อำเภอท่าหลวง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอท่าหลวง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Tha Luang |
คำขวัญ: ท่าหลวงนามกระเดื่อง แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกวังก้านเหลือง ลือเลื่องป่าจำปีสินธร นครโบราณซับจำปา | |
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอท่าหลวง | |
พิกัด: 15°4′6″N 101°6′25″E / 15.06833°N 101.10694°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 538.9 ตร.กม. (208.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 29,533 คน |
• ความหนาแน่น | 54.80 คน/ตร.กม. (141.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 15230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1607 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอท่าหลวง หมู่ที่ 4 ถนนชัยบาดาล-ด่านขุนทด ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี 15230 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ท่าหลวง เป็นอำเภอตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดลพบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอท่าหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอชัยบาดาล
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอชัยบาดาล อำเภอลำสนธิ และอำเภอมวกเหล็ก (จังหวัดสระบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอมวกเหล็ก (จังหวัดสระบุรี) และอำเภอพัฒนานิคม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพัฒนานิคมและอำเภอชัยบาดาล
ประวัติศาสตร์
[แก้]สำหรับที่มาของชื่ออำเภอคาดว่าเกิดจาก เมื่อหลายสิบปีก่อน บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าไม้หนาทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้คนจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักจะข้ามมาล่าสัตว์และตัดฟืนเป็นประจำ และโดยที่บริเวณป่าทึบเป็นเขตป่าสงวน ชาวบ้านจึงมักเรียกว่า "ป่าหลวง" หมายถึงเป็นป่าของหลวงที่สงวนไว้ ประกอบกับชาวบ้านที่ข้ามมาจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักต้องอาศัยเรือแพข้ามมา บริเวณที่ชาวบ้านใช้เรือแพข้ามมาเป็นประจำจึงกลายเป็นท่าข้ามเรือของชาวบ้านไปในที่สุด ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านในปัจจุบัน จึงเรียกสถานที่นี้ว่า "ท่าหลวง"
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ได้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้นที่บ้านท่าหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าหลวง โดยเกิดจากการรวมตัวของ 4 ตำบลคือ ต.ท่าหลวง ต.ซับจำปา ต.หนองผักแว่น และ ต.แก่งผักกูด[1] และได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะ กิ่งอำเภอท่าหลวง ขึ้นเป็น อำเภอท่าหลวง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2532[2] โดยแยก 6 ตำบลออกจากอำเภอชัยบาดาล เนื่องจากพื้นที่ของอำเภอชัยบาดาลเดิมนั้นกว้างขวางมาก ทำให้ทางราชการดูแลได้ไม่ทั่วถึง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอท่าหลวงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ท่าหลวง | (Tha Luang) | 9 หมู่บ้าน | ||||
2. | แก่งผักกูด | (Kaeng Phak Kut) | 8 หมู่บ้าน | ||||
3. | ซับจำปา | (Sap Champa) | 7 หมู่บ้าน | ||||
4. | หนองผักแว่น | (Nong Phak Waen) | 8 หมู่บ้าน | ||||
5. | ทะเลวังวัด | (Thale Wang Wat) | 5 หมู่บ้าน | ||||
