สวนจัวเจิ้ง

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
พิกัด: 31°19′33.44″N 120°37′28.74″E / 31.3259556°N 120.6246500°E / 31.3259556; 120.6246500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Classical Gardens of Suzhou *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
Zhuozheng Garden in Suzhou
ประเทศ China
ภูมิภาค **Asia-Pacific
ประเภทCultural
เกณฑ์พิจารณาi, ii, iii, iv, v
อ้างอิง813
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21st)
เพิ่มเติม2000
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สวนจัวเจิ้ง (อังกฤษ: Humble Administrator’s Garden, จีนตัวย่อ: 拙政园; จีนตัวเต็ม: 拙政園; พินอิน: Zhuōzhèng Yuán) เป็นสวนที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในเมืองซูโจว และด้วยพื้นที่ขนาด 51,950 ตารางเมตร สวนจัวเจิ้งจึงเป็นสวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซูโจว ตั้งอยู่เลขที่ 178 ถนนตงเป่ย (东北街178号) ทางตะวันออกของเมือง และยังเป็น 1 ใน 4 ของสวนที่สำคัญที่สุดของประเทศจีน คำว่า "จัวเจิ้ง" หมายถึง สวนของขุนนางผู้ถ่อมตน สร้างขึ้นตามแบบสวนจีนที่ได้รับการยกย่องให้เป็นสวนที่มีความประณีตงดงามมากที่สุดในทางตอนใต้ของประเทศจีน[1] และได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี ค.ศ. 1997

ประวัติศาสตร์[แก้]

Sketch of the garden by Wen Zhengming

ณ สถานที่ตั้งสวนจัวเจิ้งในปัจจุบันเคยเป็นที่ตั้งของสวนมาตั้งแต่ยุคเชาซิ่ง (Shaoxing period, ค.ศ. 1131-1162) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีการเปลี่ยนเจ้าของ รวมทั้งถูกทำลายและบูรณะใหม่ต่อเนื่องมาหลายครั้ง ในสมัยราชวงศ์ถัง เคยเป็นสวนในที่พักอาศัยของลู่กุยเหมิง (อังกฤษ: Lu Guimeng; จีนตัวย่อ: 陆龟蒙) บัณฑิตและกวีสมัยนั้น สมัยราชวงศ์หยวน สถานที่แห่งนี้ยังเคยเป็นสวนของวัดต้าฮง (Dahong Temple) ด้วย

ต่อมาในปี ค.ศ. 1513 ขุนนางสมัย ราชวงศ์หมิงชื่อ หวังเซี่ยนเฉิง (Wang Xiancheng) ได้สร้างสวนขึ้นใหม่ในบริเวณพื้นที่ทรุดโทรมของวัดต้าฮงเดิมซึ่งถูกไฟใหม้ หลังจากการกลับมายังบ้านเกิดของเขาในเมืองซูโจวในปี ค.ศ. 1510 เมื่อบิดาของเขาเสียชีวิตลง ซึ่งในระหว่างรับราชการนั้น ชีวิตของหวังเซี่ยนเฉิงมีทั้งขาขึ้นและลงอยู่หลายครั้ง จนเมื่อตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกคือ ผู้ปกครองอำเภอหย่งเจีย (Yongjia) ในมณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang)[2]

มีผู้เล่าประวัติของสวนนี้ต่าง ๆ กันไป ทางหนึ่ง (หลักฐานแรกราวปี ค.ศ. 1517) หวังเซี่ยนเฉิงได้รับแรงบันดาลใจจากบทร้อยแก้วในอดีตของพานเยว่ (Pan Yue) บัณฑิตชื่อดังสมัยราชวงศ์จิ๋นตะวันตก ชื่อว่า ชีวิตที่ปรารถนา (An Idle Life) กล่าวว่า "ฉันมีความสุขกับชีวิตที่ไร้กังวล ด้วยการเพาะปลูกต้นไม้และสร้างบ้านของตัวเอง ฉันทดน้ำเพื่อนำมารดผักในสวนของฉัน ชีวิตเยี่ยงนี้ช่างเหมาะสมกับข้าราชการเกษียณอายุอย่างฉันจริง ๆ (I enjoy a carefree life by planting trees and building my own house...I irrigate my garden and grow vegetables for me to eat...such a life suits a retired official like me well.)"[3] ซึ่งคำกล่าวนี้สะท้อนถึงชีวิตของหวังซี่ยนเฉิงที่ถูกกลั่นแกล้งให้ออกจากราชการ จึงเหนื่อยหน่ายชีวิตการเป็นขุนนาง และขอมาอยู่อย่างสงบท่ามกลางธรรมชาติ นอกจากนั้นเขายังเขียนข้อความตัดพ้อไว้ว่า "นี่เป็นหนทางของนักปกครองผู้ไม่ประสบความสำเร็จ (This is the way of ruling for an unsuccessful politician.)[4] โดยคำว่า จัว แปลตามศัพท์ได้ว่า โง่ เงอะงะ หรือหยาบ ซึ่งสอดคล้องกับชีวิตของหวังเซี่ยนเฉิงผู้สร้างที่ไม่ประสบความสำเร็จในงานราชการ จึงใช้คำนี้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสวนเพื่อประชดสังคม ยังมีเรื่องเล่าอีกทางหนึ่งว่า ขุนนางผู้นี้โกงเงินราชการมาสร้างสวน และภายหลังก็ต้องเสียสวนนี้ไปเนื่องจากต้องหาเงินไปใช้หนี้ที่บุตรเสียการพนัน[5]

