ข้ามไปเนื้อหา

แคริบเบียน

พิกัด: 14°31′32″N 75°49′06″W / 14.52556°N 75.81833°W / 14.52556; -75.81833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

14°31′32″N 75°49′06″W / 14.52556°N 75.81833°W / 14.52556; -75.81833

แคริบเบียน
พื้นที่239,681 ตารางกิโลเมตร (92,541 ตารางไมล์)
ประชากร43,601,839[1]
ความหนาแน่น151.5 ต่อตารางกิโลเมตร (392 ต่อตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์แอฟริกัน, ละติโนหรือฮิสแปนิก (สเปน, โปรตุเกส, เมสติโซ, มูแลตโต, พารโด และซัมโบ), อินเดีย, ยุโรป, จีน, ยิว, อาหรับ, ชาวอเมรินเดีย, ชวา,[2] ม้ง, หลายเชื้อชาติ
ศาสนาคริสต์, ฮินดู, อิสลาม, กลุ่มศาสนาแอโฟร-อเมริกัน, ศาสนาพื้นเมืองแอฟริกัน, ราสตาฟารี, ศาสนาพื้นเมืองอเมริกัน, ยูดาห์, พุทธ, ศาสนาพื้นบ้านจีน (รวมลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ), บาไฮ, เกอบาตีนัน, ซิกข์, ไม่มีศาสนา, อื่น ๆ
เดมะนิมชาวแคริบเบียน, ชาวหมู่เกาะเวสต์อินดีส
ประเทศ13-16
ดินแดน12
ภาษา
เขตเวลาUTC−05:00 ถึง UTC−04:00
โดเมนระดับบนสุดหลายแบบ
รหัสโทรศัพท์หลายแบบ
เมืองใหญ่
รหัส UN M49029 – แคริบเบียน
419 – ละตินอเมริกาและแคริบเบียน
019ทวีปอเมริกา
001โลก

แคริบเบียน (อังกฤษ: The Caribbean; สเปน: el Caribe; ฝรั่งเศส: les Caraïbes; ครีโอลเฮติ: Karayib; ดัตช์: de Caraïben) เป็นอนุภูมิภาคของทวีปอเมริกาที่ประกอบด้วยหมู่เกาะหลายกลุ่ม เช่นเกาะที่อยู่ในทะเลแคริบเบียน[3] รวมถึงบางเกาะอยู่ในทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ)[4] และรวมพื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียงบนแผ่นดินใหญ่ ภูมิภาคมีพิกัดตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ทิศใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ อยู่ทางตะวันออกของทวีปอเมริกากลาง และทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้

ภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นแคริบเบียน และมี เกาะขนาดเล็ก พืดหินใต้น้ำ และเกาะปริ่มน้ำ รวมกันประมาณมากกว่า 700 เกาะ นอกจากนี้ยังมีหมู่เกาะรูปโค้งกลุ่มใหญ่ด้านเหนือและด้านตะวันออกของทะเลแคริบเบียน[5] โดยทางด้านเหนือมี หมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีส กับ หมู่เกาะลูกายัน (ซึ่งประกอบไปด้วยบาฮามาสและหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส) ที่อยู่ทางเหนือขึ้นไปใกล้กับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางด้านตะวันออกและทิศใต้มีหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส เกาะทั้งหมดมีอีกชื่อว่าเวสต์อินดีส ซึ่งมีความหมายเหมือนกับคำว่า ภูมิภาคแคริบเบียน

ในทางภูมิรัฐศาสตร์ เกาะในแคริบเบียนนับว่าเป็นอนุภูมิภาคของทวีปอเมริกาเหนือ แม้ว่าบางครั้งถือว่าอยู่กับทวีปอเมริกาตอนกลาง หรือเป็นอนุภูมิภาคของตนเอง[6][7] ปัจจุบันในทางภูมิรัฐศาสตร์แคริบเบียนมี 33 หน่วยการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น 13 รัฐเอกราช, 12 ดินแดน, 1 ดินแดนพิพาท และ 7 ดินแดนโพ้นทะเลอื่น ๆ ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1954 ถึง 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เคยมีดินแดนที่มีชื่อว่าเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ซึ่งประกอบด้วย 5 เกาะที่ทั้งหมดเคยเป็นดินแดนของดัตช์[8] และในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1958 ถึง 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 ก็มีสหภาพทางการเมืองที่อยู่ได้ไม่นานชื่อสหพันธรัฐอินเดียตะวันตกที่ประกอบด้วยดินแดนแคริบเบียนที่พูดภาษาอังกฤษ 10 เกาะ ซึ่งทั้งหมดเคยอยู่ในภาวะพึ่งพิงต่อสหราชอาณาจักร

