ข้ามไปเนื้อหา

อะคิพิม็อกซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะคิพิม็อกซ์
Skeletal formula
Ball-and-stick model
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าOlbetam
AHFS/Drugs.comInternational Drug Names
ช่องทางการรับยาการรับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • UK: POM (Prescription only)
ตัวบ่งชี้
  • 5-carboxy-2-methyl-1-oxidopyrazin-1-ium
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEMBL
ECHA InfoCard100.051.736
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC6H6N2O3
มวลต่อโมล154.125 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • [O-][n+]1c (cnc (C (=O) O) c1) C
  • InChI=1S/C6H6N2O3/c1-4-2-7-5 (6 (9) 10) 3-8 (4) 11/h2-3H,1H3, (H,9,10) checkY
  • Key:DJQOOSBJCLSSEY-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

อะคิพิม็อกซ์ (อังกฤษ: Acipimox) (ชื่อการค้า Olbetam ในยุโรป) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มอนุพันธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับไนอะซิน แต่ยาไม่ถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย จึงอยู่ในกระแสเลือดได้นาน และถูกขับออกจากร่างกายได้ช้า จึงสามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนาน การใช้ยาในขนาดต่ำจึงมีประสิทธิภาพมากพอในการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นนั้นพบว่าเกิดขึ้นได้น้อยกว่าไนอะซิน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงขนาดอะพิคิม็อกซ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับไนอะซิน 

กลไกการออกฤทธิ์

[แก้]

อะคิพิม็อกซ์ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการการสร้างไตรกลีเซอไรด์ของตับและลดการหลั่งไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำมาก (Very low-density lipoprotein cholesterol; VLDL-C) ซึ่งจะส่งผลโดยอ้อมทำให้ไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low-density lipoprotein cholesterol; LDL-C) ลดลงและมีการเพิ่มขึ้นของไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (High-density lipoprotein cholesterol; HDL-C) ได้ในที่สุด  การใช้อะคิพิม็อกซ์ในระยะยาวมีความสัมพันธ์กับการลดของของอัตราการตาย แต่อาการข้างเคียงที่เกิดจากอะคิพิม็อกซ์ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยถือเป็นข้อจำกัดหนึ่งของการใช้ยานี้ในทางคลินิก ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์เหล่านั้น ได้แก่ อาการผิวหนังแดง ร้อนวูวาบ (flushing) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระดับของโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin D2) ในร่างกาย, ใจสั่น (palpitation), และไม่สบายท้อง (gastrointestinal disturbances) โดยอาการผิวหนังร้อนแดงอาจสามารถลดความรุนแรงลงได้โดยการรับประทานแอสไพริน (aspirin) ก่อนการรับประทานอะคิพิม็อกซ์ประมาณ 20-30 นาที ทั้งนี้ การรับประทานอะคิพิม็อกซ์ในขนาดสูงอาจทำให้เกิดความผิดปกติของตับ, ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ, และทำให้เกิดอาการของโรคเกาต์ได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Goodman & Gilman's The Pharmacological Basis of Therapeutics (ภาษาอังกฤษ). New York: McGraw-Hill. 2001. doi:10.1036/0071422803. ISBN 0-07-135469-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2015-12-15. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Author= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Foye's Principles of Medicinal Chemistry (ภาษาอังกฤษ). Baltimorework: Lippincott Willams & Wilkins. 2007. doi:10.1036/0071422803. ISBN 0-7817-6879-9. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Author= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)[ลิงก์เสีย]