สวนหว่างซือ
สวนโบราณเมืองซูโจว * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | จีน |
ภูมิภาค ** | เอเชีย |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | i, ii, iii, iv, v |
อ้างอิง | 813 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1997 (คณะกรรมการสมัยที่ เอเชีย) |
เพิ่มเติม | 2000 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
สวนหว่างซือ (อังกฤษ: Master of the Nets Garden; จีนตัวย่อ: 网师园; จีนตัวเต็ม: 網師園; พินอิน: Wǎngshī Yuán) ในเมืองซูโจว (Suzhou) เป็นหนึ่งในสวนจีนโบราณทรงคุณค่าที่สุดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ที่เลขที่ 11 ถนนไต้เฉิงเฉี่ยว ในเขตกูซู (เดิมเรียก เขตชางหลาง) (沧浪区带城桥路阔家头巷11号) และได้รับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลก โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ร่วมกับสวนโบราณเมืองซูโจวแห่งอื่นๆ ด้วย การออกแบบสวนแสดงถึงทักษะชั้นสูงของนักออกแบบซึ่งสามารถผสมผสานศิลปะ ธรรมชาติ และสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกันอย่างงดงามและเป็นหนึ่งเดียวได้ สวนหว่างซือได้รับการชื่นชอบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ศึกษาการออกแบบในด้านมิติ ความชัดลึก ความแตกต่างหรือตัดกัน และการหยิบยืมมุมมอง (borrowed scenery)
ประวัติ
[แก้]สวนหว่างซือถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1140 มีชื่อว่า โถงหนึ่งหมื่นเล่ม (อังกฤษ: Ten Thousand Volume Hall; จีนตัวย่อ: 万卷堂) โดย สือเจิ้งจี้ (Shi Zhengzhi; 史正志) ผู้มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเสนาบดี สมัยการปกครองของราชวงศ์ซ่งใต้ ซึ่งตรงกับตำแหน่ง "ผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการพลเรือน (the Deputy Civil Service Minster)" ในปัจจุบัน[1] ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตอันเรียบง่ายและสันโดษของชาวประมงที่อยู่ในงานเขียนของปรัชญาจีน หลังจากที่เขาเสียชีวิตลง สวนหว่างซือก็ผ่านการเป็นเจ้าของจากผู้คนจำนวนมาก และในปี ค.ศ. 1785 ซึ่งเป็นช่วงที่ตกต่ำ สวนแห่งนี้ก็ได้รับการบูรณะใหม่โดยซ่ง จงหยวน (Song Zongyuan; 宋宗元) ข้าราชการเกษียณอายุสมัยราชวงศ์ชิง [1] เขาได้ปรับปรุงการออกแบบสวนใหม่อย่างมาก และยังเพิ่มจำนวนอาคารภายในสวนอีกหลายแห่ง แต่ยังคงจิตวิญญาณของสวนแห่งนี้ไว้ โดยเขามักเรียกตัวเองว่าเป็นชาวประมง และเปลี่ยนชื่อสวนเป็น "สวนเจ้าของอวน (Master of the Nets Garden)" ที่มีความเกี่ยวโยงถึงชีวิตที่เรียบง่ายของชาวประมง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1795 ได้เปลี่ยนเจ้าของเป็น ชูหย่วนคุน (Qu Yuancun; 瞿远村) นักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์และวรรณคดี เขาได้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนอาคาร เพิ่มต้นไม้ และจ้ดวางหินใหม่ ในช่วงเวลานี้สวนหว่างซือได้รับฉายาว่า สวนชู (Qu's Garden) และยังได้รับการชื่นชมจากนักวิจารณ์เป็นครั้งแรก เมื่อเจ้าของเปลี่ยนเป็น หลี่หงยี่ (Li Hongyi; 李鸿裔) ข้าราชการในองค์พระจักรพรรดิและนักเขียนอักษรวิจิตรในปี ค.ศ. 1868 [1] เขาได้จารึกหินกว่าครึ่งที่อยู่ในสวนแห่งนี้ ต่อมามีการเปลี่ยนมือเจ้าของเป็นเหอซัวฉาง (He Chang; 和收藏) ในปี ค.ศ. 1940 ผู้ซึ่งบูรณะปรับปรุงสวนใหม่และยังเลี่ยนชื่อสวนกลับมาเป็นชื่อ "สวนหว่างซือ (Master of Nets Garden)" อีกครั้ง[1] ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในพินัยกรรมระบุให้ทายาทบริจาคสวนแห่งนี้ให้แก่ทางการ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1958 เหอเจอหุย (He Zehui) ลูกสาวของเขาจึงได้ส่งมอบสวนนี้ให้แก่เมืองซูโจว
