สวนป่าสิงโต
Classical Gardens of Suzhou * | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค ** | Asia-Pacific |
ประเภท | Cultural |
เกณฑ์พิจารณา | i, ii, iii, iv, v |
อ้างอิง | 813 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21st) |
เพิ่มเติม | 2000 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
สวนป่าสิงโต (อังกฤษ: Lion Grove Garden; จีนตัวย่อ: 狮子林园; จีนตัวเต็ม: 獅子林園; พินอิน: Shī Zǐ Lín Yuán) หรือสวนซือจึ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 23 ถนนหยวนหลิน เขตผิงเจียง (Pingjiang District; 平江区) ในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นสวนที่มีความโดดเด่นที่อาณาบริเวณขนาดกว้างใหญ่และมีหินประดับจากไท่หู (หรือทะเลสาบหู) อันสวยงามซับซ้อนที่จัดแต่งอยู่กลางสวน ชื่อของสวนได้มาจากลักษณะของหินประดับนี้ที่มีรูปร่างคล้ายสิงโต นอกจากนั้นสวนป่าสิงโตยังได้รับการบันทึกให้เป็นหนึ่งในสวนโบราณเมืองซูโจวที่เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) เช่นกัน
ประวัติศาสตร์[แก้]
"ในบรรดาหินประดับสวนที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ มีเพืยงหนึ่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ คือ หินประดับที่สวนป่าสิงโตในเมืองซูโจว (Of all the famous rock-gardens in history, only one has survived. This is the so-called 'Lion Garden' in Suzhou."[1] สวนป่าสิงโตสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1342 ช่วงราชวงศ์หยวน โดยนักบวชในศาสนาพุทธนิกายเซน ชื่อ เหวินเทียนหรู๋ (Wen Tianru) เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่อาจารย์ของท่านที่ชื่อ นักบวชจงเฟิง (Abbot Zhongfeng) ซึ่งในเวลานั้นสถานที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของพระอารามผู๋ที๋เจ้งจง (อังกฤษ: Bodhi Orthodox Monastery; จีน:菩提正宗).[2] ชื่อสวนแห่งนี้ได้มาจากหินจากทะเลสาบไท่หูที่มีรูปร่างคล้ายสิงโต หรืออีกนัยหนึ่งชื่อสวนแห่งนี้ได้มาจากยอดเขาสิงโต (the Lion Peak) แห่งทิวเขาเทียนมู่ (อังกฤษ: Mount Tianmu หรือ Tianmushan; จีนตัวย่อ: 天目山; พินอิน: Tiānmùshān) ในเมืองหลินอัน (อังกฤษ: Lin'an City; จีนตัวย่อ: 临安市; พินอิน: Lín'ān Shì) หางโจว มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักบวชจงเฟิงเข้าสู่นิพพาน ในช่วงเวลานั้นสวนป่าสิงโตมีพื้นที่ประมาณ 6,670 ตารางเมตร เต็มไปด้วยหินประดับและสวนไผ่ หลังจากที่เหวินเทียนหรู๋เสียชีวิตลงสวนได้ถูกปล่อยทิ้งร้างให้ชำรุดทรุดโทรม จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1589 ในช่วงของราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644) นักบวชในพุทธศาสนาอีกรูปหนึ่งชื่อ หมิงซิง (Mingxing) บูรณะสวนขึ้นใหม่
ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911) หวงสิงซู (Huang Xingzu) ซึ่งเป็นผู้ตรวจการเมืองเหิงโจว (Hengzhou) ได้ซื้อสวนป่าสิงโตไว้และบุตรชายของเขา คือ หวงซี (Huang Xi) ได้เริ่มบูรณะสวนใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1771 และตั้งชื่อแก่สวนใหม่ว่า 'สวนสนห้าต้น (Garden of Five Pines)' หลังจากปี ค.ศ. 1850 สวนก็ถูกทิ้งและทรุดโทรมลงอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1917 เป่ยหรุนเซิง (Bei Runsheng) ซื้อสวนไว้และได้ทำการบูรณะเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1926 จากข้อมูลบนป้ายประชาสัมพันธ์ภายในสวนป่าสิงโต กล่าวว่าครอบครัวเป่ยได้บริจาคสวนแห่งนี้ให้แก่รัฐบาลจีนเมื่อปี ค.ศ. 1949 ข้อความเหล่านี้ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ เนื่องจากเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (Communist Party) เข้าปกครองประเทศได้ยึดทรัพย์สินต่าง ๆ เข้าเป็นของหลวงในปีเดียวกันนั้นเอง โดยมีการปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมสวนได้ในปี ค.ศ. 1956 เป็นต้นมา[3]
การออกแบบสวนนับได้ว่าเป็นที่ดึงดูดความสนใจแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมเป็นอันมาก อาทิ หนีจ้าน (อังกฤษ: Ni Zan; จีนตัวย่อ: 倪瓒; จีนตัวเต็ม: 倪瓚; พินอิน: Ní Zàn) หนึ่งในสี่จิตรกรเอกสมัยราชวงศ์หยวน และเป็นผู้วาดภาพ "Picture Scroll of Lion Grove" ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1373 ในปี ค.ศ. 1703 สมเด็จพระจักรพรรดิคังซียังได้เสด็จมาประพาสสวนป่าสิงโตนี้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1765 สมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงได้เสด็จประพาสสวนป่าสิงโตเช่นกัน โดยพระองค์มีรับสั่งให้สร้างสวนที่มีลักษณะเลียนแบบสวนป่าสิงโตไว้ที่พระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน คือ สวนฉางชุน (อังกฤษ: Changchun garden; จีนตัวย่อ: 长春园; จีนตัวเต็ม: 長春園; พินอิน: Chángchūn Yuán) และในสถานที่พักร้อนและหมู่วัดในเฉิงเต๋อด้วย
การออกแบบ[แก้]
ด้วยพื้นที่สวนประมาณ 1.1 เฮกตาร์ (ha; hectare) ได้แบ่งสวนออกเป็นสองส่วนที่สำคัญ คือส่วนอาคารพักอาศัย และส่วนสวนหินบริเวณรอบสระน้ำที่อยู่ตั้งใจกลางสวน[4] นอกจากจะมีอาคารทั้งหมดรวม 22 หลังแล้ว ภายในสวนยังมีแผ่นจารึก (tablets) 25 แผ่น เสาหินสลัก (stelae) 71 แท่ง ฉากไม้แกะสลัก 5 ชิ้น และ ต้นไม้โบราณอีก 13 ชนิด ซึ่งบางต้นมีอายุย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน[3] ส่วนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสวนคือบรรดาหินประดับจากไท่หู ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ขนาด 1154 ตารางเมตร ประกอบด้วยถ้ำ 21 ถ้ำ มีทางเดินวกวน 9 สาย ซ้อนกันเป็น 3 ระดับ ในส่วนของสระน้ำได้แบ่งกั้นพื้นที่สวนเป็นส่วนตะวันออกและตะวันตก ทางเข้าสวนเดิมสู่สวนตะวันตก มีชื่อเรียกว่า the Eight Diagram Tactics ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสะพานหยกสะท้อน (the Jade Mirror Bridge) หินประดับที่มีชื่อเสียงที่สุดในสวนคือหินยอดสิงโต (the Lion Peak) ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยหินอื่นอีก 4 ก้อน คือ Han Hui, Xuan Yu, Tu Yue และ Ang Xiao รวมทั้งหมดเป็น "หินห้ายอดอันมีชื่อเสียง (the Famous Five Peaks)"
มีนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับเทพในลัทธิเต๋าสองตน คือ หลี่ขาเหล็ก และ ลหฺวี่ ต้งปิน ซึ่งได้เดินหลงเข้าไปในสวนหินอันซับซ้อน่ของสวนป่าสิงโตและไม่สามารถหาทางออกได้ ดังนั้นเทพทั้งสองจึงได้ใช้เวลาสำหรับเล่นหมากรุกในถ้ำบริเวณสวนแห่งนี้
องค์ประกอบของสวนและคำอธิบาย | |
---|---|
