงเป็นทีมสุดท้าย (มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ)
บัตรผ่านเร่งด่วน
บัตรผ่านเร่งด่วน
Express Pass (บัตรผ่านเร่งด่วน) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถข้ามงานใดๆ ก็ได้ที่ไม่ต้องการทำ 1 งาน ไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใดก็ตามและผ่านไปเลยโดยไม่ต้องมีอะไรเป็นการแลกเปลี่ยน ต่างจาก Fast Forward ที่ข้ามทั้งเลกและต้องทำภารกิจตามที่กำหนด 1 อย่างก่อน (บัตรนี้จะถูกให้กับทีมที่เข้ามาเป็นที่ 1 ในเลกแรกของการแข่งขันซึ่งใช้ได้ถึงเลก 8 จาก 12)
บัตรกอบกู้
บัตรกอบกู้
Salvage Pass (บัตรกอบกู้) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถช่วยทีมที่มาถึงเป็นลำดับสุดท้ายไม่ให้ถูกคัดออกได้ หรือจะใช้เพื่อเป็นการช่วยตัวเองไม่ให้ถูกคัดออกด้วยก็ได้ ในกรณีที่ต้องเผชิญหน้ากับการถูกคัดออก (ในเวอร์ชั่นอเมริการจะใช้คำว่า The Save)
ป้ายสั่ง Yield
ป้ายสั่ง Yield
Yield (ถ่วงเวลา) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้หยุดแข่งได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ย้อนกลับ)
ป้ายสั่ง U-Turn
ป้ายสั่ง U-Turn
U-Turn (ย้อนกลัับ) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้กลับไปทำงาน Detour อีกงานที่ไม่ได้เลือกทำ ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ถ่วงเวลา)
Intersection (จุดร่วมมือ) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมต้องจับคู่กับอีกทีมทำภารกิจทุกๆ อย่างร่วมกัน ถ้ามาถึงจุดที่มีคำสั่งแต่ยังไม่มีทีมร่วมงานก็จำเป็นต้องรอและเมื่อมีคำสั่งยกเลิก Intersection จึงจะทำการแข่งขันแบบปกติได้
ป้ายสั่ง Speed Bump
ป้ายสั่ง Speed Bump
Speed Bump (งานเพิ่มเติม) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำงานเพิ่มอีก 1 งานในเลกถัดไป เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว โดยจะเป็นงานพิเศษ ที่ไม่เหมื่อนกับงานทั่วไปที่แข่งในเลกนั้นๆ ทำให้ทีมที่ได้บทลงโทษนี้ ทำงานเพิ่มมากกว่าปกติอีก 1 งานในเลกนั้น คล้ายกับ Handicap ต่างกันตรงที่เป็นงานใหม่เพิ่มขึ้นมาต่างหาก
ป้ายสั่ง Handicap
ป้ายสั่ง Handicap
Handicap (เพิ่มจำนวนชิ้นงาน) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องเพิ่มจำนวนชิ้นงานมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว เช่น ในงานธรรมดาทั่วไปปกติให้ทำ 50 ชิ้นแต่ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำ 75 ชิ้น เป็นต้น คล้ายกับ Speed Bump ต่างกันตรงที่เป็นงานปกติทั่วไปในเลกนั้นๆ เพียงแต่เพิ่มจำนวน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
Pit Stop (จุดหยุดพัก) เป็นสัญลักษณ์จุดหมายปลายทางสุดท้ายของการแข่งขันในแต่ละด่านโดยทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย อาจจะถูกคัดออก หรือบางครั้งจะมีการเตือนในคำใบ้สุดท้ายก่อนถึงจุดพักเลยว่า ทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย จะถูกคัดออก

ชื่อตอนในการแข่งขัน

[แก้]

ชื่อตอนในการแข่งขันมักมาจากคำพูดสำคัญ ๆ ของผู้เข้าแข่งขันในเลกนั้น ๆ[13]

  1. Don't Let a Cheese Hit Me - เมล
  2. Your Target Is Your Partner’s Face - คำแนะนำในการทำทางแยก"เบาปัญญา"
  3. I'm Not Wearing That Girl's Leotard! - "ลุค"
  4. It Was Like A Caravan of Idiots – ไมค์
  5. She’s a Little Scared of Stick, But I Think She’ll Be OK! – วิคเตอร์
  6. Alright Guys We're at War! – มาร์ค
  7. "Gorilla? Gorilla?? Gorilla???" – วิคเตอร์
  8. "Rooting Around in People's Mouths Could Be Unpleasant" – ฟิล คีโอแกน
  9. "Our Parents Will Cry Themselves to Death" – แทมมี่
  10. "Having a Baby's Gotta Be Easier Than This" – คาร่า
  11. "He Made Me Look Like Alice Cooper" – มาร์จี้
    "No More Mr. Nice Guy" – วิคเตอร์
  12. "This is How You Lose a Million Dollars" – เจมี่

รางวัล

[แก้]