ช่วงศตวรรษที่ 18 สวนหว่างซือได้รับการยอมรับในความมีชื่อเสียงด้านดอกโบตั๋น (peonies) เฉียนต้าซิน (Qian Daxin) ระบุไว้ในจดหมายเหตุสวนหว่างซือ (Notes on the Master of Nets Garden) ของเขาว่า "เป็นการผสมผสานอันรื่นรมย์ของหมู่บ้านและเมือง (A good integration of the delights of the village and town)"[1] นักวิจารณ์สมัยใหม่ เฉินฉงซู (Chen Congzhou) ก็ได้กล่าวถึงสวนนี้ไว้ในหนังสือสวนจีนโบราณที่มีชื่อเสียง (Famous Classical Gardens of China) ว่าเป็นสวนที่ดีที่สุดของศิลปะสวนจีนโบราณ [1]
การออกแบบ
[แก้]พื้นที่สวนทั้งหมดประมาณ 5,400 ตารางเมตร ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นส่วนตะวันออกและตะวันตก[2] สวนตะวันออกประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัย ในขณะที่บริเวณสวนจะอยู่ทางฝั่งตะวันดก
สวนตะวันออกที่เป็นส่วนที่พักอาศับ ประกอบด้วยโถงต่างๆ เรียงรายตามลำดับถึง 4 โถง รวมถึงสวน 4 แห่ง ส่วนสวนตะวันตกประกอบด้วยอาคารต่างๆ ล้อมรอบสระเมฆสีกุหลาบ (Rosy Cloud Pool) ขนาดพื้นที่ 334 ตารางเมตร ประดับด้วบหินและต้นไม้ต่างๆ ที่สร้างสรรค์ความงามให้แก่สวนหว่างซือ และสร้างมุมมองที่เป็นตัวแทนของหลายๆ ฤดู มีศาลาแปดหลี่ยมริมมสระน้ำ องค์ประกอบที่โดดเด่นสองส่วนคือ ต้นสนไซปรัสโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง (Barrier of Cloud grotto) และสนที่มีอายุหลายร้อยปี พื้นที่ทางทืศใต้ของสระน้ำเคยถูกใช้เป็นที่สังสรรค์พบปะ ส่วนพื้นที่ทางทิศเหนือของสระน้ำเคยถูกใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ อาคารต่างๆ โดยรอบสระน้ำถูกจัดวางให้อยู่ใกล้กับน้ำมาก โดยอาคารขนาดเล็กจะตั้งอยู่บนโขดหินหรือยื่นลงไปในน้ำ ส่วนอาคารขนาดใหญ่จะมีสวนเล็กๆ กั้นระหว่างอาคารและสระน้ำ
องค์ประกอบของสวนและคำอธิบาย | |
---|---|
สวนตะวันออก (Eastern Garden) | |
หอแห่งความงดงามที่เข้าถึง (Beauty Within Reach Tower)
เป็นโถงอาคารสองชั้นไม่มีหน้ามุขที่ตั้งอยู่ท้ายสุดในบริเวณส่วนทางเข้า เคยใช้เป็นที่นัดพบปะของหญิงสาว ชื่อของหอได้มาจากทิวท้ศน์อันงดงามของเนินเขาและหมู่บ้านที่สามารถมองเห็นได้จากบริเวณชั้นสองของหอแห่งนี้ | |
โถงถ้ำเมฆ (Cave of Cloud Hall)
อาคารสองชั้นด้านหน้าเป็นมุขเปิดสู่สวนที่ตกแค่งด้วยสวนถาดหรือบอนไซ (Penzai) | |
ห้องบันไดสู่หมู่เมฆ (Cloud Stairway Room)
ได้ชื่อมาจากบทกวีชื่อ Xuan Shi Zhi โดยจางตู (Zhang Du) ที่กล่าวไว้ว่า "โจวเซิงเรียกพระจันทร์ที่กำลังลอยสู่ก้อนเมฆด้วยเชือกในเทศกาลไหว้พระจันทร์ (Zhou Sheng fetches the moon in after ascending to the clouds with a rope at the Mid-Autumn Festival)" ด้านหน้าของอาคารเปิดสู่สวนดำ (Back Garden) ด้านหลังอาคารได้ต่อเติมเป็นห้องสำหรับเก็บสะสมงานกระเบื้องเซรามิกต่างๆ [1] | |
ประตู (Gate)
ตั้งหันหน้าเข้าหากำแพงมังกรที่อยู่บริเวณสวนด้านหน้า | |
โถงต้อนรับ (Grand Reception Hall)
