ภาษามือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามือของตัว A–Z สำหรับผู้พิการทางหู
Preservation of the Sign Language (1913)

ภาษามือ (อังกฤษ: sign language) เป็นอวัจนภาษาอย่างหนึ่ง ที่ประกอบด้วย การสื่อสารด้วยมือ, การสื่อสารด้วยร่างกาย และการใช้ริมฝีปากในการสื่อความหมายแทนการใช้เสียงพูด การสื่อสารจะใช้ลักษณะของมือที่ทำเป็นสัญลักษณ์ การเคลื่อนไหวมือ แขนและร่างกาย และการแสดงความรู้สึกทางใบหน้าเพื่อช่วยในการสื่อสารความคิดของผู้สื่อ ภาษาสัญลักษณ์ส่วนใหญ่มักใช้ในกลุ่มผู้พิการทางหู ซึ่งรวมทั้งผู้พิการทางหูเอง ผู้ตีความหมาย (interpreter) ผู้ร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของผู้พิการทางหูซึ่งอาจจะพอได้ยินบ้างหรือไม่ได้ยินเลย

รูปแบบของการใช้ภาษามือ[แก้]

  • ภาษามือสากล ที่คนทั่วไปเข้าใจกัน
  • ภาษามือผู้พิการ ที่ใช้กันระหว่างผู้พิการทางการได้ยิน
  • ภาษามือทางทหาร ใช้ในกลุ่มทหารที่ปฏิบัติงานในสถานที่ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยวิธีอื่นได้

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]