สวนตะวันออก (East garden) | |
![]() |
โถงทางเข้า (Entry Hall) |
![]() |
โถงหลัก (Grand Hall)
เคยใช้สำหรับเป็นที่บูชาบรรพบุรุษ ของตระกูลเป่ย |
![]() |
โถงพรของนกนางแอ่น (Hall of Swallow's Blessing)
เป็นโถงรูปแบบเป็นดแมนดาริน (mandarin ducks type hall) ที่สร้างขึ้นในช่วงการบูรณะในปี ค.ศ. 1917 นกนางแอ่นเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย และตัวอักษรคำว่าพรมีความหมายอีกอย่างหนึ่งได้ว่า การเฉลิมฉลอง (feasting) |
![]() |
ศาลาแห่งความแตกต่าง (Pavilion of Contrast)
เป็นศาลาปิด เคยใช้เป็นห้องสมาธิ โดยชื่อศาลาหมายถึงความแตกต่างหรือการเปรียบเทียบระหว่างอิริยาบถนอน และเดิน |
![]() |
โถงจตุรัสเล็ก (Small Square Hall)
สร้างขึ้นระหว่างการบูรณะในปี ค.ศ. 1917 ให้เป็นโถงทางเข้าสู่สวนหินสิงโตเก่ายอด (the Nine Lion Peak rockery) |
![]() |
โถงยืนท่ามกลางหิมะ (Standing-in-the-Snow Hall)
โถงนี้ได้ชื่อมาจากนักวิชาการชื่อ หยางซี่อ (Yang Shi) ได้ค้นหาอาจารย์ของเขา คือ เฉิงยี (Cheng Yi) เพื่อสอบถามข้อสงสัย แต่เนื่องจากอาจารย์เฉิงยีกำลังพักผ่อนนอนหลับอยู่ หยางซี่อจึงคอยอยู่ด้านนอกท่ามกลางหิมะที่กำลังตกอยู่ เป็นโถงที่สร้างขึ้นในสมัย ราชวงศ์หยวน |
สวนกลาง (Central Garden) | |
![]() |
ศาลาต้นไผ่ (Bamboo Pavilion)
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโถง Double Fragrance Hall of the Immortals |
![]() |
หอกลิ่นหอมจาง (Faint Fragrance Dim Shadow Tower)
ได้ชื่อมาจากบทกวีของ Lin Bu (ในสมัยราชวงศ์ซ่ง) ซึ่งกล่าวว่า "Dappled shadows hang aslant over clear shallow water; the faint fragrance wafts in the moonlit dust" โดยทั้งบทกวีและหอแห่งนี้ได้สะท้อนถึงปรัญชาของพระพุทธศาสนาแบบเซน โดยการได้กลิ่นของต้นบ๊วย (Rosaceae) เป็นสัญลักษณ์แห่งการเข้าถึงนิพพาน |
![]() |
ศาลารูปพัด (Fan Pavilion)
มีลักษณะเป็นศาลาครึ่งวงกลม |
![]() |
ศาลาน้ำตกโบยบิน (Flying Waterfall Pavilion)
ได้ชื่อมาจาน้ำตกโบยบินที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง และยังเป็นจุดที่สูงที่สุดในสวนป่าสิงโตแห่งนี้ด้วย |
![]() |
ศาลาหินจารึกแห่งราชสำนัก (Imperial Stele Pavilion)
เป็นศาลาที่ตั้งแท่งหินจารึกโดย เหวิน เทียนเสียง วีรบุรุษแห่งราชวงศ์ซ่ง. |
![]() |
โถงดอกบัว (Lotus Hall)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โถงตะกร้าดอกไม้ เป็นโถงที่มีชานพักยิ่นออกไปในสระน้ำ เป็นหอที่สร้างขึ้นระหว่างการบูรณะในปี ค.ศ. 1917 |
![]() |
ศาลากลางสระน้ำ (Mid-Pond Pavilion) |
![]() |
หอชมวิว (Mountain View Tower)
เป็นหอที่สร้างขึ้นระหว่างการบูรณะในปี ค.ศ. 1917 |
![]() |
โถงเก่าสนห้าตัน (Old Five Pines Hall)
เป็นหอที่สร้างขึ้นระหว่างการบูรณะในปี ค.ศ. 1917 บริเวณทางเดินโดยรอบมีเสาหินสลักอันมีค่าของเป่ยหรุนเซิง (Bei Runsheng) เก็บสะสมไว้ |
![]() |
ศาลาต้อนรับดอกบ๊วยบานสะพรั่ง (Pavilion for Greeting the Plum Blossoms)
ได้ชื่อมาจากต้นบ๊วย (prunus mume trees) ที่อยู่ใกล้ศาลา ภายในศาลามีหินจารึกซึ่งมีข้อความว่า "หน้าต่างไม้แกะสลักเป็นเสมือนกรอบภาพสำหรับทิวทัศน์แห่งฤดูใบไม้ผลิที่อยู่ภายนอก (The latticed window frames the spring scene outside)" |
![]() |