ในบางเลก ทางรายการจะมีรางวัลให้กับผู้เข้าแข่งขันที่สามารถเข้าเส้นชัยได้เป็นทีมแรก สำหรับแพ็กเกจทัวร์ทั้งหมดสนับสนุนโดยแทรเวโลซิตี้

สถานี "คนคัดออก"

[แก้]

เช่นเดียวกับฤดูกาลที่ผ่านมาที่ทีมที่ถูกคัดออกจะถูกส่งไปยังบ้านพัก สำหรับฤดูกาลนี้ทีมที่ถูกคัดออกจะถูกส่งไปยังบ้านพักที่เกาะสมุยในประเทศไทยเพื่อรอให้การแข่งขันจบและได้ผู้ชนะ ซึ่งซีบีเอสได้โพสต์วิดีโอสั้นลงบนเว็บไซต์ของรายการหลังจากแต่ละตอนออกอากาศไปแล้วตามเวลาโซนแปซิฟิก เพื่อแสดงให้เห็นถึงการกระทำและความรู้สึกของทีมที่ถูกคัดออก ในระหว่างที่อยู่ในบ้านพัก

  • หลังจากจบ เลก 1 เจนนิเฟอร์กับเพรสตัน เป็นทีมแรกที่ถูกส่งมาที่บ้านพัก พวกเขาแสดงออกถึงความผิดหวังที่ถูกคัดออกเร็วเกินไปและเชื่อว่าลินดากับสตีฟจะเป็นทีมต่อไปที่ถูกคัดออก หลังจากพูดคุยกันถึงเรื่องทีมที่พวกเขาเห็นว่าแข็งแกร่งที่สุด พวกเขายังกล่าวถึงการทะเลาะกันที่อยู่เหนือปัจจัยการควบคุมของพวกเขาที่ทำให้พวกเขาถูกคัดออกอีกด้วย
  • หลังจากจบ เลก 2 สตีฟกับลินดา เป็นทีมที่สองที่ถูกส่งมาที่บ้านพัก สตีฟได้พูดเปิดใจกับเจนนิเฟอร์กับเพรสตันเกี่ยวกับความสำคัญของลินดา ในวันต่อมาทีมทั้งสองที่ตกรอบก็ได้ไปเที่ยวที่บ่องูและกินข้าวด้วยกัน พวกเขาเชื่อว่าคริสตี้กับจอดี้และเจมี่กับคาร่าจะเป็นทีมต่อไปที่ถูกคัดออก
  • หลังจากจบ เลก 3 แบรดกับวิกตอเรีย เป็นทีมที่สามที่ถูกส่งมาที่บ้านพัก ทำให้ 2 ทีมที่ถูกส่งมาก่อนหน้านั้นประหลาดใจมากและเจนนิเฟอร์ก็ยังไม่ยอมพูดคุยกับ ลินดา อีกเช่นเคยเนื่องจากมีปัญหากันระยะหนึ่ง พอวันรุ่งขึ้นในตอนเช้าทุกคนก็ได้ไปที่วัดเพื่อไห้วพระและรับพรจากพระสงฆ์เพื่อขอให้ตนเองนั้นโชคดี
  • หลังจากจบ เลก 4 อแมนด้ากับคริส เป็นทีมที่สี่ที่ถูกส่งมาที่บ้านพัก พวกเข้าเล่าให้ฟังถึงด่านที่โหดและใหญ่มากในการแข่งขันที่ผ่านมาและยังเล่าให้ฟังอีกว่ามีการใช้ ยูเทิรน์ แต่ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อว่าใครเป็นคนสั่งย้อนกลับพวกเขา และก็นั่งคิดกันว่าอาจจะเป็น คริสตี้กับโจดี้ หรือ คิช่ากับเจน ที่เป็นคนสั่งย้อนกลับพวกเขา โดยหลังจากนั้นทั้ง 4 ทีมก็ได้ไปยังชายหาดเพื่อลอยกระทง
  • หลังจากจบ เลก 5 เป็นด่านที่ไม่มีการคัดออก ทั้ง 4 ทีมยังคงอยู่ที่บ้านพักและออกไปนวดแผนไทยกับการได้ขึ้นกระเช้าลอยฟ้าเพื่อได้ชมวิวทิวทัศน์รอบเกาะสมุย
  • หลังจากจบ เลก 6 คริสตี้กับโจดี้ เป็นทีมที่ห้าที่ถูกส่งมาที่บ้านพัก และเล่าให้ฟังว่า มาร์จี้กับลุค เป็นคนสั่งย้อนกลับอแมนด้ากับคริส ทุกคนต่างประหลาดใจเป็นอย่างมากที่ได้ยินดังนั้น รวมถึงเกิดความตึงเครียดของความสัมพันธ์ระหว่าง สตีฟ กับทีมอื่นๆ และโดยเฉพาะ เพรสตันกับเจนนิเฟอร์ที่เกิดทะเลาะกันขึ้นมา ทำให้สตีฟต้องอยู่กับลินดาตามลำพัง