เป็นอาคารหลังที่สามจากทางเข้าหลัก มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โถงแห่งความเมตตา (Hall of Accumulated Benevolence) และ โถงหนึ่งหมื่นเล่ม (Ten Thousand Volume Hall) ซึ่งใช้เป็นที่รองรับแขก | |
โถงเสลี่ยง (Sedan-Chair Hall)
ได้ชื่อมาจากเสลี่ยงหรือเกี้ยวที่ใช้หามข้าราชการชั้นสูงของราชสำนัก | |
สวนตะวันตก (Western Garden) | |
ระเบียงกิ่งไผ่ (Branch Beyond Bamboo Porch)
ศาลาทรงเหลี่ยมหลังคาปั้นหยา ตั้งอยู่ใกล้กับระเบียงล่าเป็ด (Shooting Ducks Corridor) ในอดีตมักใช้ศาลานี้จัดพิธีน้ำชา มีการตกแต่งด้วยรูปค้างคาว | |
ฝายหินก้อนเมฆ (Barrier of Clouds Rockery) | |
ศาลาฤดูใบไม้ผลิ (Cool Springs Pavilion)
ได้ชื่อมาจากธารน้ำสีฟ้า (Azure Spring) ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน โดยมาจากบทกวีของจูซี (Zhu Xi) ที่กล่าวว่า "ธารน้ำใสสะอาด (A spring inside is full of clean water)" [1] เป็นศาลาทรงสี่เหลี่ยมหลังคาปั้นหยาตั้งอยู่ติดกับกำแพงของสวนส่วนใน (Inner Garden courtyard) ภายในศาลามีหินบัณฑิต (scholar stone) อันสวยงามแปลกตาชื่อ The Goshawk | |
ระเบียงล่าเป็ด (Duck Shooting Corridor
อาคารรูปทรงคล้ายเรือที่ใช้ในการยิงเป็ดซึ่งเป็นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจในสมัยราชวงศ์หมิง | |
ห้องสมุดยอดเขาทั้งห้ายอด (Five Peaks Library)
ได้ชื่อมาจากบทกวีของหลี่ไป๋ (Li Bai) ที่กล่าวว่า "มียอดเขาห้ายอดของเขาหลูซานซึ่งลักษณะเหมือนกลีบดอกบัว (There are five peaks south of Mount Lu which look like lotus flowers cut by nature".)[1] อาคารนี้สร้างขึ้น ณ ตำแหน่งที่เคยเป็นโถงหนึ่งหมืนเล่ม (Ten Thousand Volume Hall) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง | |
สวนส่วนใน (Inner Garden)
เป็นสวนขนาด 667 ตารางเมตร เคยใช้เป็นบริเวณของผู้หญิง เชื่อมต่อกับสวนหลักทางประตูสันโดษของชาวประมง (Fisherman's Retreat Gate) สร้างขึ้นในแบบของราชวงศ์หมืงซึ่งตกแต่งประดับด้วยหินธรรมชาติและหินศิลาแท่ง | |
กระท่อมปลายฤดูวสันต์ (Late Spring Cottage)
ได้ชื่อมาจากกวีของซูชื่อ (Su Shi หรือ Su Dongpo; 蘇軾) ที่กล่าวว่า "มีแต่ดอกโบตั๋นเท่านั้นที่ยังผลิบานในปลายฤดูใบไม้ผลิ (Only the peony is still flowering in the late spring)"[1] เป็นอาคารที่ถูกใช้เป็นต้นแบบของการสร้าง "โถงราชวงศ์หมิง (Ming Hal)l" ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (Metropolitan Museum of Art) ณ นครนิวยอร์ก โถงราชวงศ์หมิงนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงศิลปะโบราณสมัยราชวงศ์หมิง | |
ศาลาลมโชยพระจันทร์ (Moon Comes with the Breeze Pavilion)
ได้ชื่อมาจากบทกวีของหานยู่ (Han Yu; 韩愈) กล่าวว่า "สนธยาในฤดูใบไม้ร่วงนำพาสายลมโชยพระจันทร์มาถึงที่นี่ (The twilight brings the Autumn and the breeze sends the moon here)"[1] เป็นศาลาทรงหกเหลี่ยมใช้เป็นสถานที่ชมพระจันทร์ในยามค่ำคืน | |
ห้องสมาธิ (Meditation Study)
ได้ชื่อมาจากคำกล่าวของจวงจื่อ (Zhuang Zi) ที่ว่า "เต๋าสอดคล้องกับความว่างเปล่า สถานะความว่างเปล่าของจิดใจ (Tao is in agreement with emptiness, a state of emptiness is mentality)" สวนด้านหน้าประดับตกแต่ด้วยต้นไผ่ | |
ห้องดนตรี (Music Room)
ลักษณะเป็นศาลาทางสี่เหลี่ยมมีหน้ามุข ด้านหลังติดกับเรือนรับรองความจริงและความสามัคคี (Truth and Harmony Guest House) เคยใช้เป็นที่จัดแสดงอุปรากรและการแสดงต่างๆ มีต้นทับทิมโบราณอยู่บริเวณสวนที่อยู่ใกล้ๆ | |