โถงชี้ต้นสน (Pointing to Cypress Hall)
ได้ชื่อมาจากบทกวีของเกาชวี่ อังกฤษ: Gao Qi; จีน: 高啟; พินอิน: Gāo qǐ , 1336 – 1374) ผู้เป็นกวีในสมัยราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) ที่กล่าวไว้ว่า "แทนที่จะกล่าวต้อนรับแขกผู้มาเยือน เขากลับยิ้มและชี้ไปยังต้นสนที่อยู่ด้านหน้าโถง (Instead of greeting his guest, (the host) smiles and points at a cypress before the hall.)" บริเวณชั้นบนมีห้องเรียกว่า หอฟังเสียงฝน (the Listening to Rain Tower) ซึ่งถูกต่อเติมขึ้นในปี ค.ศ. 1917 เพื่อใช้เป็นที่เก็บสะสมแผ่นอักษรวิจิตร (calligraphy) ที่ทรุดโทรมจากเสาหินสลักที่ฝังอยู่บนผนังของสวนเก่าสนห้าต้น |
![]() |
หอดอกบ๊วย (Prunus mume Tower)
ตั้งอยู่ระหว่ากลุ่มอาคารที่พำนักกับบริเวณสวน |
![]() |
ห้องก้อนเมฆหลับไหล (Sleeping Clouds Chamber)
เป็นหอสำหรับการทำสมาธิปฏิบัติของพระในพุทธศาสนา ได้ชื่อมาจากกวีในสมับราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty) ชื่อ Yuan Haowen ที่บรรยายลักษณะของก้อนเมฆที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับหินที่อยู่โดยรอบหอนี้. |
![]() |
เรือหินจำลอง (Stone Boat)
เป็นหอที่สร้างขึ้นระหว่างการบูรณะในปี ค.ศ. 1917 |
![]() |
ศาลาสุขแท้ (True Delight Pavilion)
เป็นศาลาริมน้ำที่ึ้่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาหินจารึกที่เขียนโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง. |
![]() |
ศาลาพลังสูงส่ง (Vital Energy Pavilion) |
- Rockery
ดูเพิ่ม[แก้]
หมายเหตุ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- Suzhou Mingcheng Information Port Co., LTD, The Lion Grove Garden, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21, สืบค้นเมื่อ 2009-04-30
- China Internet Information Center (June 24, 2004), Shizilin (Lion Grove Garden), สืบค้นเมื่อ 2009-04-30
- Terebess LLC (June 24, 2004), The Lion Grove Garden, สืบค้นเมื่อ 2009-09-24
- World Cultural Heritage (2004), The Classical Gardens of Suzhou, CIP, p. 217, ISBN 7-214-03763-7, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25, สืบค้นเมื่อ 2020-02-28
- Montreal Architecture Review (2018), Between Dream and Shadow: The Aesthetic Change Embodied by the Garden of Lion Grove, p. 19, สืบค้นเมื่อ 2020-02-07
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Asian Historical architecture (June 24, 2004), The Lion Grove Garden, สืบค้นเมื่อ 2009-03-01
- Cultural China (June 24, 2004), The Lion Grove Garden, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-27, สืบค้นเมื่อ 2009-03-01
- University of Alberta (2009), Complete View of the Lion Grove, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06, สืบค้นเมื่อ 2009-03-01
- Classical Gardens of Suzhou, องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ's official website on มรดกโลก.
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สวนป่าสิงโต |
แม่แบบ:Classical Gardens of Suzhou
พิกัดภูมิศาสตร์: 31°19′23.60″N 120°37′30.20″E / 31.3232222°N 120.6250556°E