ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
ในสมัยต้น[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มาประดับบนธงพื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวว่า [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูป[[จักร]][[สีขาว]]ลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] พระองค์ทรงได้[[ช้างเผือก]]เอก 3 ช้าง ถือเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย<ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 116">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/002/29_1.PDF พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๖], เล่ม ๑๔, ตอน ๒, ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า ๒๙</ref><ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 118">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/039/541_1.PDF พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘], เล่ม ๑๖, ตอน ๓๙, ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๕๔๑</ref><ref name="ฉวีงาม" /> อันมีความหมายว่า "พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก"<ref name="อธิบายเรื่องธงไทย" /> แต่ในพระอธิบายของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] มิได้กล่าวถึงเรื่องธงรูปจักรไว้ แต่กล่าวว่าเปลี่ยนแปลงจากธงแดงมาเป็นธงช้างเผือกในวงจักรในคราวเดียว<ref name="อธิบายเรื่องธงไทย" />
ในสมัยต้น[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มาประดับบนธงพื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวว่า [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูป[[จักร]][[สีขาว]]ลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] พระองค์ทรงได้[[ช้างเผือก]]เอก 3 ช้าง ถือเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย<ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 116">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/002/29_1.PDF พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๖], เล่ม ๑๔, ตอน ๒, ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า ๒๙</ref><ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 118">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/039/541_1.PDF พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘], เล่ม ๑๖, ตอน ๓๙, ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๕๔๑</ref><ref name="ฉวีงาม" /> อันมีความหมายว่า "พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก"<ref name="อธิบายเรื่องธงไทย" /> แต่ในพระอธิบายของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] มิได้กล่าวถึงเรื่องธงรูปจักรไว้ แต่กล่าวว่าเปลี่ยนแปลงจากธงแดงมาเป็นธงช้างเผือกในวงจักรในคราวเดียว<ref name="อธิบายเรื่องธงไทย" />


ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประเทศไทยมีการทำ[[สนธิสัญญา]]กับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำ[[สนธิสัญญาเบาริ่ง]]กับ[[สหราชอาณาจักร]]ใน [[พ.ศ. 2398]] พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยาม เนื่องจากมีเหตุผลว่า ธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปไม่พอที่จะสามารถแยกแยะประเทศได้ในการติดต่อระหว่างประเทศ ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้ธงช้างเผือกเปล่าพื้น[[สีน้ำเงิน]]ชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า "ธงเกตุ"<ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 116" /><ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 118" /><ref name="อธิบายเรื่องธงไทย" /> (ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็น[[ธงฉาน (ไทย)|ธงฉานของกองทัพเรือไทย]]ในปัจจุบัน<ref name="พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ">[http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_b12_flat_thai.htm ธงราชนาวีและธงที่ใช้ในกองทัพเรือ (พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ)]</ref>)
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประเทศไทยมีการทำ[[สนธิสัญญา]]กับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำ[[สนธิสัญญาเบาริ่ง]]กับ[[สหราชอาณาจักร]]ใน [[พ.ศ. 2398]] พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยาม เนื่องจากมีเหตุผลว่า ธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปไม่พอที่จะสามารถแยกแยะประเทศได้ในการติดต่อระหว่างประเทศ ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน<ref>{{cite web |url=http://www.flaggenlexikon.de/fthai.htm |title=historische Thai Flaggen|accessdate=2003-09-05 |author=Volker Preuß|coauthors= |language=German}}</ref> แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้ธงช้างเผือกเปล่าพื้น[[สีน้ำเงิน]]ชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า "ธงเกตุ"<ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 116" /><ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 118" /><ref name="อธิบายเรื่องธงไทย" /> (ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็น[[ธงฉาน (ไทย)|ธงฉานของกองทัพเรือไทย]]ในปัจจุบัน<ref name="พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ">[http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_b12_flat_thai.htm ธงราชนาวีและธงที่ใช้ในกองทัพเรือ (พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ)]</ref>)