6. | หัวลำ | (Hua Lam) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอท่าหลวงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ้านท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าหลวง
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านท่าหลวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งผักกูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งผักกูดและตำบลทะเลวังวัดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับจำปาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองผักแว่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองผักแว่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวลำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวลำทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
[แก้]อาชีพหลัก
[แก้]ประชาชนนิยมทำการเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 154,368 ไร่หรือประมาณร้อยละ 65 ของพื้นที่ทั้งหมด
- พืชเศรษฐกิจ : อ้อย มันสำปะหลัง ใบยาสูบ ข้าวโพด พริก ถั่วเหลือง เป็นต้น
- สัตว์เศรษฐกิจ : ไก่ เป็ด โค สุกร การประมง เป็นต้น
อาชีพเสริมอื่นๆ
[แก้]ได้แก่ ค้าขาย รับจ้าง รับข้าราชการในท้องถิ่น เป็นต้น
ธนาคาร
[แก้]- ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งอยู่ที่ 281 หมู่ 4 ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง
ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อและตลาด
[แก้]- ห้างเอกภาพซูเปอร์ สาขา ท่าหลวง ตั้งอยู่ที่ 394 หมู่ 9 ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง
- เซเว่นอีเลฟเว่น สาขา ท่าหลวง ตั้งอยู่ที่ 116 หมู่ 9 ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง
- ตลาดสดผดุงกลิ่น ตั้งอยู่ที่ หมู่ 9 ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง
โรงงานอุตสาหกรรม
[แก้]- โรงงานน้ำตาล ทีเอ็นฯ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ต.แก่งผักกูด อ.ท่าหลวง
- โรงงานกระดาษวังเปเปอร์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ต.แก่งผักกูด อ.ท่าหลวง
ปั้มน้ำมัน
[แก้]- ปั้มน้ำมัน PT สาขา ท่าหลวง 1 ตั้งอยู่ที่ บ.บ่อคู่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง
- ปั้มน้ำมัน PT สาขา ท่าหลวง 2 ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง
- สถานีบริการน้ำมันห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรเกื้อกูลออยส์ ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง
สังคม
[แก้]โรงเรียน
[แก้]- ต.ท่าหลวง : โรงเรียนอนุบาลท่าหลวง ,โรงเรียนนารายณ์วิทยาท่าหลวง ,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านท่าหลวง ,โรงเรียนบ้านท่าหลวง ,โรงเรียนบ้านบ่อคู่ ,โรงเรียนบ้านท่าตะโก, วิทยาลัยเทคโนโลยีและการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
- ต.แก่งผักกูด : โรงเรียนบ้านท่ากรวด ,โรงเรียนบ้านเนินทอง
- ต.ทะเลวังวัด : โรงเรียนบ้านทะเลวังวัด
- ต.หนองผักแว่น : โรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง ,โรงเรียนบ้านหนองประดู่ ,โรงเรียนบ้านหนองน้ำใส
- ต.หัวลำ : โรงเรียนทรัพย์ราษฎร์บำรุง ,โรงเรียนบ้านหัวลำ
- ต.ซับจำปา : โรงเรียนบ้านโป่งสวองคีรีวรรณ์ ,โรงเรียนบ้านซับจำปา ,โรงเรียนบ้านคลองกุ่ม ,โรงเรียนบ้านทุ่งดินแดง ,โรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ ,โรงเรียนท่าหลวงวิทยาคม