  • หลังจากจบ เลก 7 เมลกับไมค์ เป็นทีมที่หกที่ถูกส่งมาที่บ้านพัก เมลกับไมค์เล่าให้ฟังเกี่ยวกับวิธีการแข่งขันของทีมอื่นๆ ที่เริ่มมีการพลิกแพลงและเริ่มเล่นไม่ซื่อกันแล้ว หลังจากนั้นทุกทีมได้ไปซื้อของที่ตลาดใกล้ๆ และความสัมพันธ์ของเพรสตันกับเจนนิเฟอร์ก็ยังคงตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่เพรสตันมีอารมณ์ฉุนเฉียวกับการซื้อกระเป๋าของของเจนนิเฟอร์
  • หลังจากจบ เลก 8 เป็นด่านที่ไม่มีการคัดออก เจนนิเฟอร์กับเพรสตัน ยังคงมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ต่อกันและพวกเขาก็ได้แยกตัวออกมากันตามลำพังจากคนอื่นๆ โดยทั้งหมดนั้นได้ไปพายเรือคายัคและดำน้ำดูปะการังบริเวณรอบๆ เกาะสมุย
  • หลังจากจบ เลก 9 มาร์คกับไมเคิล เป็นทีมที่ถูกคัดออกแต่ไม่ได้ถูกส่งมาที่บ้านพัก แต่ได้คุยโทรศัพท์กับทีมอื่นๆ ที่อยู่ที่บ้านพักว่าพวกเขาได้ถูกคัดออกจากการแข่งขันและได้พูดคุยถึงเรื่องราวต่างๆ รวมทั้งทุกทีมเชื่อว่า คาร่ากับเจมี่ จะเป็นทีมถัดไปที่ถูกคัดออก หลังจากนั้นทุกทีมที่อยู่ที่บ้านพักก็ได้ไปขี่บนหลังช้างและเที่ยวชมป่าไม้บริเวณท่องเที่ยวของเกาะสมุย
  • หลังจากจบ เลก 10 ทีมที่ตกรอบไปแล้วกำลังจะออกจากเกาะสมุยและเป็นวันสุดท้ายที่อยู่ที่ประเทศไทยและเตรียมตัวที่จะไปยังจุดหมายจุดสุดท้ายที่เส้นชัย ทุกทีมอยากทราบมากว่าใครจะเป็นผู้ชนะ
  • หลังจากจบ เลก 11 คิช่ากับเจนเป็นทีมสุดท้ายที่ถูกคัดออกแต่ไม่ได้ถูกส่งมายังบ้านพัก โดยทั้ง 7 ทีมที่ถูกคัดออกมานั้นได้เดินทางไปยังจุดหมายสุดท้ายที่ฮาวายและเข้าพักที่โรงแรมและได้ไปดำน้ำ ว่ายน้ำกันที่ชายหาดก่อนที่จะเข้ามาพักที่โรงแรมและรอฟังโทรศัพท์ว่าทีมใดจะถูกคัดออกเป็นทีมถัดไปและทุกคนก็ตกใจมากเมื่อทราบว่า คิช่ากับเจน เป็นทีมที่ถูกคัดออกและได้ทราบว่า คิช่ากับเจนถูกแทมมี่กับวิกเตอร์ใช้คำสั่งย้อนกลับ โดยคิช่ากับเจนหวังว่าจะได้เห็น เจมี่กับคาร่าหรือแทมมี่กับวิกเตอร์ ชนะการแข่งขันครั้งนี้ เพราะพวกเธอทะเลาะและมีเรื่องบาดหมางกับ มาร์จี้กับลุค เป็นอย่างมาก
  • หลังจากจบ เลก 12 ซึ่งเป็นเลกสุดท้ายของการแข่งขัน แทมมี่กับวิกเตอร์เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันในครั้งนี้ เจมี่กับคาร่ามาถึงเป็นลำดับที่ 2 และมาร์จี้กับลุคมาถึงเป็นลำดับที่ 3 ของการแข่งขันในครั้งนี้

สถานที่ในการแข่งขัน

[แก้]
เดินทางโดยเครื่องบิน; เดินทางโดยรถไฟ; เดินทางโดยเรือ; เดินทางโดยรถประจำทาง; ไม่มี = เดินทางโดยรถยนต์หรือเดิน
ทางแยก อุปสรรค ทางด่วน ย้อนกลับ งานเพิ่มเติม จุดหยุดพัก
แผนที่แสดงเส้นทาง

เลก 1 (สหรัฐอเมริกา → สวิตเซอร์แลนด์)

[แก้]
เขื่อนแวร์ซาสกา ใกล้โลการ์โน สวิสเซอร์แลนด์ เป็นสถานที่ที่สมาชิกที่ทำงานอุปสรรคต้องบันจีจัมพ์ลงมา

อุปสรรคแรกในการแข่งขันครั้งนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องกระโดดบันจีจัมพ์จากเขื่อนเวอซาสก้า ซึ่งเป็นสถานที่กระโดดบันจีจัมพ์ทางการค้าที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยความสูง 70 ชั้น