<center>
<center>
บรรทัด 95: บรรทัด 95:
| [[ไฟล์:Flag of Thailand (1817).svg|100px|border]] || <center>พ.ศ. 2360 - 2398</center> || พระบรมราชโองการใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]
| [[ไฟล์:Flag of Thailand (1817).svg|100px|border]] || <center>พ.ศ. 2360 - 2398</center> || พระบรมราชโองการใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]
|-
|-
| [[ไฟล์:Flag of Thailand 1855.svg|100px|border]] || <center>พ.ศ. 2398 - 2459</center> || พระบรมราชโองการใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] <br />พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110 <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2438/018/139_1.PDF พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๑๐], เล่ม ๑๒, ตอน ๑๘, ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๘, หน้า ๑๓๙ (ดูภาพธงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ที่[http://www.talkingmachine.org/siamflag/rule.html เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ธงสยาม]) </ref><br />
| [[ไฟล์:Flag of Thailand 1855.svg|100px|border]] || <center>พ.ศ. 2398 - 2459</center> || พระบรมราชโองการใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<ref>{{cite web |url=http://web.archive.org/web/20041208223916/http://www.rbvex.it/asiapag/thailandia.html |title=Siam Bandiera mercantile 1839 |accessdate=2004-09-25 |author=Roberto Breschi|coauthors= |language=Italian}}</ref> <br />พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110 <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2438/018/139_1.PDF พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๑๐], เล่ม ๑๒, ตอน ๑๘, ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๘, หน้า ๑๓๙ (ดูภาพธงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ที่[http://www.talkingmachine.org/siamflag/rule.html เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ธงสยาม]) </ref><br />
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116 <ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 116" /><br />
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116 <ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 116" /><br />
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118 <ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 118" /><br /> พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129<ref name="พรบ.ธง ร.ศ. 129">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/A/176.PDF พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙], เล่ม ๒๗, ตอน ๐ก, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๑๗๖</ref>
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118 <ref name="พ.ร.บ.ธง ร.ศ. 118" /><br /> พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129<ref name="พรบ.ธง ร.ศ. 129">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/A/176.PDF พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙], เล่ม ๒๗, ตอน ๐ก, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๑๗๖</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:27, 6 มิถุนายน 2554

ธงชาติไทย
ธงไตรรงค์
การใช้ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะธงสามสีห้าแถบ พื้นแดง-ขาว-น้ำเงิน-ขาว-แดง แถบกลางกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีแดงและขาว
ออกแบบโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธงราชนาวี
การใช้ธงนาวี
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้28 กันยายน พ.ศ. 2460 (มีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ลักษณะธงชาติ กลางเป็นวงกลมสีแดง มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าเสา

ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย[1] (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร[2]

ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น

ลักษณะธงตามกฎหมาย

ตามความในมาตรา 5 (1) ของพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2522 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติธงฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้กล่าวถึงลักษณะธงชาติไว้ดังนี้

ภาพแสดงสัดส่วนธงชาติไทยที่ถูกต้อง

ธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน[3]

ความหมายของธง

ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ [4] [5] แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์[6]

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกเรื่องธงชาติ ใน พ.ศ. 2470 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงธงชาติจากบุคคลกลุ่มต่างๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีการเปลี่ยนธงชาติหลายครั้ง กรมราชเลขาธิการได้รวบรวมความเห็นเรื่องนี้จากที่ต่างๆ รวมทั้งในหนังสือพิมพ์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งในบรรดาเอกสารดังกล่าว ปรากฏว่าในหมู่ผู้ที่สนับสนุนให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป ได้มีการให้ความหมายของธงที่กระชับกว่าเดิม กล่าวคือ สีแดงหมายถึงชาติ สีขาวหมายถึงศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ไปเล็กน้อย แต่ยังครอบคลุมอุดมการณ์ "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้เช่นเดิม และยังเป็นที่จดจำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน[7]