ในการก่อสร้างสวนจัวเจิ้ง หวังเซี่ยนเฉิงได้ให้ เหวิ๋นเจิงหมิง (อังกฤษ: Wen Zhengming;จีนตัวย่อ : 文徵明) ผู้เป็นทั้งเพื่อนและนักออกแบบสวนชื่อดังของซูโจวเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งใช้เวลานาน 16 ปี คือในปี ค.ศ. 1526 จึงสร้างเสร็จ เหวิ๋นเจิงหมิงได้เขียนข้อความชื่อ "หมายเหตุสวนจัวเจิ้งของหวัง (Notes of Wang's Humble Administrator's Garden)" และวาดภาพ "ทิวทัศน์ของสวนจัวเจิ้ง (Landscape of the Humble Administrator's Garden)"  ไว้เมื่อปี  ค.ศ. 1533  ประกอบด้วยภาพวาดพู่กันจีน 31 ภาพ และบทกลอนอีกหลายบทเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับสวนแห่งนี้[3]

หลังจากที่บุตรชายของหวังเซี่ยนเฉิงเสียสวนนี้ไปเนื่องจากการติดหนี้การพนัน ก็มีการเปลี่ยนมือเจ้าของสวนแห่งนี้หลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1631 สวนทางด้านตะวันออกก็ถูกแบ่งออกจากพื้นที่ส่วนอี่น เนื่องจากหวังซินยี่ รองรัฐมนตรีของกระทรวงยุติธรรม (Wang Xinyi, Vice Minister of the Justice Board)[3] ได้ตกลงซื้อพื้นที่สวนส่วนนี้ไป อีกทั้งยังได้ปรับปรุงสวนและอาคารหลายครั้งในช่วง 4 ปีต่อจากนั้น จนกระทั่งเสร็จสิ้นลงเมื่อปี ค.ศ. 1635 แล้วจึงให้ชื่อของสวนใหม่ว่า กุยเถียนเหยวนจวี (อังกฤษ: Dwelling Upon Return to the Countryside; จีนตัวย่อ: 歸田園居) เลียนแบบกวีเถายวนหมิง (ค.ศ. 365 – 427) ที่ออกจากราชการมาใช้ชีวิตเยี่ยงชาวไร่ชาวนา และในปี ค.ศ. 406 กวีผู้นี้ได้แต่งบทกวีชุด กุยหยวนเถียนจวี หรือกลับสู่นาสวน ซึ่งมีอยู่ 5 บท [5]

ต่อมาในปี ค.ศ. 1738  เจียงชี่ ผู้ปกครองเมืองเจียงซู (Jiang Qi, Governor of Jiangsu) ได้ซื้อสวนส่วนกลาง (central garden) ไว้และยังได้ บูรณะสวนครั้งใหญ่อีกด้วย.[3] ในปี ค.ศ. 1860 สวนแห่งนี้กลายเป็นที่พักของผู้บัญชาการทัพกบฏไท่ผิง ชื่อ หลี่ซิ่วเฉิง (อังกฤษ: Li Xiucheng ; จีนตัวย่อ: 李秀成) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสวนอย่างมาก จนเป็นลักษณะสวนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้[6]

นอกจากนั้น ในปี ค.ศ. 1738  สวนตะวันตกก็ถูกซื้อไปโดย Ye Shikuan Chief Histographer เช่นกัน และให้ชื่อสวนส่วนนี้ว่า "สวนหนังสือ" (The Garden of Books) และหลังจากนั้นก็ถูกซื้อต่อโดยพ่อค้าชาวเมืองซูโจวชื่อ จาง ลิ่วเฉียน (Zhang Lüqian) เมื่อปี ค.ศ. 1877 ซึ่งได้ถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น (The Subsidiary Garden) [3]

สมัยกบฏไท่ผิงหรือไต้เผ็ง (ค.ศ. 1850–1864) และช่วงที่ซูโจวตกอยู่ใต้การยึดครองของต่างประเทศ สวนนี้ถูกทิ้งโดยไม่มีการบำรุงรักษา[5]

