ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก
สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น
ชิเงรุ โยชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951 ในโรงอุปรากรอนุสรณ์สงครามที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
วันลงนาม8 กันยายน 1951; 72 ปีก่อน (1951-09-08)
ที่ลงนามซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
วันมีผล28 เมษายน 1952; 72 ปีก่อน (1952-04-28)
ผู้เจรจา
ภาคีประเทศญี่ปุ่นกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง 48 ประเทศ
ผู้เก็บรักษารัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ภาษา
Treaty of San Francisco ที่ วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก (อังกฤษ: Treaty of San Francisco; ญี่ปุ่น: サンフランシスコ講和条約โรมาจิSan-Furanshisuko kōwa-Jōyaku) มีีอีกชื่อว่า สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น (Treaty of Peace with Japan; ญี่ปุ่น: 日本国との平和条約โรมาจิNihon-koku to no Heiwa-Jōyaku) เป็นสนธิสัญญาที่สถาปนาความสัมพันธ์แบบสันติอีกครั้งระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับฝ่ายสัมพันธมิตรในนามของสหประชาชาติด้วยการยุติสถานะทางกฎหมายของสงคราม การครอบครองทางทหาร และจัดให้มีการชดใช้สำหรับการกระทำอันโหดร้ายจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง สนธิสัญญานี้ลงนามโดย 49 ประเทศในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951 ที่โรงอุปรากรอนุสรณ์สงคราม ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[2] ประเทศอิตาลีและจีนไม่ได้รับเชิญ โดยประเทศหลังเนื่องจากความไม่เห็นพ้องที่ว่าประเทศใดเป็นตัวแทนชาวจีนระหว่างสาธารณรัฐจีนหรือสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีก็ไม่ได้รับเชิญด้วยเหตุผลคล้ายกันว่าประเทศใดเป็นตัวแทนชาวเกาหลีระหว่างเกาหลีใต้หรือเกาหลีเหนือ[3]

สนธิสัญญามีผลในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1952 โดยทำให้บทบาทของญี่ปุ่นในฐานะมหาอำนาจจักรวรรดิสิ้นสุด จัดสรรค่าชดเชยแก่ชายสัมพันธมิตรและอดีตเชลยศึกที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมสงครามของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยุติการยึดครองญี่ปุ่นหลังสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร และคืนอำนาจอธิปไตยเต็มรูปแบบ สนธิสัญญานี้พึ่งพากฎบัตรสหประชาชาติ[4] กับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างมาก[5]เพื่อประกาศเป้าหมายของสัมพันธมิตร ในมาตราที่ 11 ประเทศญี่ปุ่นยอมรับข้อตัดสินของศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลและศาลอาชญากรรมสงครามฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น ๆ ที่บังคับใช้กับญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศ[6]

การเข้าร่วม[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมประชุม[แก้]

อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, เบลเยียม, โบลิเวีย, บราซิล, กัมพูชา, แคนาดา, ซีลอน (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา), ชิลี, โคลอมเบีย, คอสตาริกา, คิวบา, เชโกสโลวาเกีย, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอกวาดอร์, อียิปต์, เอลซัลวาดอร์, เอธิโอเปีย, ฝรั่งเศส, กรีซ, กัวเตมาลา, เฮติ, ฮอนดูรัส, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, ญี่ปุ่น, ลาว, เลบานอน, ไลบีเรีย, ลักเซมเบิร์ก, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นิการากัว, นอร์เวย์, ปากีสถาน, ปานามา, ปารากวัย, เปรู, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, ซาอุดีอาระเบีย, แอฟริกาใต้, รัฐเวียดนาม, สหภาพโซเวียต, ซีเรีย, ตุรกี, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ, อุรุกวัย และเวเนซุเอลาเข้าร่วมการประชุมนี้[7]

ประเทศที่ไม่เข้าร่วม[แก้]

จีนไม่ได้เข้าร่วมเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและบริเตนใหญ่ว่าประเทศใดเป็นตัวแทนของชาวจีน ระหว่างสาธารณรัฐจีน (ในไต้หวัน) ที่ได้รับการสถาปนาแต่พ่ายแพ้ หรือสาธารณรัฐประชาชนจีน (ในจีนแผ่นดินใหญ่) ที่พึ่งก่อตั้งใหม่[8] สหรัฐรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐจีนส่วนบริเตนรับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1950[8] นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายทางการเมืองภายในของสหรัฐจากพรรคริพับลิกันและกองทัพสหรัฐที่สนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋ง และกล่าวหาประธานาธิบดีทรูแมนว่าละทิ้งการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์[9]

การไม่เข้าร่วมของจีนภายหลังมีบทบาทสำคัญในข้อพิพาททะเลจีนใต้ โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์ทางการทูตโดยรวม (หรือขาดไป) ระหว่างสหรัฐกับจีน[8]

พม่า, อินเดีย และยูโกสลาเวียได้รับการเชิญแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม[10] อินเดียพิจารณาบทบัญญัติบางประการของสนธิสัญญาที่จำกัดอธิปไตยของญี่ปุ่นและความเป็นอิสระของชาติ[11] โดยในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1952 อินเดียลงนามสนธิสัญญาสันติภาพต่างหากที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างญี่ปุ่นกับอนิเดีย โดยมีวัตถุประสงค์ให้ญี่ปุ่นมีตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งได้รับเกียรติและความเสมอภาคในหมู่ประชาคมของประเทศเสรี[12] อิตาลีไม่ได้รับเชิญ แม้ว่ารัฐบาลของตนประกาศสงครามกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการแล้วก็ตามในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนสงครามสิ้นสุดลง[13] เช่นเดียวกันกับโปรตุเกส แม้ว่าจะมีสถานะเป็นกลางในช่วงสงคราม ดินแดนของตนในติมอร์-เลสเตถูกญี่ปุ่นเข้ารุกราน ส่วนปากีสถาน แม้ว่าในช่วงสงครามยังไม่ได้มีรัฐเป็นของตนเอง กลับได้รับเชิญ เนื่องจากถูกมองเป็นรัฐสืบทอดของบริติชราช ฝ่ายสู้รบสำคัญต่อญี่ปุ่น[14]