ประวัติ

กำเนิดของธงสยาม

ธงสีแดง ซึ่งใช้สำหรับเรือของสยาม (ไม่ใช่ธงชาติสยาม) โดยทั่วไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สามารถสืบได้แต่เพียงความว่า ราชอาณาจักรไทย ใช้ธงแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังไม่ได้มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน[8]จาก จดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) เรือค้าขายของฝรั่งเศสลำหนึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ของไทย เรือฝรั่งเศสก็ชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายไทยยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม แต่เมื่อฝ่ายไทยชักธงขึ้นตอบบ้าง ฝ่ายฝรั่งเศสกลับไม่ยิงสลุตคำนับตอบ เพราะได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ขึ้นเหนือป้อมด้วยเหตุว่าไทยไม่มีธงชาติของตนใช้ (ขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน) ฝ่ายไทยได้แก้ไขปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย[9]

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มาประดับบนธงพื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก 3 ช้าง ถือเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย[10][11][9] อันมีความหมายว่า "พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก"[8] แต่ในพระอธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิได้กล่าวถึงเรื่องธงรูปจักรไว้ แต่กล่าวว่าเปลี่ยนแปลงจากธงแดงมาเป็นธงช้างเผือกในวงจักรในคราวเดียว[8]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2398 พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยาม เนื่องจากมีเหตุผลว่า ธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปไม่พอที่จะสามารถแยกแยะประเทศได้ในการติดต่อระหว่างประเทศ ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน[12] แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้ธงช้างเผือกเปล่าพื้นสีน้ำเงินชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า "ธงเกตุ"[10][11][8] (ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน[13])

ธงไตรรงค์

ทหารอาสาของไทย ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมการสวนสนามฉลองชัยชนะ ที่ประตูชัยกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 โดยอัญเชิญธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นธงชาติที่รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าให้ใช้แทนธงช้าง เป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร

ธงช้างเผือกเปล่าได้ใช้เป็นธงชาติสยามสืบมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2459 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองอุทัยธานี ซึ่งขณะนั้นประสบเหตุอุทกภัย และทอดพระเนตรเห็นธงช้างของราษฎรซึ่งตั้งใจรอรับเสด็จประดับไว้ถูกแขวนกลับหัว พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับแถบสีขาว 2 แถบ ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว[9]

พ.ศ. 2460 แถบสีแดงตรงกลางได้เปลี่ยนเป็น "สีขาบ" หรือสีน้ำเงินเข้มเจือม่วงดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[14] เหตุที่รัชกาลที่ 6 ทรงเลือกสีนี้เพราะเป็นสีมงคลประจำวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระองค์ ทั้งสีน้ำเงินยังแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 เช่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งใช้สีแดง ขาว น้ำเงินเป็นสีในธงชาติเป็นส่วนใหญ่ด้วยอีกประการหนึ่ง ธงชาติแบบใหม่นี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" และอวดโฉมต่อสายตาชาวโลกครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้ใช้เชิญไปเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วย[9]

ธงไตรรงค์ที่สร้างขึ้นสำหรับกองทหารอาสาในคราวนั้นไม่ใช่ลักษณะอย่างธงไตรรงค์ตามที่กำหนดให้ใช้โดยทั่วไป แต่มีการเพิ่มรูปสัญลักษณ์พิเศษลงในธงด้วย โดยด้านหน้าธงนั้นเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นในวงกลมพื้นแดง ลักษณะอย่างเดียวกับธงราชนาวีไทย (ซึ่งกำหนดแบบใหม่ให้ใช้พร้อมกันในคราวประกาศเปลี่ยนธงชาติ) ด้านหลังเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ร.ร. ๖ ภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมีในวงกลมพื้นแดง ที่แถบสีแดงทั้งแถบบนแถบล่างทั้งสองด้านจารึกพุทธชัยมงคลคาถาบทแรก (ภาษาบาลี) เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทหารอาสาของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชนิพนธ์แก้ไขในตอนท้ายจาก "ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ" (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน) เป็น "ตนฺเตชสา ภวตุ เม ชยสิทฺธินิจฺจํ" (ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยชนะจงมีแก่ข้าพเจ้าเสมอ)

ธงชัยเฉลิมพลของกองทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ 1
ด้านหน้า
ธงชัยเฉลิมพลของกองทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ 1
ด้านหลัง

พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า ธงชาติไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้ว ควรหาข้อกำหนดเรื่องธงชาติให้เป็นการถาวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบรรทึก พระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร[15] ผลปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชวินิจฉัยลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป[16][9]