ภารกิจเสริม
  • ทีมสามารถเลือกที่จะบินไปยังซูริกหรือมิลานก่อนก็ได้ แล้วจึงนั่งรถไฟไปยังโลการ์โน ซึ่งมี 6 ทีมบินไปซูริก ส่วนอีก 5 ทีมบินไปมิลาน
  • ที่โบสถ์ของ เซนต์ แอนโตนิโอ ทีมจะต้องพักค้าง 1 คืนก่อนจะเดินทางออกไปตามเวลาที่ลงทะเบียนไว้ (7:15 น., 7:30 น. และ 7:45 น. ตามลำดับ) เมื่อถึงเวลานั้นบาทหลวงจะให้ภาพมาหนึ่งภาพ ซึ่งภาพนั้นก็คือภาพของเขื่อนแวร์ซาสกานั่นเอง
  • ที่คไลเนอ รูเกน ไวเซอ ทีมจะต้องขนส่งชีสจากโรงเก็บชีส จำนวน 200 ปอนด์จากเพิงเก็บชีสไปส่งที่ท้ายเขาโดยใช้อุปกรณ์ขนส่งชีสแบบท้องถิ่นสวิส เมื่อส่งครบแล้วจะได้คำใบ้ต่อไป
  • เมื่อทีมมาถึงชเตเชลแบร์ก จะมีผู้ต้อนรับร้องเพลงและเล่นดนตรีอยู่ ทีมจะต้องตามเสียงนี้ไปหาบุคคลเหล่านั้นที่จะรออยู่ที่จุดพักและทำการเข้าจุดพัก

เลก 2 (สวิตเซอร์แลนด์ → เยอรมนี → ออสเตรีย)

[แก้]
ทีมจะต้องขับรถจากเมืองบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ไปยังปราสาทเฮลล์บรุนน์ เมืองซาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย เพื่อเข้าสถานที่ที่เป็นจุดหยุดพักของเลกที่ 2

อุปสรรคในการแข่งขันครั้งนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องกระโดดร่มจากบนภูเขาลงมาที่พื้นโดยต้องอาศัยจังหวะลมที่ดี แต่ถ้าทีมไหนรอไม่ไหวก็สามารถลงเขาได้เลยโดยใช้เวลา 60 นาที ทางแยกในการแข่งขันครั้งนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง ม้ามีล้อ (Balancing Dolly) และ เบาปัญญา (Austrian Folly) โดยทีมที่เลือกม้ามีล้อ ทีมจะต้องขับเช็กเวย์ เป็นระยะทาง 2 ไมล์(3.2 กิโลเมตร) โดยผ่านทางที่ขรุขระ สำหรับทีมที่เลือกเบาปัญญา ทีมจะต้องใช้เค้กของชาวบาวาเรียโยนใส่หน้าคู่ของตนจนกว่าจะเจอเค้กไส้เชอร์รี่จำนวน 1 ชิ้น

ภารกิจเสริม
  • หลังจากทำทางแยกเสร็จให้ทีมไปยังสถานที่เลื่อยไม้ จะมีหุ่นยนต์คอยเลื่อยไม้ เมื่อเลื่อยเสร็จจะมีตราประทับเพื่อบอกเบาะแสต่อไป

เลก 3 (ออสเตรีย → เยอรมนี → โรมาเนีย)

[แก้]
ปราสาทแบรน สถานที่ที่เล่าหรือที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับแดรกคูล่า, สถานที่ในการทำทางแยกและเป็นจุดหยุดพักของเลกนี้

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องทำทักษะทางด้านยิมนาสติก 3 ด้านคือคานทรงตัว, บาร์คู่ และ Floor Exercise ให้เป็นที่พอใจของครูฝึกสอนแล้วจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป ทางแยกในเลกนี้จะต้องเลือกระหว่าง การเคลื่อนที่ของคนยิปซี (Gypsy Moves) กับซากของแวมไพร์ (Vampire Remains) โดยทีมที่เลือก การเคลื่อนที่ของคนยิปซี จะต้องช่วยคนท้องถิ่น (ยิปซี)แบกของขึ้นบนรถม้า แล้วให้คนหนึ่งนั่งข้างคนขี่ แล้วอีกคนวิ่งตามรถม้าเพื่อเก็บของที่ตก เมื่อถึงที่แล้วต้องช่วยแบกของลงมา ส่วนทีมที่เลือก ซากของแวมไพร์ จะต้องหาหีบโลงศพตามทางลูกศรแล้วลากลงมา แล้วหากุญแจที่เสียบอยู่กับไม้นำมาไขกุญแจที่มีโซ่พันอยู่รอบโลง จากนั้นจึงนำแผ่นไม้กระดานในโลงมาฟาดกับไม้แหลมจนเจอแผ่นสีเหลือง - แดงแล้วนำไปแลกกับคนสวมชุดแวมไพร์

เลก 4 (โรมาเนีย → รัสเซีย)

[แก้]