การลงนามและการให้สัตยาบัน[แก้]

ดีน แอชิสัน รัฐมนตรีแห่งรัฐของสหรัฐ ลงนามสนธิสัญญา

ในบรรดาประเทศที่เข้าร่วม 51 ประเทศ มี 48 ประเทศที่ลงนามสนธิสัญญา[15] ยกเว้นเชโกสโลวาเกีย, โปแลนด์ และสหภาพโซเวียตที่ไม่ลงนาม[16]

ฟิลิปปินส์ทำสัตยาบันต่อสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1956 หลังจากการลงนามในข้อตกลงชดใช้ระหว่างทั้งสองประเทศในเดือนพฤษภาคมของปีนั้น[17] อินโดนีเซียไม่ได้ทำสัตยาบันต่อสนธิสัญญานี้ แต่ลงนามในข้อตกลงชดใช้แบบทวิภาคีและสนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1958[18] สนธิสัญญาไทเป สนธิสัญญาต่างหากที่มีชื่อทางการว่า สนธิสัญญาสันติภาพจีน-ญี่ปุ่น ลงนามระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐจีนที่ไทเปในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1952 เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่องที่สนธิสัญญาซานฟรานซิสโกมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เมษายน[19][20] ลำดับที่ไม่มีเหตุผลชัดเจนของสนธิสัญญาทั้งสองฉบับเกิดจากความแตกต่างระหว่างเขตเวลา

อ้างอิง[แก้]

  1. มาตราที่ 27
  2. "Document 735 Editorial Note". Foreign Relations of the United States, 1951, Asia and the Pacific. Vol. VI, PART 1.
  3. "San Francisco Peace Conference".
  4. คำปรารภ และมาตราที่ 5
  5. คำปรารภ
  6. "Treaty of Peace with Japan (with two declarations). Signed at San Francisco, on 8 September 1951" (PDF).
  7. "Treaty of Peace with Japan (including transcript with signatories: Source attributed : United Nations Treaty Series 1952 (reg. no. 1832), vol. 136, pp. 45–164.)". Taiwan Documents Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-02-21. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  8. 8.0 8.1 8.2 Mitter, Rana (2020). China's good war : how World War II is shaping a new nationalism. Cambridge, Massachusetts: The Belknap of Harvard University Press. p. 60. ISBN 978-0-674-98426-4. OCLC 1141442704.
  9. Price, John (June 2001). "A Just Peace? The 1951 San Francisco Peace Treaty in Historical Perspective". www.jpri.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
  10. Social Studies: History for Middle School. 7–2. Japan's Path and World Events p. 2, Teikoku Shoin [1] เก็บถาวร 2005-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "Nehru and Non-alignment". P.V. Narasimha Rao. Mainstream Weekly. 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ 2009-10-31.
  12. Singh, Manmohan (April 29, 2005). Dr. Manmohan Singh's banquet speech in honour of Japanese Prime Minister (Speech). New Delhi: Prime Minister's Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2005. สืบค้นเมื่อ March 28, 2014. [2][ลิงก์เสีย]
  13. "The World at War – Diplomatic Timeline 1939–1945". worldatwar.net. สืบค้นเมื่อ 2018-11-23.
  14. "The Prime Minister of Japan extends congratulations on the day of 70th anniversary of the establishment of diplomatic relations between Japan and Pakistan. JICA also celebrates with anniversary video "A story of Friendship and Assistance"". Ministry of Foreign Affairs of Japan (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-06.
  15. Peace Treaties after World War II: Peace treaty signed in San Francisco, September 8, 1951. The History Channel [3] เก็บถาวร 2006-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. Foreign Office Files for Japan and the Far East 1951: September, Adam Matthew Publications [4] เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. Indai Lourdes Sajor, "Military Sexual Slavery: Crimes against humanity", in Gurcharan Singh Bhatia (ed), Peace, justice and freedom: human rights challenges for the new millennium Alberta University Press, 2000, p.177
  18. Ken'ichi Goto, Paul H. Kratoska, Tensions of empire: Japan and Southeast Asia in the colonial and postcolonial world, NUS Press, 2003, p.260
  19. Matsumura, Masahiro (13 October 2013). "San Francisco Treaty and the South China Sea". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 1 December 2017.
  20. "Treaty of Peace between the Republic of China and Japan (Treaty of Taipei) 1952". USC U.S.-China. สืบค้นเมื่อ 1 December 2017.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Calder, Kent. "Securing security through prosperity: the San Francisco System in comparative perspective." The Pacific Review 17.1 (2004): 135–157. online
  • Hara, Kimie. "50 years from San Francisco: Re-examining the peace treaty and Japan's territorial problems." Pacific Affairs (2001): 361–382. online
  • Lee, Seokwoo. "The 1951 San Francisco peace treaty with Japan and the territorial disputes in East Asia." Pacific Rim Law and Policy Journal 11 (2002): 63+ online.
  • Trefalt, Beatrice. "A peace worth having: delayed repatriations and domestic debate over the San Francisco Peace Treaty." Japanese Studies 27.2 (2007): 173–187.
  • Zhang, Shengfa. "The Soviet-Sino boycott of the American-led peace settlement with Japan in the early 1950s." Russian History 29.2/4 (2002): 401–414.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]