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลต่างๆ ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติอยู่เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน โดยมีการออกพระราชบัญญัติธง ฉบับ พ.ศ. 2479[17] และฉบับ พ.ศ. 2522[3] เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์

พัฒนาการของธงชาติไทย

ภาพธง ระยะเวลาการใช้ การบังคับใช้ธง
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325
(ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398
(ธงเรือเอกชน)
ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พ.ศ. 2325 - 2360
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พ.ศ. 2360 - 2398
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พ.ศ. 2398 - 2459
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[18]
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110 [19]

พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116 [10]
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118 [11]
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129[20]

พ.ศ. 2459 - 2460
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ) [20]
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459[21]
พ.ศ. 2459 - 2460
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459[21] (ในชื่อ "ธงค้าขาย")
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 [14]
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479[17]
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522[3]

การชัก ใช้ และแสดงธงชาติไทย

ตัวอย่างของกฎหมายเกี่ยวกับธงที่ได้ริเริ่มมีการจัดระเบียบในสมัยรัชกาลที่ 5: (ซ้าย) พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รัตนโกสินทรศก 110 ตราไว้เมื่อ พ.ศ. 2434, (ขวา) พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก 118 ตราไว้เมื่อ พ.ศ. 2442

ในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงปกครองนั้น การประดับ ชัก ใช้ และแสดงธงชาติด้วยวิธีการต่างๆ มักเป็นไปตามธรรมเนียมที่ใช้สืบต่อกันมา ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน แม้จะเริ่มมีการจัดระเบียบธงด้วยกฎหมายต่างๆ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2434 เป็นต้นมา ก็ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการชัก ใช้ และแสดงธงอย่างชัดเจนนัก

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลไทยจึงเริ่มจัดระเบียบการใช้ธงชาติขึ้นอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยออกระเบียบการชักธงชาติสยามประกอบอยู่ในพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2479 ปรากฏในในมาตรา 17-20 บทบังคับทั่วไปได้กล่าวถึงระเบียบการชักธงชาติ และข้อควรปฏิบัติต่อธงชาติ และในบทกำหนดโทษ ท้ายพระราชบัญญัติ ในมาตรา 21-23 ก็ได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบังคับ มีทั้งปรับเป็นเงิน จำคุก หรือทั้งปรับทั้งจำ หนักเบา แล้วแต่ความผิดที่ได้กระทำ ซึ่งต่อมา ก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับต่างๆ อีกหลายฉบับ[22][9]

ระเบียบเกี่ยวกับธงชาติที่บังคับทั่วไปในปัจจุบันนี้ บังคับใช้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529[23] (แก้ไขเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2546 และ 2547) ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญบางข้อ ดังนี้

การเคารพธงชาติ

การแสดงความเคารพต่อธงชาติของทหารโดยการทำวันทยาหัตถ์ขณะทำพิธีธงลง

หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ใช้ธงชาติและเพลงชาติเป็นเครื่องมือสำคัญในการนิยามตนเองและ “ชาติไทย” ที่เป็น “ประชารัฐ” ธงชาติไทยคือเครื่องหมายของชาตินิยม และกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ราษฎรพึงให้ความเคารพเทิดทูนสูงสุด

รายการสนทนาทางวิทยุระหว่างโฆษกคู่ขวัญแห่งยุคทศวรรษ 2480 ผู้ใช้นามแฝงว่า “นายมั่น-นายคง” อันเป็นสื่อมวลชนสำคัญของรัฐบาล เคยแจกแจงวิธีการเคารพธงชาติในระหว่างดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันนานาชนิดไว้ได้อย่างละเอียดลออยิ่ง ว่า[24]