ทางแยกของเลกนี้จะต้องเลือกระหว่าง เรียง (Stack) กับสร้าง (Construct) โดยทีมที่เลือกเรียง จะต้องก่อกำแพงจากกองไม้ถัดจากกำแพงไม้ที่สร้างไว้ก่อนแล้ว ถ้ากำแพงล้มจะต้องก่อใหม่ทั้ง 2 กำแพง ส่วนทีมที่เลือกสร้าง จะต้องไปที่บ้านนักก่อสร้างแล้วทำหน้าต่าง จากนั้นจึงแบกไปบ้านที่มีป้าย "ต้องการซ่อม" แล้วจึงติดตั้งหน้าต่างให้กับบ้านที่มีป้ายบอกนั้น อุปสรรคในเลกนี้สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องนั่งรถ bobsled ภายในระยะเวลา 4 นาที ขณะที่นั่งรถ ต้องสังเกตตัวอักษร 7 ตัวแล้วนำมาเรียงเป็นชื่อ "เชคอฟ"(CHEKHOV) ซึ่งเป็นนักประพันธ์ชาวรัสเซีย ให้ถูกต้องก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป

เลก 5 (รัสเซีย)

[แก้]
โรงอุปรากรและบัลเลต์แห่งโนโวซีบีรสค์ เป็นสถานที่จุดหยุดพักของเลกที่ 5

ทางแยกของเลกนี้ต้องเลือกระหว่างเจ้าสาวรัสเซีย (Russian Bride) กับเครื่องเกลี่ยหิมะรัสเซีย (Russian Snowplow) โดยทีมที่เลือกเจ้าสาวรัสเซีย จะต้องใช้รถลาดาขับไปด้วยตนเองที่อพาร์ตเม้นท์สมัยโซเวียต แล้วไปรับเจ้าสาวรัสเซียไปส่งที่โบสถ์ที่กำหนดไว้ที่เจ้าบ่าวของเธอรออยู่ เมื่อทีมถ่ายภาพคู่กับเจ้าบ่าวเจ้าสาวแล้ว เจ้าบ่าวจะให้คำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกเครื่องเกลี่ยหิมะรัสเซีย จะต้องใช้รถลาดาขับไปที่สนามกีฬาสปาร์ตัค ที่สมาชิกในทีมแต่ละคนจะต้องขับเลี้ยวเครื่องเกลี่ยหิมะ ไปตามทางที่กำหนดซึ่งมีคู่ช่วยบอกทาง อุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องเลือกนักกีฬาวิ่งมาราธอนชาวรัสเซีย 2 คนที่จะช่วยอบอุ่นร่ายกาย ก่อนที่เขาหรือเธอจะเปลือยกายเหลือแค่ชุดชั้นใน แล้ววิ่งประมาณ 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) ไปสู่โรงอุปรากรและบัลเลต์แห่งโนโวซีบีรสค์ ที่ที่คู่ของสมาชิกถูกขนส่งมาก่อนแล้วเข้าจุดหยุดพักด้วยกัน

เลก 6 (รัสเซีย → อินเดีย)

[แก้]
แอมเบอร์ ฟอร์ท สถานที่ที่สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องให้อาหารอูฐ

ทางแยกของเลกนี้ต้องเลือกระหว่างผู้เคลื่อนที่ (Movers) กับผู้เขย่า (Shakers) โดยทีมที่เลือกผู้เคลื่อนที่จะต้องเดินทางไปที่ประตูแชกานีระ แล้วเลือกรถลากที่บรรจุไปด้วยถังใส่ฟางแล้วเคลื่อนย้ายเป็นระยะทาง 1.5 ไมล์ (2.4 กิโลเมตร) ไปที่ประตูโซราวาร์ ไช เมื่อพวกเขาถึงที่ประตูโซราวาร์ ไช แล้วพวกเขาจะต้องค้นหาเครื่องรางช้างเหล็กในถังใส่กองฟาง เมื่อหาเจอแล้วจะต้องนำไปแลกกับคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกผู้เขย่า ทีมจะต้องแต่งกายชุดท้องถิ่นแล้วร่วมไปกับคณะนักเต้นพื้นเมือง เพื่อสะสมเงิน 100 รูปี (3 ดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อพวกเขาให้เงินกับหัวหน้าวงแล้วจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป อุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องดูแลฝูงอูฐที่เป็นของมหาราชา โดยใช้เครื่องมือท้องถิ่นเพื่อย้ายกองฟางให้ถึงเส้นที่กำหนด แล้วเติมน้ำใส่ถัง ส่วนงานเพิ่มเติมสำหรับคริสตี้และโจดี้จะต้องตกแต่งใบหน้าของช้างโดยใช้สีจนกว่าควาญช้างจะรู้สึกพอใจกับผลงานของเธอ

ภารกิจเสริม
  • ที่ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้านดูลา ทีมจะต้องหาคำใบ้ต่อไปจากการโทรศัพท์แล้วโทรไปหนึ่งในสี่เบอร์โทรศัพท์ และสายปลายทางจะบอกสถานที่ต่อไป (แอมเบอร์ ฟอร์ท)