โรงพยาบาล และสถานีอนามัย
[แก้]- โรงพยาบาลท่าหลวง ต.ท่าหลวง
- สถานีอนามัยหนองผักแว่น ต.หนองผักแว่น
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.แก่งผักกูด
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.ทะเลวังวัด
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.ซับจำปา
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.หัวลำ
สถานีตำรวจ
[แก้]มีสถานีตำรวจภูธรประจำอ.ท่าหลวง ตั้งอยู่ที่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 ต.ท่าหลวง อ.ท่าหลวง และมีป้อมตำรวจชุมชนกระจายอยู่ตามสี่แยกขนาดใหญ่ต่างๆ
วัด
[แก้]- ต.ท่าหลวง : วัดท่าหลวง วัดพุพะเนียง วัดลพบุรีวราราม วัดศรีสง่าเจริญพร วัดใหม่เทพมงคล(บ่อคู่) วัดสะพานน้ำโจน
- ต.แก่งผักกูด : วัดสุทธาวาส(ท่ากรวด) วัดศิริธรรมโสภณ วัดปีกธรรม วัดเนินทองวราราม
- ต.หนองผักแว่น : วัดหนองผักแว่น วัดหนองหัวช้าง วัดใหม่หนองขาม วัดหนองน้ำใส วัดหนองกระสังข์ วัดลำพญาไม้
- ต.หัวลำ : วัดซับยางราษฎร์บำรุง วัดใหม่ซับราษฎร์บำรุง วัดซับน้อยสามัคคี
- ต.ซับจำปา : วัดซับเจริญ วัดซับลำใย วัดซับจำปา วัดโป่งสวองคีรีวรรณ์
- ต.ทะเลวังวัด : วัดทะเลวังวัด
ถนน
[แก้]มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 และ หมายเลข 2089 ตัดผ่านเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางเข้าออกตัวอำเภอ
แหล่งน้ำสำคัญ
[แก้]ได้แก่ แม่น้ำป่าสัก เขื่อนป่าสัก คลองพญาไม้ คลองกุ่ม ทะเลวัด เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
[แก้]น้ำตกวังก้านเหลือง
[แก้]เป็นน้ำตกแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรีที่มีความแตกต่างจากน้ำตกทั่วไปอย่างมาก เพราะน้ำตกโดยทั่วไปต้นน้ำจะอยู่บนภูเขาสูง แต่ของที่นี่กลับมีตาน้ำขนาดใหญ่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากบริเวณน้ำตกประมาณ 1.5 กิโลเมตร โดยธารน้ำตกจะไหลคดเคี้ยวลัดเลาะมาตามทางที่ลาด เป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วก็จะมารวมตัวกันที่อ่างน้ำนามว่า 'วังหว้าง' ซึ่งมีสันหินปูนขวางกั้นอยู่
จากนั้นสายน้ำที่เอ่อมาจากต้นน้ำก็จะไหลลงไปปะทะกับหินผา ทำให้เกิดเป็นน้ำตกกว้างกว่า 20 เมตร ลดหลั่นกันไปเป็นชั้นๆ นับได้ไม่ต่ำกว่า 10 ชั้น เกิดเป็นภาพสวยงามตระการตา โดยน้ำจะไหลเป็นทางยาวกว่า 3 กิโลเมตรแล้วไปบรรจบกันที่แม่น้ำป่าสัก นอกจากนี้บริเวณรอบๆ ก็มีความร่มรื่นจากต้นไม้น้อยใหญ่ที่ขึ้นปกคลุม และยังพบหินงอก หินย้อย เกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งหินบริเวณน้ำตกจะมีลักษณะพิเศษคือไม่ลื่น สามารถเดินผ่านไปมาได้สะดวก และอีกความน่าสนใจของน้ำตกแห่งนี้คือมีน้ำไหลแรงตลอดทั้งปี[3]
นอกจากนี้ภายในน้ำตกยังมีสะพานแขวนทอดยาวผ่านน้ำตก เป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในจังหวัดลพบุรี ด้วยความยาวถึง 66 เมตร สำหรับใช้เป็นทางเดินข้ามน้ำตกระหว่างฝั่งอำเภอชัยบาดาลกับอำเภอท่าหลวง สะพานแขวนเป็นอีกหนึ่งสถานที่ถ่ายภาพที่สวยงามและเป็นที่นิยมในการแวะเที่ยวของน้ำตกวังก้านเหลือง และภายในน้ำตกยังมีร้านค้า ร้านอาหารต่างๆอีกมากมายที่พร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ด้วย[4]
เมืองโบราณซับจำปา