  1. สำหรับคนทั่วไป ยืนตรงนิ่ง ถ้าสวมหมวกในเครื่องแบบทำวันทยหัตถ์ นอกนั้นชายถอดหมวก ถือหมวกด้วยมือขวาแนบกับตัว หญิงไม่ต้องถอดหมวก
  2. ผู้ที่อยู่ในรถราง รถโดยสาร รถไฟ เรือ ถ้ายืนเคารพได้ให้ยืน ถ้ายืนไม่ได้ให้นั่งเคารพ ผู้สวมหมวกในเครื่องแบบทำวันทยหัตถ์ นอกนั้นชายถอดหมวก หญิงไม่ต้องถอด
  3. รถยนต์ส่วนตัว ถ้าหยุดได้ควรหยุด ทำความเคารพบนรถ ถ้าหยุดไม่ทัน ทำความเคารพบนรถ ถ้ายิ่งหยุดรถได้ และออกมาทำการเคารพนอกรถด้วยยิ่งดี
  4. รถสามล้อรับจ้างต้องหยุด ผู้ขับขี่และคนโดยสารลงจากรถทำความเคารพ
  5. ถ้ากำลังหาบของ หรือกำลังกระเดียดกระจาดอยู่ วางหาบและกระจาดตรงหน้าแล้วยืนตรง
  6. กำลังอาบน้ำ ทำครัว หรือทำงานใดๆ อยู่ ยืนตรงนิ่ง
  7. ถ้ากำลังแบกหามของหนักมาก เช่น แบกกระสอบข้าว เป็นต้น เมื่อจวนจะถึง 8.00 น. ควรวางกระสอบเสียก่อน เมื่อเคารพธงชาติเสร็จแล้ว จึงแบกหามต่อไป
  8. เวลาพายเรือ แจวเรืออยู่ ถ้าเป็นเรือเล็กยืนขึ้นจะล่ม ก็ให้นั่งตรง ชายถอดหมวก หนีบด้ามพายไว้ในรักแร้ ทอดใบพายไปข้างหลัง ถ้าเป็นเรือใหญ่ใช้แจว ทอดแจวไปทางท้ายเรือ แล้วยืนตรง ชายถอดหมวก
  9. ผู้กำลังทำหน้าที่ขับยานพาหนะ ถ้าแสดงการเคารพจะเป็นการละทิ้งหน้าที่ หรือทำให้เกิดอันตรายขึ้น เช่น กำลังถือท้ายเรือยนต์ เรือกลไฟ เป็นต้น ก็ไม่ต้องแสดงเคารพ เป็นแต่นั่งตรงก็พอแล้ว ถ้ายืนถือพวงมาลัยได้ก็ยืน จะงามดี
  10. คนขับรถราง ถ้ารถรางหยุดอยู่ให้ยืนตรงนิ่ง และทำวันทยหัตถ์ เพราะมีเครื่องแบบ ถ้ารถกำลังแล่น ก็เบาลง แล้วขับต่อไป ไม่ต้องแสดงความเคารพ เพราะจะเป็นอันตราย ถ้าประสงค์จะแสดงความเคารพก็ให้ถอดหมวกพร้อมกับคนอื่นๆ ได้ เป็นการแสดงน้ำใจรักชาติยิ่ง
  11. ถ้าอยู่ในยานพาหนะที่ยืนให้ไม่ได้ ให้นั่งตรง คือนั่งนิ่งวางมือไว้ข้างหน้า หรือข้างตัว วางเท้าชิดกัน ถ้าสวมหมวกเครื่องแบบ ทำวันทยหัตถ์ ถ้าสวมหมวกอื่น ให้ถอดหมวกวางไว้บนตัก
  12. ถ้านั่งหรือยืนไม่ได้ เช่นคนนอนเจ็บ ให้ยกมือไหว้
  13. ถ้ากำลังกินข้าวอยู่ ให้ลุกขึ้นยืนตรง ทำการเคารพ
  14. ถ้ากำลังซื้อหรือขายของอยู่ในตลาด ในห้างร้าน ให้ลุกขึ้นยืนตรง ทำการเคารพ
ชาวไทยแสดงความเคารพต่อชาติด้วยการหยุดนิ่งในอาการสำรวมในระหว่างการบรรเลงเพลงชาติ แม้จะไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม

สำหรับการเคารพธงชาติในปัจจุบันได้ยึดถือหลักการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 กล่าวคือ เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง[23]