โถงโบตั๋น (Peony Hall)
หรือเรีบกอีกชื่อหนึ่งว่า "The Hall of Dewy Grace" โดยชื่อโถงโบตั๋นได้มาจากบทกวีของหลี่ไป๋ (Li Bai) ที่กล่าวไว้ว่า "สายลมแห่งฤดูใบไม้ผลิลูบไล้บันไดและดอกโบตั๋น (The spring breeze is stroking gently the balustrade and ดอกโบตั๋น (พรรณไม้) is wet with ew)".[1] ปัจจุบันใช้เป็นโรงน้ำชา (tea house) | |
ศาลาเนินเขาและดอกกุ้ยฮวา หรือดอกหอมหมี่นลี้ (Small Hill and Osmanthus fragrans Pavilion)
ได้ชื่อมาจากบทกวีชื่อ Little Hill Appeals to the Hermit ของหยูซิ่น (Yu Xin; 庾信) ซึ่งกล่าวไว้ว่า "ดงต้นหอมหมื่นลี้ขึ้นเต็มอยู่ที่เชิงเขา (Many sweet Osmanthus fragrans trees are growing at the foot of the mountain)"[1] | |
เรือนรับรองความจริงและความสามัคคี (Truth and Harmony Guest House)
เรือนรับรองแห่งนี้ได้ชื่อมาจากสุภาษิตที่กล่าวว่า "To conduct yourself harmoniously and support the truth."[1] หน้าต่างประดับลวดลายแกะสลักคล้ายแหที่งดงามปราณีต สมกับชื่อของสวน | |
ศาลาสายริบบิ้น (Washing Ribbon Pavilion over Water)
ได้ชื่อมาจากบทกวีใน Chu Ci (Songs of the South) ที่ชื่อ ชาวประมง (The Fishermen) ซึ่งกล่าวว่า "ถ้าสายน้ำชางลางสะอาด ฉันก็จะซักสายริบบิ้นของฉัน แต่ถ้าสายน้ำสกปรก ฉันจะล้างเท้าของฉันแทน (If the water of Canglang River is clean I wash my ribbon, if the water of the Canglang River is dirty I wash my feet)"[1] | |
ห้องชมสวนสนและภาพเขียน (Watching Pine and Appreciating Paintings Studio)
เคยใช้เป็นห้องศิลปะ ด้านหน้าเป็นสวนสนต่างๆ จากสมัยราชวงศ์หมิง | |
สะพานสู่ความเงียบสงบ (Leading to Quietude Bridge)
สะพานที่มีเพี่ยง 3 ขั้น ถือเป็นสะพานที่เล็กที่สุดในซูโจว |
-
Painted map of the garden
-
Entry gate detail
-
View of the pond
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Suzhou China (2009), The Master-of-Nets Garden, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-26, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- Ministry of Culture, P.R. China (2003), Garden of the Master of the Nets, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-14, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- Yuan (袁), Xuehan (学汉) (2004), The Classical Gardens of Suzhou (苏州古典园林), CIP, p. 217, ISBN 7-214-03763-7, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25, สืบค้นเมื่อ 2014-04-21
{{citation}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Asian Historical Architecture (2009), Master-of-Nets Garden, Suzhou, China, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- Ebrey, Patricia Buckley (2009), Garden of the Master of Nets, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- Wang Shi Yuan Management at Suzhou (2009), THE MASTER-OF-NETS GARDEN, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07, สืบค้นเมื่อ 2012
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- Terebess Hungary LLC. (2009), The Master-of-Nets Garden, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)