[แก้]เมืองโบราณซับจำปา เป็นเมืองโบราณยุคทวารวดี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของป่าจำปีสิรินธร จากร่องรอยคูน้ำคันดินและหลักฐานโบราณวัตถุที่พบทั่วไป ในแถบอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ถือว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งของยุคทวารวดี และสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองโบราณ คือ ป่าจำปีสิรินธร จำปีสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พบเฉพาะในพื้นที่นี้เท่านั้น[5]
ลักษณะรูปร่างเมืองโบราณซับจำปา เป็นมีคูน้ำกว้างลึก และมีคันดินกำแพงสูงล้อมรอบเมือง ผังเมืองเป็นรูป "วงกลมรีคล้ายรูปหัวใจ" เมืองชนิดไม่มีรูปแบบหรือเป็นรูปอิสระ วัดขนาดความกว้างจากทิศเหนือไปทิศใต้ 834 เมตร จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกประมาณ 704 เมตร เมืองนี้มีกำแพงดินสูง 2 ชั้น มีคูเมืองลึก ตรงกลางกำแพงเป็นดินอัดแน่นสูงประมาณ 10 เมตร จากพื้นคูเมือง คูเมืองกว้างประมาณ 16 เมตร ภายในเมืองมีเนินดิน 3 เนินมีเศษอิฐซึ่งเข้าใจว่าเป็นซากโบราณสถาน นอกเมืองมีสระน้ำ 1 สระ
สิ่งที่พบเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุกว่า 3,000 ปี ได้แก่ กำไลหิน แกนกำไลทำด้วยหินมาร์ล เศษภาชนะดินเผา และของยุคสมัยทวารวดีได้แก่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูป ประติมากรรมรูปกวางหมอบ ชิ้นส่วนธรรมจักร ตุ๊กตาดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับที่เป็นโลหะสัมฤทธิ์ จารึก 5 ชิ้น เส้นทางเข้าสู่เมืองซับจำปา ฯลฯ[6]
ป่าจำปีสิรินธร
[แก้]ป่าจำปีสิรินธร อยู่ในความดูแลโดยกรมป่าไม้และจัดให้ ป่าจำปีสิรินธร แห่งนี้เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ โดยสร้างทางเดินแบบ คอนกรีตยกพื้น ความยาวกว่า 1,200 เมตร ตลอดทางเดินจะพบกับต้น จำปีขนาดใหญ่ จะมีจุดต่างๆ ประมาณ 12 จุด ที่จะให้ความรู้ควบคู่กันไป
จำปีสิรินธร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Magnolia sirindhorniae Noot & Chalermglin) เป็นพรรณไม้จำปี ที่มีอยู่แห่งเดียวในโลกพบได้ที่ป่าพุชุมชน ต.ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ค้นพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น นักวิชาการ 10 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ลักษณะเด่นของ จำปีสิรินธร คือเป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทย (Endemic to Thailand) คือมีขึ้นอยู่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น และมีขึ้นอยู่เฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำหรือในป่าพุน้ำจืดที่มีน้ำพุไหลผ่านตลอดเวลา เท่านั้น แตกต่างจากจำปีทั่วไปที่ต้นไม่สูงและไม่ชอบน้ำ จัดเป็นพรรณไม้ที่มีความเก่าแก่ ดึกดำบรรพ์ที่สุด ในหมู่ของไม้ดอกที่มีอยู่ในยุคปัจจุบัน มีวิวัฒนาการในการปรับตัวต่ำที่สุด จึงเป็นพรรณไม้ที่มีโอกาสสูญพันธุ์ในสภาพธรรมชาติได้มากที่สุด
สมัยก่อนเนื่องจาก ต้นไม้ชนิดนี้มีลำต้นสูงคือ 20-30 เมตร ดังนั้นเวลาออกดอก ชาวบ้านมักไม่ค่อยได้เห็นดอกสดๆกัน จะเห็นก็แต่ดอกที่แก่และหลุดล่วงลงมาแล้ว ซึ่งดอกที่แก่จะมีสีเหลืองเหมือนดอกจำปา จึงทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นต้นจำปา จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านซับจำปา ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่มีน้ำและต้นจำปาขึ้นอยู่[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ https://www.paiduaykan.com/travel/
- ↑ https://www.museumthailand.com/th/museum/Sap-Cham-Pa-Museum
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.