เมื่อปี ค.ศ. 1949 สมัยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949–ปัจจุบัน) ได้รวมพื้นที่ทั้งสามส่วนเข้าด้วยกัน และในปี ค.ศ. 1952 ได้มีการปรับปรุงสวนนี้ขึ้นมาใหม่ซึ่งต่อมาเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมชม[5]

ปี ค.ศ. 1997 สวนจัวเจิ้งได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

การออกแบบ[แก้]

The Humble Administrator's Garden

สวนจัวเจิ้งมีความโดดเด่นในด้านภูมิทัศน์ทางน้ำซึ่งครอบคลุมบริเวณถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด โชว์ศิลปะการไหลเวียนตามธรรมชาติที่เรียบง่ายแบบคลาสิคสมัยหมิง[5] มีศาลาและสะพานจำนวนมากทำหน้าที่เชื่อมต่อสระน้ำและเกาะต่างๆ ในสวนเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน นอกจากนี้ ยังมีการตกแต่งด้วยบทกลอนโคลงคู่และภาพวาดพู่กันจีนของเหวิ๋นเจิงหมิงซึ่งเป็นผู้ออกแบบสวนนี้เอง[5]

ด้านไม้ดอกไม้ประดับที่ตกแต่งในสวนแห่งนี้ เป็นพรรณไม้ที่นิยมกันในประเทศจีน เช่น ตู้จวน ฉาฮวา (camellia) บัว สนชนิดต่างๆ กุหลาบ ไห่ถัง แมกโนเลีย ไม้ดัดต่างๆ แบบซูโจว[5]

บริเวณสวนแบ่งพื้นที่ออกเป็น ส่วนหลัก คือ ส่วนกลาง (the central part หรือ Zhuozheng Yuan) ส่วนตะวันออก (the eastern part ซึ่งเดิมเรียกว่า Guitianyuanju หรือ Dwelling Upon Return to the Countryside) และส่วนตะวันตก (the western part หรือ the Supplementary Garden) ภายในสวนทั้งหมดประกอบด้วยอาคารต่างๆ รวม 48 หลัง แผ่นจารึก (stone tablets) อีก 101 แผ่น เสาหินสลัก (stelae) 40 แท่ง ต้นไม้โบราณสูงค่า 21 ต้น และยังมีต้นไม้ถาด (tray plant; penjing หรือ penzai ในภาษาจีน หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า bonzai) อีกกว่า 700 ต้น [7]

สวนตะวันออก (Eastern Garden; 东园): ประกอบด้วยอาคารล้อมรอบลานหญ้าและสระน้ำตรงกลาง ซึ่งล้อมรอบไปด้วยกลุ่มต้นอินทนิล ซึ่งมาจากชื่อเรียกไม่เป็นทางการ (nickname) ของสำนักราชเลขาธิการสมัยราชวงศ์ถัง (the Tang Dynasty State Secretariat) ที่ถูกเรียกว่าฝ่ายอินทนิล (Crape Myrtle Department)

สวนกลาง (Central Garden; 中园): พื้นที่หลักของสวนส่วนนี้คือสระน้ำ "เกลียวคลื่น (Surging Wave)" ซึ่งมีเกาะ 3 แห่งอยู่กลางสระ

สวนตะวันตก (Western Garden; 西园): ส่วนนี้มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของสวนกลาง และยังมีบริเวณส่วนใหญ่เป็นสระน้ำซึ่งวางตัวจากเหนือสู่ใต้ และมีเกาะบริเวณกลางสระ แม้ว่าสวนตะวันตกจะมีขนาดเล็ก แต่ก็วางแผนและสร้างขึ้นอย่างพิถีพิถัน ศาลาต่างๆ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากถูกจัดวางตำแหน่งอย่างเป็นระเบียบ[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Forsyth, Holly Kerr (2010). Gardens of Eden: Among the World's Most Beautiful Gardens. Melbourne University Publishing. p. 103. ISBN 0-522-85776-0.
  2. Craig Clunas (1996).Fruitful Sites: Garden Culture in Ming Dynasty China. Durham: Duke University Press.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Yuan, 2004
  4. Craig Clunas (1996). Fruitful Sites: Garden culture in Ming Dynasty China. Durham: Duke University Press
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 เจียงหนานแสนงาม หน้า 248-257  บทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  6. 6.0 6.1 Lou Qingxi (2011). Chinese gardens. Cambridge: University Press.
  7. Suzhou, 2009

บรรณานุกรม[แก้]

  • Clunas, Craig (1996), Fruitful Sites: Garden Culture in Ming Dynasty China
  • Liu, Dunzhen (1979), Suzhou gudian yuanlin Classic Gardens of Suzhou
  • Lou, Qingxi (2011), Chinese Gardens

31°19′33.44″N 120°37′28.74″E / 31.3259556°N 120.6246500°E / 31.3259556; 120.6246500