ข้ามไปเนื้อหา

ศาลพระกาฬ (จังหวัดลพบุรี)

พิกัด: 14°48′08″N 100°36′54″E / 14.80222°N 100.61500°E / 14.80222; 100.61500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลพระกาฬ
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
นิกายลัทธิไวษณพ
จังหวัดจังหวัดลพบุรี
เทพเจ้าพ่อพระกาฬ
หน่วยงานกำกับดูแลจังหวัดลพบุรี
ปีที่อุทิศสมัยจักรวรรดิเขมร
ที่ตั้ง
ที่ตั้งวงเวียนศรีสุนทร ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี
ประเทศประเทศไทย
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกกรมศิลปากร
ประเภทสถาปัตยกรรมไทย
รูปแบบไทยร่วมสมัย
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2496
ทิศทางด้านหน้าทิศตะวันตก
วงเวียน ทางแยก
ชื่ออักษรไทยศรีสุนทร
ชื่ออักษรโรมันSi Sunthon
ที่ตั้งถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ทิศทางการจราจร
ถนนราชมนู
ถนนนารายณ์มหาราช
» วงเวียนศรีสุริโยทัย
ถนนหน้าพระกาฬ
ถนนวิชาเยนทร์

14°48′08″N 100°36′54″E / 14.80222°N 100.61500°E / 14.80222; 100.61500

ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นโบราณสถานและศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทร บนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด และเส้นทางรถไฟสายเหนือ ภายในเป็นที่ประดิษฐาน เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณยุคขอมเรืองอำนาจ

ประวัติ

[แก้]

ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เนื่องจากศาลตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่อยู่สูงจากพื้นดิน[1][2] เป็นศาสนสถานที่เป็นฐานศิลาแลงขนาดมหึมา สันนิษฐานกันว่าฐานศิลาแลงดังกล่าวเป็นฐานพระปรางค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างสำเร็จแต่พังถล่มลงมาภายหลังโดยมิได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม[1] ศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม สืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา[3] อย่างไรก็ตามฌ็อง บวสเซอลิเยร์ ได้สันนิษฐานจากฐานพระปรางค์ที่สูงมากนี้ ว่าเขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ 16 "อาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมา"[1] ทั้งนี้มีที่ศาลสูงมีการค้นพบศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร หลักที่ 1[4] และศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม (จารึกหลักที่ 18) อักษรหลังปัลลาวะภาษามอญโบราณ[5] จากกรณีจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่หักพังนั้น พบว่าเสานี้ถูกทุบทำลายให้ล้มพังอยู่กับที่มิได้เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น จึงสันนิษฐานว่าศาลพระกาฬอาจเคยเป็นศาสนสถานของนิกายเถรวาทมาก่อน ภายหลังถูกดัดแปลงเป็นเทวสถานในนิกายไวษณพของศาสนาฮินดูแทน[6]

รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้สร้างศาลเทพารักษ์ขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยม ทรงตึกเป็นแบบฝรั่งหรือเปอร์เซียผสมผสานกับไทยบนฐานศิลาแลงเดิม ตัวศาลเป็นอาคารชั้นเดียวหลบแดดขนาดสามห้อง ภายในบรรจุทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กับเทวรูปสีดำองค์หนึ่ง[1] ประมาณกันว่าเป็นศาลประจำเมืองก็ว่าได้[1]

เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณถูกประดิษฐานภายในศาลพระกาฬ

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองลพบุรีในปี พ.ศ. 2421 ทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับศาลสูง ความว่า "ออกจากพระปรางค์สามยอดเดินไปสักสองสามเส้น ถึงศาลพระกาล ที่หน้าศาลมีต้นไทรย้อย รากจดถึงดิน เป็นหลายราก ร่มชิดดี เขาทำแคร่ไว้สำหรับนั่งพัก...ที่ศาลพระกาลนั้นเป็นเนินสูงขึ้นไปมาก มีบันใดหลายสิบขั้น ข้างบนเป็นศาลหรือจะว่าวิหารสามห้อง เห็นจะเป็นช่อฟ้า ใบระกา แต่บัดนี้เหลืออยู่เพียงแต่ผนัง ที่แท่นมีรูปพระนารายณ์สูงประมาณ ๔ ศอก เป็นเทวรูปโบราณทำด้วยศิลา มีเทวรูปเล็ก ๆ เป็นพระอิศวรกับพระอุมาอีก ๒ รูป ออกทางหลังศาลมีบันใดขึ้นไปบนเนินสูงอีกชั้นหนึ่ง มีหอเล็กอีกหอหนึ่ง มีแผ่นศิลาเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑแผ่นหนึ่ง มีรูปนารายณ์ประทมสินธุ์แผ่นหนึ่งวางเปะปะ ไม่ได้ตั้งเป็นที่..."[1]