เลก 7 (อินเดีย → ไทย)

[แก้]
ที่สวนสัตว์ภูเก็ต แต่ละทีมจะต้องร่วมทำการแสดงกับช้างก่อนได้รับคำใบ้ถัดไป

ทางแยกของเลกนี้ต้องเลือกระหว่าง 100 บาเรล (100 Barrels) กับ 2 ไมล์ (2 Miles) โดยทีมที่เลือก 100 บาเรลจะต้องเลือกเรือ 1 ลำจากทั้งหมด 6 ลำแล้วเติมน้ำใส่ถังจำนวน 47 ถังแล้วยกถังเข้าไปชั้นบนของเรืออีก 53 ถัง ส่วนทีมที่เลือก 2 ไมล์จะต้องขนส่งรถลากโดยให้สมาชิกอีกคนนั่งบนรถลากเพื่อบอกระยะทาง 2 ไมล์ (3.2 กิโลเมตร) ไปที่สวนหลวง ร.9 เพื่อค้นหาคำใบ้ต่อไป ส่วนทางด่วนที่ไม่ได้ออกอากาศนั้น ทีมจะต้องไปที่ตลาดแล้วซื้อของให้แก่ สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าโดยใช้เงินสดที่ทีมมีอยู่[9]

ภารกิจเสริม
  • ที่จุดเริ่มต้นของเลก ทีมจะได้รับรูปภาพรูปปั้นลิงกอริลล่า แล้วจะต้องหาว่ารูปปั้นนั้นตั้งอยู่ที่สวนสัตว์ภูเก็ต
  • ที่สวนสัตว์ภูเก็ต ทีมจะต้องถ่ายภาพกับมาสคอตหลักของสวนสัตว์ภูเก็ต (เสือ) จากนั้นก็ต้องไปที่ลานแสดงช้างแล้วให้ช้างใช้เท้านวดแล้วนั่งทับ เมื่อการแสดงจบแล้วจะต้องไปหาผู้ดูแลเสือซึ่งจะให้คำใบ้ต่อไป
  • ที่ร้านสมุนไพรหงวนชุนต๋อง ทีมจะต้องบอกทิศทางให้เจ้าของร้านค้นหากล่องใส่สมุนไพร 99 กล่องเพื่อค้นหาคำใบ้ 1 ใน 6 กล่องที่มีคำใบ้ต่อไป

เลก 8 (ไทย)

[แก้]
พระราชวังพญาไท เป็นสถานที่จุดหยุดพักของเลกที่ 8

อุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องต่อใบกังหันหลังเรือหางยาวของไทยให้ถูกต้อง ก่อนที่จะนั่งเรือหางยาวไปยังสถานที่ต่อไป ทางแยกของเลกนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่าง ฟันหัก (Broken Teeth) หรือ ทำลายสถิติ (Broken Record) โดยทีมที่เลือกฟันหักจะต้องเดินทางไปที่ซอยแฮปปี้สไมล์ (Happy Smile) แล้วเติมฟันปลอมให้กับผู้คน 5 คนให้ถูกต้องก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกทำลายสถิติจะต้องเดินทางไปที่ไชน่า ทาวน์ ณ ถนนเยาวราช ที่วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร แล้วเลือกกลุ่มของกะเทยและรถแท็กซี่ ซึ่งทีมจะต้องร้องเพลงลูกทุ่งคาราโอเกะ (เพลงสาวบางโพ) ไปตามการจราจรของถนนไปกับผู้ร่วมเดินทาง

เลก 9 (ไทย → สาธารณรัฐประชาชนจีน)

[แก้]
ทีมจะต้องหาทะเลสาบบันยันจากการมองหาเจดีย์พระอาทิตย์และพระจันทร์ของกุ้ยหลินเพื่อเข้าจุดหยุดพัก

อุปสรรคของเลคนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องนั่งเรือแพออกไปในทะเลสาบ แล้วโยนปลาในเข่งทีละตัวลงในทะเลสาบเพื่อให้นกเป็ดน้ำคาบจำนวน 10 ตัว แล้วนำไปแลกกับคนบนฝั่งเพื่อรับคำใบ้ต่อไป ทางแยกของเลคนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่างการเต้นรำ (Choreography) กับการเขียน (Calligraphy) โดยทีมที่เลือกการเต้นรำนั้น จะต้องเดินทางไปที่เกาะกลางทะเลสาบ แล้วเรียนรู้การเต้นรำของจีนแบบท้องถิ่น แล้วเต้นรำไปพร้อมกับคนจีนให้เป็นที่พึงพอใจของครูฝึกทั้ง 2 ท่านจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกการเขียนจะต้องหาสถานที่ในการเขียนเพื่อใช้พู่กันจีนจุ่มหมึกเขียนชื่อสถานที่ต่อไปในการเขียนเป็นภาษาจีน ซึ่งถ้าอาจารย์ฝึกพึงพอใจจะประทับตราแสตมป์ 1 ดวง เมื่อประทับได้ครบ 4 ดวงจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไปจากอาจารย์ฝึกคนสุดท้าย ส่วนงานเพิ่มเติมของมาร์คกับไมเคิลนั้น ทั้งคู่จะต้องสระผมแล้วเป่าผมให้แห้งสำหรับผู้หญิงชาวจีน 2 คนจึงจะสามารถแข่งขันต่อไปได้