การชักธงชาติในราชอาณาจักร

โอกาสและวันพิธีสำคัญที่ต้องมีการชักและประดับธงชาติ มีวันและระยะเวลาดังต่อไปนี้

การชักธงและประดับธงชาติในโอกาสและวันพิธีสำคัญอื่นๆ ทางราชการจะประกาศให้ทราบเป็นคราวๆ ไป

ส่วนการลดธงครึ่งเสานั้น นายกรัฐมนตรีจะสั่งการผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นคราวๆ ไป[23] ตัวอย่างเช่น เมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 15 วัน และให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการถวายความอาลัยในการสิ้นพระชนม์ของพระองค์[25]

การประดับธงชาติไทยประจำสถานที่ราชการในโอกาสปกติ
การลดธงครึ่งเสา

กำหนดเวลาชักธงชาติ

โดยปกติแล้ว ตามสถานที่ราชการต่างๆ จะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา 8.00 น. และเชิญธงลงในเวลา 18.00 น. เป็นประจำทุกวัน (ในภาพ เป็นการเชิญธงชาติประจำวันของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร)

เวลาชักธงชาติโดยปกติ กำหนดให้ชักธงขึ้นในเวลา 8.00 น. และชักธงลงเวลา 18.00 น. สำหรับอาคารสถานที่และยานพาหนะฝ่ายทหารนั้น ให้ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของฝ่ายทหาร ส่วนในเรือเดินทะเลนั้น ให้ปฏิบัติตามธรรมเนียมชาวเรือ[23]

สำหรับการชักธงชาติในโรงเรียนและสถานศึกษานั้น ปัจจุบันนี้ได้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547[26] ซึ่งกำหนดให้โดยปกติแล้ว ให้สถานศึกษาชักธงขึ้นเวลาเข้าเรียน และชักธงลงเวลา 18.00 น. ในวันเปิดเรียน ส่วนวันปิดเรียนนั้น ให้ชักธงขึ้นในเวลา 8.00 น. และชักธงลงเวลา 18.00 น. หากสถานศึกษาใดมีความจำเป็นไม่อาจชักธงขึ้นลงตามกำหนดที่กล่าวมา ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม โดยต้องสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529

การประดับธงชาติ

การประดับธงชาติไทยคู่หรือร่วมกับธงอื่นยกเว้นธงพระอิสริยยศ โดยหลักแล้วธงชาติไทยจะต้องอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำว่าธงอื่นๆ และโดยปกติให้จัดธงชาติอยู่ที่เสาธงแรกด้านขวา (เมื่อมองดูออกมาจากภายใน หรือจุดของสถานที่ที่ใช้ชัก แสดง หรือประดับธงเป็นหลัก) ถ้าหากเป็นการประดับในงานพิธีซึ่งมีแท่นหรือมีที่สำหรับประธาน ธงชาติจะต้องอยู่ทางขวามือเสมอ ในกรณีที่ประดับกับธงอื่นซึ่งรวมกันแล้วได้จำนวนเป็นเลขคี่ ธงชาติไทยจะต้องอยู่ตรงกลาง ถ้ารวมกันแล้วเป็นเลขคู่ ธงชาติไทยต้องอยู่กลางขวา หลักการเช่นนี้อนุโลมใช้กับการประดับธงชาติไทยคู่กับธงต่างประเทศด้วย เว้นแต่ว่าจะข้อตกลงระหว่างประเทศกำหนดไปเป็นอย่างอื่น ก็ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นเป็นกรณีไป

การประดับธงชาติในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ โดยปกติให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมกีฬาระหว่างประเทศ หรือตามหลักสากลที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ

สำหรับการประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับพระพุทธรูปหรือพระบรมรูปในงานพิธีต่างๆ ธงชาติต้องอยู่ทางขวาของพระพุทธรูป พระบรมรูปนั้นต้องอยู่ด้านซ้าย[23]

ระเบียบในส่วนธงชาติไทย

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ข้อ 19 การกระทำต่อธงชาติโดยไม่ให้ความเคารพ มีดังนี้