ราวปี พ.ศ. 2465 ศาลเทพารักษ์หลังเดิมขนาดสามห้องได้ทรุดโทรมลงมาก จึงมีการอัญเชิญเทวรูปองค์ดำดังกล่าวลงมาประดิษฐาน ณ เรือนไม้มุงสังกะสีบริเวณพระปรางค์ชั้นล่าง[7] มีต้นไทรและกร่างปกคลุมทั่วบริเวณ[2] ในปี พ.ศ. 2480 จึงมีการสร้างกำแพงเตี้ย ๆ ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2494[2] บ้างว่า พ.ศ. 2495[7] ได้มีการสร้างศาลพระกาฬขึ้นใหม่เนื่องจากเรือนไม้สังกะสีเดิมได้ทรุดโทรมลง บางแห่งว่ามาจากการริเริ่มของศักดิ์ ไทยวัฒน์ ข้าหลวงประจำจังหวัดลพบุรีในขณะนั้นจากการสนับสนุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น[2] บางแห่งว่าชลอ วนะภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญร่วมกับองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งชาวลพบุรีและผู้ศรัทธาจำนวนมาก[7] เงินสำหรับก่อสร้างได้มาจากการเรี่ยไรจากชาวลพบุรีและใกล้เคียง รวมทั้งสิ้น 304,586.22 บาท[2] ศาลพระกาฬหลังใหม่จึงถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมทรงไทยร่วมสมัยของกรมศิลปากรสมัยหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ เป็นหัวหน้ากองสถาปัตยกรรม[7] ก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 2496[8] ซึ่งดูเด่นเป็นสง่า ณ บริเวณหน้าฐานพระปรางค์โบราณ[7] และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2495[2]

เจ้าพ่อพระกาฬ

[แก้]

เจ้าพ่อพระกาฬเป็นเทวรูปรุ่นเก่าซึ่งอาจเป็นพระวิษณุ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร[9] เป็นเทวรูปรุ่นเก่า[2] ศิลปะลพบุรี[8] แต่เดิมเจ้าพ่อพระกาฬมีพระกายสีดำ ทำจากศิลา ไม่มีพระเศียร และพระกรทั้งหมด[10] กล่าวกันว่าเจ้าพ่อพระกาฬได้ไปเข้าฝันผู้ประสงค์ดีท่านหนึ่ง นัยว่าขอพระเศียรและพระกรเท่าที่จะหามาได้ ซึ่งได้มีผู้ศรัทธาได้จัดหาเศียรพระศิลาทรายศิลปะสมัยอยุธยา[8] ส่วนพระกรนั้นได้เพียงข้างเดียวจากทั้งหมดสี่ข้าง

ปัจจุบันเจ้าพ่อพระกาฬไม่เหลือเค้าเดิมซึ่งมีสีดำอีกแล้ว ด้วยถูกปิดทองจากผู้ศรัทธาแลดูเหลืองอร่ามจนสิ้น[10] กล่าวกันว่าปีหนึ่งมีผู้มานมัสการไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนคน[11]

ลิงศาลพระกาฬ

[แก้]
ลิงที่อาศัยในบริเวณศาลพระกาฬ

ลิงศาลพระกาฬ หรือ ลิงเจ้าพ่อพระกาฬ ดั้งเดิมเป็นลิงแสม[12] ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมดกว่า 500 ตัว[8] ไม่นับรวมลิงกลุ่มอื่น ๆ ในลพบุรีที่มีกว่า 2,000 ตัว[13] ทั้งนี้ทั้งนั้นลิงฝูงดังกล่าวมิได้มีความเกี่ยวข้องกับศาลพระกาฬเลยแต่อย่างใด แต่เดิมบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬเป็นป่าคงมีลิงป่าอาศัยอยู่ ลิงดังกล่าวยังชีพด้วยของถวายแก้บน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลไม้[11] ปัจจุบันลิงทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ[8]

  1. ลิงศาล หรือ ลิงเจ้าพ่อ เป็นลิงฝูงใหญ่อาศัยบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬช่วงเที่ยง และอาศัยที่พระปรางค์สามยอดและบางส่วนของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยช่วงเช้าและเย็น เมื่อพลบค่ำพวกมันจะกลับมานอนที่ศาลพระกาฬ กลุ่มนี้มีความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มักได้รับของเซ่นไหว้จากผู้ศรัทธาเสมอ ซึ่ง ลิงศาล อาจแบ่งย่อยได้อีกสามกลุ่มคือ กลุ่มศาลพระกาฬ, กลุ่มพระปรางค์สามยอด และกลุ่มโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย[14]
  2. ลิงมุมตึก หรือ ลิงนอกศาล หรือ ลิงตลาด เป็นลิงจรจัดซึ่งแตกหลงฝูงและมิได้รับการยอมรับกลับเข้าฝูง มักเร่ร่อนตามมุมตึก ร้านค้าบ้านเรือนในชุมชนเมืองลพบุรี ลิงกลุ่มนี้มักสร้างปัญหาและความเสียหายอยู่เสมอ