เลก 10 (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

[แก้]
กู่โหลว เป็นจุดเช็คอินของเลกนี้ โดยไม่มีการหยุดพักและได้รับคำใบ้ให้แข่งต่อไปเลย

อุปสรรคของเลคนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องได้รับการนวดฝ่าเท้าจากคนนวดชาวจีน ซึ่งก่อนนวดนั้นจะต้องดื่มน้ำชา ที่ได้ชื่อว่า "น้ำชาปาฏิหาริย์" จนกว่าเวลาจะหมดก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป ในกรณีที่สมาชิกไม่สามารถอดทนต่อการนวดได้ สามารถร้องตะโกนว่า Uncle เพื่อเป็นการหยุด แต่ก็ต้องรับทำการนวดใหม่ด้วย ทางแยกของเลคนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่างกระโดด (Sync) กับว่าย (Swim) โดยทีมที่เลือกกระโดด จะต้องเปลี่ยนชุดเป็นชุดว่ายน้ำ ก่อนที่จะกระโดดน้ำลงมาจากสปริงบอร์ดให้พร้อมกัน เมื่อกรรมการทั้ง 2 ท่านให้ 5 คะแนนเหมือนกันแล้ว จึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกว่ายจะต้องเปลี่ยนชุดเป็นชุดว่ายน้ำสปีโด้ ซึ่งเป็นแบบของไมเคิล เฟ็ลปส์ ในการแข่งขันโอลิมปิกที่ปักกิ่ง ค.ศ. 2008 ซึ่งทีมจะต้องว่ายน้ำเป็นจำนวน 8 รอบ (หรือ 400 เมตร) ซึ่งสมาชิกในทีมจะต้องว่ายน้ำสลับกันคนละ 100 เมตร เมื่อวายน้ำได้ครบ 8 รอบแล้วจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป (สถิติโลกของไมเคิล เฟ็ลปส์ทำได้ 4.03.84 นาที แต่สมาชิกไม่ต้องว่ายน้ำทำลายสถิติหรือสนใจเวลานั้น)

ภารกิจเสริม
  • หลังจากเดินทางมาพระราชวังต้องห้าม ทีมจะต้องหาจักรยานไฟฟ้า แล้วขี่จักรยานไปผ่านเมืองต้องห้าม และข้ามจัตุรัสเทียนอันเหมินไปยังสถานีรถไฟดองแดน เพื่อรับคำใบ้ต่อไป

เลก 11 (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

[แก้]
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่งเป็นจุดคัดออกจุดสุดท้ายของรายการและเป็นจุดหยุดพักของเลคที่ 11

ทางแยกของเลคนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่างงิ้วจีน (Beijing Opera) กับพนักงานเสิ์ร์ฟจีน (Chinese Waiter) โดยทีมที่เลือกงิ้วจีน จะต้องเดินทางไปที่โรงโอเปร่า Hu Guang Hui Guan แล้วสมาชิกจะต้องแต่งหน้าเป็นงิ้วแบบผู้คนชายหญิง 2 คนที่อยู่บริเวณข้างหน้า ก่อนที่จะแต่งตัวแล้วขึ้นไปบนเวทีแล้วคำนับผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือกพนักงานเสิร์ฟจีน จะต้องเดินทางไปที่ร้านอาหาร Hu Guang Hui Guan แล้วจะต้องรับเมนูอาหาร 4 รายการซึ่งพูดเป็นภาษาจีนแมนดาริน (ได้แก่ ปลาที่ชาวจีนเชื่อว่าทำให้โชคดี บะหมี่มังสวิรัติ ไก่ทอด เนื้อทอดและซี่โครงหมู) จากนั้นสมาชิกจะต้องเดินไปหาผู้ทำอาหาร แล้วสั่งรายการอาหารเป็นภาษาจีนให้ถูกต้องทั้งหมด ก่อนที่เชฟจะไปทำอาหารแล้วให้สมาชิกไปเสิร์ฟ ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไปจากลูกค้าที่นั่งอยู่ อุปสรรคของเลคนี้ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องรับประทานปลาดาว ตั๊กแตน ตัวอ่อนหนอนและแมงป่องทอดให้หมด เมื่อสมาชิกรับประทานหมดแล้วจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่ถนนคนเดินเป่ยไห่ ทีมจะต้องเดินหาตัวโนมของบริษัททัวร์ภายในร้านค้า ซึ่งคำใบ้ต่อไปจะอยู่ด้านล่างของรูปปั้นโนมไปยัง และต้องพาตัวโนมไปด้วยถึงจุดหยุดพัก