  • 19.1 การกระทำอันเป็นการเหยียดหยามต่อธงชาติ ได้แก่ การกระทำต่อธงชาติรูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ ด้วยเจตนาเหยียดหยามประเทศชาติ เช่น ฉีกทำลาย ถ่มน้ำลายรด ใช้เท้าเหยียบ วางเป็นผ้าเช็ดเท้า ซึ่งเป็นการแสดงความดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามชาติไทย
  • 19.2 การกระทำที่ไม่สมควรต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ เช่น
    • 19.2.1 การประดิษฐ์รูป ตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นในผืนธงรูปจำลองของธง หรือแถบสีของธง
    • 19.2.2 การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงอันมีลักษณะตามข้อ 19.2.1
    • 19.2.3 การใช้ ชัก หรือแสดงธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีของธงไว้ ณ สถานที่หรือวิธีอันไม่สมควร
    • 19.2.4 การประดิษฐ์ธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงไว้ ณ ที่หรือสิ่งใดๆ โดยไม่สมควร
    • 19.2.5 แสดงหรือใช้สิ่งใด ๆ ที่มีรูปธง รูปจำลองของธง หรือแถบสีธงอันมีลักษณะตามข้อ 19.2.4

บทลงโทษสำหรับการกระทำการใดๆ ต่อธง หรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ตามมาตรา 118 แห่งประมวลกฎหมายอาญา กำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่เป็นการกระทำการใดๆ ที่ไม่สมควรต่อธงชาติ รูปจำลองของธงชาติ หรือแถบสีของธงชาติ ตามข้อ 19.2.1 – ข้อ 19.2.5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522[23]

ธงอื่นที่ดัดแปลงลักษณะจากธงชาติ

โดยทั่วไปแล้ว การกำหนดธงอย่างอื่นที่ความหมายถึงชาติของประเทศต่างๆ ล้วนมีการดัดแปลงลักษณะมาจากธงชาติเกือบธงหมด เช่น ธงราชนาวีของกองทัพเรือไทย ซึ่งตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 นับเป็นธงที่มีความหมายถึงชาติเช่นเดียวกับธงชาติไทย มีลักษณะเป็นธงไตรรงค์ ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือก ทรงเครื่องยืนแท่นมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นอยู่ตรงกลางในวงกลมสีแดง ปลายขอบวงกลมสีแดงนั้นจดกับขอบแถบสีแดงพอดีทั้งสองด้าน ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการของกองทัพเรือไทยนั้น ถือว่าธงนี้พัฒนามาจากธงแดงและธงเรือหลวงของสยามในสมัยต่างๆ ก่อนที่จะมีลักษณะที่แตกต่างจากธงชาติไปเล็กน้อยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2434 เป็นต้นมา แบบธงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้กำหนดให้ใช้พร้อมกับธงไตรงค์ซึ่งเป็นธงชาติเมื่อ พ.ศ. 2460[13] แม้ธงฉาน ซึ่งเป็นธงในราชการทหารที่ใช้สำหรับชักที่หัวเรือรบและใช้เป็นเครื่องหมายของเรือพระที่นั่งและเรือหลวง ก็มีพื้นเป็นธงไตรรงค์เช่นกัน แต่ว่าได้เพิ่มตราสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นเครื่องหมายราชการของกองทัพเรือไว้ เพื่อให้ต่างจากธงชาติอย่างชัดเจน[13]

ธงของทหารอีกอย่างหนึ่งซึ่งทหารทุกคนถือว่าเป็นธงที่สำคัญยิ่ง และเป็นธงที่จะต้องรักษาเอาไว้ด้วยชีวิต คือ ธงชัยเฉลิมพล ธงนี้เป็นธงประจำกองทหาร ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้เชิญไปในพิธีการสำคัญทางทหารที่เป็นเกียรติยศของชาติ และเชิญออกไปกับหน่วยทหารในยามทำสงครามทุกครั้ง[27] ลักษณะโดยรวมนั้นเป็นรูปธงไตรรงค์สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ขึ้นอยู่กับลักษณะที่กำหนดไว้โดยละเอียดในพระราชบัญญัติธง และกฎกระทรวงตามกฎหมายดังกล่าว) แต่ตรงกลางมีรูปเครื่องหมายประจำกองทัพที่สังกัดและจารึกชื่อของหน่วยทหารไว้ ที่บริเวณมุมธงชัยเฉลิมพลของทุกหน่วย (ยกเว้นธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารเรือ) มีเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อเปล่งรัศมีสีฟ้า และเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานธงภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ส่วนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จะใช้ธงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งกำหนดขึ้นเป็นธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์โดยเฉพาะ[3]

