ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิ บุญยรัตกลิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
Kie (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42: บรรทัด 42:


หลังเกษียณอายุราชการในปี [[พ.ศ. 2550]] พล.อ.สนธิ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงโดยเฉพาะ
หลังเกษียณอายุราชการในปี [[พ.ศ. 2550]] พล.อ.สนธิ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงโดยเฉพาะ

==บัญชีทรัพย์สิน==

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 [[สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]]ได้เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.[[สุรยุทธ์ จุลานนท์]] โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยื่นบัญชีทรัพย์สินเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สิน 38,796,977 บาท ประกอบด้วยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 10,241,195 บาท เงินฝากในสถาบันการเงินอื่น 13,355,541 บาท หลักทรัพย์รัฐบาล และรัฐบาลค้ำประกัน 142,600 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 6,393,240 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 4,664,400 บาท สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง มูลค่า 4 ล้านบาท ภรรยาทั้ง 2 คน ที่จดทะเบียนสมรสคือ นางสุกัญญา มีทรัพย์สินกว่า 14 ล้านบาท และ นางปิยะดา 42 ล้านบาท บุตรสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกว่า 3 แสนบาท ซึ่งรวมทั้งครอบครัวแล้วมีทรัพย์สินกว่า 94 ล้านบาท <ref>เดลินิวส์, [http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=147307&NewsType=1&Template=1 เปิดบัญชีขุมทรัพย์"สนธิ"]</ref>


==ชีวิตส่วนตัว==
==ชีวิตส่วนตัว==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:52, 2 ธันวาคม 2550

สำหรับความหมายอื่นหรือบุคคลอื่นที่ชื่อ สนธิ ดูที่ สนธิ
ไฟล์:Sondhi Boonyaratkalin.jpg
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ในขณะแถลงการณ์ในเหตุการณ์รัฐประหาร

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน (2 ตุลาคม พ.ศ. 2489 — ) อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบันคือ รองนายกรัฐมนตรี


ประวัติ

พลเอกสนธิ เป็นบุตรของ พันเอกสนั่น(เดิมนามสกุลอหะหมัดจุฬา)[1] และนางมณี บุญยรัตกลิน เติบโตในครอบครัวมุสลิม ที่นับถือนิกายชีอะห์ ในจังหวัดปทุมธานี (บิดานับถือนิกายชีอะห์) แต่ตัวท่านนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (มารดานับถือนิกายซุนนีย์) [2] ต้นตระกูล เฉกอะหมัด หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และ สมุหนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลูกหลานบางส่วนของเฉก อาหมัด เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เช่น ตระกูลบุนนาค ตระกูลจุฬารัตน์ โดยนามสกุล บุญยรัตกลิน (อ่านว่า บุน-ยะ-รัด-กะ-ลิน)จริงๆแล้วคือ บุณยรัตกลิน แต่พิมพ์ผิดเป็น "ญ" นั้น เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากการที่หนึ่งในสาแหรกฝั่งย่าเป็นทหารเรือ สังกัดพรรคกลิน คือหลวงพินิจกลไก(บุญรอด) [3] มีชื่อทางมุสลิมว่า อับดุลเลาะห์ อหะหมัดจุฬา

การศึกษา

พลเอกสนธิศึกษาในระดับประถมและมัธยมที่ โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ และศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 6) และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหล่าทหารราบ (รุ่นที่ 17) และได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 42)

นอกจากนี้ได้มีหลักสูตรพิเศษอื่น ได้แก่

การรับราชการ

  • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กองพลอาสาสมัครเสือดำ
  • รองผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 9 กาญจนบุรี นายทหารคนสนิทแม่ทัพภาคที่ 4 (พล.ท.ปิ่น ธรรมศรี ในขณะนั้น) ผู้บังคับกองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1
  • ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1
  • ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
  • ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
  • ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารบก

พล.อ.สนธิ เป็นนายทหารของหน่วยรบพิเศษ ที่ผ่านการรบด้านการปราบปราม ผกค. ด้าน อ.กุยบุรี และ จ.ปราจีนบุรี รวมถึงการออกไปรบที่ประเทศเวียดนามและกัมพูชา


รัฐประหาร 2549

ดูเพิ่ม รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองของ รัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว พล.อ.สนธิ ได้เปลี่ยนตำแหน่งจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

หลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2550 พล.อ.สนธิ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงโดยเฉพาะ

บัญชีทรัพย์สิน

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยื่นบัญชีทรัพย์สินเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สิน 38,796,977 บาท ประกอบด้วยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 10,241,195 บาท เงินฝากในสถาบันการเงินอื่น 13,355,541 บาท หลักทรัพย์รัฐบาล และรัฐบาลค้ำประกัน 142,600 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 6,393,240 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 4,664,400 บาท สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง มูลค่า 4 ล้านบาท ภรรยาทั้ง 2 คน ที่จดทะเบียนสมรสคือ นางสุกัญญา มีทรัพย์สินกว่า 14 ล้านบาท และ นางปิยะดา 42 ล้านบาท บุตรสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกว่า 3 แสนบาท ซึ่งรวมทั้งครอบครัวแล้วมีทรัพย์สินกว่า 94 ล้านบาท [4]

ชีวิตส่วนตัว

พล.อ. สนธิ มีภรรยาทั้งหมด 3 คน ภรรยาคนแรกชื่อ สุกัญญา จดทะเบียบสมรสขณะที่สนธิยังเป็นพลโท ภรรยาคนที่สองชื่อ ปิยดา จดทะเบียนสมรสเมื่อเป็นนายพล เขาอาศัยอยู่กับทั้งสองแม้ว่าการมีภรรยาสองคนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม นายอารีย์ วงศ์อารยะ [5] [6] วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 พล.อ.สนธิกล่าวว่าตนไม่ยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินของภรรยาคนที่ 3 ต่อ ป.ป.ช. เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางกฎหมาย [7]

อ้างอิง