เลก 12 (สาธารณรัฐประชาชนจีน → สหรัฐอเมริกา)

[แก้]
มาอุย ฮาวาย เป็นสถานที่ที่ถูกใช้เป็นปลายทางของฤดูกาลนี้
  • Flight: ปักกิ่ง (ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง) ไป มาอุย, ฮาวาย, สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา (สนามบินคาฮูลุย)
  • มาอุย (ทางเข้าชายหาดหมายเลข 118)
  • มาอุย (จุดแม็กจีจอร์)
  • มาอุย (บริเวณเล่นเซิร์ฟบอร์ดมาอุยที่ถนนทางด่วนฮานา) >อุปสรรค (ใครพร้อมที่จะสร้างบางอย่างจากความทรงจำ?) <
  • มาอุย (สนามกอล์ฟคิง คามีฮามาฮา) >จุดหยุดพัก (เส้นชัย)< (เส้นชัย)

อุปสรรคสุดท้ายของรายการ สมาชิกที่ทำอุปสรรคจะต้องทำภารกิจที่เกี่ยวกับความทรงจำในรายการ สมาชิกจะต้องเรียงกระดานโต้คลื่นทั้งหมด 11 อันที่มีรูปภาพที่สื่อถึงกิจกรรมในเลกก่อนๆ ทั้งหมด เมื่อกระดานโต้คลื่นทั้งหมด 11 อันเรียงในลำดับที่ถูกต้องแล้ว ทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไป ซึ่งแผ่นป้ายที่ต้องเรียงมีดังนี้

เลกที่ รูปบนเซิร์ฟบอร์ด
เลกที่ 1 เซนต์ แอนโตนิโอ
เลกที่ 2 กระเช้ากอนโดล่า
เลกที่ 3 ยิมนาสติก
เลกที่ 4 เขื่อนครัสโนยารสค์
เลกที่ 5 รถลาดา
เลกที่ 6 คนเป่าขลุ่ยพื้นเมือง
เลกที่ 7 เสือโคร่ง
เลกที่ 8 เรือหางยาว
เลกที่ 9 นกเป็ดน้ำ
เลกที่ 10 การนวดฝ่าเท้า
เลกที่ 11 แมงป่องทอดเสียบไม้
ภารกิจเสริม
  • ที่ทางเข้าชายหาดหมายเลข 118, ทีมจะต้องช่วยกันขนหมูหนัก 145 ปอนด์ (หรือ 95 กิโลกรัม) แขวนกับไม้ไผ่แล้วขนไปตามชายหาด จนถึงบริเวณที่มีคนใส่เสื้อฮาวายอยู่ แล้วนำใบไม้และทรายปกคลุมหมูแล้วจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป ซึ่งเป็น 1 ในภารกิจทางแยกและเมื่อทุกทีมเลือกภารกิจอันเดียวกันนี้ งานจึงถูกออกฉายเป็นภารกิจทั่วไปแทน
  • ที่จุดแม็กจีจอร์, ทีมจะต้องขับสปีดโบ๊ทไปยังบริเวณที่มีเครื่องหมายปักไว้ และจะต้องหาซองคำใบ้ที่ติดอยู่กับทุ่นลอยน้ำ เมื่อทีมเจอทุ่นแล้ว ทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไป

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "CBS Announced Mid-season Programming Plans". the Futon Critic. 2 ธันวาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "The Amazing Race Episode Listings". The Futon Critic. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "E.S. Anchors To Embark On "Amazing" Trip". CBS. 29 ตุลาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 J. Lang, Derrik (26 มกราคม 2552). "New Team On 'The Amazing Race' Includes A Deaf Contestant". The Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-19. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (ลิงก์เดิมเสีย ใส่ลิงก์จากเว็บ Starpulse ที่มีเนื้อหาเดียวกันแทน โดยบทความเดิมในเอพีมีชื่อว่า "Meet the new teams on 'The Amazing Race'")
  5. "ตารางออกอากาศช่อง AXN ประจำช่วงไพรม์ไทม์ วันที่ 16 ก.พ. 2552". ทรู วิชั่นส์. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 Levin, Gary (12 กุมภาพันธ์ 2552). "'The Amazing Race' is back with more scenery, fewer days". USA Today. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2552. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 Bracchitta, John (26 มกราคม 2552). "CBS reveals 'The Amazing Race's fourteenth season cast identities". Reality TV World. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Lasser, Josh (8 มีนาคม 2552). "'The Amazing Race' introduces the Blind U-turn". Zap2It. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-11. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 Bibel, Sara (31 มีนาคม 2552). "Mel & Mike interview". fancast.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-01. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "The Amazing Race 14 - Application Procedure and Eligibility Requirements" (PDF). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "The Amazing Race 14 - Application Form" (PDF). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "Meet the new teams on 'The Amazing Race'". WTTE FOX 28. 26 มกราคม 2552. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2552. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  13. "The Amazing Race episode title from CBS schedule". ซีบีเอส. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]