รายชื่อประเทศและดินแดน

[แก้]
ธงชาติ ประเทศหรือดินแดน[9][10] อำนาจอธิปไตย สถานะ พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)[11]
ประชากร
(ประมาณ พ.ศ. 2560)[1]
ความหนาแน่น
(คนต่อตารางกิโลเมตร)
เมืองหลวง
แองกวิลลา แองกวิลลา สหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน 91 14,764 164.8 เดอะแวลลีย์
แอนทีกาและบาร์บิวดา แอนทีกาและบาร์บิวดา อิสระ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 442 100,963 199.1 เซนต์จอนส์
อารูบา อารูบา ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ส่วนประกอบของราชอาณาจักร 180 104,822 594.4 โอรันเยสตัด
ประเทศบาฮามาส บาฮามาส[12] อิสระ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 13,943 391,232 24.5 แนสซอ
บาร์เบโดส บาร์เบโดส อิสระ สาธารณรัฐ 430 287,025 595.3 บริดจ์ทาวน์
โบแนเรอ โบแนเรอ เนเธอร์แลนด์ เทศบาลพิเศษ 294 20,104[13] 41.1 กราเลินไดก์
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน สหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน 151 30,661 152.3 โรดทาวน์
หมู่เกาะเคย์แมน หมู่เกาะเคย์แมน สหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน 264 60,765 212.1 จอร์จทาวน์
คิวบา คิวบา อิสระ สาธารณรัฐ 109,886 11,475,982 102.0 อาบานา
กูราเซา กูราเซา ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ส่วนประกอบของราชอาณาจักร 444 159,371 317.1 วิลเลมสตัด
ดอมินีกา ดอมินีกา อิสระ สาธารณรัฐ 751 73,543 89.2 โรโซ
สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐโดมินิกัน อิสระ สาธารณรัฐ 48,671 10,648,791 207.3 ซานโตโดมิงโก
เฟเดอรัลดีเพนเดนซีส์ของเวเนซุเอลา เฟเดอรัลดีเพนเดนซีส์ของเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา ดินแดน 342 2,155 6.3 กรัน โรเก
กรีเนดา กรีนาดา อิสระ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 344 107,317 302.3 เซนต์จอร์เจส
กัวเดอลุป กัวเดอลุป ฝรั่งเศส จังหวัดและแคว้นโพ้นทะเลของฝรั่งเศส 1,628 449,975 246.7 บัส-แตร์
เฮติ เฮติ อิสระ สาธารณรัฐ 27,750 10,847,334 361.5 ปอร์โตแปรงซ์
จาเมกา จาเมกา อิสระ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 10,991 2,881,355 247.4 คิงส์ตัน
มาร์ตีนิก มาร์ตีนิก ฝรั่งเศส จังหวัดโพ้นทะเล 1,128 385,103 352.6 ฟอร์-เดอ-ฟร็องส์
มอนต์เซอร์รัต มอนต์เซอร์รัต สหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน 102 5,152 58.8 พลิมัท (เบรดส์)[14]
เกาะนาแวสซา สหรัฐ/เฮติ ดินแดน (ไม่มีผู้อยู่อาศัย) 5 0 0.0 ไม่มี
รัฐนวยบาเอสปาร์ตา นวยบาเอสปาร์ตา เวเนซุเอลา รัฐ 1,151 491,610 ลา อซุนซิอน
ปวยร์โตรีโก ปวยร์โตรีโก สหรัฐ เครือรัฐ 8,870 3,667,903 448.9 ซานฮวน
ซาบา ซาบา เนเธอร์แลนด์ เทศบาลพิเศษ 13 1,537[13] 118.2 เดอะ บัทเทิม
จังหวัดซันอันเดรสและโปรบีเดนเซีย ซันอันเดรสและโปรบีเดนเซีย โคลอมเบีย จังหวัด 52.5 75,167 1431 ซันอันเดรส
แซงบาร์เตเลมี แซ็ง-บาร์เตเลมี ฝรั่งเศส อาณานิคมโพ้นทะเล 21 7,448 354.7 กุสตาวียา
เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์คิตส์และเนวิส อิสระ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 261 54,821 199.2 บาสแตร์
เซนต์ลูเชีย เซนต์ลูเซีย อิสระ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 539 178,015 319.1 แคสตรีส์
แซ็ง-มาร์แต็ง แซ็ง-มาร์แต็ง ฝรั่งเศส อาณานิคมโพ้นทะเล 54 29,820 552.2 มารีโก
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ อิสระ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 389 109,643 280.2 คิงส์ทาวน์
ซินต์เอิสตาซียึส ซินต์เอิสตาซียึส เนเธอร์แลนด์ เทศบาลพิเศษ 21 2,739[13] 130.4 โอรันเยสตัด
ซินต์มาร์เติน ซินต์มาร์เติน ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ส่วนประกอบของราชอาณาจักร 34 39,537 1176.7 ฟิลิปส์บืร์ค
ตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก อิสระ สาธารณรัฐ 5,130 1,364,962 261.0 พอร์ตออฟสเปน
หมู่เกาะเติกส์และเคคอส หมู่เกาะเติกส์และเคคอส[15] สหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน 948 34,900 34.8 โคเบิร์นทาวน์
หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ สหรัฐ ดินแดน 347 104,913 317.0 ชาร์ลอตต์อะมาลี
รวม 235,667 44,636,789 189.4