จำนวนลิงก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดในเขตเมืองเก่า และเริ่มออกมาจากแหล่งเดิมไปอาศัยอยู่ย่านขนส่งสระแก้ว และสี่แยกเอราวัณซึ่งเป็นเขตเมืองใหม่[13] ก่อนหน้านี้เคยมีแนวคิดที่จะควบคุมประชากรลิงมาตลอด อาทิ การทำหมันลิง[14] จนในปลายปี พ.ศ. 2557 ได้มีการร้องเรียนจากชาวบ้าน ว่าลิงที่ศาลพระกาฬบางตาลงเนื่องจากทางเทศบาลเมืองลพบุรีได้ส่งเจ้าหน้าที่มาจับ[15] การนี้จำเริญ สละชีพ นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มาชี้แจงว่าลิงที่ถูกจับนั้นเป็นลิงที่แตกฝูงและเกเรไปไว้ที่สวนสัตว์ลพบุรีจำนวน 74 ตัว ที่ส่วนใหญ่อิดโรยและมีแผลทั่วตัว[16][17] นอกจากนี้ยังพบว่ามีลิงศาลพระกาฬจำนวน 30-40 ตัวถูกจับและปล่อยทิ้งไว้ที่ตำบลดอนดึง อำเภอบ้านหมี่[18] ภายหลังจึงมีแผนจัดการที่จะนำลิงไปไว้ที่ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี โดยทำในลักษณะสวนลิง[13]

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ส.สีมา. (7 พฤษภาคม 2556). "ศาลพระกาฬ". ศิลปวัฒนธรรม. 34:7, หน้า 34
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 สมพงษ์ นิติกุล. ภาพโบราณ ตำนานเมืองลพบุรี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง, 2456, หน้า 53
  3. ศานติ ภักดีคำ ผศ. ดร. (3 มกราคม 2556). "เมื่อ "ลวปุระ" หรือ "ลพบุรี" ถูกพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทำลาย "กลายเป็นป่า"". ศิลปวัฒนธรรม. 34:3, หน้า 111
  4. ศานติ ภักดีคำ ผศ. ดร. (3 มกราคม 2556). "เมื่อ "ลวปุระ" หรือ "ลพบุรี" ถูกพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทำลาย "กลายเป็นป่า"". ศิลปวัฒนธรรม. 34:3, หน้า 113
  5. กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2529, หน้า 57-60
  6. มรดกความทรงจำแห่งนพบุรีศรีลโวทัยปุระ : ว่าด้วยโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ฯ และจารึกโบราณแห่งเมืองละโว้. ดร. วินัย ศรีพงศ์เพียร และ ดร. ตรงใจ หุตางกูร (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558, หน้า 182
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 ส.สีมา. (7 พฤษภาคม 2556). "ศาลพระกาฬ". ศิลปวัฒนธรรม. 34:7, หน้า 35
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "ศาลพระกาฬ". สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. "ศาลพระกาฬ". SHARE SIAM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 ส.สีมา. (7 พฤษภาคม 2556). "ศาลพระกาฬ". ศิลปวัฒนธรรม. 34:7, หน้า 36
  11. 11.0 11.1 ส.สีมา. (7 พฤษภาคม 2556). "ศาลพระกาฬ". ศิลปวัฒนธรรม. 34:7, หน้า 37
  12. "โครงการบ้านคนเลี้ยงลิง". มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  13. 13.0 13.1 13.2 ""ลิงลพบุรี" ชะตากรรมวันนี้ช่างน่าเศร้า". โพสต์ทูเดย์. 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  14. 14.0 14.1 "ทำหมันหรือรักษาไส้เลื่อนระวัง "ลิง" เจ็บตัวฟรี ?!". คมชัดลึก. 21 สิงหาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "โวย "ลิงลพบุรี" หาย! ชี้จนท.จับเรียบ หลายร้อยตัว! "สัตวแพทย์" ดัง จี้แจงไปไว้ไหน". ข่าวสด. 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. "ศึกจับลิงปะทุ! โต้นักอนุรักษ์ ไม่มีทารุณกรรม". ไทยรัฐ. 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "กรมอุทยานแห่งชาติฯ ระบุลิงลพบุรีที่จับไม่ใช่ลิงศาลพระกาฬ". สำนักข่าวไทย. 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  18. "พบลิงศาลพระกาฬ30-40ตัวถูกนำมาปล่อยทิ้งไว้ที่บ้านหมี่". เนชั่น. 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]