ธงที่คล้ายคลึงกัน

ธงชาติคอสตาริกา สัดส่วนธง 3:5

ธงชาติคอสตาริกา นับได้ว่าเป็นธงชาติของประเทศอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับธงชาติไทยมากที่สุด กล่าวคือ เป็นธงสามสี ห้าแถบ แถบกลางกว้างเป็นสองเท่าของแถบอื่นเหมือนกัน และใช้โทนสีแดง-ขาว-น้ำเงินเหมือนกัน ต่างกันตรงที่สัดส่วนธงเป็น 3:5 และการวางตำแหน่งแถบสีธงนั้นสลับเอาสีแดงมาอยู่ตรงกลาง ส่วนสีน้ำเงินอยู่แถบนอกสุด หากเป็นธงสำหรับราชการจะเพิ่มเครื่องหมายตราแผ่นดินลงในธงชาติไว้ด้วย

อ้างอิง

  1. อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น พระราชกรณียกิจส าคัญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๖ องค์การค้าคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, ๒๕๑๒ เรื่อง "เหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนธงชาติ".
  2. ฉวีงาม มาเจริญ. ธงไทย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๒๐.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๕๒๒, เล่ม ๙๖, ตอน ๑๑ ก ฉบับพิเศษ, ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒, หน้า ๑
  4. พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ชัชชวลิต เกษมสันต์ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๑๗ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๑๗ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
  5. พระราชนิพนธ์เครื่องหมายแห่งไตรรงค์ ในรัชกาลที่ 6
  6. ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม, การเมืองในประวัติศาสตร์ธงชาติไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2546. หน้า 96
  7. ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม, เรื่องเดียวกัน. หน้า 101.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 อธิบายเรื่องธงไทย ในพระนิพนธ์ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 ธงชาติไทย จากฐานข้อมูลรักบ้านเกิด (คัดลอกจาก ฉวีงาม มาเจริญ. ธงไทย. กรุงเทพมหานคร : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2520.)
  10. 10.0 10.1 10.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๖, เล่ม ๑๔, ตอน ๒, ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า ๒๙
  11. 11.0 11.1 11.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๙, ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๕๔๑
  12. Volker Preuß. "historische Thai Flaggen" (ภาษาGerman). สืบค้นเมื่อ 2003-09-05. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 13.2 ธงราชนาวีและธงที่ใช้ในกองทัพเรือ (พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ)
  14. 14.0 14.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐, เล่ม ๓๔, ตอน ๐ก, ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐, หน้า ๔๓๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, บรรทึกเรื่องธงชาติ, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๒๗๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชวินิจฉัยเรื่องธงชาติ, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๖๐๗
  17. 17.0 17.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙, เล่ม ๕๓, ตอน ๐ก, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙, หน้า ๘๖๕
  18. Roberto Breschi. "Siam Bandiera mercantile 1839" (ภาษาItalian). สืบค้นเมื่อ 2004-09-25. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๑๐, เล่ม ๑๒, ตอน ๑๘, ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๘, หน้า ๑๓๙ (ดูภาพธงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ที่เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ธงสยาม)
  20. 20.0 20.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ก, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๑๗๖
  21. 21.0 21.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ พุทธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๓๘ (พระบรมราชโองการนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2459 ซึ่งถ้านับตามปฏิทินปัจจุบันแล้วจะตรงกับ พ.ศ. 2460)
  22. ระเบียบว่าด้วยการชักธงชาติ (เว็บไซต์กระทรวงวัฒนธรรม)
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 รวมข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ
  24. สารคดีพิเศษ: ธ. ธง คนนิยมโดย ศรัณย์ ทองปาน ใน นิตยสารสารคดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 263 ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2550
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑ข, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
  26. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547
  27. ธงชัยเฉลิมพล (หอมรดกไทย กระทรวงกลาโหม)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น