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. McWhorter, John H. (2005). Defining Creole. Oxford University Press US. p. 379. ISBN 978-0-19-516670-5.
  3. Engerman, Stanley L. (2000). "A Population History of the Caribbean". ใน Haines, Michael R.; Steckel, Richard Hall (บ.ก.). A Population History of North America. Cambridge University Press. pp. 483–528. ISBN 978-0-521-49666-7. OCLC 41118518.
  4. Hillman, Richard S.; D'Agostino, Thomas J., บ.ก. (2003). Understanding the contemporary Caribbean. London, UK: Lynne Rienner. ISBN 978-1588266637. OCLC 300280211.
  5. Asann, Ridvan (2007). A Brief History of the Caribbean (Revised ed.). New York: Facts on File, Inc. p. 3. ISBN 978-0-8160-3811-4.
  6. "North America" เก็บถาวร 2015-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Britannica Concise Encyclopedia; "... associated with the continent is Greenland, the largest island in the world, and such offshore groups as the Arctic Archipelago, the Bahamas, the Greater and Lesser Antilles, the Queen Charlotte Islands, and the Aleutian Islands," but also "North America is bounded ... on the south by the Caribbean Sea," and "according to some authorities, North America begins not at the Isthmus of Panama but at the narrows of Tehuantepec."
  7. The World: Geographic Overview, The World Factbook, Central Intelligence Agency; "North America is commonly understood to include the island of Greenland, the isles of the Caribbean, and to extend south all the way to the Isthmus of Panama."
  8. The Netherlands Antilles: The joy of six, The Economist Magazine, April 29, 2010
  9. "SPP Background". CommerceConnect.gov. Security and Prosperity Partnership of North America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2008. สืบค้นเมื่อ 14 November 2010.
  10. "Ecoregions of North America". United States Environmental Protection Agency. สืบค้นเมื่อ 30 May 2011.
  11. ตัวเลขพื้นที่นำมาจาก "Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density" (PDF). Demographic Yearbook. United Nations Statistics Division. 2008. สืบค้นเมื่อ 14 October 2010. เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
  12. เนื่องจากกลุ่มเกาะลูกายันอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกมากกว่าทะเลแคริบเบียน ทำให้ประเทศบาฮามาสเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์อินดีส แต่โดยเทคนิคแล้วไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทะเลแคริบเบียน แม้ว่าองค์การสหประชาชาติจะจัดให้อยู่ในทะเลแคริบเบียนก็ตาม
  13. 13.0 13.1 13.2 Population estimates are taken from the Central Bureau of Statistics Netherlands Antilles. "Statistical information: Population". Government of the Netherlands Antilles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2010. สืบค้นเมื่อ 14 October 2010.
  14. เนื่องด้วยเนินภูเขาไฟ Soufriere ยังคงครุกครุ่นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1995 ทำให้พื้นที่พลิมัทส่วนมากถูกทำลาย และย้ายสำนักงานรัฐบาลไปที่เบรดส์ ส่วนพลิมัทยังคงเป็นเมืองหลวงโดยนิตินัย
  15. เนื่องจากกลุ่มเกาะลูกายันอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกมากกว่าทะเลแคริบเบียน ทำให้หมู่เกาะเติกส์และเคคอสเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์อินดีส แต่โดยเทคนิคแล้วไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทะเลแคริบเบียน แม้ว่าองค์การสหประชาชาติจะจัดให้อยู่ในทะเลแคริบเบียนก็ตาม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]