ข้ามไปเนื้อหา

ภูมิรัฐศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภูมิรัฐศาสตร์ (อังกฤษ: geopolitics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางภูมิศาสตร์ (มนุษย์และกายภาพ) ที่มีต่อการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[1][2] แม้ว่าภูมิรัฐศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศและความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็อาจมุ่งเน้นถึงสถานะอื่น ๆ ของรัฐอีกสองชนิด คือ รัฐอิสระโดยพฤตินัยซึ่งได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งเขตภูมิศาสตร์ระดับชาติ เช่น รัฐรวมอันเกิดจากการใช้ระบอบสหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ หรือกึ่งสหพันธรัฐ

ในระดับของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิรัฐศาสตร์เป็นวิธีการในการศึกษานโยบายต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจ อธิบาย และคาดการณ์พฤติกรรมการเมืองระหว่างประเทศจากตัวแปรทางภูมิศาสตร์ ซึ่งรวมถึงภูมิภาคศึกษา ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ประชากรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ของการประเมินในระดับภูมิภาค[3]

ภูมิรัฐศาสตร์มุ่งเน้นถึงอำนาจการเมืองในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะอาณาเขตทางน้ำและทางบกภายใต้ความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์การทูต ในทางวิชาการภูมิรัฐศาสตร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยอ้างถึงภูมิศาสตร์ภายใต้ความสัมพันธ์ทางการเมือง มีกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลายนอกเหนือจากทางวิชาการที่แสดงถึงการคาดการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงกลุ่มไม่แสวงหาผลกำไรและสถาบันเอกชนที่แสวงหาผลกำไร (เช่น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์[4] และบริษัทที่ปรึกษา[5]) หัวข้อของภูมิรัฐศาสตร์ประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์ของตัวกระทำการทางการเมืองระหว่างประเทศและผลประโยชน์ที่มุ่งเน้นถึงเนื้อที่ พื้นที่ หรือองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับการสร้างระบบภูมิรัฐศาสตร์[6] "ภูมิรัฐศาสตร์เชิงวิพากษ์" โจมตีทฤษฎีคลาสสิกทางภูมิรัฐศาสตร์โดยสะท้อนบทบาททางการเมืองหรือแนวคิดเพื่อมหาอำนาจในช่วงยุคและหลังยุคของจักรวรรดินิยม[7]

คริสโตเฟอร์ ก็อกวิลต์ (Christopher Gogwilt) และนักวิจัยอื่น ๆ ได้ใช้คำว่าภูมิรัฐศาสตร์เพื่ออธิบายภาพกว้าง ๆ ของแนวคิด โดยทั่วไปหมายถึง "คำพ้องของความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ" โดยเฉพาะ "เพื่อบ่งบอกถึงโครงสร้างระดับโลกของความสัมพันธ์ดังกล่าว" ซึ่งสร้างขึ้นใน "ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สำหรับวิทยาศาสตร์เทียมของภูมิศาสตร์การเมือง" และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เทียมอื่น ๆ ของนิยัตินิยมทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์[8][9][10]

การแข่งขันด้านทรัพยากรน้ำมันและแก๊สระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในจุดสนใจหลักของวรรณกรรมทางภูมิรัฐศาสตร์ในช่วงหลังสงครามโลกเป็นต้นไป[2] ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 เกิดแขนงใหม่ทางภูมิรัฐศาสตร์ขึ้นโดยมุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน[11]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Devetak et al. (eds), An Introduction to International Relations, 2012, p. 492.
  2. 2.0 2.1 Overland, Indra (2015). "Future Petroleum Geopolitics: Consequences of Climate Policy and Unconventional Oil and Gas". researchgate.net: 3517–3544. doi:10.1002/9781118991978.hces203 – โดยทาง Researchgate.
  3. Evans, G & Newnham, J., (1998), "The Penguin Dictionary of International relations", Penguin Books, London, UK. ISBN 0-14-051397-3
  4. Fidelity. "2015 Stock Market Outlook", a sample outlook report by a brokerage house.
  5. McKinsey Insights & Publications. "Insights & Publications".
  6. Vladimir Toncea, 2006, "Geopolitical evolution of borders in Danube Basin"
  7. Mehmet Akif Okur, "Classical Texts Of the Geopolitics and the "Heart Of Eurasia", Journal of Turkish World Studies, XIV/2, pp.76-90 https://www.academia.edu/10035574/CLASSICAL_TEXTS_OF_THE_GEOPOLITICS_AND_THE_HEART_OF_EURASIA_Jeopoliti%C4%9Fin_Klasik_Metinleri_ve_Avrasya_n%C4%B1n_Kalbi_ http://tdid.ege.edu.tr/files/dergi_14_2/mehmet_akif_okur.pdf
  8. Gogwilt, Christopher (2000). The Fiction of Geopolitics. Stanford University Press. p. 1. ISBN 978-0804737319. สืบค้นเมื่อ 2016-02-24.
  9. Jason Dittmer, Jo Shar (2014). Geopolitics: An Introductory Reader. Routledge. p. 64.
  10. Deudney, Daniel. "Geopolitics as Theory: Historical Security Materialism" (PDF).
  11. Overland, Indra; O'Sullivan, Meghan; Sandalow, David; Vakulchuk, Roman; Lemphers, Nathan; Begg, Harry; Behrens, Arno; Bhatiya, Neil; Clark, Alex (2017-06-30). The Geopolitics of Renewable Energy. Harvard University.{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Amineh, Parvizi M.; Houweling, Henk. Central Eurasia in Global Politics. London: Brill Academic Publishing. Introduction; Chapter 11.
  • Ankerl, Guy (2000). Global communication without universal civilization. INU societal research. Vol. 1. Geneva: INU Press. ISBN 2-88155-004-5.
  • Devetak, Richard; Burke, Anthony; George, Jim, บ.ก. (2011). An Introduction to International Relations. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-60000-3.
  • Diamond, Jared (1997). Guns, Germs, and Steel.
  • Kovacevic, Filip (2014). Teoreti?ari klasi?ne geopolitike: ciklus predavanja. Podgorica: Centar za gradjansko obrazovanje. ISBN 978-86-85591-43-3.
  • Munoz, J. Mark (2013). Handbook on the Geopolitics of Business. Edward Elgar Publishing : UK. ISBN 9780857939746
  • O'Loughlin, John; Heske, Henning (1991). Kliot, N; Waterman, S (บ.ก.). From War to a Discipline for Peace. The Political Geography of Conflict and Peace. London: Belhaven Press.
  • Spang, Christian W. (2006). Spang, C. W.; Wippich, R.H. (บ.ก.). Karl Hausofer Re-examined: Geopolitics As a Factor within Japanese-German Rapprochement in the Inter-War Years?. Japanese-German Relations, 1895–1945: War, Diplomacy and Public Opinion. London. pp. 139–157.
  • Spang, Christian W. (2013). Karl Haushofer und Japan. Die Rezeption seiner geopolitischen Theorien in der deutschen und japanischen Politik. Munich: Iudicium. ISBN 978-3-86205-040-6.
  • Venier, Pascal (2010), "Main Theoretical Currents in Geopolitical Thought in the Twentieth Century", L'Espace Politique, vol. 12, no 3, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]